วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2563

ข้ามขั้นตอนก็ไม่ดี ยึดติดในขั้นตอนก็ไม่ได้

"ขั้นสุดท้าย" ของการปริยัติ และปฏิบัติ คือ จะต้องระวังไม่ให้มีตัณหาเข้าไปยึดติดใจ ในทิฐิความเชื่อ และข้อปฏิบัติต่างๆ.

ที่เรียกว่า "ขั้นสุดท้าย" เพราะท่านแนะนำไว้ว่า ถ้าจิตยังไม่มีกำลังสงบกิเลสจริงๆ ให้ตั้งใจปฏิบัติไปก่อน, เมื่อกิเลสนิวรณ์สงบระงับได้ดี เพราะจิตมีกำลัง ก็ค่อยมาทำขั้นตอนสุดท้ายนี้.

นักปฏิบัติจะต้องปฏิบัติตามลำดับให้ถูกต้องก็จริง เพราะข้ามลำดับแม้เพียงเล็กน้อย อาจหมายถึงกิเลสที่หลุดรอด ขวางกั้นนิพพาน.

แต่การปฏิบัติตามลำดับนั้น ต้องไม่ให้มีตัณหาเข้าไปยึดติดการปฏิบัติ คำสอน เป็นต้นด้วย.

บางคนเป็นอุจเฉททิฏฐิ ข้ามขั้นตอน จึงไม่บรรลุก็มี, บางคนเป็นสัสตทิฏฐิ ยึดติดในขั้นตอน จึงไม่บรรลุก็มี. ตัณหา ทิฏฐิ มานะเป็นเครื่องเนิ่นช้า ให้ระวังให้ดี.

ฉะนั้นเมื่อปฏิบัติตามขั้นตอนได้ครบแล้ว ก็ควรปล่อยวางสละคืนข้อปฏิบัติ. แต่ต้องไม่ลืมขั้นตอนเหล่านั้นเวลาแนะนำชนรุ่นหลัง, เพราะขั้นตอนต่างๆ เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้า และพระสาวกวางแบบแผนไว้เพื่อรักษาพระศาสนาให้ครบ 5000 ปี.

วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2563

คุณสมบัติคนไม่ได้ฌานแล้วบรรลุธรรม คือ อาจารย์ดี อกุศลบางเบา

ถาม: ผมเคยได้ยินมาว่า การบรรลุไม่เกี่ยวข้องกับการได้ณาน คนที่บรรลุไม่ได้ณานก็มี และคนที่ได้ณานไม่บรรลุก็มีเช่นพวกฤาษี จริงหรือป่าวครับ

ตอบ: ความจริงครึ่งเดียวครับ, แต่อีกครึ่งหนึ่งไม่ใช่ความจริง

ถาม: คืออะไรครับ จริงครึ่ง ไม่จริงครึ่ง

ตอบ: คนที่บรรลุโดยไม่ได้ฌาน (คนมีจิตตวิสุทธิง่าย) มีจริง ใน 2 กรณี คือ

1. ได้อาจารย์ที่สั่งสมบารมีร่วมกันมา (เช่นพระพุทธเจ้า) สอนกรรมฐานวิธีลัดที่สอนร่วมกันมาหลายชาติให้จนบรรลุ (ติปุกขลนัย),
2. เป็นคนที่ไม่ค่อยมีอกุศลเกิดเลยตั้งแต่เกิด ซึ่งมักเกิดจากพรหมโลก (สีหวิกกีฬิตนัย).

แต่คนที่อกุศลเกิดบ่อย วิปัสสนาจะถูกอกุศลไปกั้นทำให้ภาวนาไม่เป็นภาวนา มรรคผลไม่ยอมเกิด ครับ, ฉะนั้น กรณีนี้ ควรฝึกฌาน ครับ.  อย่างน้อย ถ้าทำวิปัสสนาเกิน 7 ปี แล้วไม่บรรลุ ก็ควรถอยมาทำฌานก่อน ครับ.

