วันเสาร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

ตัวอย่างการตอบเรื่องสีกระทบตาแบบอภิญญา ให้นักวิทยาศาสตร์ไม่รังเกียจ รักสามัคคีกับชาวพุทธ

ถามว่า:
1. สีที่คนส่วนใหญ่ในปัจจุบันเห็นเป็นสีนั้นจริง ๆ หรือไม่
2. ถ้าการเห็นสีขึ้นอยู่กับเซลล์รับแสงสีในตาคน แล้วสีจริงของวัตถุเมื่อไม่ได้วัดจากสายตาคนมีหรือไม่ ถ้ามีเป็นสีอะไร แล้วจะพิสูจน์ได้ไหมว่าเป็นสีนั้นจริง

ตอบว่า:

1. ทุกๆ อย่างมีสีที่ต่างกันจริงๆ ในตัว ครับ, ไม่เช่นนั้นโฟตอนจะไม่สามารถหักเหต่างกันได้เลย.

2.1 การเห็นสีได้ อยู่ที่เซลล์ก็จริง, แต่สีจริงๆ อยู่ที่ปรมาณู (อนุภาค) ของสิ่งของนั้นๆ สีที่กระทบเซลล์ตาไม่ได้อยู่ที่เซลล์ตา (แต่เซลล์ตาก็มีสีของตัวเองมากมายเช่นกัน). โฟตอนแสงไปกระทบวัตถุแล้วหักเห มากระทบกับตา.

2.2 สีของวัตถุนั้นจริงๆ ทำให้โฟตอนในแสงเปลี่ยนสี แล้ววิ่งมากระทบตา เพราะฉะนั้น จุดนี้ขึ้นอยู่ที่ว่า 1. โฟตอนนั้นมีสีดั้งเดิมมายังไง (มาขาว ก็ใกล้เคียงของสีเดิม, มาเหลือง เขียว ฯลฯ ก็สีเพี้ยน) 2. สภาพของจักขุปสาท (เซลล์ตา) ว่าดีพอไหม?

2.3 การพิสูจน์ คิดว่าสามารถทำได้ในทางวิทยาศาสตร์ ด้วยคุณสมบัติทางเคมี และหลักฟิสิกส์, แต่ในทางอภิธรรม เราใช้วิธีฝึกจิตให้มีสมาธิแก่กล้า (หลายเดือน หลายปี ไม่ขาดช่วง) จนเกิดแสงแห่งปัญญาสว่างเจิดจ้า (ปฏิภาคนิมิตของฌานทั้ง 8) แล้วฝึกอภิญญา แล้วมองสีนั้นด้วยอภิญญาจิต ด้วยวิธีนี้ ก็จะสามารถเห็นสีจริงนั้นได้ โดยไม่ต้องผ่านโฟตอนและเซลล์ตา (ดูผ่านมโนทวารแทน). แต่ดูมาแล้วก็จะอธิบายยากอีกแหละ เพราะมีตัวแปรหลายอย่าง.

อันนี้เป็นวิธีฝึกแสงแห่งปัญญา ครับ เขาจะนั่งกันครั้งละ 2+ ชั่วโมง วันละ 12-14 ชั่วโมง ต่อเนื่องหลายเดือน หลายปี. พวกจบ MIT ก็มี, แต่พระอาจารย์ในคลิป จบมหาลัยแค่ด้านคอมพิวเตอร์ ไม่ทราบสาขา ครับ ได้ 4 ภาษา พม่า อังกฤษ ไทย บาลี.

https://youtu.be/H4WPP_WGGU4?t=3936

วันอังคารที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

ปิยรูป สาตรูป

สูตรนี้ ให้สัมพันธ์บทหน้าบทหลังให้ดี ใช้หาระพาเข้าไปวิจัยบท แล้วใช้สีหวิกกีฬิตนัยกับติปุกขลนัยบรรทุกอรรถะออกมา เพื่อให้สรุปได้ว่ามหาสติปัฏฐานสูตรเป้นสูตรประเภทใด. ทำให้ได้ทุกบท จะกระจ่างเหมือนพระจันทร์วันเพ็ญ.

ปิยรูป สาตรูป ให้นับเป็นปัจจุบันผล 30 กับ ปัจจุบันเหตุ 30 ด้วยนันทิยาวัฏฏนัย.

