วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2563
กลาปะ
วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2563
ปีติไม่ค่อยเกิด ก็ต้องน้อมใจบ่อยๆ
วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
วิธีเริ่มต้นท่องจำด้วยตัวเองที่บ้าน สำหรับฆราวาส
วันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
ความกตัญญู กตเวที เป็นมงคลชีวิตอย่างหนึ่ง
การยิงแอดโฆษณา การปั่นยอดวิว YouTube ที่เป็นประโยชน์ 6 ก็มี ที่ไม่เป็นประโยชน์ 6 ก็มี
วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
คำพูดออกมาจากทัศนคติ สัมมาวาจาออกมาจากสัมมาทิฏฐิ
ข้อปฏิบัติที่เหมาะสม ออกมาจากคำพูดที่เหมาะสม คำพูดที่เหมาะสม ออกมาจากการฝึกคิดด้วยทัศนคติที่เหมาะสม.
มรรคมีองค์ 8 มีสัมมาวาจาเป็นต้น มันออกมาจากสัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ ถ้าไม่ฝึกคิดให้เหมาะสม พฤติกรรมคำพูดมันก็ไม่เหมาะสม การทรงจำพระธรรมคำสอน ช่วยได้มากในการที่จะพัฒนาตนเอง
เพราะเหตุนั้นบัณฑิตในสมัยโบราณ จึงสนับสนุนการท่องจำ การสวดสาธยายพระธรรมคำสอนทุกวัน เพื่อให้เราสามารถนำหลักธรรมคำสอนไปฝึกขัดเกลาทัศนคติ ความคิด คำพูด และการกระทำ ทุกๆวัน ให้เหมาะสมตามหลักสัปปุริสธรรม 7
ขอให้สรรพสัตว์จงมีสุข ผู้ฝึกตนทุกวันย่อมประสบสุขเป็นอันมาก และย่อมมอบความสุขให้คนอื่นๆได้ในทุกๆวัน
https://youtu.be/0fmo1SxG1rs
https://www.facebook.com/Johjai/videos/640397456371169/
วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2563
ถึงแม้จะมีทิฐิ ขอให้ทำสมาธิไปก่อน เพราะวิปัสสนาอาศัยอุปจาระ-อัปปนาสมาธิ เป็นจิตตวิสุทธิ
วันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2563
ระลึกนามรูปย้อนชาติ เห็นกรรมก่อนตาย ข้ามสงสัยในกาล 3
วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2563
ถาม: ถ้ามีสมาธิย่อมมีสติถ้ามีสติย่อมมีสมาธิ ใช่ไหม?
วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2563
ทำไมควรสวดมนต์ท่องจำไวๆ ไม่ยืดยาด
ตัณหาไม่เคยพอเพียง แสวงหาไปมาก็ทำบาป
วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2563
มงคลข้อใช้สังคหวัตถุสงเคราะห์บุตรภรรยา
มงคล 38 คือ สิ่งที่ทำให้ชีวิตเจริญรุ่งเรืองที่สุด 38 อย่าง จะยกมา 1 พระคาถาว่า ❤️💓👏🎉
1.การดูแลมารดาบิดา
2. การสงเคราะห์บุตรภรรยาด้วยสังคหวัตถุ (ให้ของดีๆ,ใช้คำพูดไพเราะอ่อนหวาน,ให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์สาระ, อยู่ร่วมทุกข์ร่วมสุขไม่ทิ้งกัน)
3. การทำกิจการงานไม่ให้คั่งค้าง ไม่ให้พอกหางหมู ว่งแผนดีๆ
วันเสาร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
ตัวอย่างการตอบเรื่องสีกระทบตาแบบอภิญญา ให้นักวิทยาศาสตร์ไม่รังเกียจ รักสามัคคีกับชาวพุทธ
1. สีที่คนส่วนใหญ่ในปัจจุบันเห็นเป็นสีนั้นจริง ๆ หรือไม่
2. ถ้าการเห็นสีขึ้นอยู่กับเซลล์รับแสงสีในตาคน แล้วสีจริงของวัตถุเมื่อไม่ได้วัดจากสายตาคนมีหรือไม่ ถ้ามีเป็นสีอะไร แล้วจะพิสูจน์ได้ไหมว่าเป็นสีนั้นจริง
ตอบว่า:
1. ทุกๆ อย่างมีสีที่ต่างกันจริงๆ ในตัว ครับ, ไม่เช่นนั้นโฟตอนจะไม่สามารถหักเหต่างกันได้เลย.
2.1 การเห็นสีได้ อยู่ที่เซลล์ก็จริง, แต่สีจริงๆ อยู่ที่ปรมาณู (อนุภาค) ของสิ่งของนั้นๆ สีที่กระทบเซลล์ตาไม่ได้อยู่ที่เซลล์ตา (แต่เซลล์ตาก็มีสีของตัวเองมากมายเช่นกัน). โฟตอนแสงไปกระทบวัตถุแล้วหักเห มากระทบกับตา.
2.2 สีของวัตถุนั้นจริงๆ ทำให้โฟตอนในแสงเปลี่ยนสี แล้ววิ่งมากระทบตา เพราะฉะนั้น จุดนี้ขึ้นอยู่ที่ว่า 1. โฟตอนนั้นมีสีดั้งเดิมมายังไง (มาขาว ก็ใกล้เคียงของสีเดิม, มาเหลือง เขียว ฯลฯ ก็สีเพี้ยน) 2. สภาพของจักขุปสาท (เซลล์ตา) ว่าดีพอไหม?
2.3 การพิสูจน์ คิดว่าสามารถทำได้ในทางวิทยาศาสตร์ ด้วยคุณสมบัติทางเคมี และหลักฟิสิกส์, แต่ในทางอภิธรรม เราใช้วิธีฝึกจิตให้มีสมาธิแก่กล้า (หลายเดือน หลายปี ไม่ขาดช่วง) จนเกิดแสงแห่งปัญญาสว่างเจิดจ้า (ปฏิภาคนิมิตของฌานทั้ง 8) แล้วฝึกอภิญญา แล้วมองสีนั้นด้วยอภิญญาจิต ด้วยวิธีนี้ ก็จะสามารถเห็นสีจริงนั้นได้ โดยไม่ต้องผ่านโฟตอนและเซลล์ตา (ดูผ่านมโนทวารแทน). แต่ดูมาแล้วก็จะอธิบายยากอีกแหละ เพราะมีตัวแปรหลายอย่าง.