ฉะนั้น ที่บอกว่า ไม่ต้องทำฌานก็ได้ จึงเป็นความจริงแค่ครึ่งเดียว, ว่าตามหลักเนตติปกรณ์ เทสนาหาระ และสีหวิกกีฬิตนัย ครับ.

วันพฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2563

ผมหงอก ออกบวช เจริญเนกขัมมะ : วัฒนธรรม ผู้มีปัญญา

อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑๒
๑๒. อัตตวรรควรรณนา               
๑. เรื่องโพธิราชกุมาร [๑๒๗]   (บางส่วน)
               พึงรักษาตนไว้ให้ดีในวัยทั้ง ๓               
               พระศาสดา ครั้นทรงแสดงบุพกรรมนี้ของโพธิราชกุมารนั้น แล้วตรัสว่า
               “ราชกุมาร ก็ในกาลนั้น ถ้าพระองค์กับพระชายา จักถึงความไม่ประมาท แม้ในวัย ๑ บุตรหรือธิดา พึงเกิดขึ้นแม้ในวัย ๑ ก็ถ้าบรรดาพระองค์ทั้ง ๒ แม้คนหนึ่งจักได้เป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว บุตรหรือธิดาจักอาศัยผู้ไม่ประมาทนั้นเกิดขึ้น ราชกุมาร ก็บุคคล เมื่อสําคัญตนว่า เป็นที่รัก จึงไม่ประมาท รักษาตนแม้ในวัยทั้ง ๓ เมื่อไม่อาจ (รักษา) ได้อย่างนั้น พึงรักษาให้ได้แม้ในวัย ๑”
               แล้วจึงตรัสพระคาถานี้ว่า
                         [๑๕๗]               “ถ้าบุคคลรู้ว่าตนเป็นที่รัก ก็ควรรักษาตนนั้น
                         ไว้ให้ดี บัณฑิตควรประคับประคองตนไว้ให้ได้อย่างน้อย
                         ยามใดยามหนึ่งใน ๓ ยาม”

