วันศุกร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2560

คำว่าสังขารในพระไตรปิฎกมีใช้ 2 แบบใหญ่ๆ คือ สังขารที่เป็นเหตุ กับ สังขารที่เป็นผล

สาเหตุที่คนอ่านสังขารต่างๆ ในพระไตรปิฎกแล้วสับสน ก็เพราะไม่ได้ท่องจำพระไตรปิฎกบาลี ทำให้ไม่สามารถเข้าใจโครงสร้างของสูตรได้อย่างแจ่มแจ้ง แบบที่ผู้ทรงพระไตรปิฎกในสมัยโบราณ อย่างพระอรรถกถาจารย์ ที่เรียนแบบท่องจำกันมาท่านเข้าใจ.

สังขารที่เป็นเหตุ กับ สังขารที่เป็นผล

คำว่า สังขาร ในพระไตรปิฎกมีใช้ 2 แบบ คือ สังขารที่เป็นเหตุเกิด (ของสังขารที่เป็นผล) กับ สังขารที่เป็นผล (ที่เกิดจากสังขารที่เป็นเหตุ).
สงฺขารา ปจฺจยา วิญฺญาณํ.
แปลตรงๆ: สังขารเป็นเหตุเกิดวิญญาณ.
แปลเอาเนื้อความ: สิ่งที่มีหน้าที่ปรุงแต่ง ทำการปรุงแต่ง ให้เกิดวิญญาณ.
จะเห็นได้ชัดเจนว่า คำว่า สังขารในสูตรข้างบนกำลังทำหน้าที่เป็นเหตุ(ของวิญญาณที่เป็นผล)ในประโยค.
หนฺททานิ ภิกฺขเว อามนฺตยามิ โว วยธมฺมา สงฺขารา อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ
“ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราขอเตือนเธอทั้งหลาย สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาเธอทั้งหลายจงทำหน้าที่ให้สำเร็จด้วยความไม่ประมาทเถิด”
จะเห็นได้ชัดเจนว่า คำว่า สังขารในสูตรข้างบนกำลังทำหน้าที่เป็นผลในประโยค เพราะพระพุทธเจ้าตรัสไว้ใน นิทานวรรค ปัจจยสูตร:
วิญฺาณํ ภิกฺขเว ... สงฺขารา ภิกฺขเว ... อวิชฺชา ภิกฺขเว อนิจฺจา สงฺขตา ปฏิจฺจสมุปฺปนฺนา ขยธมฺมา วยธมฺมา วิราคธมฺมา นิโรธธมฺมา ฯ อิเม วุจฺจนฺติ ภิกฺขเว ปฏิจฺจสมุปฺปนฺนา ธมฺมา ฯ
วิญญาณเป็นสภาวะไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันและกันเกิดขึ้น มีความ สิ้นไป มีความเสื่อมไป มีความคลายไป มีความดับไปเป็นธรรมดา.  
สังขารทั้งหลาย เป็นสภาวะไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันและกันเกิดขึ้น มีความ สิ้นไป มีความเสื่อมไป มีความคลายไป มีความดับไปเป็นธรรมดา. 
อวิชชาเป็นสภาวะไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันและกันเกิดขึ้น มีความ สิ้นไป มีความเสื่อมไป มีความคลายไป มีความดับไปเป็นธรรมดา (อาสวะก็เป็นเหตุของอวิชชาอีกที [โดยสหชาตปัจจัย] ดูสัมมาทิฏฐิสูตร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลเรียกว่า ปฏิจจสมุปปันนะ (ผลของปฏิจจสมุปบาท).
จากสูตรข้างต้น คำว่า สงฺขตา (ถูกปัจจัยปรุงแต่ง) และ คำว่า วยธมฺมา (ซึ่งเป็นคำเดียวกับในมหาปรินิพพานสูตรที่ยกมาอ้างข้างต้น) เป็นคำขยายความของ อวิชฺชา สงฺขารา และ วิญฺญาณํ. ดังนั้น บริบทของสูตรนี้ จึงแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของปฏิจจสมุปบาท (เหตุ) และ ปฏิจจสมุปปันนะ (ผล) โดยแสดงอวิชฺชา สงฺขารา และ วิญฺญาณํ เป็นสังขารที่เป็นผล เหมือนกับที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงคำว่าสังขารไว้ในปัจฉิมพุทโธวาท ที่ยกมาจากมหาปรินิพพานสูตรข้างต้นนั่นเอง.
เมื่อนักเรียนเข้าใจความสัมพันธ์ของคำว่าสังขาร ที่ใช้ในพระบาลีอย่างนี้แล้ว การสังเกตหน้าที่และลักษณะของกรรม (สังขารปฏิจจสมุปบาท) จากพระบาลี จึงจะเป็นไปได้.