อันนี้เป็นวิธีฝึกแสงแห่งปัญญา ครับ เขาจะนั่งกันครั้งละ 2+ ชั่วโมง วันละ 12-14 ชั่วโมง ต่อเนื่องหลายเดือน หลายปี. พวกจบ MIT ก็มี, แต่พระอาจารย์ในคลิป จบมหาลัยแค่ด้านคอมพิวเตอร์ ไม่ทราบสาขา ครับ ได้ 4 ภาษา พม่า อังกฤษ ไทย บาลี.
https://youtu.be/H4WPP_WGGU4?t=3936
วันอังคารที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
ปิยรูป สาตรูป
วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
ตัวอย่างการเทียบมหาสติปัฏฐานสูตร กับสูตรอื่นๆ 1
วันเสาร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
ทำไมตรัสตัณหาเท่านั้นว่าเป็นสมุทยสัจ?
แต่ว่า ทำไมตรัสตัณหาเท่านั้นเล่าว่าเป็นสมุทยสัจ?
(วิสุทฺธิ.มหาฏี. สมุทยนิทฺเทสกถาวณฺณนา) เพราะว่าเป็นเหตุที่แตกต่าง (แห่งทุกข์นานัปปการ). อธิบายว่า เมื่ออวิชชาปิดบังโทษในภพทั้งหลายอยู่ และเมื่อทิฏฐุปาทานเป็นต้นอาศัยในที่นั้นๆอยู่ (อวิชชาและทิฏฐุปาทานเป็นต้น) ย่อมยังตัณหาให้เจริญ. แม้โทสะทั้งหลายเป็นต้นก็เป็นเหตุแห่งกรรม (สังขาร,กัมมภพ) เช่นกัน. อย่างไรก็ตาม เมื่อตัณหาปรารถนาความวิจิตรแห่งภวะ-โยนิ-คติ-วิญญาณฐิติ-สัตตาวาส-สัตตนิกาย-ตระกูล-โภคะ-อิสสริยะนั้นๆอยู่ ตัณหาเลยเข้าถึงความเป็นอุปนิสัยให้กรรมมีความวิจิตร และยังเข้าถึงความเป็นสหายของกรรมด้วย ตัณหาจึงกำหนดความวิจิตรของภพเป็นต้น, เพราะเหตุ(ที่ตัณหาวิจิตรจึงทำให้ภพวิจิตร)นั้น แม้เมื่อเหตุแห่งทุกข์แม้อื่นๆ ที่ทรงตรัสไว้ทั้งในสุตตันตนัย อันได้แก่ อวิชชา-อุปาทาน-กรรม เป็นต้น และอภิธรรมนัย อันได้แก่ กิเลสและอกุสลมูลที่เหลือเป็นต้น จะมีอยู่ก็ตาม, พระองค์ก็ทรงตรัสตัณหานั่นแหละไว้ว่าเป็น "สมุทยสัจ (ความจริงที่เป็นเหตุเกิดทุกข์)" เพราะความที่ตัณหาเป็นเหตุให้ทุกข์มีความแตกต่างกัน.https://5000y.men/?th.r.153.204.0.0.ตณฺหาว|สมุทยสจฺจํ|วุตฺตา#hl
กสฺมา ปเนตฺถ ตณฺหาว สมุทยสจฺจํ วุตฺตาติ? วิเสสเหตุภาวโตฯ อวิชฺชา หิ ภเวสุ อาทีนวํ ปฏิจฺฉาเทนฺตี ทิฏฺฐิอาทิอุปาทานญฺจ ตตฺถ ตตฺถ อภินิวิสมานํ ตณฺหํ อภิวฑฺเฒติ, โทสาทโยปิ กมฺมสฺส การณํ โหนฺติ, ตณฺหา ปน ตํตํภวโยนิคติวิญฺญาณฏฺฐิติสตฺตาอาวาสสตฺตนิกายกุลโภคิสฺสริยาทิวิจิตฺตตํ อภิปตฺเถนฺตี กมฺมวิจิตฺตตาย อุปนิสฺสยตํ กมฺมสฺส จ สหายภาวํ อุปคจฺฉนฺตี ภวาทิวิจิตฺตตํ นิยเมติ, ตสฺมา ทุกฺขสฺส วิเสสเหตุภาวโต อญฺเญสุปิ อวิชฺชาอุปาทานกมฺมาทีสุ สุตฺเต อภิธมฺเม จ อวเสสกิเลสากุสลมูลาทีสุ วุตฺเตสุ ทุกฺขเหตูสุ วิชฺชมาเนสุ ตณฺหาว ‘‘สมุทยสจฺจ’’นฺติ วุตฺตาติ เวทิตพฺพํฯ
วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2563
สติปัฏฐานมี 2 แบบ คือ แบบสมถะ (กายคตาสติสูตร) กับแบบวิปัสสนา (มหาสติปัฏฐานสูตร).
วันอังคารที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2563
เลขในภาษาบาลี บางที่เลขจริง บางที่เลขปัดเศษ บางที่นับจากคนละยุคโลก
วันอาทิตย์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2563
คนแรกที่สอนละวางอัตตวาทุปาทานในปฏิจจสมุปบาททั้งปวงได้ คือ พระพุทธเจ้าเท่านั้น.
วันพฤหัสบดีที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2563
ทำไมศาสนาพุทธถือว่าการฆ่าผู้มีคุณบาปกว่าฆ่าสัตว์ทั่วไป
คนด้วยกัน ถ้าคนๆ นั้น มีประโยชน์กับเราหลายด้าน เราจะตัดความสัมพันธ์ได้ยากกว่า ตัดคนที่ไร้ประโยชน์กับเรา แม้ฉันใด, การฆ่าสิ่งที่มีคุณประโยชน์มากก็ฉันนั้นเหมือนกัน. ผู้ฆ่าต้องใช้ #เจตนา แรงกล้ามากในการทำ เจตนานี้จึงให้ผลนำเกิดรุนแรงกว่า ครับ.
วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2563
กลาปะอภิธรรม เทียบกับ เซลล์โควิด 19 (บนรูปเปรียบเทียบ, ล่างคลิปพะอ็อค ตอยะ)
วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2563
ข้ามขั้นตอนก็ไม่ดี ยึดติดในขั้นตอนก็ไม่ได้
วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2563
คุณสมบัติคนไม่ได้ฌานแล้วบรรลุธรรม คือ อาจารย์ดี อกุศลบางเบา
ถาม: ผมเคยได้ยินมาว่า การบรรลุไม่เกี่ยวข้องกับการได้ณาน คนที่บรรลุไม่ได้ณานก็มี และคนที่ได้ณานไม่บรรลุก็มีเช่นพวกฤาษี จริงหรือป่าวครับ
ตอบ: ความจริงครึ่งเดียวครับ, แต่อีกครึ่งหนึ่งไม่ใช่ความจริงถาม: คืออะไรครับ จริงครึ่ง ไม่จริงครึ่ง
ตอบ: คนที่บรรลุโดยไม่ได้ฌาน (คนมีจิตตวิสุทธิง่าย) มีจริง ใน 2 กรณี คือ1. ได้อาจารย์ที่สั่งสมบารมีร่วมกันมา (เช่นพระพุทธเจ้า) สอนกรรมฐานวิธีลัดที่สอนร่วมกันมาหลายชาติให้จนบรรลุ (ติปุกขลนัย),
2. เป็นคนที่ไม่ค่อยมีอกุศลเกิดเลยตั้งแต่เกิด ซึ่งมักเกิดจากพรหมโลก (สีหวิกกีฬิตนัย).
แต่คนที่อกุศลเกิดบ่อย วิปัสสนาจะถูกอกุศลไปกั้นทำให้ภาวนาไม่เป็นภาวนา มรรคผลไม่ยอมเกิด ครับ, ฉะนั้น กรณีนี้ ควรฝึกฌาน ครับ. อย่างน้อย ถ้าทำวิปัสสนาเกิน 7 ปี แล้วไม่บรรลุ ก็ควรถอยมาทำฌานก่อน ครับ.
ฉะนั้น ที่บอกว่า ไม่ต้องทำฌานก็ได้ จึงเป็นความจริงแค่ครึ่งเดียว, ว่าตามหลักเนตติปกรณ์ เทสนาหาระ และสีหวิกกีฬิตนัย ครับ.
วันพฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2563
ผมหงอก ออกบวช เจริญเนกขัมมะ : วัฒนธรรม ผู้มีปัญญา
“ราชกุมาร ก็ในกาลนั้น ถ้าพระองค์กับพระชายา จักถึงความไม่ประมาท แม้ในวัย ๑ บุตรหรือธิดา พึงเกิดขึ้นแม้ในวัย ๑ ก็ถ้าบรรดาพระองค์ทั้ง ๒ แม้คนหนึ่งจักได้เป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว บุตรหรือธิดาจักอาศัยผู้ไม่ประมาทนั้นเกิดขึ้น ราชกุมาร ก็บุคคล เมื่อสําคัญตนว่า เป็นที่รัก จึงไม่ประมาท รักษาตนแม้ในวัยทั้ง ๓ เมื่อไม่อาจ (รักษา) ได้อย่างนั้น พึงรักษาให้ได้แม้ในวัย ๑”
แล้วจึงตรัสพระคาถานี้ว่า
[๑๕๗] | “ถ้าบุคคลรู้ว่าตนเป็นที่รัก ก็ควรรักษาตนนั้น | |
ไว้ให้ดี บัณฑิตควรประคับประคองตนไว้ให้ได้อย่างน้อย | ||
ยามใดยามหนึ่งใน ๓ ยาม” |
บรรดาคําเหล่านั้น ในคํานี้ว่า ยาม (ยามํ) พระศาสดาทรงแสดงวัยทั้ง ๓ วัยใดวัยหนึ่งให้ชื่อว่ายาม เพราะความที่พระองค์ทรงเป็นใหญ่ในธรรมและเพราะความพระองค์ทรงฉลาดในเทศนาวิธี เพราะเหตุนั้น ในพระคาถานี้ บัณฑิตพึงทราบความอย่างนี้ว่า
“ถ้าบุคคลรู้ว่าตนเป็นที่รัก พึงรักษาตนนั้น ให้เป็นอันรักษาดีแล้ว คือพึงรักษาตนนั้น โดยประการที่ตนเป็นอันรักษาดีแล้ว บรรดาชนผู้รักษาตนเหล่านั้น ถ้าผู้เป็นคฤหัสถ์คิดว่า ‘จักรักษาตน’ เข้าไปยังห้องที่เขาปิดไว้เรียบ
แต่ผู้เป็นคฤหัสถ์ ทําบุญทั้งหลายมีทานศีลเป็นต้นตามกําลังอยู่ หรือผู้เป็นบรรพชิต ถึงความขวนขวาย
ก็ถ้าว่า บรรพชิต ในปฐมวัย ทําการสาธยายอยู่ ทรงจำ บอก ทําวัตรปฏิบัติตอบอยู่ ชื่อว่าถึงความประมาท ในมัชฌิมวัยพึงเป็นผู้ไม่ประมาท บำเพ็ญสมณธรรม อนึ่ง ถ้ายังสอบถามอรรถกถาและวินิจฉัยและเหตุแห่งปริยัติอันตนเรียนแล้วในปฐมวัยอยู่ ชื่อว่าถึงความประมาทในมัชฌิมวัย ในปัจฉิมวัยพึงเป็นผู้ไม่ประมาทบําเพ็ญสมณธรรม ด้วยอาการแม้อย่างนี้ ตนย่อมเป็นอันบรรพชิตนั้นประคับประคองแล้วทีเดียว แต่เมื่อไม่ทําอย่างนั้น ตนย่อมชื่อว่าไม่เป็นที่รัก บรรพชิตนั้น (เท่ากับ) ทำตนนั้นให้เดือดร้อน ด้วยการตามเดือดร้อนในภายหลังแท้”
ในเวลาจบเทศนา โพธิราชกุมารดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว พระธรรมเทศนาได้สาเร็จประโยชน์ แม้แก่บริษัทที่ประชุมกันแล้วดังนี้แล
อรรถกถา ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
อรรถกถา เอกกนิบาตชาดก อปัณณกวรรค
มฆเทวชาดก ว่าด้วยเทวทูต
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=9&p=1&h=ผมหงอก#hl
วันหนึ่ง ตรัสเรียกช่างกัลบกมาว่า ดูก่อนช่างกัลบกผู้สหาย ท่านเห็นผมหงอกบนศีรษะของเราในกาลใด
พระราชาตรัสว่า สหาย ถ้าอย่างนั้น ท่านจงถอนผมหงอกนั้นของเรา เอามาวางในฝ่ามือ.
แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น พระราชาได้ทรงเห็นผมหงอกแล้ว ก็ทรงสำคัญประหนึ่งว่า
ดูก่อนมฆเทวะผู้เขลา เจ้าไม่อาจละกิเลสเหล่านี้ จนตราบเท่าผมหงอกเกิดขึ้น.
เมื่อพระเจ้ามฆเทวะนั้นทรงรำพึงถึง ผมหงอกที่ปรากฏแล้ว
ดูก่อนพ่อ ผมหงอกปรากฏบนศีรษะของพ่อแล้ว พ่อเป็นคนแก่แล้ว
พระราชาทรงถือผมหงอก ตรัสพระคาถานี้แก่อำมาตย์ทั้งหลายว่า
บทว่า อิเม ชาตา วโยหรา ความว่า พ่อทั้งหลาย จงดูผมหงอกเหล่านี้เกิดแล้ว ชื่อว่าเป็นเหตุนำเอาวัยไป
เพราะนำเอาวัยทั้ง ๓ ไป โดยภาวะปรากฏผมหงอก.
จริงอยู่ เมื่อผมหงอกทั้งหลายปรากฏบนศีรษะ บุคคลย่อมเป็นเหมือนยืนอยู่ในสำนักของพญามัจจุราช
เพราะฉะนั้น ผมหงอกทั้งหลายท่านจึงเรียกว่า ทูตของเทวะ คือมัจจุ ที่ชื่อว่า เทวทูต เพราะเป็นทูตเหมือนเทวะ ดังนี้ก็มี
ท่านจักตายในวันชื่อโน้น ฉันใด เมื่อผมหงอกทั้งหลายปรากฏแล้วบนศีรษะ
เพราะฉะนั้น ผมหงอกทั้งหลาย ท่านจึงกล่าวว่า เป็นทูตเหมือนเทพ
โดยปริยายนี้ ผมหงอกทั้งหลาย ท่านจึงเรียกว่าเทวทูต
อรรถกถา สุสีมชาดก
ว่าด้วย พระเจ้าสุสีมะออกผนวช
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1079&p=1&h=ผมหงอก#hl
ประทับยืน ประทับนั่ง และทรงบรรทมแต่ลำพังพระองค์เดียว แต่พระราชาพระองค์นี้เป็นคนหนุ่ม ส่วนเราเป็นคนแก่ ผมหงอกปรากฏบนศีรษะของเรา
พระราชาตรัสว่า ข้าแต่นางผู้เจริญ ถ้ากระนั้น ขอเธอจงถอนผมหงอกเส้นนั้นมาวางไว้บนมือของฉัน.
ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ผมหงอกของหม่อมฉันเอง ไม่ใช่ของพระองค์
ผมหงอกงอกขึ้นบนศีรษะ บนกระหม่อมของหม่อมฉันเอง
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มเมว สีสํ ความว่า พระราชินีทรงแสดงว่า ผมหงอกงอกขึ้นบนศีรษะของหม่อมฉันเอง.
อรรถกถา ๒๘ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒
อรรถกถา เนมิราชชาดก
ว่าด้วย พระเจ้าเนมิราชทรงบำเพ็ญอธิษฐานบารมี
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=28&i=525&p=1&h=ผมหงอก#hl
มีพระราชดำรัสกะเจ้าพนักงานภูษามาลาว่า เมื่อใดเจ้าเห็นผมหงอกในศีรษะเรา เจ้าจงบอกข้าเมื่อนั้น.
ผมหงอกที่งอกบนศีรษะของพ่อนี้ นำความหนุ่มไปเสีย เป็นเทวทูตปรากฏแล้ว คราวนี้จึงเป็นคราวที่พ่อจะบวช.
ครั้นตรัสดังนี้แล้ว ก็อภิเษกพระราชโอรสในราชสมบัติ แล้วพระราชทานพระโอวาทว่า แม้ตัวเธอเห็นผมหงอกอย่างนี้แล้ว ก็พึงบวช.
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒
อรรถกถา เนมิราชชาดก
ว่าด้วย พระเจ้าเนมิราชทรงบำเพ็ญอธิษฐานบารมี
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=28&i=525&p=3&h=ผมหงอก#hl
ผมหงอกที่งอกขึ้นบนเศียรของพ่อเหล่านี้ เกิดแล้วก็นำความหนุ่มไปเสีย เป็นเทวทูตปรากฏแล้ว สมัยนี้จึงเป็นคราวที่พ่อจะบวช.
วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2563
พระปัจเจกไม่ได้เป็นใบ้ พระอนาคามีพรหมยุคพระพุทธเจ้ากัสสปะเช่นกัน แต่ท่านพูดอริยสัจแล้วคนฟังไม่บรรลุเท่านั้นเอง คำของท่านเลยไม่เป็นอริยสัจ
อนึ่ง คนที่สามารถเริ่มบัญญัติอริยสัจให้คนอื่นบรรลุได้ มีเฉพาะพระพุทธเจ้าเป็นคนแรกของยุคเท่านั้น.