ปัจจุบันผล คือ ปิยรูปสาตรูป30 คือ วิบาก 32 และธรรมที่เนื่องกับวิบากนั้นทางทวาร 6 รวมรูป เสียง เป็นต้นด้วย.

#เป็นผลที่ห้ามไม่ได้.

ปัจจุบันเหตุ 30 อุปาทานและสัมปยุตธรรมร่วมทำงาน กล่าวคือ สัญญาจำปิยรูปสาตรูป เพื่อให้สัญเจตนาจัดแจงหามาให้ตัณหาเสพ แล้ววิตก วิจาร ก็พา 4 อย่างที่เหลือ เข้าไปเสพอีกแล้วๆเล่าๆ กลายเป็นอกุศลเป็นอเนก) ครับ.

#เป็นเหตุที่ฝึกฝน ละคลายได้.

อวิชชา (อญฺญาณํ) ปกปิดญาณํให้ไม่อาจปชานาติ สิกฺขติ ปจฺจเวกฺขติ ปสฺสติ อุปสงฺหรติ คือ ไม่ให้ปัญญารู้ชำนาญในแง่มุมที่แท้จริงโดยสภาวะที่เป็นปัจจัยปัจจยุปบันบ้าง (วิปัสสนาบรรพะ) โดยสภาวะที่ข่มนิวรณ์ได้บ้าง (อานาปานัสสติ กายคตาสติ นวสีวถิกาสมถะและอุปจาระของทั้ง 21 บรรพะ). สตฺตานุปัสสี จึงกลายเป็นมิจฺฉาทิฏฐิมรรค มิจฺฉาสติมรรค มีปลายทางมากมายในวัฏฏะ.

ต่อเมื่อพระโยคีรักษาสติในสติปัฏฐานด้วยอานาปานัสสติสูตร กายคตาสติสูตร แล้วนำสมถะที่ได้นี้มาปชานาติเป็นต้นในสัจจะ 4 ตามมหาสติปัฏฐานสูตร อันเป็นวิปัสสนา ตัณหาในกรัชกาย ก็หลุดออก ดับ สละ ปล่อย พ้น หมดความติดใจ. กายานุปัสสีเป็นต้น ก็กลายเป็นสัมมาทิฏฐิ. สัมมาทิฏฐิ คือ "ปสฺสี" ที่ชำนาญจนไม่ต้อง "อนุ" เรียกว่า ทิฏฐิ ในฐานะของ ธมฺมจกฺขุ เรียกว่า ทุกฺเข ญาณํ เป็นต้น ในฐานะของปญฺญา (อนุปสฺสี ปชานาติ ปจฺจเวกฺขติ อุปสงฺหรติ ญาณํ) ที่กลายเป็นความชำนาญในขณะจิตเดียว (อยเมว อริโย อฏฺฐงฺคิโก มัคคอัปปนาจิตตุปบาโท). มีปลายทางเดียว คือ นิโรธ นิพพาน ออกจากวัฏฏะ.

ถามว่าหลุดออกเป็นต้นอย่างไร?

ตอบว่า เมื่อวิปัสสนาจารจิตตุปบาท แยกสภาวะแทงตลอดด้วยปัญญา ก็ถอนอารมณ์ด้วยนามกายคือจิต จึงถอนความเห็นว่ามีสิ่งอื่นจากขันธบรรพะ ด้วยบทว่า กาเย (นิทธารณะ แบบ เอกวจนะ), กายสฺมึ, ฯลฯ ธมฺเมสุ, สมุทยธมฺมานุปสฺสี, รูปสฺส สมุทโย เป็นต้น เมื่อถอนฆนะ 4 ได้สิ้น สังขตลักษณะย่อมปรากฎ ญาณก็เห็น (อนุปสฺสี) ทุกขสัจ คือ อุปาทานขันธ์ (ขันธบรรพะ) ตามเป็นจริงได้ เพราะไม่มีอวิชชาว่า "นี้ก้อนสัตว์ ทำกิจหากินได้ตามใจ รู้อารมณ์ได้ตามใจ ล่องลอยไปเกิดไปตายตามใจนึก ดับสูญได้ตามใจนึก" เป็นต้น เหลืออยู่. เมื่อญาณทำกิจแทงตลอดได้ในทุกแง่มุม ย่อมเห็นปัจจัยปัจจยุปบัน ทั้งที่เป็นอตีตเหตุ 2 ปัจจุบันผล 5 ปัจจุบันเหตุ 3 อนาคตผล 2 (ปฏิจจสมุปบาทแบบข้ามภพชาติ ไม่ได้กล่าวในมหาสติปัฏฐานสูตร เพราะเป็นพลววิปัสสนา จึงมีเฉพาะปัจจุบันอัทธา โดยเฉพาะปัจจุบันขณะ คือ สติสัมปยุตตจิตตุปบาทที่เพิ่งดับไป ที่ต้องนำมาทำภังคญาณ, อย่างไรก็ตาม ทรงตรัสปฏิจจสมุปบาทข้ามภพชาติ ไว้ด้วยอำนาจอภิญญาคือบุพเพนิวาสานุสติญาณในกายคตาสติสูตร ที่เป็นสมถะ; อนึ่ง ที่ต้องแยกสูตรกัน เพราะมีความยาวมาก ด้วยอำนาจเป็นสีหวิกกีฬิตนัย พุทธาสยะ).