หน้าที่ของสังขารปฏิจจสมุปบาท

จริงๆแล้ว หน้าที่ของสังขารปฏิจจสมุปบาทท่านแสดงไว้ในบาลีของนิทานวรรค ปฏิจจสมุปปาทวิภังคสูตร แล้ว ในความหมายของ สังขารที่เป็นเหตุ:
สงฺขารา ปจฺจยา วิญฺญาณํ.
แปลตรงๆ: สังขารเป็นเหตุเกิดวิญญาณ.
แปลเอาเนื้อความ: สิ่งที่มีหน้าที่ปรุงแต่ง ทำการปรุงแต่ง ให้เกิดวิญญาณ.
จากสูตรเดียวกันนี้ ท่านได้อธิบายความหมายไว้เพิ่มด้วย, เราสามารถเอาความหมายนี้ ไปค้นเพิ่มได้อีก, ความหมายที่ท่านอธิบายสังขารปฏิจจสมุปบาทไว้ คือ:
‘‘กตเม จ ภิกฺขเว สงฺขารา ตโยเม ภิกฺขเว สงฺขารา กายสงฺขาโร วจีสงฺขาโร จิตฺตสงฺขาโร  อิเม วุจฺจนฺติ ภิกฺขเว สงฺขารา ฯ
" สังขารมี ๓ ประการนี้ คือ ๑. กายสังขาร (สภาวะที่ปรุงแต่งกาย)  ๒. วจีสังขาร (สภาวะที่ปรุงแต่งวาจา)    ๓. จิตตสังขาร (สภาวะที่ปรุงแต่งใจ)
ถ้าเอาความหมายข้างต้นที่เป็นภาษาบาลีไปค้นในพระไตรปิฎก ท่านจะพบว่า ทั้งหมดล้วนพูดถึงเหตุทั้งนั้น ซึ่งจะเห็นได้ชัดใน นิทานวรรค ภูมิชสูตร ซึ่งอยู่ในเล่มเดียวกัน แสดงไว้ชัดเจนเลยว่า 'กรรมคือเจตนา, เจตนา คือ สังขารปฏิจจสมุปบาท'. ซึ่งจากตรงนี้ เราสามารถเอามาสร้างคำค้นได้ว่า กายสงฺขาร (กายกมฺม, กายสญฺเจตนา, กายทุจริต, กายสุจริต, ปุญฺญาภิสงฺขาร, อปุญฺญาภิสงฺขาร), วจีสงฺขาร (วจีกมฺม, วจีสญฺเจตนา, วจีทุจริต, วจีสุจริต, ปุญฺญาภิสงฺขาร, อปุญฺญาภิสงฺขาร), จิตฺตสงฺขาร (วจีกมฺม, วจีสญฺเจตนา, วจีทุจริต, วจีสุจริต, ปุญฺญาภิสงฺขาร, อปุญฺญาภิสงฺขาร,อาเนญฺชาภิสงฺขาร). และเมื่อค้นดูคำเหล่านี้ ก็จะพบว่า ทั้งหมดในบริบทอธิบายไปในทิศทางเดียวกัน (บางทีใช้บริบทอันเดียวกันเลย) ว่า "กรรมเป็นเหตุของวิบากและกัมมชรูป".

ล้วนเป็นผลของกรรม (วิบาก/กัมมชรูป): วิญฺญาณํ นามรูปํ สฬายตนํ ผสฺโส เวทนา 

และด้วยนิทานวรรค ภูมิชสูตร นี้เอง ทำให้เราทราบว่า วิญฺญาณํ นามรูปํ สฬายตนํ ผสฺโส เวทนา ในปฏิจจสมุปบาทนั้น ล้วนเป็นผลของกรรม คือ เป็นวิบาก/กัมมชรูป. เพราะไม่มีใครสามารถพูดได้ว่า "ขณะที่วิญญาณเกิด ไม่มีนามรูปเกิด ไม่มีอายตนะเกิด, ไม่มีผัสสะเกิด, ไม่มีเวทนาเกิด". ดังนั้นใน มัชฌิมปัณณาสก์ อนุปทสูตร จึงแสดงสิ่งเหล่านี้ไว้ว่า เป็นสหชาตปัจจัยซึ่งกันและกัน (เกิดพร้อมกันเพื่อเป็นเหตุซึ่งกันและกัน) ว่า:

อิธ ภิกฺขเว สารีปุตฺโต วิวิจฺเจว กาเมหิ วิวิจฺจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิ สวิตกฺกํ สวิจารํ วิเวกชํ ปีติสุขํ ปฐมํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ ฯ เย จ ปฐเม ฌาเน ธมฺมา วิตกฺโก จ วิจาโร จ ปีติ จ สุขญฺจ จิตฺเตกคฺคตา จ ผสฺโส เวทนา สญฺา เจตนา วิญฺาณํ ๑- ฉนฺโท อธิโมกฺโข วิริยํ สติ อุเปกฺขา มนสิกาโร ตฺยสฺส ธมฺมา อนุปทววตฺถิตา โหนฺติ ตฺยสฺส ธมฺมา วิทิตา อุปฺปชฺชนฺติ วิทิตา อุปฏฺฐหนฺติ วิทิตา อพฺภตฺถํ คจฺฉนฺติ ฯ โส เอวํ ปชานาติ เอวํ กิรเม ธมฺมา อหุตฺวา สมฺโภนฺติ หุตฺวา ปติเวนฺตีติ ๑- ฯ โส เตสุ ธมฺเมสุ อนุปาโย อนปาโย อนิสฺสิโต อปฺปฏิพทฺโธ วิปฺปมุตฺโต วิสํยุตฺโต วิมริยาทิกเตน เจตสา วิหรติ ฯ โส อตฺถิ อุตฺตรึ นิสฺสรณนฺติ ปชานาติ ตพฺพหุลีการา อตฺถิ เตฺววสฺส โหติ ฯ
ภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องนี้ สารีบุตรสงัดจากกามและอกุศลธรรม ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ ก็ธรรมในปฐมฌาน คือ วิตก(ความตรึก) วิจาร(ความตรอง) ปีติ(ความอิ่มใจ) สุข(ความสุข) จิตเตกัคคตา(ความที่จิตมีอารมณ์เดียว) ผัสสะ(ความถูกต้อง) เวทนา (ความเสวยอารมณ์) สัญญา(ความหมายรู้) เจตนา(ความจงใจ) วิญญาณ(ความ รู้แจ้ง) ฉันทะ(ความพอใจ) อธิโมกข์(ความน้อมใจเชื่อ) วิริยะ(ความเพียร) สติ(ความระลึกได้) อุเบกขา(ความวางเฉย) มนสิการ(ความใส่ใจ)เหล่านั้น สารีบุตร กำหนดตามลำดับบทได้แล้ว ธรรมที่สารีบุตรรู้แจ้งแล้วเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป สารีบุตรนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ได้ยินว่า ธรรมเหล่านี้ที่ยังไม่มีก็มีขึ้น ที่มีแล้ว ย่อมดับไป’ เธอจึงไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสอาศัยไม่ได้ อันกิเลสพัวพันไม่ได้ หลุดพ้นแล้ว พรากได้แล้วในธรรมเหล่านั้น มีจิตที่ฝึกให้ปราศจากเขตแดนคือ กิเลสได้แล้วอยู่ สารีบุตรนั้นรู้ชัดว่า ‘การสลัดทุกข์ที่สูงๆ ขึ้นไป ยังมีอยู่’ เธอมี ความเห็นว่า การสลัดทุกข์มีได้เพราะการกระทำธรรมนั้นให้มากขึ้น (๑)
จะเห็นได้ว่าข้อความข้างต้นแสดงเกี่ยวกับฌาน, ซึ่งในอัฏฐกนาครสูตร ฌานเป็น ปุญฺญาภิสงฺขาร และอาเนญฺชาภิสงฺขาร, ดังนั้น สหชาตปัจจัยในอนุปทสูตรนี้ จึงหมายถึง สังขารที่เป็นเหตุ แบบในปฏิจจสมุปาทวิภังคสูตรนั่นเอง. อย่างไรก็ตาม นักศึกษาควรใช้หลักสหชาตปัจจัยนี้กับสังขารที่เป็นผลในปฏิจจสมุปบาทด้วย เพราะเวลาสัตว์เกิดขึ้น ก็ต้องมีวิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนาด้วยกันทั้งนั้น. เว้นจาก อสัญสัตว์, อรูปพรหม, และผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติแล้ว ไม่มีใครสามารถอยู่ได้โดยไม่มีพวกมันอันใดอันหนึ่งหรอก, จริงไหม?

