วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

สติปัฏฐานทำอย่างไร-03: พยายามให้บริสุทธิ์ ทั้งศีล ทั้งฌาน ทั้งทิฏฐิ ทั้งวิมุติ เป็นสติปัฏฐานทั้งนั้น

พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับมหาจุฬาฯ) เล่มที่ ๒๑
สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
หน้าที่ ๒๘๙ ข้อที่ ๑๙๔
-----------------------------------------------
๔. สาปุคิยาสูตร
ว่าด้วยโกฬิยบุตรชาวสาปุคิยนิคม
[๑๙๔,๑๙๔]    สมัยหนึ่ง    ท่านพระอานนท์อยู่ในนิคมของโกฬิยราชสกุลชื่อสาปุคะ    แคว้น  โกฬิยะ(๑)    ครั้งนั้นแล    โกฬิยบุตรชาวสาปุคิยนิคม๒จำนวนมากเข้าไปหาท่านพระ  อานนท์ถึงที่อยู่    ไหว้แล้ว    นั่ง    ณ    ที่สมควร    ท่านพระอานนท์ได้กล่าวกับโกฬิยบุตร  ชาวสาปุคิยนิคม(๒) ดังนี้ว่า
“ท่านพยัคฆปัชชะ(๓)ทั้งหลาย    องค์ความเพียรเพื่อปาริสุทธิ    (ความบริสุทธิ์)    ๔  ประการพระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น    เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระ  องค์นั้นตรัสไว้ชอบแล้ว    เพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย    เพื่อก้าวล่วงโสกะและ  ปริเทวะ    (ความเศร้าโศกและความคร่ำครวญ)    เพื่อดับทุกข์    (ความทุกข์กาย)    และ  โทมนัส    (ความทุกข์ใจ)    เพื่อบรรลุญายธรรม    เพื่อทำให้แจ้งนิพพาน
องค์ความเพียรเพื่อปาริสุทธิ    ๔    ประการ    อะไรบ้าง    คือ
๑.    องค์ความเพียรเพื่อสีลปาริสุทธิ
๒.    องค์ความเพียรเพื่อจิตตปาริสุทธิ
๓.    องค์ความเพียรเพื่อทิฏฐิปาริสุทธิ
๔.    องค์ความเพียรเพื่อวิมุตติปาริสุทธิ
องค์ความเพียรเพื่อสีลปาริสุทธิ    เป็นอย่างไร
คือ    ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศีล    ฯลฯ(๔)    สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย  นี้เรียกว่า    สีลปาริสุทธิ
ความพอใจ(๕)    ความพยายาม    ความอุตสาหะ    ความขะมักเขม้น    ความไม่  ท้อถอย    สติและสัมปชัญญะในสีลปาริสุทธินั้นว่า    ‘เราจักยังสีลปาริสุทธิเห็นปานนั้น  ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์หรือจักประคับประคองสีลปาริสุทธิที่บริบูรณ์ไว้ในฐานะนั้น  ๆ ด้วยปัญญา’    ท่านพยัคฆปัชชะทั้งหลาย    นี้เรียกว่า    องค์ความเพียรเพื่อสีลปาริสุทธิ
องค์ความเพียรเพื่อจิตตปาริสุทธิ    เป็นอย่างไร
คือ    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย แล้วบรรลุปฐมฌานที่มีวิตกวิจาร ปีติและสุขเกิดจากวิเวกอยู่, เพราะวิตกและวิจารสงบระงับ บรรลุทุติยฌานที่มีความผ่องใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่ง ผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่, เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะ สรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’, เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัส และโทมนัสดับไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌานอยู่    นี้เรียกว่า  จิตตปาริสุทธิ
ความพอใจ    ความพยายาม    ความอุตสาหะ    ความขะมักเขม้น    ความไม่ท้อถอย    สติและสัมปชัญญะในจิตตปาริสุทธินั้นว่า    ‘เราจักบำเพ็ญจิตตปาริสุทธิเห็นปานนั้นที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์หรือจักประคับประคองจิตตปาริสุทธิที่บริบูรณ์ไว้ในฐานะนั้น  ๆ    ด้วยปัญญา’    ท่านพยัคฆปัชชะทั้งหลาย    นี้เรียกว่า    องค์ความเพียรเพื่อจิตตปาริสุทธิ
