วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2558

โครงสร้าง อนุราธสูตร

ตอนต้นของสูตร แสดงเหตุปรารภให้พระพุทธเจ้าตรัสตัวสูตรแท้ๆ ที่แสดงกับพระอนุราธะ ครับ. 

ซึ่งตอนต้นนั้น อรรถกถาบอกไว้ประมาณว่า ทั้งอัญญเดียรถีย์ และ พระอนุราธะ ล้วนไม่ได้รู้จริงทั้งคู่ พระอนุราธะพูดเพื่อให้ตรงกันข้ามกับเดียรถีย์, เดียรถีย์เองก็แค่พูดเพื่อเอาชนะ.

ฉะนั้น พระพุทธเจ้า ทรงอาศัยเหตุที่พระอนุราธะกำลังสนใจในเรื่อง "พระตถาคตจะเกิดอีกไหม?" นี่เองมาแสดงวิปัสสนา ให้พระอนุราธะบรรลุธรรม.

พอแสดงธรรม จึงแสดงการเพิกสัตว์บุคคล ให้เห็นว่าไม่มีสัตว์บุคคลอยู่ตรงไหนเลย (เพราะการเกิดชาติใหม่ เว้นศาสนาพุทธแล้ว ศาสนาอื่น ถือว่าเป็นสัตว์ เป็นบุคคลไปเกิด, การเกิดของคนนอกศาสนานั้น ไม่ใช่เพียงแต่ธาตุขันธ์ที่ถึงพร้อมด้วยปัจจัยและธาตุขันธ์ที่หมดปัจจัยอย่างที่อธิบายในปัจจยปริคคหญาณขึ้นไปตามหลักปฏิจจสมุปบาทในศาสนาพุทธ) ทรงทำลายสักกายะทิฏฐิ 20 แสดงให้เหลือเพียงขันธ์ 5 ก่อน, ต่อมาก็ยกขันธ์ 5 เพียวๆ ที่ไม่มีความเข้าใจว่ามี ว่าเป็น สัตว์บุคคลอยู่แล้ว ที่กำลังเป็นอารมณ์ของพระอนุราธะนั่นแหละ สู่ไตรลักษณ์ ครับ.

อนึ่ง สูตรนี้ฉบับสยามรัฐแปลผิดไปจากบาลี. ฉบับมหาจุฬา(ลิงก์)แปลตรงบาลี ครับ. แต่โดยอรรถะ ก็ความหมายเดียวกัน ครับ. คือ ในพระไตรปิฎก ถ้าพวกนอกศาสนามีการพูดถึงการเกิดการตายข้ามภพชาติ เขาก็พูดมาจากสักกายทิฏฐิสหคตจิตกัน ครับ.

เป็นอันจบสูตรนี้, รายละเอียดอ่าน อรรถกถาที่ลิงก์นี้:
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=208

1 ความคิดเห็น:

รับตอบปัญหาธรรมะ ตามพระไตรปิฏก อรรถกถา ฏีกา
ท่านสอบถาม/แสดงความคิดเห็น/บอกข้อบกพร่องของบทความได้ที่ facebook: ตอบปัญหาธรรมะลึกซึ้ง หรือ ช่องตอบกลับข้างล่างนี้.

การร้องทำนองเพลงที่ใจนึกถึงธรรมะ สมควรอยู่, แต่การร้องธรรมะที่ใจนึกถึงทำนองเพลง ไม่สมควร

การร้องทำนองเพลงที่ใจนึกถึงธรรมะ สมควรอยู่, แต่การร้องธรรมะที่ใจนึกถึงทำนองเพลง ไม่สมควร https://wiki.sutta.men/ฟุตโน้ต:541:99 -------------...