ความสับสนของนักศึกษาเรื่องสังขาร

แต่สังขารใน ม.มู. จูฬเวทัลลสูตร นั้น ท่านกำลังแสดงสังขารที่เป็นผล. ฉะนั้นที่บางคนบอกว่า พระบาลีแสดงขัดกันระหว่างจูฬเวทัลลสูตร กับ ปฏิจจสมุปปาทวิภังคสูตร นั้น, จึงเป็นความไม่รู้จักสังขารที่เป็นเหตุ กับ สังขารที่เป็นผล ของตัวผู้นั้นเอง. ส่วนพระบาลีจริงๆ แล้วไม่ได้แสดงขัดกันเลย.

อธิบายสังขารที่เป็นผลในจูฬเวทัลลสูตร

ม.มู. จูฬเวทัลลสูตร นั้น ท่านกำลังแสดงสังขารที่เป็นผล, เพราะวิสาขอุบาสกเป็นพระอนาคามี, ส่วนธัมมทินนาเถรีก็เป็นพระอรหันต์ ซึ่งพระอริยะทั้งสองประเภทล้วนระงับตัณหาในกามคุณได้ราบคาบแล้ว. ดังนั้น วิสาขอุบาสก จึงทดสอบธัมมทินนาเถรีด้วยคำถามเกี่ยวกับฌาน ซึ่งเป็นเหตุระงับการเกิดขึ้นของตัณหาในกามคุณ 5 เสียได้. ซึ่งฌานก็ยังเป็นเหตุระงับของลมหายใจ, วิตกวิจาร, และสัญญาเวทนาอีกด้วย. ดังนั้น พระธัมมทินนาเถรีจึงตอบวิสาขอุบาสกว่า:
อสฺสาสปสฺสาสา โข อาวุโส วิสาข กายสงฺขาโร วิตกฺกวิจารา วจีสงฺขาโร สญฺา จ เวทนา จ จิตฺตสงฺขาโรติ ฯ 
“ลมอัสสาสะ(ลมหายใจเข้า) และลมปัสสาสะ(ลมหายใจออก) เป็นกายสังขาร, วิตกและวิจารเป็นวจีสังขาร, สัญญาและเวทนาเป็นจิตตสังขาร”
ที่ตอบอย่างนั้น เพราะฌานที่ 4 เป็นเหตุระงับลมหายใจเข้าออก, ฌานที่ 2 เป็นเหตุระงับวิตกวิจาร, และสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ก็แปลตรงตัวว่า การบรรลุอันระงับสัญญาและเวทนา.  ดังนั้น ในทสอริยวสธรรม ใน ทสุตตรสูตร จึงแสดงกายสังขาร(แบบเป็นผล) ว่าถูกระงับด้วยฌานที่ 4. นอกจากนี้ กายสังขาร ยังถูกใช้ในเรื่องอานาปานัสสติฌานในมหาสติปัฏฐานสูตรอีกด้วย. 2 สูตรนี้ก็เพียงพอแล้วที่จะบอกว่า สังขาร 3 ในจูฬเวทัลลสูตรข้างต้น หมายถึง สังขารที่เป็นผล.

หลังจากเข้าใจอย่างนี้ เราก็จะสามารถเข้าใจได้แล้วว่า ทำไมคนที่บอกว่า "พระไตรปิฎกแสดงกายสังขารไว้ขัดแย้งกัน" จึงเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง.

นี่แหละ ผมถึงพยายามย้ำหนักหนาว่า "สาเหตุที่คนอ่านสังขารต่างๆ ในพระไตรปิฎกแล้วสับสน ก็เพราะไม่ได้ท่องจำพระไตรปิฎกบาลี ทำให้ไม่สามารถเข้าใจโครงสร้างของสูตรได้อย่างแจ่มแจ้ง แบบที่ผู้ทรงพระไตรปิฎกในสมัยโบราณ อย่างพระอรรถกถาจารย์ ที่เรียนแบบท่องจำกันมาท่านเข้าใจ."