องค์ความเพียรเพื่อทิฏฐิปาริสุทธิ    เป็นอย่างไร
คือ    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า    ‘นี้ทุกข์    นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ    นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา’    นี้เรียกว่า    ทิฏฐิปาริสุทธิ
ความพอใจ    ความพยายาม    ความอุตสาหะ    ความขะมักเขม้น    ความไม่ท้อถอยสติสัมปชัญญะในทิฏฐิปาริสุทธินั้นว่า    ‘เราจักบำเพ็ญทิฏฐิปาริสุทธิเห็นปานนั้นที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์หรือจักประคับประคองทิฏฐิปาริสุทธิ์ที่บริบูรณ์ไว้ในฐานะนั้นๆด้วยปัญญา’    ท่านพยัคฆปัชชะทั้งหลาย    นี้เรียกว่า    องค์ความเพียรเพื่อทิฏฐิปาริสุทธิ
องค์ความเพียรเพื่อวิมุตติปาริสุทธิ    เป็นอย่างไร
คือ    อริยสาวกนี้แลเป็นผู้ประกอบองค์ความเพียรเพื่อสีลปาริสุทธิ    ประกอบองค์ความเพียรเพื่อจิตตปาริสุทธิ    ประกอบองค์ความเพียรเพื่อทิฏฐิปาริสุทธิแล้วย่อมคลายจิตในธรรมที่เป็นเหตุแห่งความกำหนัด(๖)    ย่อมเปลื้องจิตในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเปลื้องแล้วย่อมถูกต้องสัมมาวิมุตติ(๗)    นี้เรียกว่า    วิมุตติปาริสุทธิ
ความพอใจ    ความพยายาม    ความอุตสาหะ    ความขะมักเขม้น    ความไม่ท้อถอย    สติและสัมปชัญญะในวิมุตติปาริสุทธินั้นว่า    ‘เราจักบำเพ็ญวิมุตติปาริสุทธิเห็นปานนั้นที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์หรือจักประคับประคองวิมุตติปาริสุทธิที่บริบูรณ์ไว้ในฐานะนั้น  ๆ    ด้วยปัญญา’    ท่านพยัคฆปัชชะทั้งหลาย    นี้เรียกว่า    องค์ความเพียรเพื่อวิมุตติปาริสุทธิ
ท่านพยัคฆปัชชะทั้งหลาย    องค์ความเพียรเพื่อปาริสุทธิ    ๔    ประการนี้แล  พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น    เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นตรัสไว้ชอบแล้วเพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย    เพื่อก้าวล่วงโสกะและปริเทวะ    เพื่อ  ดับทุกข์และโทมนัส    เพื่อบรรลุญายธรรม    เพื่อทำให้แจ้งนิพพาน
สาปุคิยาสูตรที่ ๔ จบ
..............................
๑ ดูเชิงอรรถที่  ๑  ข้อ  ๕๗  (สุปปวาสาสูตร)  หน้า  ๙๕  ในเล่มนี้
๒ หมายถึงชนผู้อยู่ในนิคมชื่อว่า  สาปุคะ  (องฺ.จตุกฺก.อ.  ๒/๑๙๔/๔๑๓)
๓ เป็นชื่อเรียกชาวโกฬิยะ  เพราะบรรพบุรุษของชาวโกฬิยะนี้สร้างบ้านเรือนอยู่ในพยัคฆปัชชนคร  (นครทางเสือผ่าน)  (องฺ.จตุกฺก.อ.  ๒/๑๙๔/๔๑๓)
๔ ดูข้อความเต็มในข้อ  ๓๗  (อปริหานิยสูตร)  หน้า  ๖๐  ในเล่มนี้
๕ ดูเชิงอรรถที่  ๑  ข้อ  ๙๓  (ทุติยสมาธิสูตร)  หน้า  ๑๔๑  ในเล่มนี้
๖ ธรรมที่เป็นเหตุแห่งความกำหนัด  หมายถึงอิฏฐารมณ์  (อารมณ์ที่น่าปรารถนา)อันเป็นปัจจัยให้เกิดราคะ   (องฺ.จตุกฺก.อ.  ๒/๑๙๔/๔๑๓)
๗ สัมมาวิมุตติ  หมายถึงอรหัตตผลวิมุตติ  วิมุตติคืออรหัตตผล  (องฺ.จตุกฺก.อ.  ๒/๑๙๔/๔๑๓)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รับตอบปัญหาธรรมะ ตามพระไตรปิฏก อรรถกถา ฏีกา
ท่านสอบถาม/แสดงความคิดเห็น/บอกข้อบกพร่องของบทความได้ที่ facebook: ตอบปัญหาธรรมะลึกซึ้ง หรือ ช่องตอบกลับข้างล่างนี้.

การร้องทำนองเพลงที่ใจนึกถึงธรรมะ สมควรอยู่, แต่การร้องธรรมะที่ใจนึกถึงทำนองเพลง ไม่สมควร

การร้องทำนองเพลงที่ใจนึกถึงธรรมะ สมควรอยู่, แต่การร้องธรรมะที่ใจนึกถึงทำนองเพลง ไม่สมควร https://wiki.sutta.men/ฟุตโน้ต:541:99 -------------...