วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เจตสิกแค่มีอารมณ์เท่านั้น แต่ไม่ใช่สภาพรู้ (2)

เจตสิกทุกดวง มีอารัมมณปัจจัย จึงเป็น สารัมมณธรรม (ธรรมที่มีอารมณ์๋) เช่นเดียวกับจิต ทั้งสองจึงมีสัมปยุตตลักษณะข้อที่ว่า มีอารมณ์เดียวกัน ได้.
แต่ไม่มีเจตสิกดวงไหนที่มี "วิชานนลักขณะ" (ลักษณะที่รู้แจ้งอารมณ์) อย่างจิต, ฉะนั้น จะกล่าวว่า "เจตสิกรู้อารมณ์เหมือนจิต" ไม่ได้เด็ดขาด เพราะขัดกับลักขณาทิจตุกะ.
เป็นความผิดพลาดขั้นร้ายแรง เพราะผิดที่เรื่องพื้นฐาน และไม่มีอรรถกถา ฏีการองรับ ครับ.

บัญญัติ สรุป (เอาเอง) จากอรรถกถาอภิธัมมาวตาร‬.


1. อัตถบัญญัติ คือ กลุ่มของสภาวะ หรือ อาการของกลุ่มสภาวะ เช่น กลุ่มของปฐวีสภาวะ ที่มีสัททบัญญัติว่า สสัมภารปฐวี, อาการของสภาวะธรรมเก่าดับไป สภาวะใหม่เกิดขึ้น ที่มีสัททบัญญัติว่า อนิจจลักษณะ.
2. อุปนิธานบัญญัติ คือ ความต่างระหว่างสภาวะ ที่จิตเปรียบเทียบ เช่น สูงกว่า ยาวกว่า เล็กกว่า (ส่วนเปรียบ คือ อุปนิธานบัญญัติ คำว่าสูงกว่า คำว่ายาวกว่า เป็นสัททบัญญัติ).
3. สัททบัญญัติ คือ ชื่อเรียกของสภาวะ อัตถบัญญัติ สัททบัญญัติ หรือ อุปนิธานบัญญัติ เช่น คำว่า "สสัมภารปฐวี" ที่สื่อถึงกลุ่มของสภาวะแค่นแข็ง, คำว่า "เล็กกว่า" ที่สื่อถึงความต่างระหว่างปฐวี ที่มีน้อยกว่า อีกปฐวีหนึ่ง (ประมวลสลับระหว่าง สภาวะ กับ อัตถบัญญัติ), คำว่า "คำว่า ปฐวี" (ทั้ง 2 คำ) ที่สื่อถึงสัททบัญญัติที่ตั้งไว้ว่า "ปฐวี".
ส่วนอันนี้ เป็นบัญญัติ แปลเผด็จจาก อภิธัมมัตถสังคหะ.
http://dhammacomment.blogspot.com/2014/11/8.html
การเผยแพร่เรื่องเหล่านี้ เพื่อให้ความเข้าใจเรื่องวิปัสสนาของชาวพุทธไทย ตรงตามอรรถกถา ครับ.

วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เจตสิกแค่มีอารมณ์เท่านั้น, เจตสิกไม่รู้อารมณ์ (ฉบับเต็ม)