วันอังคารที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2560

มโน-อายตนะ คือ วิญญาณธาตุ 7 ในธาตุ 18 เพราะจักขุวิญญาณธาตุเป็นต้น ทั้ง 7 เป็นทวารของมโนวิญญาณธาตุ (วิญญาณทางมโนทวาร ใน ทวาร 6)

มโน-อายตนะ คือ วิญญาณธาตุ 7 ในธาตุ 18 เพราะจักขุวิญญาณธาตุเป็นต้น ทั้ง 7 เป็นทวารของมโนวิญญาณธาตุ (วิญญาณทางมโนทวาร ใน ทวาร 6).

จักขุวิญญาณธาตุ แปลว่า ธาตุที่รับรู้ที่ตา ฉันใด, มโนวิญญาณธาตุ ก็แปลว่า ธาตุที่รับรู้ที่มโน ฉันนั้น คือ ธาตุที่รับรู้ที่จักขุมโน โสตมโน ฆานมโน ชิวหามโน กายมโน และ ถ้าจักขุมโน ไม่เกิดรับรู้สีทางจักขุทวาร มโนวิญญาณก็จะไม่สามารถรับรู้สีนั้นได้เช่นกัน.

วันพฤหัสบดีที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2560

การไม่ทำร้ายผู้อื่น ต้องเริ่มที่เห็นผลดี ผลเสียทุกแง่มุมในภาพรวม อย่าจดจ้องแค่อันใดอันหนึ่ง

การไม่ทำร้ายผู้อื่น ต้องเริ่มที่ การห้ามแม้แต่คิดร้าย ครับ, ซึ่งต้องเริ่มที่การใช้วิธีฝึกตนเองให้ปกติเป็นคนเห็นภาพรวมของผลเสียในการมุ่งร้าย, และเห็นผลดีในการไม่มุ่งร้าย. 

การที่คนอื่นไม่เห็นเวลาที่เราทำร้ายผู้อื่น, หรือการได้ไปสวรรค์  เป็นแค่ผลพลอยได้, ไม่ใช่วิธีการหลักในการงดเว้นทำร้าย, ใช้มาขัดเกลากิเลสได้ ในจังหว่ะหนึ่งๆ ที่สมควรเท่านั้น. 

เพราะถ้าคิดกลัวคนเห็นอย่างเดียว เวลาไม่มีใครเห็น ก็จะมีข้ออ้างกะตัวเองว่า "ไม่มีใครเห็น ไม่เป็นไร, จะทิ้งขยะในที่สาธารณะก็ทิ้งได้". เช่นนี้ ตบะที่บำเพ็ญมา ก็จะถูกกิเลส ทำลายไปนะครับ. หรือ ถ้าหวังสวรรค์อย่างเดียว ก็จะลืมเลือนเป้าหมายคือพระนิพพานไป พลาดจากบรมสุขไป เป็นต้น นี้คือตัวอย่างผลเสียของการมุ่งแต่แง่ดีแง่เสียอันหนึ่งๆ มาขัดเกลากิเลส ครับ.

ฉะนั้น ในพระไตรปิฎก แม้จะแสดงวิธีไว้มากมาย ในการห้ามกิเลส, แต่ในอรรถกถา ท่านก็จะโฟกัสไปที่ การเห็นผลเสีย และผลดี ในภาพรวม เป็นหลัก ครับ. ไม่ใช่โฟกัสไปที่ผลเสีย หรือ ผลดี แค่เฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง, อันนั้น จะทำให้เกิดอคติ จากกิเลสตัวอื่นมาแทนได้.

วันอาทิตย์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

แม้ยังไม่ได้ได้นามรูปปริจเฉทญาณ ก็ควรพิจารณาปัฏฐานในชีวิตประจำวัน

ในปฏิสัมภิทามรรค ไม่แสดงนามรูปปริจเฉทญาณไว้นะครับ.

ฉะนั้น การที่ปัฏฐานมีไว้ใช้เจริญปัจจยปริคคหญาณ, ไม่ได้หมายความว่า คนที่ไม่ได้นามรูปปริจเฉทญาณจะพิจารณาปัฏฐานไม่ได้นะครับ.

กลับกัน คนที่พิจารณาปัฏฐานให้ต่อเนื่อง เดี๋ยวก็ได้นามรูปปริจเฉทญาณก่อน ปัจจยปริคคหญาณเองครับ.

ฉะนั้น ท่านจึงไม่กล่าวนามรูปปริจเฉทญาณไว้ในปฏิสัมภิทามรรค และในนิทเทสจึงแสดงรวบสองญาณนี้ว่า ญาตปริญญา.

ฉะนั้น แม้ยังไม่ได้ได้นามรูปปริจเฉทญาณ ก็ควรพิจารณาปัฏฐานในชีวิตประจำวันนะครับ.

วันศุกร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ผู้ทรงจำพระไตรปิฎกทั่วโลก เขาทำสมถะก่อนวิปัสสนากันทั้งนั้น


(ข้างล่างเป็นลิงก์ไฟล์เสียงบรรยายของผู้ทรงพระไตรปิฎก) 
#นิสัยเสีย ของนักเรียนอภิธรรมสมัยนี้ คือ พอเห็นโพสต์เกี่ยวกับสมถะ ก็จะมองข้ามไป ราวกับไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า. บางคนเลยเถิด ถึงขั้นแอนตี้พระภิกษุที่สอนสมถะ. 

ในขณะที่ #ผู้ทรงจำพระไตรปิฎกทั่วโลก เขาทำสมถะก่อนวิปัสสนากันทั้งนั้น, เพราะเขาท่องจำพระไตรปิฎก จึงเคารพลำดับในมหาสติปัฏฐานสูตร ที่เริ่มด้วยอานาปานัสสติ.

#อย่าคิดว่า เป็นนักอภิธรรม นักวิปัสสนา แล้วจะไม่ต้องทำสมถะ, แค่ฟังธรรมแล้วไม่บรรลุทันที ก็ต้องกลับไปชำระศีลและทำสมถะแล้ว, เพราะถึงจะจับจดทำวิปัสสนาไปก็ไม่บรรลุ หากจิตไม่บริสุทธิจากนิวรณ์ (ต้องไม่มีอกุศลเกิดเลยทุกขณะจิต ด้วยสมถะ พลววิปัสสนาจึงจะเกิดได้).

