วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

สติปัฏฐานทำอย่างไร-04: เจริญสติปัฏฐานด้วยอนุสสติ 6 (อุปจารสมาธิก็เป็นสติปัฏฐาน)

พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับมหาจุฬาฯ) เล่มที่ ๒๒
สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
หน้าที่ ๔๕๙ ข้อที่ ๒๖
-----------------------------------------------
๖. มหากัจจานสูตร
ว่าด้วยพระมหากัจจานะ(๑)
[๒๙๗,๒๖]    ณ    ที่นั้นแล    ท่านพระมหากัจจานะ    เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่าผู้มีอายุทั้งหลาย    ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว    ท่านพระมหากัจจานะจึงได้กล่าวดังนี้ว่า
ผู้มีอายุทั้งหลาย    น่าอัศจรรย์จริง    ไม่เคยปรากฏ    พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นผู้ทรงรู้    ทรงเห็น    เป็นพระอรหันต์    ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ    ได้ตรัสรู้วิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบ(๒)คืออนุสสติฏฐาน    ๖    ประการ    เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย    เพื่อก้าวล่วงโสกะ(ความเศร้าโศก)และปริเทวะ(ความร่ำไร)    เพื่อดับทุกข์(ความทุกข์กาย)และโทมนัส(ความทุกข์ใจ)    เพื่อบรรลุญายธรรม(๓)    เพื่อทำให้แจ้งนิพพาน
อนุสสติฏฐาน    ๖    ประการ    อะไรบ้าง    คือ

(หมั่นนึกถึงคุณธรรมของพระพุทธเจ้า)

๑.    อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ระลึกถึงพระตถาคตว่า    ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น    เป็นพระอรหันต์    ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ    เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี    รู้แจ้งโลก    เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม     เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย    เป็นพระพุทธเจ้า    เป็นพระผู้มีพระภาค’    สมัยใด    อริยสาวก ระลึกถึงพระตถาคต    สมัยนั้น    จิตของอริยสาวกนั้นย่อมไม่ถูกราคะ กลุ้มรุม    ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม    ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม    เป็นจิตดำเนินไป ตรงทีเดียว    เป็นจิตออกไป    พ้นไป    หลุดไปจากความกำหนัด    คำว่า ‘กำหนัด’    นี้    เป็นชื่อของกามคุณ    ๕    อริยสาวกนั้นแล    มีจิตเสมอ อากาศ    อันไพบูลย์    เป็นมหัคคตะ    ไม่มีขอบเขต    ไม่มีเวร    ไม่มีความ เบียดเบียน(๔)อยู่โดยประการทั้งปวง
ผู้มีอายุทั้งหลาย    สัตว์บางพวกในโลกนี้ทำพุทธานุสสตินี้ให้เป็นอารมณ์    ย่อมเป็นผู้มีความบริสุทธิ์เป็นธรรมดาอย่างนี้แล

(หมั่นนึกถึงคุณของพระธรรม)

๒.    อริยสาวกระลึกถึงพระธรรมว่า    ‘พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระ ภาคตรัสไว้ดีแล้ว   ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัด  ด้วยตนเอง    ไม่ประกอบด้วยกาล    ควรเรียกให้มาดู    ควรน้อมเข้า  มาในตน    อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน’    สมัยใด    อริยสาวก ระลึกถึงพระธรรม    สมัยนั้น    จิตของอริยสาวกนั้นย่อมไม่ถูกราคะ กลุ้มรุม    ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม    ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม    ย่อมเป็นจิตดำเนิน ไปตรงทีเดียว    เป็นจิตออกไป    พ้นไป    หลุดไปจากความกำหนัด    คำว่า ‘กำหนัด’    นี้เป็นชื่อของกามคุณ    ๕    อริยสาวกนั้นแล    มีจิตเสมอ อากาศ    อันไพบูลย์    เป็นมหัคคตะ    ไม่มีขอบเขต    ไม่มีเวร    ไม่มีความ เบียดเบียนอยู่    โดยประการทั้งปวง
ผู้มีอายุทั้งหลาย    สัตว์บางพวกในโลกนี้ทำธัมมานุสสตินี้ให้เป็นอารมณ์    ย่อมเป็นผู้มีความบริสุทธิ์เป็นธรรมดาอย่างนี้แล

(หมั่นนึกถึงคุณธรรมของพระสงฆ์)