แต่อยากให้มองมุมนี้ด้วยว่า เป็นไปไม่ได้ที่พระอนาคามีอริยะ จะกล่าว "อริยสัจ" ไม่ได้เลย, เช่นเดียวกับพระปัจเจกอริยะ เพราะท่านเหล่านี้ไม่ได้เป็นใบ้. #แต่ที่ท่านไม่อาจทำให้คนอื่นบรรลุได้ เพราะท่าน #ไม่มีความสามารถบัญญัติ คำที่ทำให้คนอื่นบรรลุได้ (ขุ.ปฏิ.อ.) เนื่องจากการจะรู้คำที่เหมาะสมแก่คนอื่นจะต้องสะสมบารมีร่วมกันมายาวนานมาก และเมื่อคนพวกนั้นไม่ได้สั่งสมบารมีมาเพื่อบรรลุกับท่านเขาก็จะไม่บรรลุเมื่อฟังธรรมจากปากพระปัจเจกอริยะ เป็นต้น (ขุ.อปทาน).
กล่าวง่ายๆ คือ พูดเหตุผลได้ รู้ทุกข์สมุทัยนิโรธมรรค แต่พูดแล้วคนฟังไม่บรรลุ ก็ไม่เป็นอริยสัจนั่นเอง.
ที่มาของคำว่า อริยสัจ ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เกี่ยวข้องกับลักขณสูตร อย่างไร? (#วิธีสวดธรรมจักรอย่างเข้าใจ1)
วันอังคารที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2563
ถาม: ไม่อยากบวชให้พ่อแม่ทำอย่างไร? ตอบ: อยู่ที่ว่าเราใจกว้างแค่ไหน
วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2563
แสงสี เกิดได้ทั้งทำสมถะและวิปัสสนา ขณะที่พระพุทธเจ้าบรรลุก็มีแสงสีสว่างไสวไปทั่วเช่นกัน
วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2563
อายุพระศาสนา 5,000 ปี มาในปฐมสังคายนาตรงๆ
วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2563
ปัญญา,ญาณ, สัมมาทิฏฐิ เหมือนกันในธัมมสังคณี, ต่างกันในปฏิสัมภิทามรรค เป็นต้น อยู่ที่บริบท
ตอบสั้นๆ: ปัญญา, ญาณ, สัมมาทิฏฐิ เหมือนกันในที่แสดงองค์ธรรม เช่น ใน อภิ.ธัมมสังคณี, แต่ต่างกันในพระสูตรที่แสดงลำดับการพัฒนา เช่น ในมาติกา ขุ.ปฏิสัมภิทามรรคบาลี. ขึ้นอยู่กับบริบท เพราะในระบบมุขปาฐะ เรื่องเดียวกัน ถ้าองค์ธรรมเดียวกันแต่ปัจจัยต่างกัน จะใช้ศัพท์แยกกัน เพื่อป้องกันผู้เรียนสับสน.ปัญญา กับ สัมมาทิฏฐิ เป็นอย่างเดียวกันหรือเปล่าหากคนละอย่าง มีความแตกต่างอย่างไร
ตอบแบบอธิบาย: คำถามนี้ เป็นคำถามประเภทที่เคยสร้างความร้าวฉานในคณะสงฆ์ไทยมานับครั้งไม่ถ้วน ทั้งๆ ที่เป็นคำถามไม่ยากนักสำหรับผู้ที่เรียนมาแบบท่องจำในระบบมุขปาฐะ, ฉะนั้น ขออนุญาตตอบละเอียด เพื่อให้เกิดความสามัคคี เห็นอกเห็นใจกันของหมู่คณะพุทธบริษัท 4.
คำถามๆ เกี่ยวกับศัพท์บาลี ฉะนั้นก็ต้องดูว่า ในพระไตรปิฎกภาษาบาลีใช้ 2 คำนี้อย่างไร?
หรือในสูตรเดียวกันนี้ นามรูปํ ในสัจจะบรรพะ หมุนด้วยปฏิจจสมุปบาทนัย > กาเย > กายสฺมึ > เวทนาสุ > เวทนาสุ > จิตฺเต > จิตฺตสฺมึ > ธมฺเมสุ > ธมฺเมสุ ทั้งหมดนี้องค์ธรรมไม่เท่ากันเช่นกัน
อีกตัวอย่างในมาติกา ขุ.ปฏิสัมภิทามรรคบาลี:
- ข้อความนี้ ปัญญาจะชำนาญหรือไม่ชำนาญก็ได้ แต่ญาณต้องชำนาญแล้ว (ญาตฏฺเฐน ญาณํ; สุฏฺฐุ ชานนํ; อภิญฺญาตํ): "'พวกนี้ควรถูกทำญาตปริญญา' เมื่อฟังจำและเข้าใจแง่มุมต่างๆ อย่างนี้เป็นปัญญาที่ชำนาญจากการฟัง (สุตมยญาณ)ฯ"
- สมฺมาทิฏฺฐิ คู่กับ มิจฉาทิฏฺฐิ พระโสดาบันละมิจฉาทิฏฐิได้สิ้น จึงสำเร็จทัสสนภูมิ เข้าสู่ขั้นภาวนาภูมิ. แต่ยังมีอวิชชา ที่ไม่เกิดกับทิฏฐิได้อยู่.
- วิชฺชา คู่กับ อวิชฺชา พระอรหันต์ละอวิชชาได้หมดสิ้น ถึงที่สุดแห่งภาวนาภูมิ ไม่ต้องทำภาวนากิจเพื่อละกิเลสอีกต่อไป.
- ปญฺญา(ปชานน) จะชำนาญหรือไม่ชำนาญก็ได้ แต่ญาณต้องชำนาญแล้ว และปุถุชนฝึกปัญญาให้เป็นสัมมาทิฏฐิญาณ ในทัสสนภูมิ, พระโสดาบัน(ทิฏฐิสัมปันโน) ฝึกสัมมาทิฏฐิญาณให้เป็นภาวนามยญาณ ในภาวนาภูมิ. ทั้งหมดเป็นปัญญา แต่ความสมบูรณ์ของปัญญา (level) ถูกแจกออกด้วยศัพท์ว่า ญาณ, สัมมาทิฏฐิ, ทิฏฐิสัมปันโน, ทัสสนภูมิ, ภาวนาภูมิ.
วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2563
อินทรีย์กุศล ทำให้สำเร็จอรหัตผล ได้อย่างไร?
พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า เพราะอินทรีย์กุศล คือ ศรัทธา ศีล สมาธิ ภาวนา ปัญญา
อินทรีย์ คือ อะไร?
อินทรีย์ คือ การรับผิดชอบหน้าที่ต่างๆ. อินทรีย์มีทั้งกุศล อกุศล อัพยากตะ, แต่สำหรับในเรื่องภาวนา จะนับเอาเฉพาะอินทรีย์ที่เป็นกุศลเท่านั้น โดยเฉพาะศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา.อินทรีย์ เปรียบเหมือนผู้มีอำนาจทำงานเฉพาะด้านนั้นๆ ถ้าผู้มีอำนาจรับผิดชอบทำหน้าที่ของตนในงานที่ทำร่วมกันอย่างสมัครสมานสามัคคีทำงานกันอย่างเต็มที่จนพัฒนาถึงที่สุดแล้ว งานก็ย่อมออกมาสมบูรณ์.
- สัทธินทรีย์ รับผิดชอบหน้าที่เชื่อมั่น โดยมีอำนาจทำงาน คือ เชื่อมั่นอารมณ์ของกุศลเท่านั้น.
- วิริยินทรีย์ มีอำนาจทำงาน คือ ทำกุศลเท่านั้นที่เกิดพร้อมกันนั้นให้พากเพียรทำกิจของตนอย่างต่อเนื่อง.
- สตินทรีย์ มีอำนาจทำงาน คือ ไม่ลืมอารมณ์ของกุศลเท่านั้น.
- สมาธินทรีย์ มีอำนาจทำงาน คือ มีอารมณ์เพียงอารมณ์เดียวและเป็นอารมณ์ของกุศลเท่านั้น.
- ปัญญินทรีย์ มีอำนาจทำงาน คือ แทงตลอดอารมณ์ของกุศลเท่านั้นในแง่มุมต่างๆ ตรงตามปฏิจจสมุปบาทและปฏิจจสมุปปันนะ (เหตุผล).
อรหัตผล คือ อะไร?
กุศล คือ อะไร?
โรคและโทษ (คือ กิเลสที่ทำให้จิตเป็นอกุศล) คืออะไร?
- ให้ผลเสีย คือ ทุกขวิบาก ในโลกนี้.
- ให้ผลเสีย คือ ทุกขวิบาก ในโลกหน้า.
- ไม่ทำให้นิพพาน ยังได้รับทุกขวิบากในวัฏฏะต่อไปไม่สิ้นสุด.
- เสียประโยชน์ตนเอง คือ ตนเองได้ทุกขวิบาก.
- เสียประโยชน์คนอื่น คือ คนอื่นได้ทุกขวิบาก.
- เสียประโยชน์ส่วนรวม คือ ทั้งตนเองและคนอื่นได้ทุกขวิบาก.
การบริหารอินทรีย์ให้สมดุล
ผลของการปรับอินทรีย์ได้สมดุล
----------------------------------
https://archive.org/details/12FEB2020/21+Feb+2020+สมถกัมมฐาน+9+การปรับสมดุลของอินทรีย์+และโพชฌงค์.MP3
สิ่งที่เหลือท้ายสุดของปริยัติศาสนา คือ การท่องจำอย่างเข้าใจ ไม่ใช่เล่มหนังสือ
วิธีเริ่มเจริญธรรมคุณ บทว่า สฺวากฺขาโต
วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
นั่งสมาธิเองที่บ้านอย่างไรไม่ให้บ้า
อย่ายึดติดกับความคิดตัวเอง หรือยึดติดกับอาจารย์ของตัวเอง อย่ายึดติดกับสิ่งที่เคยปฏิบัติตามๆกันมาไม่ว่าจะทำมานานเท่าไหร่แล้วก็ตาม เปิดใจรับฟังคนอื่น #พยายามคิดปรับปรุงพัฒนาการนั่งสมาธิ ให้ใกล้เคียงกับพระไตรปิฎกมากขึ้นๆ ตลอดเวลา
แต่จริงๆพระอาจารย์ที่มีความชำนาญช่วยได้มากนะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าท่านปฏิบัติมานาน และสามารถทรงจำพระไตรปิฎกได้อย่างเข้าใจ
ถ้านั่งสมาธิ แล้วพัฒนาสม่ำเสมอแบบนี้ไม่บ้าแน่นอนครับ
แยกจิตเจตสิกได้อย่างไร ในเมื่อเกิดแยกกันไม่ได้
สมาธิเสีย ถ้ามั่วสนใจอาการคันยุบยิบ ไม่กลับไปที่ลมหายใจ (อารมณ์กรรมฐาน)
วันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
ฉลาดในประโยชน์สุข 6 จะประสบอะไรก็สบายใจ
วันเสาร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
ตัวอย่างแปล ลักขณาทิจตุกะของสติ และวิธีแปลไม่ให้พลาด
สติที่ให้ประโยชน์สุขทั้ง 6 อย่าง จะไม่ลืมระลึกอารมณ์ที่จดจำไว้อย่างแม่นยำว่า "อารมณ์นี้เป็นอารมณ์ทำให้เกิดประโยชน์สุข 6 อย่าง" เป็นต้น.
-------------------------------------
เป็นต้น = "นี้เป็นอารมณ์ให้พลาดประโยชน์สุข 6 อย่าง", "นี้ไม่ทำให้เกิดประโยชน์สุข 6 อย่างด้วย ไม่ทำให้พลาดประโยชน์สุข 6 อย่างด้วย".
ประโยชน์สุข 6 อย่าง คือ ประโยชน์โลกนี้ ประโยชน์โลกหน้า ประโยชน์คือนิพพาน ประโยชน์ตนเอง ประโยชน์คนรอบข้าง ประโยชน์ส่วนรวม.