               บรรดาคําเหล่านั้น ในคํานี้ว่า ยาม (ยามํ) พระศาสดาทรงแสดงวัยทั้ง ๓ วัยใดวัยหนึ่งให้ชื่อว่ายาม เพราะความที่พระองค์ทรงเป็นใหญ่ในธรรมและเพราะความพระองค์ทรงฉลาดในเทศนาวิธี เพราะเหตุนั้น ในพระคาถานี้ บัณฑิตพึงทราบความอย่างนี้ว่า
               “ถ้าบุคคลรู้ว่าตนเป็นที่รัก พึงรักษาตนนั้น ให้เป็นอันรักษาดีแล้ว คือพึงรักษาตนนั้น โดยประการที่ตนเป็นอันรักษาดีแล้ว บรรดาชนผู้รักษาตนเหล่านั้น ถ้าผู้เป็นคฤหัสถ์คิดว่า ‘จักรักษาตน’ เข้าไปยังห้องที่เขาปิดไว้เรียบร้อย เป็นผู้มีอารักขาสมบูรณ์ อยู่บนพื้นปราสาทชั้นบนก็ดี ผู้เป็นบรรพชิตอยู่ในถ้ำอันปิดเรียบร้อย มีประตูและหน้าต่างอันปิดแล้วก็ดี ยังไม่ชื่อว่ารักษาตนเลย
               แต่ผู้เป็นคฤหัสถ์ ทําบุญทั้งหลายมีทานศีลเป็นต้นตามกําลังอยู่ หรือผู้เป็นบรรพชิต ถึงความขวนขวายในวัตร ปฏิบัติ ปริยัติ และการทําไว้ในใจอยู่ ชื่อว่าย่อมรักษาตน บุรุษผู้เป็นบัณฑิต เมื่อไม่อาจ (ทํา) อย่างนั้นได้ใน ๓ วัย (ต้อง) ประคับประคองตนไว้แม้ในวัยใดวัยหนึ่งก็ได้เหมือนกัน ก็ถ้าผู้เป็นคฤหัสถ์ไม่อาจทํากุศลได้ในปฐมวัย เพราะความเป็นผู้หมกมุ่นอยู่ในการเล่น ในมัชฌิมวัยพึงเป็นผู้ไม่ประมาททําเพ็ญกุศล ถ้าในมัชฌิมวัยยังต้องเลี้ยงบุตรและภรรยา ไม่อาจบําเพ็ญกุศลได้ ในปัจฉิมวัยพึงบําเพ็ญกุศลให้ได้ ด้วยอาการแม้อย่างนี้ ตนเป็นอันเขาประคับประคองแล้วทีเดียว แต่เมื่อเขาไม่ทําอย่างนั้น ตนย่อมชื่อว่าไม่เป็นที่รัก ผู้นั้น (เท่ากับ) ทำตนนั้นให้มีอบายเป็นที่ไปในเบื้องหน้าทีเดียว
               ก็ถ้าว่า บรรพชิต ในปฐมวัย ทําการสาธยายอยู่ ทรงจำ บอก ทําวัตรปฏิบัติตอบอยู่ ชื่อว่าถึงความประมาท ในมัชฌิมวัยพึงเป็นผู้ไม่ประมาท บำเพ็ญสมณธรรม อนึ่ง ถ้ายังสอบถามอรรถกถาและวินิจฉัยและเหตุแห่งปริยัติอันตนเรียนแล้วในปฐมวัยอยู่ ชื่อว่าถึงความประมาทในมัชฌิมวัย ในปัจฉิมวัยพึงเป็นผู้ไม่ประมาทบําเพ็ญสมณธรรม ด้วยอาการแม้อย่างนี้ ตนย่อมเป็นอันบรรพชิตนั้นประคับประคองแล้วทีเดียว แต่เมื่อไม่ทําอย่างนั้น ตนย่อมชื่อว่าไม่เป็นที่รัก บรรพชิตนั้น (เท่ากับ) ทำตนนั้นให้เดือดร้อน ด้วยการตามเดือดร้อนในภายหลังแท้”
               ในเวลาจบเทศนา โพธิราชกุมารดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว พระธรรมเทศนาได้สาเร็จประโยชน์ แม้แก่บริษัทที่ประชุมกันแล้วดังนี้แล

อรรถกถา ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑

               อรรถกถา เอกกนิบาตชาดก อปัณณกวรรค
               มฆเทวชาดก ว่าด้วยเทวทูต
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=9&p=1&h=ผมหงอก#hl

               วันหนึ่ง ตรัสเรียกช่างกัลบกมาว่า ดูก่อนช่างกัลบกผู้สหาย ท่านเห็นผมหงอกบนศีรษะของเราในกาลใด
               พระราชาตรัสว่า สหาย ถ้าอย่างนั้น ท่านจงถอนผมหงอกนั้นของเรา เอามาวางในฝ่ามือ.
               แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น พระราชาได้ทรงเห็นผมหงอกแล้ว ก็ทรงสำคัญประหนึ่งว่า
               ดูก่อนมฆเทวะผู้เขลา เจ้าไม่อาจละกิเลสเหล่านี้ จนตราบเท่าผมหงอกเกิดขึ้น.
               เมื่อพระเจ้ามฆเทวะนั้นทรงรำพึงถึง ผมหงอกที่ปรากฏแล้ว
               ดูก่อนพ่อ ผมหงอกปรากฏบนศีรษะของพ่อแล้ว พ่อเป็นคนแก่แล้ว
               พระราชาทรงถือผมหงอก ตรัสพระคาถานี้แก่อำมาตย์ทั้งหลายว่า
               บทว่า อิเม ชาตา วโยหรา ความว่า พ่อทั้งหลาย จงดูผมหงอกเหล่านี้เกิดแล้ว ชื่อว่าเป็นเหตุนำเอาวัยไป
               เพราะนำเอาวัยทั้ง ๓ ไป โดยภาวะปรากฏผมหงอก.
               จริงอยู่ เมื่อผมหงอกทั้งหลายปรากฏบนศีรษะ บุคคลย่อมเป็นเหมือนยืนอยู่ในสำนักของพญามัจจุราช
               เพราะฉะนั้น ผมหงอกทั้งหลายท่านจึงเรียกว่า ทูตของเทวะ คือมัจจุ ที่ชื่อว่า เทวทูต เพราะเป็นทูตเหมือนเทวะ ดังนี้ก็มี
               ท่านจักตายในวันชื่อโน้น ฉันใด เมื่อผมหงอกทั้งหลายปรากฏแล้วบนศีรษะ
               เพราะฉะนั้น ผมหงอกทั้งหลาย ท่านจึงกล่าวว่า เป็นทูตเหมือนเทพ
               โดยปริยายนี้ ผมหงอกทั้งหลาย ท่านจึงเรียกว่าเทวทูต