๓.    อริยสาวกระลึกถึงพระสงฆ์ว่า    ‘พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค    เป็นผู้ปฏิบัติดี    ปฏิบัติตรง    ปฏิบัติถูกต้อง    ปฏิบัติสมควร    ได้แก่    อริยบุคคล    ๔    คู่    คือ    ๘    บุคคล  พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้    เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย    ควรแก่ของต้อนรับ    ควรแก่ทักษิณา    ควรแก่การทำอัญชลี  เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก’    สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงพระสงฆ์    สมัยนั้น    จิตของอริยสาวกนั้นย่อมไม่ ถูกราคะกลุ้มรุม    ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม    ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม    ย่อมเป็น จิตดำเนินไปตรงทีเดียว    เป็นจิตออกไป    พ้นไป    หลุดไปจากความ กำหนัด    คำว่า    ‘กำหนัด’    นี้เป็นชื่อของกามคุณ    ๕    อริยสาวกนั้นแล มีจิตเสมออากาศ    อันไพบูลย์    เป็นมหัคคตะ    ไม่มีขอบเขต    ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่โดยประการทั้งปวง
ผู้มีอายุทั้งหลาย    สัตว์บางพวกในโลกนี้ทำสังฆานุสสตินี้ให้เป็นอารมณ์    ย่อมเป็นผู้มีความบริสุทธิ์เป็นธรรมดาอย่างนี้แล

(หมั่นนึกถึงศีลที่รักษาอยู่)

๔.    อริยสาวกระลึกถึงศีลของตนที่ไม่ขาด    ไม่ทะลุ    ไม่ด่าง    ไม่พร้อย    เป็นไท    ท่านผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิครอบงำ    เป็นไปเพื่อสมาธิ สมัยใด    อริยสาวกระลึกถึงศีลของตน    สมัยนั้น    จิตของอริยสาวก นั้นย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม    ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม    ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว    เป็นจิตออกไป    พ้นไป    หลุดไปจาก ความกำหนัด    คำว่า    ‘กำหนัด’    นี้เป็นชื่อของกามคุณ    ๕    อริยสาวก นั้นแล    มีจิตเสมออากาศ    อันไพบูลย์    เป็นมหัคคตะ    ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร    ไม่มีความเบียดเบียนอยู่    โดยประการทั้งปวง
ผู้มีอายุทั้งหลาย    สัตว์บางพวกในโลกนี้ทำสีลานุสสตินี้ให้เป็นอารมณ์    ย่อมเป็นผู้มีความบริสุทธิ์เป็นธรรมดาอย่างนี้แล

(หมั่นนึกถึงทานที่เคยให้)

๕.    อริยสาวกระลึกถึงจาคะของตนว่า    ‘เป็นลาภของเราหนอ    เราได้ดีแล้วหนอ    เราเป็นผู้มีจาคะ    คือ    มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน  มีจาคะอันสละแล้ว    มีฝ่ามือชุ่ม    ยินดีในการสละ    ควรแก่การขอ  ยินดีในการแจกทานอยู่ครองเรือน’ สมัยใด    อริยสาวกระลึกถึงจาคะของตน    สมัยนั้น    จิตของอริยสาวก นั้นย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม    ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม    ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม เป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว    เป็นจิตออกไป    พ้นไป    หลุดไปจาก ความกำหนัด    คำว่า    ‘กำหนัด’    นี้    เป็นชื่อของกามคุณ    ๕    อริยสาวก นั้นแลมีจิตเสมออากาศ    อันไพบูลย์    เป็นมหัคคตะ    ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร    ไม่มีความเบียดเบียนอยู่    โดยประการทั้งปวง
ผู้มีอายุทั้งหลาย    สัตว์บางพวกในโลกนี้ทำจาคานุสสตินี้ให้เป็นอารมณ์    ย่อมเป็นผู้มีความบริสุทธิ์เป็นธรรมดาอย่างนี้แล

(หมั่นนึกถึงคุณธรรมของเทวดา)