---------------------------
ดึงปัจจยธรรมมาแปลด้วยครับ, การแปลบาลี ให้แปลแบบสภาค ฆฏนา บางคำมาก่อน บางคำมาหลัง ต้องโยคมาให้ครบตามบริบท อย่างในที่นี้ลักขณาทิจตตุกกะของสติ มาในหมวดกุสลอยู่แล้ว บริบทก็กล่าวถึงกุศล ฉะนั้นเวลาแปลต้องไปโยคลักขณาทิจตุกกะของกุศล และลักขณาทิจตุกกะของสภาวธรรมอื่นๆ ที่ระบุไว้ในลักขณาทิจตุกกะ มาแปลด้วย (ในที่นี้ คือ ถิรสัญญาเจตสิก เป็นต้น), ไม่เช่นนั้น เท่ากับแปลไม่ครบ อรรถะตกหาย ก็จะขัดกับเนตติปกรณ์ทันที. นี่เป็นเหตุผลว่า ทำไมพระไตรปิฎกแปลฉบับปัจจุบันจึงอ่านยากมากๆ เพราะดึงปัจจยธรรมมาไม่ครบตามที่บริบทบาลีระบุไว้, และพระพุทธเจ้าจึงไม่ให้ท่องจำพระไตรปิฎกด้วยภาษาอื่น (ก็คือ ห้ามท่องจำรักษาด้วยฉบับแปลนั่นเอง) ก็เพราะพอไปภาษาอื่นแล้ว ทำให้เวลาโยคสภาวะปัจจัยปัจจยุปบันแล้วมันมาได้ไม่ครบ เนื่องด้วยกฎของภาษาทุกภาษาที่ล้วนมีข้อแตกต่างกันอย่างมาก (เพราะลำดับบท 6 จะเป็นหาระจะพาผู้ท่องจำไปเข้าใจพยัญชนบท 6 จนได้อัตถบท 6 เมื่อได้แล้วก็เอาอัตถบท 6 มาทำกรรมนัย 2 พอเทียบองค์ธรรมได้ทิสใครทิสมัน เหล่ากอใครเหล่ากอมันแล้ว ก็จะสามารถใช้อัตถนัย 3 นำอรรถะออกมาจากพระสูตรได้) ครับ.
ผมใช้วิธีแปลแบบนี้ร่วมกับการท่องจำซ้ำๆ ในการทำความเข้าใจปฏิสัมภิทามรรค เป็นต้น. มันได้ผลยอดเยี่มมากๆ ครับ.
วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
หลักสูตรบาลีควรให้ท่องจำพระสูตรบาลีที่เป็นกรรมฐานควบคู่ไปด้วย
วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
ตอบคำถามของผู้ไม่ทรงจำพระสูตรบาลี ไม่เคยทำฌาน แต่ดูหมิ่นผู้ได้ฌานที่ทรงจำพระบาลี
-การเห็นขันธ์ทั้งหมดโดยแง่มุมปัจจัยปุจจยุปบันต่างๆ คือโดยปฏิจจสมุปบาท ปฏิจจสมุปปันนะ และโดยลักษณะ ทั้งโดยอัทธา สันนติ และขณะว่า แต่ละอย่างๆ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ชื่อว่าวิปัสสนาปัญญา, ปัญญานั้นแหละที่มีความชำนาญดี จนสามารถเห็นอย่างนั้นนั่นแหละ ในวิปัสสนาจารจิตวิถีวาระสุดท้ายที่เข้าไปเห็นขันธ์อย่างนั้นได้ ไม่เหลือขันธ์ใดที่ยังไม่ได้เข้าไปเห็นอย่างนั้นอีกเลย เรียกว่า วิปัสสนาญาณ.
-การมีสีลวิสุทธิแล้ว มีจิตตวิสุทธิแล้ว #เข้าถึงภาวะแห่งทิฏฐิจริตบุคคล มีทิฏฐิวิสุทธิแล้ว มีกังขาวิตรณวิสุทธิแล้ว มีสัมมสนญาณแล้ว มีมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิแล้ว, ทำปัญญาที่กล่าวมาข้างบนนั้นให้เกิดต่อเนื่องไม่ขาดสาย ชื่อว่า วิปัสสนาปัญญา. เมื่อใดโทษเริ่มปรากฎแก่ผู้ปฏิบัติภังคานุปัสสนาวิปัสสนาอยู่อย่างนั้น เมื่อนั้นชื่อว่า ปัญญานั้นชำนาญในขั้นวิปัสสนาญาณ เพียงพอสำหรับทำอาทีนวญาณต่อไป.
(ปฏิสมฺภิทามรรค, เนตฺติ, วิสุทฺธิมคฺค)
2. ทำสมาธิต่างจากทำสมถะ, ต่างจากทำวิปัสสนาอย่างไร ?
สมถะหนีอารมณ์ เพราะเห็นอนิจจังทุกขังแล้วเบื่อหน่าย แต่ไม่แทงตลอดปัจจัยปัจจยุปบันจนเห็นอนัตตา เพราะไม่ได้เอาอนิจจัง ทุกขังมาภาวนา, วิปัสสนาเอาอนิจจังทุกขังมาภาวนา โดยแทงตลอดปัจจัยปัจจยุปบันเห็นอนิจจังทุกขัง จนเห็นอนัตตาปรากฎชัดขึ้นมาด้วย. อย่างไรก็ตาม จิตตวิสุทธิสมถะภาวนา จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับเนยยบุคคล และวิปปจิตัญญูตัณหาจริต เพราะพลววิปัสสนาญาณมีปฏิปักข์ คือ อนุสัยกิเลส, ฉะนั้น ถ้าผู้ปฏิบัติไม่ข่มปริยุฏฐานกิเลสด้วยจิตตวิสุทธิสมถะภาวนามาให้ชำนาญก่อน ปัญญาจะไม่ไวและมีกำลังพอจะเกิดต่อเนื่องโดยไม่มีปริยุฏฐานขั้น และวิปัสสนาที่เกิดไม่ต่อเนื่องมีปริยุฏฐานขั้นนี้เอง ไม่เป็นภาวนาจึงไม่สามารถพัฒนาเป็นญาณได้ (แต่ในทิฏฐิจริตบุคคล หรือ ตัณหาจริตบุคคลที่ได้ฌานแล้ว จะเหลือเพียงอุปักกิเลสที่จะเกิดแทรกภังคานุปัสสนาญาณ และพลววิปัสสนาญาณจะเสื่อม กิเลสตัวนี้ละเอียดว่า ปริยุฏฐานปกติ).
