สูตรนี้ ให้สัมพันธ์บทหน้าบทหลังให้ดี ใช้หาระพาเข้าไปวิจัยบท แล้วใช้สีหวิกกีฬิตนัยกับติปุกขลนัยบรรทุกอรรถะออกมา เพื่อให้สรุปได้ว่ามหาสติปัฏฐานสูตรเป้นสูตรประเภทใด. ทำให้ได้ทุกบท จะกระจ่างเหมือนพระจันทร์วันเพ็ญ.
ปิยรูป สาตรูป ให้นับเป็นปัจจุบันผล 30 กับ ปัจจุบันเหตุ 30 ด้วยนันทิยาวัฏฏนัย.
ปัจจุบันผล คือ ปิยรูปสาตรูป30 คือ วิบาก 32 และธรรมที่เนื่องกับวิบากนั้นทางทวาร 6 รวมรูป เสียง เป็นต้นด้วย.
#เป็นผลที่ห้ามไม่ได้.
ปัจจุบันเหตุ 30 อุปาทานและสัมปยุตธรรมร่วมทำงาน กล่าวคือ สัญญาจำปิยรูปสาตรูป เพื่อให้สัญเจตนาจัดแจงหามาให้ตัณหาเสพ แล้ววิตก วิจาร ก็พา 4 อย่างที่เหลือ เข้าไปเสพอีกแล้วๆเล่าๆ กลายเป็นอกุศลเป็นอเนก) ครับ.
#เป็นเหตุที่ฝึกฝน ละคลายได้.
อวิชชา (อญฺญาณํ) ปกปิดญาณํให้ไม่อาจปชานาติ สิกฺขติ ปจฺจเวกฺขติ ปสฺสติ อุปสงฺหรติ คือ ไม่ให้ปัญญารู้ชำนาญในแง่มุมที่แท้จริงโดยสภาวะที่เป็นปัจจัยปัจจยุปบันบ้าง (วิปัสสนาบรรพะ) โดยสภาวะที่ข่มนิวรณ์ได้บ้าง (อานาปานัสสติ กายคตาสติ นวสีวถิกาสมถะและอุปจาระของทั้ง 21 บรรพะ). สตฺตานุปัสสี จึงกลายเป็นมิจฺฉาทิฏฐิมรรค มิจฺฉาสติมรรค มีปลายทางมากมายในวัฏฏะ.
ต่อเมื่อพระโยคีรักษาสติในสติปัฏฐานด้วยอานาปานัสสติสูตร กายคตาสติสูตร แล้วนำสมถะที่ได้นี้มาปชานาติเป็นต้นในสัจจะ 4 ตามมหาสติปัฏฐานสูตร อันเป็นวิปัสสนา ตัณหาในกรัชกาย ก็หลุดออก ดับ สละ ปล่อย พ้น หมดความติดใจ. กายานุปัสสีเป็นต้น ก็กลายเป็นสัมมาทิฏฐิ. สัมมาทิฏฐิ คือ "ปสฺสี" ที่ชำนาญจนไม่ต้อง "อนุ" เรียกว่า ทิฏฐิ ในฐานะของ ธมฺมจกฺขุ เรียกว่า ทุกฺเข ญาณํ เป็นต้น ในฐานะของปญฺญา (อนุปสฺสี ปชานาติ ปจฺจเวกฺขติ อุปสงฺหรติ ญาณํ) ที่กลายเป็นความชำนาญในขณะจิตเดียว (อยเมว อริโย อฏฺฐงฺคิโก มัคคอัปปนาจิตตุปบาโท). มีปลายทางเดียว คือ นิโรธ นิพพาน ออกจากวัฏฏะ.
ถามว่าหลุดออกเป็นต้นอย่างไร?