ขนาดอูอาจิณณะ #เป็นนักอภิธรรมระดับโลก, ท่านเป็นผู้ทรงพระไตรปิฎก ผู้รักษาพระวินัย และเคร่งครัดปฏิบัติธรรม ท่านก็ยังสอนให้เริ่มทำกรรมฐานที่อานาปานัสสติกัมมัฏฐาน, ซึ่งเป็นบาทฐานของกรรมฐานทั้งปวง ตามหลักมหาสติปัฏฐานสูตร. เหมือนๆ กับที่พระป่าของไทยทำสืบๆ กันมา.
หลักสูตรของผู้ทรงพระไตรปิฎกนั้นเหมือนกันทุกประเทศ. แม้กระทั่ง อูแลดีสยาดอ ซึ่งอูโชติกะอ้างอิงถึงบ่อยๆ ในหนังสือ ท่านก็ให้ทำอานาปานัสสติก่อนทำวิปัสสนากรรมฐาน ครับ.

วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

เหตุที่ศาสนาเสื่อมในปัจจุบัน และ วิธีแก้ไข

#เหตุที่ศาสนาเสื่อมในปัจจุบัน และ #วิธีแก้ไข:
ระบบเสียเพราะพระเถระและ #ต้องแก้ที่พระเถระ (แต่แก้ไม่ได้เพราะงานสอนงานนิมนต์เยอะมาก ไม่มีเวลาทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้า) คือ:
#ไม่ทำ สิ่งที่ทำสืบๆกันมา คือ

  • 0. ศรัทธาผู้ทรงจำพระไตรปิฎก เคร่งครัดพระวินัย และกรรมฐาน
  • 1. ท่านจึงสอนให้ฝึกฝนธรรมคือกรรมฐาน + เรียนวินัย
  • 2. #จนบรรลุพลววิปัสสนาขึ้นไป
  • 3. แล้วเรียนบาลี+ทรงจำพระไตรปิฎก
  • 4. แล้วสอนธรรมะ
#กำลังทำ สิ่งที่ปัจจุบันทำกันอยู่ คือ

  • 0. ติดใจอาจารย์สักคนนึง
  • 1. เขาให้อ่านพระไตรปิฎกเข้าใจผิดบ้างถูกบ้าง
  • 2. #แต่ไม่ทันบรรลุอะไรๆ
  • 3. แล้วเรียนบาลี/สอนธรรมะ/หรือเรียนอื่นๆ เรื่อยเปื่อย
วิธี #ไม่แก้ คือ
เคยอยู่อย่างไร เคยทำอย่างไร เคยติดใจอาจารย์ไหน ก็ทำแบบเดิมๆ นั้น ต่อๆ ไป. พอตัณหาไปชอบสิ่งใหม่ค่อยเปลี่ยน.
วิธี #แก้ คือ
หาให้เจอ : ผู้ทรงจำพระไตรปิฎก เคร่งครัดพระวินัย และกรรมฐาน
ถ้าหาไม่เจอ: เปลี่ยนสลับอาจารย์ ไม่ติดใจ ไม่ยึดถือใคร ยึดถือท่องจำแค่พระไตรปิฎกอรรถกถาเท่านั้น, จนกว่าจะเจอพระอาจารย์กรรมฐานที่ทุกอย่างจะตรงตามพระไตรปิฎก อรรถกถา ทุกประการ

  • -ทั้งโดยอรรถะ
  • -ทั้งโดยพยัญชนะ
  • -ทั้งโดยลำดับบุพพาปรสนธิอนุสนธิ
  • -ทั้งโดยโดยการประพฤติปฏิบัติ
  • -ทั้งโดยปฏิเวธะ
เรื่องที่หลักฐานพร้อมมูล #ควรตัดสินใจ ก็ตัดสินใจ(อย่าเป็นสัญชัยปริพาชก), เรื่องใดหลักฐานไม่พร้อมมูล #ควรค้นคว้าก่อน ก็ค้นคว้าเพิ่ม (อย่าสักแต่เดาว่าถูกผิด).
ใครให้หลักฐานในพระไตรปิฎก อรรถกถามา ก็ให้ตามไปท่องจำและวิจัยบาลีทั้งหมด ไม่อิดออด, เถียงฉอดๆ ไม่ทันตรวจสอบอะไร, #อย่าคิดว่าเสียเวลากับการค้นคว้าพระไตรปิฎก อย่าคิดว่าเสียเวลากับคำสอนของพระพุทธเจ้า.... หลักฐานจะมาจากตรงไหน ยากหรือง่าย ดูแล้วเข้าใจหรือสงสัยก็ตาม ก็ให้ค้นคว้าให้จบ ให้แตกฉาน แม้จะต้องเริ่มจากศูนย์ก็ตาม.
#ทำไปเรื่อยๆ คู่กับการแสวงหาอาจารย์กรรมฐานที่ทรงจำพระไตรปิฎก
เคร่งครัดพระวินัย ใส่ใจกรรมฐาน, #อย่าหยุดค้นหาท่านผู้นั้น, แล้วก็ฝึกกรรมฐานกับท่าน.

วันอาทิตย์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2560

วิปัสสนาหาเงินซื้อนิพพาน, อุปสมานุสสตินั่งเชยชมนิพพานที่ซื้อไว้แล้ว

อุปสมานุสสติ ต่างจากวิปัสสนา คือ...

วิปัสสนาเพ่งสังขารว่าเป็นอนิจจังเป็นต้นจนละตัดกิเลส จิตเป็นมัคคสมาธิ แล้วเห็นพระนิพพาน.
แต่อุปสมานุสสติเพ่งนิพพานตรงๆ เลยว่าดีอย่างนั้น อย่างนี้ ไม่ต้องพิจารณาไตรลักษณ์.