3. ทำฌานนั่งทางในเห็นอดีต เห็นอนาคต เห็นเลข หวยเรียกว่าทำวิปัสสนาใช่ไหม?
คำถามนี้หมิ่นเหม่ครับ. คนไม่เคยทำฌานอย่างถูกวิธีตามวิสุทธิมรรค และไม่ได้ทรงจำกายคตาสติสูตรบาลี มหาสติปัฏฐานสูตรบาลี ด้วยวิธีของเนตติปกรณ์และปฏิสัมภิทามรรค จะคิดไปเองว่า "คนทำฌานนั่งทางในเห็นอดีต เห็นอนาคต เห็นเลข".
ระวังจะเป็นการดูหมิ่นพระบาลีนะครับ. ท่านดูตอนท้ายของกายคตาสติสูตรหรือยัง? ท่านรู้ความเชื่อมโยงของกายคตาสติสูตรและมหาสติสูตรบาลีครบถ้วนตามหลักเนตติปกรณ์หรือไม่? ท่านเข้าใจมติกาเนตติปกรณ์และปฏิสัมภิทามรรคญาณกถา ดีเพียงไร?
ท่องจำบาลีให้ดี เพ่งทุกอักขระให้ดี สูตรเดียว แม้จำได้ทุกตัวอักษรแล้วแล้ว แต่ก็ยังต้องฝึกท่องทวนซ้ำๆ เพ่งด้วยเนตติปกรณ์อีกเป็นปีๆ กว่าจะเข้าใจได้จริงๆ แบบที่ผู้ทรงพระไตรปิฎก จูฬสุมนะและมหานาคะ ท่านทำกันในอรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร. ฉะนั้น ผู้ที่อ่านแต่ฉบับแปล ท่องแต่ฉบับแปล จะไม่มีทางเข้าใจพระสูตรได้อย่างลึกซึ้ง เพราะฉบับแปลซับซ้อนกว่ามาก และตกหล่นเยอะมาก จึงเป็นผู้มีปกติดูหมิ่นพระสูตรที่ผู้ทรงจำพระไตรปิฎก ท่านทรงจำไว้ตามที่พระพุทธเจ้าสั่งให้จำไว้ #ดูหมิ่นพระสูตรแล้วๆเล่าๆโดยไม่รู้ตัว. ไม่ทำฌานอย่าสอนเรื่องฌาน อย่าตำหนิเรื่องฌาน, ไม่ทรงจำบาลีพระสูตรอย่างชำ่ชองแทงตลอดทุกอักขระ อย่าสอนพระสูตรครับ เพราะเมื่ออุปาทานเข้าไปยึดแล้ว ต่อให้ผมอ้างพระสูตรมาอีก 100 สูตร ท่านก็อาจไม่สละคืนทิฏฐิแล้วในตอนนั้น.
4. สติปัฏฐานต่างจากวิปัสสนาอย่างไร ? ปฏิบัติเหมือนกันหรือไม่ ? ผู้ปฏิบัติจะมีฤทธิ์ไหม ?
สติปัฏฐานมีความหมาย 3 อย่าง แต่เมื่อมาคู่กับวิปัสสนา หมายถึง สติที่ตั้งมั่นในอารมณ์. สติปัฏฐานเป็นได้ทั้งสมถะและวิปัสสนา. วิปัสสนาเป็นวิปัสสนาเท่านั้น.
ในกายคตาสติสูตรอรรถกถา และวิสุทธิมรรคกายคตาสติกถา แสดงไว้ว่า กาย 11 บรรพะ เป็นได้ทั้งสมถะและได้ทั้งวิปัสสนา ขึ้นอยู่กับวิธีการกำหนด. ทั้ง 14 บรรพะท่านแสดงไว้ในกายคตาสติสูตรบาลีซึ่งแสดงเบื้องต้นด้วยอุปจาระ ท่ามกลางสูตรด้วยอัปปนาและอุปมา ที่สุดของสูตรด้วยอานิสงส์ ซึ่งรวมถึงการมีฤทธิ์ด้วย (อาศัยนิมิตของ 14 กอง มาทำกสิณต่ออีกทีหนึ่ง อรรถกถาของกายคตาสติสูตรและวิสุทธิมรรค กายคตาสติกถากล่าวไว้).
5. นิพพานเป็นเมืองใช่ไหม? ใครไปถึงแล้วไม่แก่ ไม่ตาย จริงไหม ? ทำอย่างไรจึงไปถึงนิพพานได้ ?
ไม่ใช่. ไม่ใช่. ทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้า.
การร้องทำนองเพลงที่ใจนึกถึงธรรมะ สมควรอยู่, แต่การร้องธรรมะที่ใจนึกถึงทำนองเพลง ไม่สมควร
การร้องทำนองเพลงที่ใจนึกถึงธรรมะ สมควรอยู่, แต่การร้องธรรมะที่ใจนึกถึงทำนองเพลง ไม่สมควร https://wiki.sutta.men/ฟุตโน้ต:541:99 -------------...
-
โครงการศึกษาพระวินัยปิฏกแบบโบราณเพื่อการประพฤติปฏิบัติ สถานที่ตั้งสำนักเรียนมหาธรรมรักขิตเจดีย์ -146 ม.1 ต.โป่งน้ำร้อน อ.โป่งน้ำร้อน จ.จัน...
-
ในกรณีที่มีอาจารย์กรรมฐานที่มี คุณสมบัติ คือ ทั้งบรรลุธรรม ได้ฌาน ได้อภิญญา ได้วิปัสสนาญาณ ได้มรรคผล และทั้ง ทรงจำพระไตรปิฎก อย่าง คล่องป...
-
ถ: ถ้าติดสังฆาทิเสสแล้วไม่ได้แก้ก่อนสึกจะทำให้ชีวิตไม่ดีทำมาหากินไมขึ้นจริงหรือเปล่าครับ? ต: อาบัติไม่มีผลกับฆราวาส ครับ, สึกมาเป็นฆรา...