 
               อรรถกถา สุสีมชาดก
               ว่าด้วย พระเจ้าสุสีมะออกผนวช
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1079&p=1&h=ผมหงอก#hl

               ประทับยืน ประทับนั่ง และทรงบรรทมแต่ลำพังพระองค์เดียว แต่พระราชาพระองค์นี้เป็นคนหนุ่ม ส่วนเราเป็นคนแก่ ผมหงอกปรากฏบนศีรษะของเรา
               พระราชาตรัสว่า ข้าแต่นางผู้เจริญ ถ้ากระนั้น ขอเธอจงถอนผมหงอกเส้นนั้นมาวางไว้บนมือของฉัน.
               ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ผมหงอกของหม่อมฉันเอง ไม่ใช่ของพระองค์
               ผมหงอกงอกขึ้นบนศีรษะ บนกระหม่อมของหม่อมฉันเอง
               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มเมว สีสํ ความว่า พระราชินีทรงแสดงว่า ผมหงอกงอกขึ้นบนศีรษะของหม่อมฉันเอง.

อรรถกถา ๒๘ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒

               อรรถกถา เนมิราชชาดก
               ว่าด้วย พระเจ้าเนมิราชทรงบำเพ็ญอธิษฐานบารมี
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=28&i=525&p=1&h=ผมหงอก#hl

               มีพระราชดำรัสกะเจ้าพนักงานภูษามาลาว่า เมื่อใดเจ้าเห็นผมหงอกในศีรษะเรา เจ้าจงบอกข้าเมื่อนั้น.
               ผมหงอกที่งอกบนศีรษะของพ่อนี้ นำความหนุ่มไปเสีย เป็นเทวทูตปรากฏแล้ว คราวนี้จึงเป็นคราวที่พ่อจะบวช.
               ครั้นตรัสดังนี้แล้ว ก็อภิเษกพระราชโอรสในราชสมบัติ แล้วพระราชทานพระโอวาทว่า แม้ตัวเธอเห็นผมหงอกอย่างนี้แล้ว ก็พึงบวช.

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒

               อรรถกถา เนมิราชชาดก
               ว่าด้วย พระเจ้าเนมิราชทรงบำเพ็ญอธิษฐานบารมี
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=28&i=525&p=3&h=ผมหงอก#hl

               ผมหงอกที่งอกขึ้นบนเศียรของพ่อเหล่านี้ เกิดแล้วก็นำความหนุ่มไปเสีย เป็นเทวทูตปรากฏแล้ว สมัยนี้จึงเป็นคราวที่พ่อจะบวช.

            

วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2563

พระปัจเจกไม่ได้เป็นใบ้ พระอนาคามีพรหมยุคพระพุทธเจ้ากัสสปะเช่นกัน แต่ท่านพูดอริยสัจแล้วคนฟังไม่บรรลุเท่านั้นเอง คำของท่านเลยไม่เป็นอริยสัจ

อนึ่ง คนที่สามารถเริ่มบัญญัติอริยสัจให้คนอื่นบรรลุได้ มีเฉพาะพระพุทธเจ้าเป็นคนแรกของยุคเท่านั้น.