อุปมา: วิปัสสนา มรรค และผล เหมือนคนที่หาเงินมาเพื่อซื้อนิพพาน หรือ ต่อให้ได้มาแล้วก็ยังหาเงินต่อเพื่อรักษานิพพานไว้, อุปสมานุสสติ เหมือนคนที่ได้นิพพานมาแล้ว แต่เฝ้าสรรเสริญ ชื่นชมนิพพานอยู่ว่า ดีอย่างนั้น อย่างนี้ คือ นั่งดูนิพพานอยู่เฉยๆ ไม่ได้หาเงินมาซื้อหรือรักษานิพพาน ครับ.

แต่ทั้งหมด ไม่มีกิเลสเลยนะครับ เพราะนิพพานได้มาด้วยการสละกิเลสไปแล้ว ฉะนั้น การนึกถึงนิพพานด้วยกิเลส จึงเป็นไปไม่ได้ ครับ.

(ทั้งคู่ คือ ดีทั้งนั้น, ไม่มีอะไรน่าตำหนิ)

th.wikisource.org/wiki/วิสุทธิมรรค_เล่ม_๒_ภาคสมาธิ_ปริเฉทที่_๘_อนุสสติกัมมัฏฐานนิเทศ_หน้าที่_๗๖_-_๗๙

วันศุกร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2560

ความหมายศัพท์ว่า อาเสวิตายะ ภาวิตายะ

ใจความ คือ ภาวนาทั้งปวง เช่น เมตตา, วิปัสสนา เป็นต้น ควรภาวนาต่อเนื่องไม่หยุด ไม่มีพัก เพื่อให้เจริญดีงามขึ้นๆ ไป จนกว่าจะบรรลุฌาน หรือ มรรค ครับ, เพราะถ้าหยุด ถ้าพัก (หมายถึง เกิดอกุศลขั้น) ภาวนาจะเสื่อมกำลัง แล้วทำให้ไม่บรรลุสักที. เหมือนคนที่ถมหลุมบ้าง ขุดออกบ้าง หลุมมันก็ไม่มีทางเต็มสักที ฉันนั้น.

ความต่างของ ต กับ ฏ ในภาษาบาลี สำหรับคนไทย

ฏ ออกเหมือน ต ในภาษาไทย ครับ, ต ในภาษาไทย ต้องเปลี่ยนเอาลิ้นมาแตะที่ฟันแทน จึงจะตรงกับบาลี. อ้างอิงตามหลักฐานกรณ์ ไทยเทียบกับบาลี.

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2

ความหมายศัพท์ว่า ปรมัตถ์

ปรมัตถ์=ไม่วิปริต คือ ถูกต้องตรงตามปัจจัยปัจจยุปบัน ไม่ผิดเพี้ยนไปจากปัจจัยปัจจยุปบัน (ถ้าบัญญัติ จะไม่มีปัจจัย และบัญญัติก็ไม่เป็นปัจจยุปบันด้วย บัญญัติจึงวิปริตเปลี่ยนไปเรื่อย ตามแต่จิตจะคิดไปเอง). 
 อีกอย่าง ปรมัตถ์=ประโยชน์ที่ดีที่สุด คือ นิพพาน.

อา-หุ-น-เออ-ย-โย ไม่มีใช้ในภาษาบาลี เพราะภาษาบาลี ไม่มีสระ เออ, มีแต่สระ เอ

คนที่ออก น+เออ+ย อ่านผิดครับ เพราะไม่มี สระ "เออ" ในภาษาบาลี. ออกไนย จึงจะตรงกับหลักภาษาบาลีครับ. การออกเสียงว่า เนย แบบ เนยแข็ง เนยเหลว ในภาษาไทยนั้น ไม่มีใช้ในภาษาบาลี ครับ เพราะสระในภาษาบาลีมีแค่ 8 ตัว ไม่มีสระ เออ แม้แต่สันสกฤต ก็ไม่มีสระ เออ เช่นกัน.

ความหมายศัพท์ว่า ปฏิสนธิ จุติ

จุติ แปลว่า การเคลื่อน คือ เคลื่อนจากภพนี้ เป็นจุดจบของภพนี้ จุดเคลื่อนไปเป็นปฏิสนธิ ที่แปลว่า การต่อ คือ การเกิดใหม่ในภพใหม่ต่อจากจุติจิตในภพที่แล้ว.

"โลภ" กับ "ตณฺหา" ในพุทธพจน์ 2 คำนี้ใช้ต่างกันอย่างไร

โลภ ศัพท์ ในพระไตรปิฎก ใช้อธิบาย มูลของอกุศลจิตตุปบาท (อกุสลมูล), แต่ตัณหาศัพท์ ในพระไตรปิฏกใช้อธิบาย ปฏิจจสมุปบาท ครับ. 
ที่ต้องใช้แยกกัน เพราะในปฏิจจสมุปบาท แสดงเหตุ 2 คือ อวิชชา กับ ตัณหา, แต่อกุสลมูล 3 แสดงเหตุ 3 คือ โลภะเหตุ โทสะเหตุ โมหะเหตุ. 
ถ้าใช้ โลภะมูลศัพท์ในปฏิจจสมุปบาท โทสะมูลก็จะเป็นส่วนเกิน เพราะไม่ได้กล่าวไว้โดยตรงในปฏิจจสมุปบาท. ถ้าใช้เหตุ 2 (อวิชชา ตัณหา) แทนอกุสลมูล 3 โทสะเหตุก็จะหายไป ทำให้เวลาอธิบาย อกุศลว่าเกิดขึ้นได้ยังไง ก็จะไม่มีโทสอกุสลมูลจิตด้วย ทำให้พระไตรปิฎกตกหล่น.
พระพุทธเจ้าทรงเห็นด้วยพระญาณอย่างนี้แล้ว จึงแสดงตัณหาบ้าง โลภะบ้าง ตามสมควรแก่บุคคล และตามสมควรแก่การรักษาคำสอนไว้ให้พระศาสนาให้อยู่ครบ 5 พันปี เพื่อสัตว์จะได้มีโอกาสบรรลุธรรมมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยนัยตัวอย่างดังกล่าวมานี้ เป็นต้น.