การประจักษ์อุปาทานขันธ์ในปฏิจจสมุปบาท (อาการ 50) คือ ปิยรูปสาตรูป ที่เป็นปัจจุบันผล อนาคตเหตุ ที่กำลังปรากฎอยู่ทางทวาร 6 นี้เอง ทำให้ละตัณหาในที่นี้ พังทลายในที่นี้.
เมื่อนั้นปชานาติเป็นต้น คือ อนุปัสสี ก็กลายเป็นสัมมาทิฏฐิในมัคคจิตตุปบาท และความประจักษ์ไตรลักษณ์ทางทวาร 6 ในระดับมหาสติปัฏฐานสูตรนี้ ก็ทำให้ ญา ธาตุ ทิส ธาตุ อิกฺข ธาตุ ทั้งหมดในสูตรนี้ พัฒนาไปได้ถึง "อัญญา" ในที่สุด.

สูตรนี้ ให้สัมพันธ์บทหน้าบทหลังให้ดี จะเข้าใจไม่ยาก เพราะเป็นพุทธาสยะ เป็นสีหวิกกีฬิตนัย เมื่อเชื่อมกับกายคตาสติสูตร อานาปานัสสติสูตรแล้ว ก็จะไม่มีบทไหนน่าสงสัยเหลือเลย แม้ความเห็นของพระมหาสิวะและมหาอรรถกถา ก็กลับกลายเป็นเรื่องเดียวกัน ที่ขยายกันด้วยสีหวิกกีฬิตนัย และติปุกขลนัยไปเสีย พระไตรปิฎกพร้อมทั้งอรรถกถา ก็จะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างไม่มีที่น่าสงสัย #จริงๆ ด้วยประการอย่างนี้.

วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

ตัวอย่างการเทียบมหาสติปัฏฐานสูตร กับสูตรอื่นๆ 1

จำได้เคยกล่าวไว้ว่ามหาสติปัฏฐานสูตรเป็นสีหวิกกีฬิตนัย (แสดงลำดับแต่ต้นจนจบเหมือนราชสีห์คำรามได้สมบูรณ์แบบ) เป็นพุทธาสยะ ในที่นี้จะแสดงตัวอย่าง การนำมหาสติปัฏฐานสูตรไปเทียบเคียงกับสูตรต่างๆ

อรรถกถาด้านล่าง เป็นอุปมาที่เทียบกับลำดับของ ปุน จ ปรํ มหาสติปัฏฐานสูตรได้เลยครับ เยี่ยมจริงๆ 

จะเห็นว่า ตอนแรกกล่าวถึงสมาธิก่อน เทียบกับอานาปานาบรรพะที่ 1 ซึ่งขยายด้วย 14 บรรพะในกายคตาสติสูตร และตามด้วยอานาปานัสสติสูตร ถ้าไม่บรรลุก็มามหาสติปัฏฐานสูตร ต่อ.

อิริยาบถบรรพะสัมปชัญญะบรรพะ ที่ 2 ในที่นี้กล่าวอิริยาบถนั่งอย่างเดียว ด้วยอำนาจพลววิปัสสนาที่ไม่มีแม้แต่ทานศีลสมถะเกิดแทรกเลย บรรลุในบัลลังก์เดียวนั่นแหละ. 

