"บังคับ" ตัวคำเป็นบัญญัติ, ไม่มีองค์ธรรมเฉพาะ. ไม่มีระบุไว้ในลักขณาทิจจตุกะของปรมัตถธรรมใดๆ เลย.
การบังคับเป็นอกุศลก็ได้ เป็นทานก็ได้ เป็นสมถะ วิปัสสนา หรือสติปัฏฐานก็ได้.
คนที่ยังละสักกายทิฏฐิไม่ได้ ด้วยตทังคปหานหรือสมุจเฉทปหาน ต่อให้เลี่ยงคำว่าบังคับไปใช้คำอื่น ก็ยังมีสักกายทิฏฐิล้อมหน้าล้อมหลังอยู่ดี เพราะไม่ได้พูดด้วยปัญญาประจักษ์แบบญาตปริญญา.
จะไปใช้คำว่า "เจตนา" ใช้คำว่า "ปัจจัย ปัจจยุปบัน" หรือใช้คำว่า "เป็นไปตามปัจจัย" หรือใช้คำตรงๆ ว่า "ไม่มีใครบังคับ" ก็ตาม ก็ล้วนแต่พูดตามคนอื่น ไม่ใช่ปัญญาประจักษ์นามรูปพร้อมทั้งปัจจัยจริงๆ ตามที่มันเป็น.
ส่วนผู้ที่สามารถละสักกายทิฏฐิได้ จะไม่มัวติดพยัญชนะว่า "บังคับ" เพราะเขารู้ตามความเป็นจริงอยู่แล้วว่า จะบังคับ หรือ ไม่บังคับ อัตตาก็ไม่มีอยู่จริงเลย. เขาจะพากเพียรตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ว่าจะเป็นการทำศีล ทำสมถะ ทำวิปัสสนา เขาก็พร้อมทุกประการ.
ไม่ต้องย้ำคิดย้ำทำในสิ่งที่รู้อยู่แล้วว่า "ไม่มีใครทำ" เพราะมัวแต่กลัวจะมีอัตตานุทิฏฐิ, แล้วพยายามละอัตตานุทิฏฐิอย่างไม่ถูกวิธี, จนไปขวางกั้นการเจริญกุศลอื่นๆ.
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ยุคนี้เบาแล้ว
ยุคนี้เบาแล้ว ย้อนไปก่อนจะมีพระพุทธเจ้า ดูประวัติศาสตร์โลกก็ได้โหดร้ายขนาดไหน, เดี๋ยวพอหมดยุคของพระพุทธเจ้านะ โคตรหนักแน่นอน 😊 ไม่งั้นจะ...
-
โครงการศึกษาพระวินัยปิฏกแบบโบราณเพื่อการประพฤติปฏิบัติ สถานที่ตั้งสำนักเรียนมหาธรรมรักขิตเจดีย์ -146 ม.1 ต.โป่งน้ำร้อน อ.โป่งน้ำร้อน จ.จัน...
-
ในกรณีที่มีอาจารย์กรรมฐานที่มี คุณสมบัติ คือ ทั้งบรรลุธรรม ได้ฌาน ได้อภิญญา ได้วิปัสสนาญาณ ได้มรรคผล และทั้ง ทรงจำพระไตรปิฎก อย่าง คล่องป...
-
ถ: ถ้าติดสังฆาทิเสสแล้วไม่ได้แก้ก่อนสึกจะทำให้ชีวิตไม่ดีทำมาหากินไมขึ้นจริงหรือเปล่าครับ? ต: อาบัติไม่มีผลกับฆราวาส ครับ, สึกมาเป็นฆรา...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
รับตอบปัญหาธรรมะ ตามพระไตรปิฏก อรรถกถา ฏีกา
ท่านสอบถาม/แสดงความคิดเห็น/บอกข้อบกพร่องของบทความได้ที่ facebook: ตอบปัญหาธรรมะลึกซึ้ง หรือ ช่องตอบกลับข้างล่างนี้.