วันอาทิตย์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2560

โครงสร้างอุปวาณสูตร

สูตรก่อนหน้าอุปวาณสูตรที่ท่านยกมา ได้ปฏิจจสมุปบาทแสดงไว้แล้วว่า #เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา (สุข-ทุกข์). 
แต่อุปวาณสูตร ก็แสดงปฏิจจสมุปบาทเช่นกัน แต่ยกมาแค่ #เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีทุกขเวทนา.

ที่เหลือก็ทำความเข้าใจตามหลักปฏิจจสมุปบาทได้เลย ครับ.

อุปวาณสูตร http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=16&A=1012&Z=1039

สูตรก่อนหน้า http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=16&A=931&Z=1011

สติไม่ลืมอะไร? สติไม่ปล่อยให้อะไรหลุดลอยไป?

สติไม่ลืมอารมณ์ของสัพพกุสลสาธารณกุสล 18 ดวงที่เหลือ ซึ่งเป็นเจตสิกที่มีพวกมาก จึงมีกำลังมากกว่าอกุศลมากๆ พัฒนาไปเป็นมหัคคต เป็นโลกุตตระได้. 
ส่วนอกุศลวิตก อกุสลวิญญาณ อกุศลสัญญา แม้จะนึกขึ้นได้ รับร้ได้ จดจำได้, ก็หวั่นไหวซัดส่ายเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาด้วยอำนาจอุจธัจจะ ทำให้มีพวกน้อย เกิดทีก็มีเจตสิกเกิดร่วมน้อย ความมั่นคงในอารมณ์ก็น้อย เปลี่ยนไป เปลี่ยนมา.

ท่านจะเห็นได้ว่า คนทั่วไปที่อกุศลเกิดบ่อยๆ จะทำนู่นทำนี่ไปเรื่อยเปื่อย ไม่เหมือนพระอริยะที่มั่นคง หนักแน่น, แม้แต่ปุถุชนด้วยกัน คนที่มีกุศลเกิดต่อเนื่อง ก็จะดูมั่นคง หนักแน่น สุขุมกว่า.

ปุถุชนรู้สึกตัว ด้วยวิตกวิจารสัมปยุตตอกุศลจิต ก็ได้ว่า "ฉันสวย ฉันเที่ยง ฉันงาม ฉันเป็นอัตตา"

ปุถุชนรู้สึกตัว ด้วยวิตกวิจารสัมปยุตตอกุศลจิต ก็ได้ว่า "ฉันสวย ฉันเที่ยง ฉันงาม ฉันเป็นอัตตา". 

การจะแยกแยะระหว่างรู้สึกตัวด้วยอกุศล กับ รู้สึกตัวด้วยกุศล จึงต้องสังเกตจากสัมปยุตธรรมของการรู้สึกตัวว่า เป็นกุสลจิตเจตสิก หรือ อกุสลจิตเจตสิก ที่กำลังเกิดร่วมกัน หรือเป็นปัจจัยต่อกันโดยปัจจัยอื่นๆ.

ตัวอย่างการแยกแยะนามรูปจากการอ่านชาดก

(ถ้าเข้าลิงก์ไม่ได้ ให้อ่านเรื่องเล่าที่ถูกอ้างถึงที่ด้านล่าง)

ถ้าเป็นเรื่องในลิงก์ นายปัญญา เห็นปัจจัย คือ การมีนามรูป คือ วัว ของนามรูป คือ ตัวนายปัญญา, เห็นปัจจัย คือ การพยายามขายมหาภูติ คือ สลาก แก่นามรูป คือ คนซื้อสลาก, เห็นปัจจัย คือ การให้มหา่ภูติ คือ เงินจำนวนเพิ่มขึ้น แก่นามรูป คือ คนซื้อวัว.
และนายปัญญา ก็เห็นปัจจยุปบัน คือ การได้มหาภูติ คือ เงิน. การโดนด่า คือ ความเกิดขึ้นอกุสลวิบาก, การไม่โดนด่า คือ ความไม่เกิดขึ้นของอกุสลวิบาก เพราะดับปัจจัย.

นายปัญญา ยังเห็นปัจจัย คือ บัญญัติศัพท์ที่ใช้พูดสื่อสารให้นามปัจจยุปบันต่างๆ คล้อยตาม ยอมจ่ายมหาภูติ คือ เงิน อีกด้วย.

เมื่อเห็นปัจจัยปัจจยุปบันอย่างนี้ แม้ไม่สามารถบัญญัติศัพท์เรียกได้ละเอียดละออเท่าพระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้อภิธรรม แต่ก็ยังประโยชน์ให้สำเร็จได้ตามระดับปัญญาของตน ครับ.

