ปัจจุบันธรรม คือ สังขตธรรมที่ถึงสังขตลักษณะ (อุปาทะ ฐิติ ภังคะ) ก่อนกว่า อนาคตธรรม แต่หลังกว่าอตีตธรรม.
อนาคตธรรม คือ สังขตธรรมที่ถึงสังขตลักษณะ (อุปาทะ ฐิติ ภังคะ) หลังกว่าปัจจุบันธรรม.
ข้อความรู้:
- ปัจจุบันธรรมที่ดับไปแล้ว คือ อดีตธรรมของอนาคตธรรม, และอนาคตธรรม ต้องเปลี่ยนไปเรียกว่า ปัจจุบันธรรม เมื่อมันกำลังถึงสังขตลักษณะอยู่ แทนที่ปัจจุบันธรรมของมันผ่านสังขตลักษณะไปแล้ว. ด้วยเหตุนี้ กาลจึงเป็นเพียง อุปาทาบัญญัติ, อัตถบัญญัติ.
- ทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบันธรรม ทั้งหมดล้วนเป็นอุปปันนธรรม เพราะในอรรถกถากล่าวไว้ว่า อุปปันนธรรม คือ ธรรมที่ถึงสังขตลักษณะ.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
รับตอบปัญหาธรรมะ ตามพระไตรปิฏก อรรถกถา ฏีกา
ท่านสอบถาม/แสดงความคิดเห็น/บอกข้อบกพร่องของบทความได้ที่ facebook: ตอบปัญหาธรรมะลึกซึ้ง หรือ ช่องตอบกลับข้างล่างนี้.