ตอบว่า เมื่อวิปัสสนาจารจิตตุปบาท แยกสภาวะแทงตลอดด้วยปัญญา ก็ถอนอารมณ์ด้วยนามกายคือจิต จึงถอนความเห็นว่ามีสิ่งอื่นจากขันธบรรพะ ด้วยบทว่า กาเย (นิทธารณะ แบบ เอกวจนะ), กายสฺมึ, ฯลฯ ธมฺเมสุ, สมุทยธมฺมานุปสฺสี, รูปสฺส สมุทโย เป็นต้น เมื่อถอนฆนะ 4 ได้สิ้น สังขตลักษณะย่อมปรากฎ ญาณก็เห็น (อนุปสฺสี) ทุกขสัจ คือ อุปาทานขันธ์ (ขันธบรรพะ) ตามเป็นจริงได้ เพราะไม่มีอวิชชาว่า "นี้ก้อนสัตว์ ทำกิจหากินได้ตามใจ รู้อารมณ์ได้ตามใจ ล่องลอยไปเกิดไปตายตามใจนึก ดับสูญได้ตามใจนึก" เป็นต้น เหลืออยู่. เมื่อญาณทำกิจแทงตลอดได้ในทุกแง่มุม ย่อมเห็นปัจจัยปัจจยุปบัน ทั้งที่เป็นอตีตเหตุ 2 ปัจจุบันผล 5 ปัจจุบันเหตุ 3 อนาคตผล 2 (ปฏิจจสมุปบาทแบบข้ามภพชาติ ไม่ได้กล่าวในมหาสติปัฏฐานสูตร เพราะเป็นพลววิปัสสนา จึงมีเฉพาะปัจจุบันอัทธา โดยเฉพาะปัจจุบันขณะ คือ สติสัมปยุตตจิตตุปบาทที่เพิ่งดับไป ที่ต้องนำมาทำภังคญาณ, อย่างไรก็ตาม ทรงตรัสปฏิจจสมุปบาทข้ามภพชาติ ไว้ด้วยอำนาจอภิญญาคือบุพเพนิวาสานุสติญาณในกายคตาสติสูตร ที่เป็นสมถะ; อนึ่ง ที่ต้องแยกสูตรกัน เพราะมีความยาวมาก ด้วยอำนาจเป็นสีหวิกกีฬิตนัย พุทธาสยะ).
การประจักษ์อุปาทานขันธ์ในปฏิจจสมุปบาท (อาการ 50) คือ ปิยรูปสาตรูป ที่เป็นปัจจุบันผล อนาคตเหตุ ที่กำลังปรากฎอยู่ทางทวาร 6 นี้เอง ทำให้ละตัณหาในที่นี้ พังทลายในที่นี้.
เมื่อนั้นปชานาติเป็นต้น คือ อนุปัสสี ก็กลายเป็นสัมมาทิฏฐิในมัคคจิตตุปบาท และความประจักษ์ไตรลักษณ์ทางทวาร 6 ในระดับมหาสติปัฏฐานสูตรนี้ ก็ทำให้ ญา ธาตุ ทิส ธาตุ อิกฺข ธาตุ ทั้งหมดในสูตรนี้ พัฒนาไปได้ถึง "อัญญา" ในที่สุด.
สูตรนี้ ให้สัมพันธ์บทหน้าบทหลังให้ดี จะเข้าใจไม่ยาก เพราะเป็นพุทธาสยะ เป็นสีหวิกกีฬิตนัย เมื่อเชื่อมกับกายคตาสติสูตร อานาปานัสสติสูตรแล้ว ก็จะไม่มีบทไหนน่าสงสัยเหลือเลย แม้ความเห็นของพระมหาสิวะและมหาอรรถกถา ก็กลับกลายเป็นเรื่องเดียวกัน ที่ขยายกันด้วยสีหวิกกีฬิตนัย และติปุกขลนัยไปเสีย พระไตรปิฎกพร้อมทั้งอรรถกถา ก็จะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างไม่มีที่น่าสงสัย #จริงๆ ด้วยประการอย่างนี้.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
รับตอบปัญหาธรรมะ ตามพระไตรปิฏก อรรถกถา ฏีกา
ท่านสอบถาม/แสดงความคิดเห็น/บอกข้อบกพร่องของบทความได้ที่ facebook: ตอบปัญหาธรรมะลึกซึ้ง หรือ ช่องตอบกลับข้างล่างนี้.