เจตสิกไม่มีสภาพรู้, จิต เจตสิก เป็นสภาพที่มีอารมณ์ (อารัมมณิกะ) ไม่ได้มีสภาพรู้อารมณ์ (วิญญาณ), ไม่ได้มีสภาพจำอารมณ์ (สัญญา) และไม่ได้มีสภาพแทงตลอดอารมณ์ (ปัญญา).
เจตสิกทุกดวง มีอารมณ์เป็นปัจจัย จึงเป็นสารัมมณธรรม (ธรรมที่มีอารมณ์) เช่นเดียวกับจิต ทั้งสองจึงมีสัมปยุตตลักษณะข้อที่ว่า มีอารมณ์เดียวกัน ได้.
แต่ไม่มีเจตสิกดวงไหนที่มี "วิชานนลักขณะ" (ลักษณะที่รู้แจ้งอารมณ์) อย่างจิต, ฉะนั้น จะกล่าวว่า "เจตสิกรู้อารมณ์เดียวกันกับจิต" ไม่ได้เด็ดขาด เพราะขัดกับ ลักขณาทิจตุกะ.
เป็นความผิดพลาดขั้นร้ายแรง เพราะผิดที่เรื่องพื้นฐาน และไม่มีอรรถกถา ฏีการองรับ, ทำให้การเรียนอภิธรรมเกิดความสับสน, และขัดกับการปฏิบัตินามรูปปริจเฉทญาณ, การทำฆนวินิพโภคะตามวิสุทธิมรรค.
ที่ใช้สอนๆ กันอยู่ในตอนนี้ว่า "จิตรู้อะไร เจตสิกก็รู้อันนั้น" ไม่มีในพระไตรปิฎก อรรถกถา มีแต่ "จิตมีอารมณ์อะไร เจตสิกก็มีอารมณ์นั้น". (ฉบับแปลอาจจะแปลคลุมเครือบ้าง แต่ถ้าย้อนไปดูบาลี มั่นใจว่าไม่ได้แปลเช่นนั้นแน่ๆ).
ในสังคหะ ป. 6 ก็มีแค่ว่า "สพฺพญฺจ ปเนตํ รูปํ อเหตุกํ สปฺปจฺจยํ สาสวํ สงฺขตํ โลกิยํ กามาวจรํ อนารมฺมณํ อปฺปหาตพฺพเมวาติ เอกวิธมฺปิ อชฺฌตฺติกพาหิราทิวเสน พหุธา เภทํ คจฺฉติฯ" จะเห็นได้ว่า มีแค่อนารัมมณัง ไม่มีอวิญญาณัง.
แต่ละเจตสิกมีลักษณะ กิจ สัมปัตติ ปัจจุปัฏฐาน ปทัฏฐานของเขา อย่าให้ปนกัน จะอ่านอรรถกถาเรื่องวิปัสสนาญาณแรกสับสนยากขึ้นทันที.
อันนี้ เป็นความแปลง่ายๆ กันจนเคยชิน แต่จะทำให้อ่านอรรถกถาภาษาบาลีแล้วกำกวม เข้าใจยาก ต้องแก้ไขวิธีสอนกัน.
อุปมา
จะอุปมาให้เข้าใจชัดเจน ก็เหมือน คนที่มีรถคันเดียวกัน ก็มีคนขับเพียงคนเดียว คนนั่งเบาะข้างคนขับคนเดียว คนนั่งเบาะหลังซ้าย เบาะหลังขวา อย่างละคน. แต่ทุกคนนั่งรถคันเดียวกัน. การนั่งรถคันเดียวกัน จึงไม่ได้มีตรงไหนสื่อเลยว่า ทุกคนต้องเป็นคนขับรถ. ทุกคนล้วนเป็นคนละคนกันอยู่ดี นั่งคนละตำแหน่ง ทำคนละอย่าง ในรถคันเดียวกันนั่นแหละ.
จิตเหมือนคนขับรถมีหน้าที่รู้อารมณ์, เจตสิกแต่ละดวงเหมือนคนอื่นๆ บนรถ, รถเหมือนอารมณ์, คนทุกคนบนรถ ไม่ใช่คนๆเดียวกัน แม้จะนั่งบนรถ คือ อารมณ์เดียวกัน, แต่คนอื่นบนรถก็ไม่ได้มีหน้าที่ขับรถ คือ ไม่ได้มีหน้าที่รู้อารมณ์แบบจิต ถึงมีหน้าที่นั่งในรถเหมือนๆกัน คือ มีอารมณ์เดียวกันนั่นเอง, แต่มีสภาพ มีกิจของตนต่ออารมณ์ต่างๆ กัน.

ข้อเสียของการเข้าใจผิดในเรื่องนี้

  1.  ไม่สามารถแยกจิตออกจากเจตสิกได้ด้วยปริยัติในภาษาไทย เพราะสัมปยุตลักษณะมีไว้แสดงกิจร่วมด้วยช่วยกันของนามธรรม, แต่ลักขณาทิจจตุกะมีไว้แสดงกิจแยกกันของนามธรรม. เมื่อนำกิจแยกไปแปลเป็นกิจร่วม (แปล สารัมมณะ ว่า "รู้"อารมณ์) ความต่างกันก็จะไม่สามารถปรากฎชัดด้วยปริยัติ.
  2. คำว่า แยก แปลได้ว่า วิภาค, วิภังค์, ปริจเฉท, ปริจฺฉินฺน, วิภชฺช, วินิพฺโภค, กำหนด, กำหนดตัด
  3. อภิธรรมส่วนใด ที่มีคำแปลข้างต้น และแสดงนามธรรมไว้, อภิธรรมส่วนนั้น มีโอกาสเข้าใจผิดพลาด หรือ ไม่ชัดเจน หรือคลุมเคลือ เพิ่มขึ้น.
  4. ตัวอย่างความไม่ปรากฎชัด "จิตรู้อารมณ์ = เจตสิกรู้อารมณ์ ต่างกันอย่างไร?" ทั้งๆ ที่บาลีต่างกันอยู่แล้ว ไม่ควรต้องถาม คือ "(จิตฺตํ = อารมฺมณวิชานนลกฺขณํ) != (เจตสิกํ = เจโตยุตฺตลกฺขณํ)"
  5.  อาจเข้าใจผิดในนามปริจเฉทตามทิฏฐิวิสุทธินิทเทส, นามวินิพโภคะตามมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธนิทเทส.

