วันพฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2563

ผมหงอก ออกบวช เจริญเนกขัมมะ : วัฒนธรรม ผู้มีปัญญา

อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑๒
๑๒. อัตตวรรควรรณนา               
๑. เรื่องโพธิราชกุมาร [๑๒๗]   (บางส่วน)
               พึงรักษาตนไว้ให้ดีในวัยทั้ง ๓               
               พระศาสดา ครั้นทรงแสดงบุพกรรมนี้ของโพธิราชกุมารนั้น แล้วตรัสว่า
               “ราชกุมาร ก็ในกาลนั้น ถ้าพระองค์กับพระชายา จักถึงความไม่ประมาท แม้ในวัย ๑ บุตรหรือธิดา พึงเกิดขึ้นแม้ในวัย ๑ ก็ถ้าบรรดาพระองค์ทั้ง ๒ แม้คนหนึ่งจักได้เป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว บุตรหรือธิดาจักอาศัยผู้ไม่ประมาทนั้นเกิดขึ้น ราชกุมาร ก็บุคคล เมื่อสําคัญตนว่า เป็นที่รัก จึงไม่ประมาท รักษาตนแม้ในวัยทั้ง ๓ เมื่อไม่อาจ (รักษา) ได้อย่างนั้น พึงรักษาให้ได้แม้ในวัย ๑”
               แล้วจึงตรัสพระคาถานี้ว่า
                         [๑๕๗]               “ถ้าบุคคลรู้ว่าตนเป็นที่รัก ก็ควรรักษาตนนั้น
                         ไว้ให้ดี บัณฑิตควรประคับประคองตนไว้ให้ได้อย่างน้อย
                         ยามใดยามหนึ่งใน ๓ ยาม”

               บรรดาคําเหล่านั้น ในคํานี้ว่า ยาม (ยามํ) พระศาสดาทรงแสดงวัยทั้ง ๓ วัยใดวัยหนึ่งให้ชื่อว่ายาม เพราะความที่พระองค์ทรงเป็นใหญ่ในธรรมและเพราะความพระองค์ทรงฉลาดในเทศนาวิธี เพราะเหตุนั้น ในพระคาถานี้ บัณฑิตพึงทราบความอย่างนี้ว่า
               “ถ้าบุคคลรู้ว่าตนเป็นที่รัก พึงรักษาตนนั้น ให้เป็นอันรักษาดีแล้ว คือพึงรักษาตนนั้น โดยประการที่ตนเป็นอันรักษาดีแล้ว บรรดาชนผู้รักษาตนเหล่านั้น ถ้าผู้เป็นคฤหัสถ์คิดว่า ‘จักรักษาตน’ เข้าไปยังห้องที่เขาปิดไว้เรียบร้อย เป็นผู้มีอารักขาสมบูรณ์ อยู่บนพื้นปราสาทชั้นบนก็ดี ผู้เป็นบรรพชิตอยู่ในถ้ำอันปิดเรียบร้อย มีประตูและหน้าต่างอันปิดแล้วก็ดี ยังไม่ชื่อว่ารักษาตนเลย
               แต่ผู้เป็นคฤหัสถ์ ทําบุญทั้งหลายมีทานศีลเป็นต้นตามกําลังอยู่ หรือผู้เป็นบรรพชิต ถึงความขวนขวายในวัตร ปฏิบัติ ปริยัติ และการทําไว้ในใจอยู่ ชื่อว่าย่อมรักษาตน บุรุษผู้เป็นบัณฑิต เมื่อไม่อาจ (ทํา) อย่างนั้นได้ใน ๓ วัย (ต้อง) ประคับประคองตนไว้แม้ในวัยใดวัยหนึ่งก็ได้เหมือนกัน ก็ถ้าผู้เป็นคฤหัสถ์ไม่อาจทํากุศลได้ในปฐมวัย เพราะความเป็นผู้หมกมุ่นอยู่ในการเล่น ในมัชฌิมวัยพึงเป็นผู้ไม่ประมาททําเพ็ญกุศล ถ้าในมัชฌิมวัยยังต้องเลี้ยงบุตรและภรรยา ไม่อาจบําเพ็ญกุศลได้ ในปัจฉิมวัยพึงบําเพ็ญกุศลให้ได้ ด้วยอาการแม้อย่างนี้ ตนเป็นอันเขาประคับประคองแล้วทีเดียว แต่เมื่อเขาไม่ทําอย่างนั้น ตนย่อมชื่อว่าไม่เป็นที่รัก ผู้นั้น (เท่ากับ) ทำตนนั้นให้มีอบายเป็นที่ไปในเบื้องหน้าทีเดียว
               ก็ถ้าว่า บรรพชิต ในปฐมวัย ทําการสาธยายอยู่ ทรงจำ บอก ทําวัตรปฏิบัติตอบอยู่ ชื่อว่าถึงความประมาท ในมัชฌิมวัยพึงเป็นผู้ไม่ประมาท บำเพ็ญสมณธรรม อนึ่ง ถ้ายังสอบถามอรรถกถาและวินิจฉัยและเหตุแห่งปริยัติอันตนเรียนแล้วในปฐมวัยอยู่ ชื่อว่าถึงความประมาทในมัชฌิมวัย ในปัจฉิมวัยพึงเป็นผู้ไม่ประมาทบําเพ็ญสมณธรรม ด้วยอาการแม้อย่างนี้ ตนย่อมเป็นอันบรรพชิตนั้นประคับประคองแล้วทีเดียว แต่เมื่อไม่ทําอย่างนั้น ตนย่อมชื่อว่าไม่เป็นที่รัก บรรพชิตนั้น (เท่ากับ) ทำตนนั้นให้เดือดร้อน ด้วยการตามเดือดร้อนในภายหลังแท้”
               ในเวลาจบเทศนา โพธิราชกุมารดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว พระธรรมเทศนาได้สาเร็จประโยชน์ แม้แก่บริษัทที่ประชุมกันแล้วดังนี้แล