แต่อยากให้มองมุมนี้ด้วยว่า เป็นไปไม่ได้ที่พระอนาคามีอริยะ จะกล่าว "อริยสัจ" ไม่ได้เลย, เช่นเดียวกับพระปัจเจกอริยะ เพราะท่านเหล่านี้ไม่ได้เป็นใบ้. #แต่ที่ท่านไม่อาจทำให้คนอื่นบรรลุได้ เพราะท่าน #ไม่มีความสามารถบัญญัติ คำที่ทำให้คนอื่นบรรลุได้ (ขุ.ปฏิ.อ.) เนื่องจากการจะรู้คำที่เหมาะสมแก่คนอื่นจะต้องสะสมบารมีร่วมกันมายาวนานมาก และเมื่อคนพวกนั้นไม่ได้สั่งสมบารมีมาเพื่อบรรลุกับท่านเขาก็จะไม่บรรลุเมื่อฟังธรรมจากปากพระปัจเจกอริยะ เป็นต้น (ขุ.อปทาน).

กล่าวง่ายๆ คือ พูดเหตุผลได้ รู้ทุกข์สมุทัยนิโรธมรรค แต่พูดแล้วคนฟังไม่บรรลุ ก็ไม่เป็นอริยสัจนั่นเอง.


ที่มาของคำว่า อริยสัจ ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เกี่ยวข้องกับลักขณสูตร อย่างไร? (#วิธีสวดธรรมจักรอย่างเข้าใจ1)