เรื่องเล่า:

             มีเรื่องเล่าว่าครั้งหนึ่งนายปัญญา(นามสมมุติ)ได้ซื้อวัวจากพ่อค้ามาหนึ่งตัว  เพื่อต้องการนำไปเลี้ยง จ่ายเงินไปเรียบร้อยแล้วสนราคาห้าพันบาท โดยได้นัดหมายว่าพรุ่งนี้เช้าให้นำวัวมาส่งที่บ้าน รุ่งเช้าเจ้าของวัวได้เดินทางมาหานายปัญญาตั้งแต่เช้าพลางแจ้งข่าวร้ายว่าวัวที่ท่านซื้อไว้นั้นบัดนี้ตายแล้ว จึงไม่สามารถนำมาส่งให้ตามที่สัญญากันไว้ นายปัญญาจึงขอเงินคืน แต่พ่อค้าบอกว่าเงินก็ได้ใช้หมดแล้ว
            นายปัญญาครุ่นคิดครู่หนึ่งจึงบอกพ่อค้าคนนั้นว่า "ถ้าอย่างนั้นก็นำวัวที่ตายมาให้ก็แล้วกัน" พ่อค้ายังงงๆแต่ก็ได้ไปนำวัวที่ตายแล้วมาให้ตามที่นายปัญญาร้องขอ
             นายปัญญาจึงทำสลากขึ้นมาจำนวนหนึ่งพันฉบับ ประกาศขายฉบับห้าสิบบาท โดยประกาศว่า “ถ้าใครอยากได้วัวหนึ่งตัวให้ซื้อสลาก บางทีอาจโชคดีได้วัวที่ราคาถูกที่สุดในโลก ตัวละ 50 บาทเท่านั้น” ไม่ถึงหนึ่งวันเขาก็ขายสลากหมดได้เงินมาจำนวน 50,000 บาท
             วันรุ่งขึ้นพ่อค้าคนนั้นก็ได้แวะมาหาด้วยความสงสัยจึงถามว่า “ท่านขายวัวตายคนเขาไม่ด่าท่านหรือ”
             นายปัญญาตอบว่า “ด่าเหมือนกันแต่ด่าอยู่คนเดียวส่วนอีก 999 คนไม่มีใครด่า  คนที่ด่าก็คือคนที่จับสลากได้นั่นแหละ แต่ก็ได้คืนเงินเขาไปสองเท่า เขาได้เงินคืนจึงไม่ได้เอาเรื่องอะไรอีก”
             การทำมาค้าขายมักจะมีกลเม็ดเด็ดพรายที่คาดไม่ถึง นายปัญญามีปัญญาสมชื่อจริงๆ แม้แต่วัวที่ตายแล้วยังสามารถนำมาหาเงินได้ คนผู้ประกอบด้วยปัญญาแม้ในเวลาที่ตนตกทุกข์ ก็ย่อมได้รับความสุข ปัญญามีไว้เพื่อแก้ปัญหา ไม่ใช่มีไว้เพื่อแกงกิน หากใช้ปัญญาให้ถูกวิธีย่อมหาวิธีดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขจนได้

เวลาดูจิต(+เจตสิก) ให้ดูที่สัมปยุตตธรรม, ถ้าเพ่งแค่คำแปล สภาพธรรมจะไม่ชัดแจ้ง


#ฝึกดูจิต #ฝึกนามรูปปริจเฉทญาณ #ฝึกยถาภูตญาณทัสสนะ


สังขตสภาวธรรม แปลว่า สิ่งที่มีปัจจัยมากกว่า 1 ทำให้เกิด.

ฉะนั้น คำแค่ 1 คำจึงทำให้เข้าใจสภาวะชัดเจนไม่ได้. ต้องใช้คำหลายๆ คำ ใช้สัมปยุตหลายๆ อย่าง, ใช้ปัจจัยหลายๆ ตัว, ใช้ปัจจยุปบันหลายๆ ตัว เพื่อให้เห็นสภาวะธรรมชัดเจน.

เช่น ถ้าแปลสติ แค่ว่า ระลึก ในภาษาไทย, ก็จะสับสนกับวิตก สับสนกับจิตตุปบาท.

แต่ถ้าเพิ่มมุมมองเหล่านี้:
  • ใช้คำภาษาอังกฤษว่า non-floating (ไม่หลุดลอย, ไม่หายไป) ปัญญาก็จะยิ่งเห็นสติเจตสิกชัดเจนขึ้น.
  • ยิ่งจำลักขณาทิจจตุกะของสติเจตสิกได้ ปัญญาก็จะยิ่งเห็นสติเจตสิกชัดเจนขึ้น.
  • ยิ่งเห็นสัมปยุตธรรม ว่ามีมากกว่าอกุศลเป็น 10 ดวง ปัญญาก็จะยิ่งเห็นสติชัดเจนขึ้น.
  • ยิ่งพิจารณาสัมปยุตแต่ละอย่างๆ ว่า สนับสนุนส่งเสริมสติอย่างไร ปัญญาก็จะยิ่งเห็นสติชัดเจนขึ้น.
  • ยิ่งเห็นอุปนิสสยปัจจัยต่างๆ ที่ช่วยให้เกิดสติ ปัญญาก็จะยิ่งเห็นสติเจตสิกชัดเจนขึ้น.
  • ด้วยวิธีต่างๆเหล่านี้ ปัญญาก็จะยิ่งเห็นสติเจตสิกชัดเจนขึ้น เป็นต้น.


ฉะนั้น เวลาดูจิต(+เจตสิก) ให้ดูที่สัมปยุตตธรรม, ถ้าเพ่งแค่คำแปล สภาพธรรมจะไม่ชัดแจ้ง. ผุ้ปฏิบัติจะต้องใช้คำหลากหลาย ใช้ปัจจัยปัจจยุปบันหลากหลาย ตามที่อาจารย์กรรมฐานค่อยๆ แนะนำให้มา ในการดูจิต.

วิธีเหล่านี้ เป็นวิธีฝึกปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานของผู้ที่บรรลุแล้วที่พระอริยะทุกคนต้องมี แต่อาจจะมากน้อย และแตกฉานในกรรมฐานที่ต่างๆ กันไป).

การร้องทำนองเพลงที่ใจนึกถึงธรรมะ สมควรอยู่, แต่การร้องธรรมะที่ใจนึกถึงทำนองเพลง ไม่สมควร

การร้องทำนองเพลงที่ใจนึกถึงธรรมะ สมควรอยู่, แต่การร้องธรรมะที่ใจนึกถึงทำนองเพลง ไม่สมควร https://wiki.sutta.men/ฟุตโน้ต:541:99 -------------...