แต่ผู้มีอินทรีย์อ่อน เมื่อไม่ฝึกอินทรีย์ 5 ทั้งฝ่ายจิตตวิสุทธิและทิฏฐิวิสุทธิเป็นต้น ในอิริยาบถทั้ง 4 ฐานะ 7 ย่อมไม่อาจยังพลววิปัสสนาให้ดำรงอยู่ได้จนถึงมรรค.

ปฏิกูลบรรพะที่ 3 แสดงไว้ด้วยอำนาจ โกฏฐาส 42 เพราะในขุททกปาฐะ ท่านแสดงอาการ 32 ก่อน แล้วตามด้วยอาการ 42 เพื่อแสดงถึงการนำอาการ 32 นั่นแหละ มาแยกธาตุ 4 ออก เพื่อนำไปพิจารณาปฏิจจสมุปบาทในสามเณรปัญหาปาฐะถัดไป.

เพราะเหตุนั้นเอง จึงแสดง ธาตุมนสิการบรรพะที่ 4 เป็นบรรพะถัดจากปฏิกูลบรรพะ ที่ 3.

เมื่อจะกำหนดรูปกรรมฐานที่แยกธาตุแล้วในบรรพะก่อน ด้วยอำนาจอาทีนวานุปัสสนา จึงแสดงนวสีวถิกบรรพะ ปิดท้าย กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน. และกำหนด เวทนา จิต ธรรม ที่เกิดขึ้นในขณะกำหนดรูปกรรมฐาน จึงแสดง เวทนา จิต ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐานต่อไป. ในวิสุทธิมรรค ทิฏฐิวิสุทธินิทเทส จึงแสดงการกำหนดสภาพธรรมปัจจุบันที่ชัดทางใดทางหนึ่ง เวทนา จิต ผัสสะ (ธรรมานุปัสสนา).

ทั้งหมด เป็นขยานุปัสสนา ด้วยบทว่า สมุทยธมฺมานุปสฺสี วา เป็นต้น และบทนั้นถูกขยายตั้งแต่ขันธบรรพะ เป็นต้นไป.
---------อ.มหารุกขสูตรที่ 5-----------
ในพระสูตรนี้ วัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ ๓ เหมือนต้นไม้ใหญ่.
               พระโยคาวจรเหมือนบุรุษผู้ต้องการโค่นต้นไม้. ญาณคือความรู้เหมือนจอบ สมาธิเหมือนกระบุง ญาณเหมือนขวานสำหรับตัดต้นไม้
               ปัญญาของพระโยคีผู้เรียนกัมมัฏฐานในสำนักอาจารย์แล้ว มนสิการอยู่ เหมือนเวลาที่ต้นไม้ถูกตัดที่ราก.
               เวลามนสิการมหาภูตรูป ๔ โดยย่อ เหมือนเวลาที่ตัดเป็นท่อนเล็กท่อนน้อย. เวลามนสิการโดยพิสดาร ในโกฏฐาส ๔๒ เหมือนการผ่า.
               การกำหนดนามรูปด้วยอำนาจแห่งธรรมเหล่านี้ คืออุปาทายรูปและวิญญาณอันมีรูปขันธ์เป็นอารมณ์ เหมือนเวลาเกรียก. การแสวงหาปัจจัยของนามรูปนั่นแหละ เหมือนการถอนรากไม้. การบรรลุผลอันเลิศ (อรหัตผล) ของพระโยคีผู้เจริญวิปัสสนาโดยลำดับ ได้สัปปายะอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว
               เมื่อกัมมัฏฐานปรากฏแจ่มแจ้งอยู่ นั่งขัดสมาธิท่าเดียวกระทำสมณธรรมอยู่ เหมือนเวลาที่ผึ่งลม ตากแดดแล้วเอาไฟเผา. เวลาที่พระโยคีไม่ปรินิพพานในวันที่ตนบรรลุพระอรหัตนั่นเอง แต่ดำรงอยู่ตราบเท่าอายุ เปรียบเหมือนมนสิการ.

https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=206&p=1&h=%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3#hl

วันเสาร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

ทำไมตรัสตัณหาเท่านั้นว่าเป็นสมุทยสัจ?