อรรถกถา ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑

               อรรถกถา เอกกนิบาตชาดก อปัณณกวรรค
               มฆเทวชาดก ว่าด้วยเทวทูต
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=9&p=1&h=ผมหงอก#hl

               วันหนึ่ง ตรัสเรียกช่างกัลบกมาว่า ดูก่อนช่างกัลบกผู้สหาย ท่านเห็นผมหงอกบนศีรษะของเราในกาลใด
               พระราชาตรัสว่า สหาย ถ้าอย่างนั้น ท่านจงถอนผมหงอกนั้นของเรา เอามาวางในฝ่ามือ.
               แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น พระราชาได้ทรงเห็นผมหงอกแล้ว ก็ทรงสำคัญประหนึ่งว่า
               ดูก่อนมฆเทวะผู้เขลา เจ้าไม่อาจละกิเลสเหล่านี้ จนตราบเท่าผมหงอกเกิดขึ้น.
               เมื่อพระเจ้ามฆเทวะนั้นทรงรำพึงถึง ผมหงอกที่ปรากฏแล้ว
               ดูก่อนพ่อ ผมหงอกปรากฏบนศีรษะของพ่อแล้ว พ่อเป็นคนแก่แล้ว
               พระราชาทรงถือผมหงอก ตรัสพระคาถานี้แก่อำมาตย์ทั้งหลายว่า
               บทว่า อิเม ชาตา วโยหรา ความว่า พ่อทั้งหลาย จงดูผมหงอกเหล่านี้เกิดแล้ว ชื่อว่าเป็นเหตุนำเอาวัยไป
               เพราะนำเอาวัยทั้ง ๓ ไป โดยภาวะปรากฏผมหงอก.
               จริงอยู่ เมื่อผมหงอกทั้งหลายปรากฏบนศีรษะ บุคคลย่อมเป็นเหมือนยืนอยู่ในสำนักของพญามัจจุราช
               เพราะฉะนั้น ผมหงอกทั้งหลายท่านจึงเรียกว่า ทูตของเทวะ คือมัจจุ ที่ชื่อว่า เทวทูต เพราะเป็นทูตเหมือนเทวะ ดังนี้ก็มี
               ท่านจักตายในวันชื่อโน้น ฉันใด เมื่อผมหงอกทั้งหลายปรากฏแล้วบนศีรษะ
               เพราะฉะนั้น ผมหงอกทั้งหลาย ท่านจึงกล่าวว่า เป็นทูตเหมือนเทพ
               โดยปริยายนี้ ผมหงอกทั้งหลาย ท่านจึงเรียกว่าเทวทูต