สรุปว่า...
ไม่จำเป็นต้องถามว่า "จิตรู้อารมณ์ ต่างจาก เจตสิกรู้อารมณ์ อย่างไร?"
เพราะบาลีข้างล่างนี้ แสดงไว้แล้วว่า จิตเท่านั้นที่รู้อารมณ์ เจตสิกไม่ใช่สภาพรู้อารมณ์ ฉะนั้น ที่ถามว่า "เจตสิกรู้อารมณ์ อย่างไร” จึงเป็นคำถามที่ผิดสภาวะ.
บาลีที่ว่า:

  • จิตฺตํ = อารมฺมณวิชานนลกฺขณํ
  • เจตสิกํ = เจโตยุตฺตลกฺขณํ

อนึ่ง สัมปยุตลักษณะในบาลี บอกแค่ว่า "เจตสิกมีอารมณ์เดียวกันกับจิต” ไม่ได้บอว่า "เจตสิกรู้อารมณ์”

วันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

สรุปย่อการทำวิปัสสนาตามลำดับ.

เมื่อแยกสภาวะออกจากกันได้ รู้นามปรมัตถ์ รูปปรมัตถ์ แต่ละอย่างๆ ไม่ปะปนกัน จะไม่พบสัตว์บุคคล ใดๆ มีแต่ขันธ์เท่านั้น, 

แม้เมื่อพิจารณาโดยปัจจัย ก็ไม่เห็นสัตว์บุคคลใดๆ ที่ทำให้ปัจจยุปบันเกิด มีเพียงสภาวะธรรม ที่เป็นปัจจัยปัจจยุปบันซึ่งกันและกันเท่านั้น. ตรงนี้ ญาณแรกต้องวิสุทธิ์จริงๆ ไม่งั้นทำไปทำมาก็จะมึนงงสับสน เป็นต้นเหตุของวิจิกิจฉา เพราะสาวหาเหตุแล้วไม่รู้ว่า เป็นบัญญัติหรือปรมัตถ์ ก็จะได้สิ่งที่ไม่ใช่เหตุมาเป็นเหตุ สิ่งที่ไม่ใช่ผลมาเป็นผล วิจิกิจฉาก้จะเกิดจากตรงนี้.

จากนั้น อนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะ อนัตตลักษณะ จะปรากฎชัดขึ้นมาก. 

ยิ่งพิจารณาปัจจัย ยิ่งเห็นไตรลักษณ์ เห็นโทษ เพราะปัจจัยมากมาย ซึ่งไม่มีอะไรบังคับอะไรได้จริงๆ เลย อาศัยความพรั่งพร้อมของปัจจัยจริงๆ ปัจจยุปบันจึงเกิดขึ้นได้ (สภาคะ-ฆฏนา). 

ท่านจึงให้น้อมไปเพ่งโทษเหตุเกิดหลักๆ ของขันธ์ คือ อวิชชา ตัณหา กรรม อาหาร และอุปาทขณะของรูปเป็นต้น. กิเลสจะค่อยๆหลุดลอกออกตรงนี้ ครับ.

วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

คบกับคอธรรมะ ต้องคุยให้เป็นธรรมะ

การที่จะคบกับคอธรรมะ คุณก็ต้องพยายามคุยให้เป็นธรรมะ เพราะต่อให้เจอกันตัวเป็นๆ ก็คุยกันไม่ได้มาก ถ้าคุณไม่ใช่คนที่มีธรรมะ. แต่แม้จะไม่เคยเห็นหน้ากันเลยก็คุยกันยาวเหยียดได้ ถ้าเป็นคอธรรมะด้วยกัน.
พระตถาคต เคยตรัสไว้แล้วว่า "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา" นะครับ.

วันศุกร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การตำหนิที่ควรก็มี ที่ไม่ควรก็มี

พวกที่สำคัญว่า ไม่ควรตำหนิใครโดยประการทั้งปวง ไม่ว่าจะทำด้วยบุญ หรือบาป ก็ไม่ควร, สุดท้ายจะเป็นคนที่ใครๆ ก็เตือนไม่ได้ ครับ.

แล้วก็จะตกนรก เหมือนกับพวกที่ตำหนิมั่วไปทั่วเช่นกัน เพราะใครแนะนำอรรถหรือธรรมก็ไม่ได้ ก็จะคอยเพ่งแต่ว่า คนที่ตำหนิทำสิ่งไม่เหมาะสม แล้วไม่รับฟัง.

เหตุนี้ จึงต้องมองให้ครบถ้วนทุกมุม ครับ.

การทำบุญบาปเหมือนสะสม exp เลเวลในเกม แต่เกมชีวิตมันมีลดเลเวลได้

 การทำบุญบาปเหมือนสะสม exp เลเวลในเกม แต่เกมชีวิตมันมีลดเลเวลได้ ถ้าไม่ทำครบขั้นตอนแบบพระพุทธเจ้าบอกสูตรไว้ คือ ดีแล้วกลับมาชั่วทีหลัง ชั่วแ...