แต่ว่า ทำไมตรัสตัณหาเท่านั้นเล่าว่าเป็นสมุทยสัจ?

(วิสุทฺธิ.มหาฏี. สมุทยนิทฺเทสกถาวณฺณนา) เพราะว่าเป็นเหตุที่แตกต่าง (แห่งทุกข์นานัปปการ). อธิบายว่า เมื่ออวิชชาปิดบังโทษในภพทั้งหลายอยู่ และเมื่อทิฏฐุปาทานเป็นต้นอาศัยในที่นั้นๆอยู่ (อวิชชาและทิฏฐุปาทานเป็นต้น) ย่อมยังตัณหาให้เจริญ. แม้โทสะทั้งหลายเป็นต้นก็เป็นเหตุแห่งกรรม (สังขาร,กัมมภพ) เช่นกัน. อย่างไรก็ตาม เมื่อตัณหาปรารถนาความวิจิตรแห่งภวะ-โยนิ-คติ-วิญญาณฐิติ-สัตตาวาส-สัตตนิกาย-ตระกูล-โภคะ-อิสสริยะนั้นๆอยู่ ตัณหาเลยเข้าถึงความเป็นอุปนิสัยให้กรรมมีความวิจิตร และยังเข้าถึงความเป็นสหายของกรรมด้วย ตัณหาจึงกำหนดความวิจิตรของภพเป็นต้น, เพราะเหตุ(ที่ตัณหาวิจิตรจึงทำให้ภพวิจิตร)นั้น แม้เมื่อเหตุแห่งทุกข์แม้อื่นๆ ที่ทรงตรัสไว้ทั้งในสุตตันตนัย อันได้แก่ อวิชชา-อุปาทาน-กรรม เป็นต้น และอภิธรรมนัย อันได้แก่ กิเลสและอกุสลมูลที่เหลือเป็นต้น จะมีอยู่ก็ตาม, พระองค์ก็ทรงตรัสตัณหานั่นแหละไว้ว่าเป็น "สมุทยสัจ (ความจริงที่เป็นเหตุเกิดทุกข์)" เพราะความที่ตัณหาเป็นเหตุให้ทุกข์มีความแตกต่างกัน.

https://5000y.men/?th.r.153.204.0.0.ตณฺหาว|สมุทยสจฺจํ|วุตฺตา#hl
กสฺมา ปเนตฺถ ตณฺหาว สมุทยสจฺจํ วุตฺตาติ? วิเสสเหตุภาวโตฯ อวิชฺชา หิ ภเวสุ อาทีนวํ ปฏิจฺฉาเทนฺตี ทิฏฺฐิอาทิอุปาทานญฺจ ตตฺถ ตตฺถ อภินิวิสมานํ ตณฺหํ อภิวฑฺเฒติ, โทสาทโยปิ กมฺมสฺส การณํ โหนฺติ, ตณฺหา ปน ตํตํภวโยนิคติวิญฺญาณฏฺฐิติสตฺตาอาวาสสตฺตนิกายกุลโภคิสฺสริยาทิวิจิตฺตตํ อภิปตฺเถนฺตี กมฺมวิจิตฺตตาย อุปนิสฺสยตํ กมฺมสฺส จ สหายภาวํ อุปคจฺฉนฺตี ภวาทิวิจิตฺตตํ นิยเมติ, ตสฺมา ทุกฺขสฺส วิเสสเหตุภาวโต อญฺเญสุปิ อวิชฺชาอุปาทานกมฺมาทีสุ สุตฺเต อภิธมฺเม จ อวเสสกิเลสากุสลมูลาทีสุ วุตฺเตสุ ทุกฺขเหตูสุ วิชฺชมาเนสุ ตณฺหาว ‘‘สมุทยสจฺจ’’นฺติ วุตฺตาติ เวทิตพฺพํฯ

การร้องทำนองเพลงที่ใจนึกถึงธรรมะ สมควรอยู่, แต่การร้องธรรมะที่ใจนึกถึงทำนองเพลง ไม่สมควร

การร้องทำนองเพลงที่ใจนึกถึงธรรมะ สมควรอยู่, แต่การร้องธรรมะที่ใจนึกถึงทำนองเพลง ไม่สมควร https://wiki.sutta.men/ฟุตโน้ต:541:99 -------------...