เรื่องมหาปุริสลักษณะ ในลักขณสูตร ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสไว้ โดยนำมาจากคัมภีร์พระเวทของพราหมณ์นี้ ในอรรถกถาทั้งหลายอธิบายว่า "พระอนาคามีพรหมยุคพระพุทธเจ้ากัสสปะ ลงมาบอกมาหาปุริสลักษณะกับฤๅษีไว้ เพื่อให้ทราบเวลาพระพุทธเจ้าเกิดขึ้น" ตอนที่บอกอย่างนี้นั้นไม่มีใครบรรลุ.   ถามว่า ฤๅษีที่ฟังคือใคร? ตอบว่า ฤๅษีคือ ชนชาวอริยะที่ออกบวชเข้าป่าแล้วทำฌานตามคำสอนของพระพรหม ในอรรถกถาหลายแห่งกล่าวว่า เมื่อแก่ตัวคนสมัยนั้นจะออกบวชฤๅษีกัน แล้วทำฌาน เพื่อที่จะได้ไปอยู่กับพระพรหม บนพรหมโลก ซึ่งเป็นสถานที่สำหรับผู้ทำฌานเท่านั้น จึงจะไปเกิดได้.
ทีนี้ฤๅษีชาวอริยะนี้ ก็เลยเรียกตัวเองว่า พราหมณ์ แปลว่า "ลูกพระพรหม (เพราะเกิดจากคำสั่งสอนจากพระโอษฐ์ของอนาคามีพรหม)".  เราจะเจอคำนี้ได้ในพระไตรปิฎกและอรรถกถาหลายแห่ง หรือแม้แต่นักเรียนบาลีเอง ก็จะต้องเคยเรียนคำว่า พราหมณ์ มาจากโคตรตัทธิต แปลว่า เหล่ากอแห่งพระพรหม.
พวกปัญจวัคคีย์พราหมณ์ จึงรู้กันว่า อริยสัจ นั้นแปลว่า วาจาสัตย์ที่ฤาษีชาวอริยะได้เรียนจากพระพรหม. เพียงแต่เขาไม่รู้ว่า วาจาสัตย์นั้น เอามาใช้อย่างไรจึงจะบรรลุ และเนื่องจากฤาษีที่รับตำรามาจากอนาคามีพรหมก็ไม่ได้บรรลุมรคผล,  พอปุถุชนบอกต่อๆกันมาเป็นหลายพันปี (นักประวัติศาสตร์โลกกล่าวว่า ตำราพราหมณ์มีอายุไม่ต่ำกว่า 5000 ปี) ตำราพราหมณ์ก็ยิ่งเลอะเลือนถึงขั้นมีคาถาอาคม (อาถัพพนเวท).
เพราะเหตุนี้แหละ  พระปัญจวัคคีย์จึงรู้จักคำว่าอริยสัจทันที โดยที่ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตรไม่ต้องอธิบายความไว้เลย. เพราะพระปัญจวัคคีย์คือพราหมณ์ที่ออกบวชมาก่อน ก็เพื่อติดตามดูแลพระโพธิสัตว์ให้บรรลุเป็นพระพุทธเจ้า แน่นอนว่าในระหว่างนั้นท่านก็ต้องทำฌานของพวกฤาษี รวมถึงได้รับการอบรมสั่งสอนศีลสมาธิจากพระโพธิสัตว์ด้วย ซึ่งก็คือทำมรรคมีองค์ 7 (เว้นสัมมาทิฏฐิ) มาก่อนนั่นเอง.
ส่วนพวกเรานั้น ส่วนใหญ่ไม่อาจเข้าใจคำว่าอริยสัจทันทีแบบพระปัญจวัคคีย์นั้นได้. จริงๆก็มีวิธีจะเข้าใจ คือ พวกเราก็ต้องท่องจำ พระสูตรและอรรถกถาหลายแห่ง กว่าจะเข้าใจเรื่องทั้งหมดนี้ได้. ซึ่งวัฒนธรรมนี้เริ่มสาบสูญไปจากไทยเมื่อร้อยปีที่แล้ว ในยุคที่ไทยมีสงครามต่อเนื่องยาวนาน. ทั้งๆที่จริงๆพระวินัยบังคับให้ต้องท่องจำเพิ่มขึ้นตามวัยด้วย แต่เพราะสงคราม วัฒนธรรมนี้เลยเลื่อนหายไป. เราในฐานะพุทธบริษัทจึงต้องร่วมมือกันฟื้นฟูขึ้นมาใหม่.
และนี่จึงเป็นอีกหนึ่งเหตุผลว่า ทำไมเราฟังธัมมจักกัปปวัตตนสูตรแล้วไม่บรรลุทันที เพราะแค่ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เราก็เอาบาลีมาหมุนนัยตามเนตติปกรณ์ไม่เป็นแล้ว, อย่างนี้เราจะไปมีกำลังใจที่ไหนในการจะท่องจำพระไตรปิฎกและอรรถกถากันเล่า? ฉะนั้น ถ้าคนเรียนอภิธรรมควรจะต้องทำสมถะให้เห็นสภาวะได้ฉันใด, คนเรียนบาลีก็ควรจะต้องท่องจำแล้วแยกแยะพระสูตร ที่เทสนาไว้เป็นบาลี ออกเป็นบท 12 แล้วเข้าวิจัยด้วยหาระ 16  ใช้นยะ 5 นำอรรถะออกมาจากพระสูตรให้ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