 
               อรรถกถา สุสีมชาดก
               ว่าด้วย พระเจ้าสุสีมะออกผนวช
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1079&p=1&h=ผมหงอก#hl

               ประทับยืน ประทับนั่ง และทรงบรรทมแต่ลำพังพระองค์เดียว แต่พระราชาพระองค์นี้เป็นคนหนุ่ม ส่วนเราเป็นคนแก่ ผมหงอกปรากฏบนศีรษะของเรา
               พระราชาตรัสว่า ข้าแต่นางผู้เจริญ ถ้ากระนั้น ขอเธอจงถอนผมหงอกเส้นนั้นมาวางไว้บนมือของฉัน.
               ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ผมหงอกของหม่อมฉันเอง ไม่ใช่ของพระองค์
               ผมหงอกงอกขึ้นบนศีรษะ บนกระหม่อมของหม่อมฉันเอง
               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มเมว สีสํ ความว่า พระราชินีทรงแสดงว่า ผมหงอกงอกขึ้นบนศีรษะของหม่อมฉันเอง.

อรรถกถา ๒๘ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒

               อรรถกถา เนมิราชชาดก
               ว่าด้วย พระเจ้าเนมิราชทรงบำเพ็ญอธิษฐานบารมี
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=28&i=525&p=1&h=ผมหงอก#hl

               มีพระราชดำรัสกะเจ้าพนักงานภูษามาลาว่า เมื่อใดเจ้าเห็นผมหงอกในศีรษะเรา เจ้าจงบอกข้าเมื่อนั้น.
               ผมหงอกที่งอกบนศีรษะของพ่อนี้ นำความหนุ่มไปเสีย เป็นเทวทูตปรากฏแล้ว คราวนี้จึงเป็นคราวที่พ่อจะบวช.
               ครั้นตรัสดังนี้แล้ว ก็อภิเษกพระราชโอรสในราชสมบัติ แล้วพระราชทานพระโอวาทว่า แม้ตัวเธอเห็นผมหงอกอย่างนี้แล้ว ก็พึงบวช.

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒

               อรรถกถา เนมิราชชาดก
               ว่าด้วย พระเจ้าเนมิราชทรงบำเพ็ญอธิษฐานบารมี
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=28&i=525&p=3&h=ผมหงอก#hl

               ผมหงอกที่งอกขึ้นบนเศียรของพ่อเหล่านี้ เกิดแล้วก็นำความหนุ่มไปเสีย เป็นเทวทูตปรากฏแล้ว สมัยนี้จึงเป็นคราวที่พ่อจะบวช.

            

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รับตอบปัญหาธรรมะ ตามพระไตรปิฏก อรรถกถา ฏีกา
ท่านสอบถาม/แสดงความคิดเห็น/บอกข้อบกพร่องของบทความได้ที่ facebook: ตอบปัญหาธรรมะลึกซึ้ง หรือ ช่องตอบกลับข้างล่างนี้.

การร้องทำนองเพลงที่ใจนึกถึงธรรมะ สมควรอยู่, แต่การร้องธรรมะที่ใจนึกถึงทำนองเพลง ไม่สมควร

การร้องทำนองเพลงที่ใจนึกถึงธรรมะ สมควรอยู่, แต่การร้องธรรมะที่ใจนึกถึงทำนองเพลง ไม่สมควร https://wiki.sutta.men/ฟุตโน้ต:541:99 -------------...