วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2563

ถาม: ถ้ามีสมาธิย่อมมีสติถ้ามีสติย่อมมีสมาธิ ใช่ไหม?

ถาม: ถ้ามีสมาธิย่อมมีสติ
ถ้ามีสติย่อมมีสมาธิ ใช่ไหม?

ตอบ:

-สติขณะให้ทาน มีขณิกสมาธิ ซึ่งตามวิสุทธิมรรคแสดงไว้จะยังไม่ใช่จิตตวิสุทธิ(สมาธิ) โดยตรง แต่เอามาทำจาคานุสสติ เพื่อให้ได้จิตตวิสุทธิได้.

-สติขณะรักษาศีลก็เช่นเดียว แต่ศีลเป็นสิกขา คือฝึกฝนพัฒนาให้ต่อเนื่องได้ (ทานต้องมีของจะให้ ซึ่งทำไม่ได้ตลอดเวลา).

-สติขณะทำสมถะ มีอุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ที่วิสุทธิมรรค กล่าวว่า เป็น จิตตวิสุทธิโดยตรง, ฉะนั้น เอามาเป็นฐานในการทำวิปัสสนาต่อได้เลย. และพอเป็นเรื่องที่ทำในใจล้วนๆ ฉะนั้นจึงเป็นภาวนาได้เพราะทำต่อเนื่องได้ไม่ขาดสาย เช่นเดียวกับวิปัสสนา.

-สติขณะทำวิปัสสนา มีพลววิปัสสนาสมาธิ สมาธินี้ไม่ใช่จิตตวิสุทธิ แต่เป็นปหานปริญญา คือ วิสุทธิ 3,4,5 ซึ่งเป็นผลของ ทาน + ศีล + สมถะ + ปริญญา 2.

-สติขณะฟังธรรมะ มีสมาธิ และปัญญาที่คล้อยตามสิ่งที่เรียนนั้นๆ (ญาตฏฺเฐน ญาณํ ปชานนฏฺเฐน ปญฺญา) เช่น เรียนทาน ก็เป็นทาน, เรียนศีล ก็เป็นศีล, ถ้าภาวนาไปด้วยก็เป็นภาวนา, ถ้าฝึกไปด้วย ก็เป็นสิกขา เป็นต้น. ปรารภได้แค่ไหน ก็เป็นแค่นั้น ในคนเริ่มฟัง  เริ่มท่อง ไม่มีอัธยาศัย อาจจะไม่เป็นปัญญาเลยก็ได้ เพราะปรารภใจความไม่ได้เลย เป็นต้น.

ฉะนั้น ต้องดูว่า พระพุทธพจน์ในที่นั้นๆ มีบริบทอย่างไรครับ. 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รับตอบปัญหาธรรมะ ตามพระไตรปิฏก อรรถกถา ฏีกา
ท่านสอบถาม/แสดงความคิดเห็น/บอกข้อบกพร่องของบทความได้ที่ facebook: ตอบปัญหาธรรมะลึกซึ้ง หรือ ช่องตอบกลับข้างล่างนี้.

ยุคนี้เบาแล้ว

ยุคนี้เบาแล้ว ย้อนไปก่อนจะมีพระพุทธเจ้า  ดูประวัติศาสตร์โลกก็ได้โหดร้ายขนาดไหน, เดี๋ยวพอหมดยุคของพระพุทธเจ้านะ  โคตรหนักแน่นอน 😊  ไม่งั้นจะ...