วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ทำไมบุญกิริยาวัตถุจึงแสดงทานไว้, แต่ไตรสิกขาไม่แสดงทานไว้

ผู้จะเป็นพระอรหันต์ต้องละตัณหาในกามคุณ 5 ทั้งหมด และละตัณหาในภพ 3 ทั้งหมดโดยสิ้นเชิง.
  • ฆราวาส (ผู้ถือครองเรือน) ต้องให้ทาน เพราะฆราวาสมีตัณหาในเรือน ไม่ว่าจะเป็นบ้าน รถ มือถือ เงิน ทอง ที่ดิน เป็นต้น. เมื่อฆราวาสได้ให้ทานในบรรพชิต จะเกิดประโยชน์ อย่างน้อย 2 ข้อ คือ 1.ได้สละกามคุณ ๕ ด้วย 2.ได้โอกาสตีสนิทบรรพชิตเพื่อขอฟังธรรมะที่ทำให้พ้นทุกข์ด้วย.
  • ส่วนบรรพชิต (ผู้สละเรือน, ผู้เว้นรอบ) ไม่มีอะไรจะให้ทาน เพราะได้สละ เว้นขาดจากการสะสมแบบฆราวาสแล้ว. ไม่มีอะไรจะให้เป็นทาน ไม่เหลืออะไรติดตัว นอกจากบริขารของสมณะที่ไม่มีใครต้องการ.
ดังนั้น โอวาทปาฏิโมกข์ ซึ่งในพระไตรปิฎกแสดงไว้ชัดเจนว่า "พระพุทธเจ้าทรงแสดงกะบรรพชิตล้วนๆ" จึงไม่แสดงเรื่องทาน เพราะมันไม่มีประโยชน์กับบรรพชิต. ในพระไตรปิฎกก็บอกไว้ว่า พระพุทธเจ้าไม่ตรัสคำที่ไม่มีประโยชน์กับคนที่ทรงแสดงธรรมให้ฟังอยู่. ถ้าทรงแสดงเรื่องทานให้กับบรรพชิต 1,250 รูป, ก็เท่ากับทรงตรัสสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์กะบรรพชิตให้พวกเขาฟัง, ซึ่งนั่นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้.
แต่ทานยังเป็นประโยชน์แก่ฆราวาส จึงได้แสดงเรื่องทานไว้สำหรับฆราวาส ถึงกับให้เป็นฆราวาสธรรมเลยทีเดียว (จาคะ), ในมงคลสูตรก็แสดงทานไว้ด้วย ก็เพราะเหตุเดียวกันนี้เอง.
ถ้าใครได้เข้าใจแบบนี้เสียแล้ว เมื่อได้ไปอ่านอรรถกถา เจอข้อความว่า "บุญกิริยาวัตถุแสดงกะฆราวาส, ไตรสิกขาแสดงกะบรรพชิต" ก็จะเข้าใจทันทีว่า "ทำไมบุญกิริยาวัตถุจึงมีทาน, แต่ไตรสิกขาไม่มีทาน" ครับ.



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รับตอบปัญหาธรรมะ ตามพระไตรปิฏก อรรถกถา ฏีกา
ท่านสอบถาม/แสดงความคิดเห็น/บอกข้อบกพร่องของบทความได้ที่ facebook: ตอบปัญหาธรรมะลึกซึ้ง หรือ ช่องตอบกลับข้างล่างนี้.

การร้องทำนองเพลงที่ใจนึกถึงธรรมะ สมควรอยู่, แต่การร้องธรรมะที่ใจนึกถึงทำนองเพลง ไม่สมควร

การร้องทำนองเพลงที่ใจนึกถึงธรรมะ สมควรอยู่, แต่การร้องธรรมะที่ใจนึกถึงทำนองเพลง ไม่สมควร https://wiki.sutta.men/ฟุตโน้ต:541:99 -------------...