วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ความเงียบมีเสียงก็ได้, ไม่มีเสียงก็ได้

ความเงียบมีเสียงก็ได้, ไม่มีเสียงก็ได้ เพราะ...
  1. สัททรูปไม่เกิด ก็เงียบ,
  2. สัททรูปไม่เกิด แต่มโนทวาริกจิตรู้เสียง ก็ไม่เงียบ,
  3. สัททรูปเกิด แต่โสตวิญญาณไม่รู้ ก็เงียบ,
  4. สัททรูปเกิด โสตวิญาณรู้ ก็ไม่เงียบ.
สรุปว่า: " หูไม่ได้ยิน มันก็เงียบ, เสียงจะมีหรือไม่มี มันก็เงียบอยู่ดี."

ข้างล่างนี้เป็นรายละเอียดสำหรับคนที่ยังสงสัยอยู่อีก:

ถามต่อว่า: เสียงในป่าเงียบหรือไม่?
ตอบว่า: ตอนที่พยายามฟังความเงียบ ส่วนใหญ่จะได้ยินเสียงที่เบาๆ เช่นฟังเสียงในป่า เงียบกว่าเมือง แต่ก็ได้ยินเสียงใบไม้ เสียงแมลง เสียงน้ำ เสียงลม เพียงแต่มันไม่ดังเท่าในเมือง.
อย่าไปเขว่ กับ คำถามที่เล่นคำครับ, หาสภาวะให้เจอ.
ถ้าเขาบอกว่า วันนี้เงียบจัง, แต่เราได้ยินเสียงใบไม้ ก็แสดงว่า เงียบของเขาหมายถึง เสียงเบากว่าปกติ ไม่ใช่ไม่มีเสียง.
แต่ถ้าบอกว่า ผู้ทำฌาน อยู่ในความเงียบ ทั้งๆที่รอบตัวท่านมีคนคุยกันอยู่, อย่างนี้ แสดงว่า คนอื่นไม่เงียบ, แต่ผู้ได้ฌานเงียบ เพราะท่านไม่ด้ยินอะไร.
ขณะรู้รูป รู้กลิ่น รู้รส รู้สัมผัส รู้นิพพาน รู้บัญญัติ ขณะนั้นเงียบหมด แม้กระทั่งรู้สัททบัญญัติ ก็เงียบ (แต่สลับกับจิตที่รู้เสียง ไม่เงียบ อย่างรวดเร็ว).
หลายคนจึงมักพูดว่า ขณะปฏิบัติไม่ได้รู้เป็นคำๆ แต่รู้สภาวะ. (ซึ่งวิธีคิดแบบนี้ ใช้ได้แต่กับสมถะ ใช้กับผู้เริ่มทำวิปัสสนาไม่ได้ ตำราไม่ได้สอนไว้อย่างนั้น)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รับตอบปัญหาธรรมะ ตามพระไตรปิฏก อรรถกถา ฏีกา
ท่านสอบถาม/แสดงความคิดเห็น/บอกข้อบกพร่องของบทความได้ที่ facebook: ตอบปัญหาธรรมะลึกซึ้ง หรือ ช่องตอบกลับข้างล่างนี้.

ยุคนี้เบาแล้ว

ยุคนี้เบาแล้ว ย้อนไปก่อนจะมีพระพุทธเจ้า  ดูประวัติศาสตร์โลกก็ได้โหดร้ายขนาดไหน, เดี๋ยวพอหมดยุคของพระพุทธเจ้านะ  โคตรหนักแน่นอน 😊  ไม่งั้นจะ...