๖.    อริยสาวกระลึกถึงเทวดาว่า    ‘“เทวดาชั้นจาตุมหาราช ชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี ชั้นปรนิมมิตวสวดี เทวดาที่นับเนื่องในหมู่พรหม เทวดาชั้นที่สูงกว่านั้นขึ้นไปมีอยู่ เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศรัทธาเช่นใด จุติจากภพนี้ไปเกิดในภพนั้น     แม้เราเองก็มีศรัทธาเช่นนั้น เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศีลเช่นใด...    สุตะ...    จาคะ...    ปัญญาเช่นใด แม้เราเองก็มีปัญญาเช่นนั้น    สมัยใด    อริยสาวกระลึกถึงศรัทธา ศีล    สุตะ    จาคะ    และปัญญาของตน    และของเทวดาเหล่านั้น สมัยนั้น    จิตของอริยสาวกนั้นย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม    ไม่ถูกโทสะ กลุ้มรุม    ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม    เป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว    เป็นจิต ออกไป    พ้นไป    หลุดไปจากความกำหนัด    คำว่า    ‘กำหนัด’    นี้เป็นชื่อ ของกามคุณ    ๕    อริยสาวกนั้นแลมีจิตเสมอด้วยอากาศ    อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ    ไม่มีขอบเขต    ไม่มีเวร    ไม่มีความเบียดเบียนอยู่โดย ประการทั้งปวง
ผู้มีอายุทั้งหลาย    สัตว์บางพวกในโลกนี้ทำเทวตานุสสตินี้ให้เป็นอารมณ์    ย่อมเป็นผู้มีความบริสุทธิ์เป็นธรรมดาอย่างนี้แล
ผู้มีอายุทั้งหลาย    น่าอัศจรรย์จริง    ไม่เคยปรากฏ    พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นผู้ทรงรู้    ทรงเห็น    เป็นพระอรหันต์    ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ    ได้ตรัสรู้วิธีบรรลุช่องว่างในที่คับแคบ    คือ    อนุสสติฏฐาน    ๖    ประการนี้    เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย    เพื่อก้าวล่วงโสกะ    และปริเทวะ    เพื่อดับทุกข์    และโทมนัส    เพื่อบรรลุญายธรรม    เพื่อทำให้แจ้งนิพพาน
มหากัจจานสูตรที่ ๖ จบ
  ..............................
๑ คัมภีร์บางแห่งใช้ว่า  มหากัจจายนะ
๒ ช่องว่างในที่คับแคบ  หมายถึงทางหลุดพ้นจากกามคุณ  ๕  (รูป  เสียง  กลิ่น  รส  โผฏฐัพพะ)  ทางหลุดพ้น
   นั้นคืออนุสสติฏฐาน  ๖  ประการ  (องฺ.ฉกฺก.อ.  ๓/๒๖/๑๑๐)
๓ ญายธรรม  หมายถึงอริยมัคคธรรม  (สํ.ม.  ๑๙/๒๔/๑๕,  สํ.ม.อ.  ๓/๒๑-๓๐/๑๙๕)
๔ จิตเสมออากาศ  หมายถึงจิตที่ไม่ต้องเกี่ยวข้อง  ไม่ต้องผูกพัน
   ไพบูลย์  หมายถึงจิตไม่ใช่นิดหน่อย
   มหัคคตะ  หมายถึงจิตที่ยิ่งใหญ่  หรือเป็นจิตที่พระอริยสาวกจำนวนมากปฏิบัติมา
   ไม่มีขอบเขต  หมายถึงประมาณไม่ได้
   ไม่มีเวร  หมายถึงปราศจากอกุศลเวรและบุคคลผู้เป็นเวรกัน
   ไม่มีความเบียดเบียน  หมายถึงปราศจากความโกรธและความทุกข์  (องฺ.ฉกฺก.อ.  ๓/๒๖/๑๑๐)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รับตอบปัญหาธรรมะ ตามพระไตรปิฏก อรรถกถา ฏีกา
ท่านสอบถาม/แสดงความคิดเห็น/บอกข้อบกพร่องของบทความได้ที่ facebook: ตอบปัญหาธรรมะลึกซึ้ง หรือ ช่องตอบกลับข้างล่างนี้.

การทำบุญบาปเหมือนสะสม exp เลเวลในเกม แต่เกมชีวิตมันมีลดเลเวลได้

 การทำบุญบาปเหมือนสะสม exp เลเวลในเกม แต่เกมชีวิตมันมีลดเลเวลได้ ถ้าไม่ทำครบขั้นตอนแบบพระพุทธเจ้าบอกสูตรไว้ คือ ดีแล้วกลับมาชั่วทีหลัง ชั่วแ...