จากเรื่องพระจักขุปาลเถรวัตถุ (ของธรรมบท พระไตรปิฎกเล่มที่ 25 และประมวลพระวินัยปิฎก เล่ม 4 มหาวรรค ภาค 1 รวมทั้ง อรรถกถา)
- พระจักขุบาลท่านไปอยู่กับอุปัชฌาย์จารย์ (ผู้ทรงพระไตรปิฎกบางส่วนเคร่งครัดวินัยที่จบหลักสูตรภิกขุปริสูปัฏฐาปกะสอนหลักสูตรนิสสยมุจจกะให้พระนวกะได้ เช่น อูอาจิณณะแห่ง pa-auk ตอยะ).
- หลักสูตรนิสสยมุจจกะ ที่ทำให้พระจักขุบาลต้องเรียน (ท่องจำ, ทำความเข้าใจ) ก่อนทำวิปัสสนาธุระ (ปฏิบัติ) คันถธุระ (กิจหลังปฏิบัติจบแล้ว) เป็นอย่างไร?
- #หลักสูตรฆราวาสและสามเณรสำหรับเตรียมความพร้อม
- ในอรรถกถาขุททกปาฐะ กล่าวไว้มีใจความว่า การสังคายนาครั้งที่ 1 พระอรหันต์ 500 รูปได้รวบรวมพระสูตรบทเล็กๆ ที่นิยมใช้เริ่มเรียนเริ่มสอนกันในสมัยพุทธกาล ไว้ให้ผู้ใหม่ได้ท่องจำและทำความเข้าใจ เรียกว่า ขุททกปาฐะ มี 9 ข้อ คือ ไตรสรณคมน์, ศีล 10, อาการ 32, กุมารปัญหา, มงคล 38, รตนสูตร, นิธิกัณฑสูตร, ติโรกุฑฒสูตร, เมตตสูตร.
- #หลักสูตรนิสสยมุจจกะสำหรับพระภิกษุที่เตรียมความพร้อมมาแล้ว
- ในอรรถกถาโอวาทกสิกขาบท กล่าวไว้สรุปความว่า:
- ท่องภิกขุปาติโมกข์ ภิกขุนีปาติโมกข์ คล่องปาก ขึ้นใจ เข้าใจเป็นอย่างดีด้วย.
- ท่องพระสูตร ขนาดประมาณมหาสติปัฏฐานสูตร 4 สูตร (4 ภาณวาร) และเข้าใจเป็นอย่างดีด้วย.
- เข้าในสังฆกรรมน้อยใหญ่.
- รู้กถามรรค.
- ท่องสูตรสำหรับงาน 3 ประเภทได้ วิวาหะ, มงคล, อวมงคล.
- เข้าใจสมถกรรมฐานจนถึงบรรลุ (สมถยานิก), หรือวิปัสสนากรรมฐานจนถึงบรรลุ (วิปัสสนายานิก).
- อยู่กับอุปัชฌาย์ 5 ปีขึ้นไป จึงจะจบหลักสูตรได้ และต้องได้ 6 ข้อข้างต้นด้วย ไม่ได้ก็ไปไหนไม่ได้.
- พระจักขุบาลอยู่ครบ 5 ปี ฝึกฝนทุกอย่างครบ จบหลักสูตรนิสสยมุจจกะ (ถ้าไม่จบต้องอยู่ต่อ ห้ามทิ้งอาจารย์).
- หลังจากนั้น ท่านพระจักขุบาลจึงถึงขั้นตอนที่จะพิจารณาว่า จะทำคันถะธุระ หรือวิปัสสนาธุระ?
- คันถธุระ ในบาลีนั้น คือ หลังจากจบหลักสูตรนิสสยมุจจกะแล้ว ถ้ายังไม่บรรลุ ยังหนุ่มอยู่ก็ไปท่องจำพระไตรปิฎก ทำความเข้าใจอรรถกถา บอกสอน 1 นิกายบ้าง 2 นิกายบ้าง หรือ พระไตรปิฎกทั้งหมดบ้าง.
- วิปัสสนาธุระ ในบาลีนั้น คือ หลังจากจบหลักสูตรนิสสยมุจจกะแล้ว ถ้ายังไม่บรรลุ ก็ทิ้งทุกอย่าง (สลฺลหุกวุตฺติ) ไปอยู่ในเสนาสนะไกลจากกามคุณ 5 แล้วทำขยวยญาณ (อุทยัพพยญาณเป็นต้นไป) ด้วยใจเด็ดเดี่ยวสละชีวิตได้ เจริญวิปัสสนา ให้บรรลุอรหัตตมรรค.
- ทั้งสองอย่างต้องท่องจำ คือ คันถธุระต้องท่องจำพระสูตรตามลำดับทั้งนิกาย (ตามที่แปลไว้ให้ข้างต้น), ส่วนวิปัสสนาธุระต้องท่องจำกรรมฐานที่ใช้ปฏิบัติ (คำว่า "การทรงไว้" ในลิงก์ แปลให้ถูกว่า "การท่องจำ (ธารณ)").
- สุดท้ายท่านจักขุบาลเลือกวิปัสสนาธุระ.
จะเห็นได้ว่า แม้จะเลือกเป็นวิปัสสนาธุระ ก็ต้องเรียนพระไตรปิฎกไม่น้อยเลย. และเป็นข้อบังคับมาจากพระไตรปิฎกอรรถกถาเองด้วย ท่านหรืออาจารย์ของท่าน ไม่ได้คิดขึ้นเอง, ทุกอย่างมีอธิบายในพระวินัยปิฎก และอรรถกถา.
ในอดีตสายพระป่าโบราณก็ศึกษาคล้ายๆ กันนี้, และปัจจุบัน การศึกษาแบบนี้ ยังมีอยู่ที่วัดสาย Pa-Auk ที่พม่าเป็นต้น.
จักขุปาลเถรวัตถุ อรรถกถาธรรมบท
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
รับตอบปัญหาธรรมะ ตามพระไตรปิฏก อรรถกถา ฏีกา
ท่านสอบถาม/แสดงความคิดเห็น/บอกข้อบกพร่องของบทความได้ที่ facebook: ตอบปัญหาธรรมะลึกซึ้ง หรือ ช่องตอบกลับข้างล่างนี้.