เริ่มต้นท่องง่ายที่สุดคือ ไปท่องกับอาจารย์กรรมฐาน ที่เป็นผู้ทรงจำพระไตรปิฎกบาลีสืบๆกันมา. ถ้ายังหาไม่ได้จริงๆ ก็เลือกสูตรฉบับแปลมาสักฉบับนึง แล้วก็ท่องเช้ากลางวันเย็น (พระปฐมสังคายนาจารย์แนะนำให้เริ่มจาก ขุททกปาฐะ 9 บท).
ทำในใจไว้เสมอว่า กำลังท่องจำบทกรรมฐานที่จะต้องนำมาประพฤติปฏิบัติ. ท่องไวๆ อย่ายานคางยืดยาดเสียเวลา.
เมื่อเริ่มจำได้ จะต้องฝึก วิธีเข้าใจทีละอักขระ บท พยัญชนะ นิรุต นิทเทส อาการ ตามหลักเนตติปกรณ์เพื่อให้ได้อัตถบท 6 ออกมา แล้วเอามาทำนัยะ 2 นัย 3 เพื่อให้ได้ สภาวะออกมา.
ถ้าอย่างนี้ ขณะที่สวดก็จะแทงตลอดสภาวะไปด้วย โอกาสเข้าใจคลาดเคลื่อนก็จะน้อย เป็นการศึกษาพระไตรปิฎกที่ตรงตามตำรา แล้วก็จะเอามาปฏิบัติได้ง่ายขึ้นมากๆ. แม้จะสวดเร็วแต่ก็เข้าใจไปด้วยในขณะที่สวดได้ (ต้องสวดทุกวันๆละหลายรอบ สวดทั้งวันทั้งคืน แต่ไม่สวดดัง สวดในใจ ไม่งั้นปากจะร้อนในได้).
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
รับตอบปัญหาธรรมะ ตามพระไตรปิฏก อรรถกถา ฏีกา
ท่านสอบถาม/แสดงความคิดเห็น/บอกข้อบกพร่องของบทความได้ที่ facebook: ตอบปัญหาธรรมะลึกซึ้ง หรือ ช่องตอบกลับข้างล่างนี้.