วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

ตัวอย่างการเทียบมหาสติปัฏฐานสูตร กับสูตรอื่นๆ 1

จำได้เคยกล่าวไว้ว่ามหาสติปัฏฐานสูตรเป็นสีหวิกกีฬิตนัย (แสดงลำดับแต่ต้นจนจบเหมือนราชสีห์คำรามได้สมบูรณ์แบบ) เป็นพุทธาสยะ ในที่นี้จะแสดงตัวอย่าง การนำมหาสติปัฏฐานสูตรไปเทียบเคียงกับสูตรต่างๆ

อรรถกถาด้านล่าง เป็นอุปมาที่เทียบกับลำดับของ ปุน จ ปรํ มหาสติปัฏฐานสูตรได้เลยครับ เยี่ยมจริงๆ 

จะเห็นว่า ตอนแรกกล่าวถึงสมาธิก่อน เทียบกับอานาปานาบรรพะที่ 1 ซึ่งขยายด้วย 14 บรรพะในกายคตาสติสูตร และตามด้วยอานาปานัสสติสูตร ถ้าไม่บรรลุก็มามหาสติปัฏฐานสูตร ต่อ.

อิริยาบถบรรพะสัมปชัญญะบรรพะ ที่ 2 ในที่นี้กล่าวอิริยาบถนั่งอย่างเดียว ด้วยอำนาจพลววิปัสสนาที่ไม่มีแม้แต่ทานศีลสมถะเกิดแทรกเลย บรรลุในบัลลังก์เดียวนั่นแหละ. 

แต่ผู้มีอินทรีย์อ่อน เมื่อไม่ฝึกอินทรีย์ 5 ทั้งฝ่ายจิตตวิสุทธิและทิฏฐิวิสุทธิเป็นต้น ในอิริยาบถทั้ง 4 ฐานะ 7 ย่อมไม่อาจยังพลววิปัสสนาให้ดำรงอยู่ได้จนถึงมรรค.

ปฏิกูลบรรพะที่ 3 แสดงไว้ด้วยอำนาจ โกฏฐาส 42 เพราะในขุททกปาฐะ ท่านแสดงอาการ 32 ก่อน แล้วตามด้วยอาการ 42 เพื่อแสดงถึงการนำอาการ 32 นั่นแหละ มาแยกธาตุ 4 ออก เพื่อนำไปพิจารณาปฏิจจสมุปบาทในสามเณรปัญหาปาฐะถัดไป.

เพราะเหตุนั้นเอง จึงแสดง ธาตุมนสิการบรรพะที่ 4 เป็นบรรพะถัดจากปฏิกูลบรรพะ ที่ 3.

เมื่อจะกำหนดรูปกรรมฐานที่แยกธาตุแล้วในบรรพะก่อน ด้วยอำนาจอาทีนวานุปัสสนา จึงแสดงนวสีวถิกบรรพะ ปิดท้าย กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน. และกำหนด เวทนา จิต ธรรม ที่เกิดขึ้นในขณะกำหนดรูปกรรมฐาน จึงแสดง เวทนา จิต ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐานต่อไป. ในวิสุทธิมรรค ทิฏฐิวิสุทธินิทเทส จึงแสดงการกำหนดสภาพธรรมปัจจุบันที่ชัดทางใดทางหนึ่ง เวทนา จิต ผัสสะ (ธรรมานุปัสสนา).

ทั้งหมด เป็นขยานุปัสสนา ด้วยบทว่า สมุทยธมฺมานุปสฺสี วา เป็นต้น และบทนั้นถูกขยายตั้งแต่ขันธบรรพะ เป็นต้นไป.
---------อ.มหารุกขสูตรที่ 5-----------
ในพระสูตรนี้ วัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ ๓ เหมือนต้นไม้ใหญ่.
               พระโยคาวจรเหมือนบุรุษผู้ต้องการโค่นต้นไม้. ญาณคือความรู้เหมือนจอบ สมาธิเหมือนกระบุง ญาณเหมือนขวานสำหรับตัดต้นไม้
               ปัญญาของพระโยคีผู้เรียนกัมมัฏฐานในสำนักอาจารย์แล้ว มนสิการอยู่ เหมือนเวลาที่ต้นไม้ถูกตัดที่ราก.
               เวลามนสิการมหาภูตรูป ๔ โดยย่อ เหมือนเวลาที่ตัดเป็นท่อนเล็กท่อนน้อย. เวลามนสิการโดยพิสดาร ในโกฏฐาส ๔๒ เหมือนการผ่า.
               การกำหนดนามรูปด้วยอำนาจแห่งธรรมเหล่านี้ คืออุปาทายรูปและวิญญาณอันมีรูปขันธ์เป็นอารมณ์ เหมือนเวลาเกรียก. การแสวงหาปัจจัยของนามรูปนั่นแหละ เหมือนการถอนรากไม้. การบรรลุผลอันเลิศ (อรหัตผล) ของพระโยคีผู้เจริญวิปัสสนาโดยลำดับ ได้สัปปายะอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว
               เมื่อกัมมัฏฐานปรากฏแจ่มแจ้งอยู่ นั่งขัดสมาธิท่าเดียวกระทำสมณธรรมอยู่ เหมือนเวลาที่ผึ่งลม ตากแดดแล้วเอาไฟเผา. เวลาที่พระโยคีไม่ปรินิพพานในวันที่ตนบรรลุพระอรหัตนั่นเอง แต่ดำรงอยู่ตราบเท่าอายุ เปรียบเหมือนมนสิการ.

https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=206&p=1&h=%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3#hl

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รับตอบปัญหาธรรมะ ตามพระไตรปิฏก อรรถกถา ฏีกา
ท่านสอบถาม/แสดงความคิดเห็น/บอกข้อบกพร่องของบทความได้ที่ facebook: ตอบปัญหาธรรมะลึกซึ้ง หรือ ช่องตอบกลับข้างล่างนี้.

การทำบุญบาปเหมือนสะสม exp เลเวลในเกม แต่เกมชีวิตมันมีลดเลเวลได้

 การทำบุญบาปเหมือนสะสม exp เลเวลในเกม แต่เกมชีวิตมันมีลดเลเวลได้ ถ้าไม่ทำครบขั้นตอนแบบพระพุทธเจ้าบอกสูตรไว้ คือ ดีแล้วกลับมาชั่วทีหลัง ชั่วแ...