การทำสมถะตามตำรา การทรงจำพระบาลีตามหลักเนตติปกรณ์,  ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ประเทศไทยขาดแคลนและต้องพัฒนาอย่างเร่งด่วน. และสิ่งนี้ไม่ใช่แค่หน้าที่ของมหาเปรียญ, แต่พุทธบริษัทสามารถร่วมด้วยช่วยกันคนละไม้คนละมือได้  ด้วยการท่องจำพระสูตรทั้งบาลีและแปลด้วยอย่างเข้าใจ แล้วอัดเผยแพร่สรรเสริญคุณค่าของการสวดมนต์ด้วยความเข้าใจและนำมาใช้ได้จริง #ตามหลักเนตติปกรณ์. เมื่อเราพากันทำอย่างนี้ จิตของพุทธบริษัทก็จะน้อมไปในการเข้าใจพระบาลีและนำมาใช้, ไม่ใช่เพียงแต่สวดโดยที่ไม่รู้ความหมาย. เมื่อทำอย่างนี้ ปริยัติศาสนาก็จะตั้งมั่น, แล้วต่อไปปฏิสัมภิทามรรคจะเป็นตำราที่อ่านง่ายและคนนิยมเรียนมาก อภิธรรมก็เช่นกัน เพราะพอรู้หลักเนตติปกรณ์แล้ว ตำราเหล่านี้เรียนง่ายๆ ใช้ปฏิบัติได้ครบวงจร แล้วยังเอาไปทำความเข้าใจพระสูตรได้อย่างละเอียดมากๆ อีกด้วย.
อนึ่ง คนที่สามารถเริ่มบัญญัติอริยสัจให้คนอื่นบรรลุได้ มีเฉพาะพระพุทธเจ้าเป็นคนแรกของยุคเท่านั้น.
แต่อยากให้มองมุมนี้ด้วยว่า เป็นไปไม่ได้ที่พระอนาคามีอริยะ จะกล่าว "อริยสัจ" ไม่ได้เลย, เช่นเดียวกับพระปัจเจกอริยะ เพราะท่านเหล่านี้ไม่ได้เป็นใบ้. #แต่ที่ท่านไม่อาจทำให้คนอื่นบรรลุได้ เพราะท่าน #ไม่มีความสามารถบัญญัติ คำที่ทำให้คนอื่นบรรลุได้ (ขุ.ปฏิ.อ.) เนื่องจากการจะรู้คำที่เหมาะสมแก่คนอื่นจะต้องสะสมบารมีร่วมกันมายาวนานมาก และเมื่อคนพวกนั้นไม่ได้สั่งสมบารมีมาเพื่อบรรลุกับท่านเขาก็จะไม่บรรลุเมื่อฟังธรรมจากปากพระปัจเจกอริยะ เป็นต้น (ขุ.อปทาน).
กล่าวง่ายๆ คือ พูดเหตุผลได้ รู้ทุกข์สมุทัยนิโรธมรรค แต่พูดแล้วคนฟังไม่บรรลุ ก็ไม่เป็นอริยสัจนั่นเอง.
สรุป1 อริยสัจ คือ #คำของฤๅษี ใน #แคว้นของชาวอริยะ (อารยัน) ที่ได้ฟังมหาปุริสลักษณะ #เป็นต้น จากปากของพระพรหม. ฤๅษีจึงเรียกตัวเองว่า พราหมณ์. เหตุที่ในอรรถกถากล่าวถึงแต่มหาปุริสลักษณะ แต่ผมใช้คำว่าเป็นต้น เพราะเรื่องวงจรโลกพังโลกเกิดใหม่ ที่กล่าวไว้ในพระสูตรว่า สังวัฏฏกัปป์วิวัฏฏกัปป์ เป็นต้น ก็มาในพระเวทเช่นกัน ครับ. นั่นแสดงว่า พระพรหมไม่ได้บอกแค่มหาปุริสลักษณะ, เพียงแต่ว่า ฤๅษีไม่มีความสามารถจะเข้าใจได้ทั้งหมด และพระอนาคามีต่างยุค ก็ไม่มีความสามารถจะแสดงอริยสัจให้คนอื่นบรรลุได้ ซึ่งน่าจะมาจากหลายสาเหตุ.
สรุป2 การทำสมถะตามตำรา การทรงจำพระบาลีตามหลักเนตติปกรณ์,  ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ประเทศไทยขาดแคลนและต้องพัฒนาอย่างเร่งด่วน.


วันอังคารที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2563

ถาม: ไม่อยากบวชให้พ่อแม่ทำอย่างไร? ตอบ: อยู่ที่ว่าเราใจกว้างแค่ไหน

ถาม: #ไม่อยากบวชให้พ่อแม่ทำอย่างไร?
ตอบ: อยู่ที่ว่าเราใจกว้างแค่ไหนครับ. 
1. #ถ้าเราใจแคบหน่อย พัฒนาตัวเอง ให้มีความสุขในหลายๆแบบไม่ได้ มีมุมมองจำกัดอยู่แต่ความสุขในแบบที่ตัวเองคิดว่าดี, เราก็ใช้วิธีอยู่ห่างๆท่าน อย่าไปรบกวนท่านมาก อย่าไปให้ท่านเห็นหน้า. อาจจะไปทำงานต่างบ้านต่างเมืองก็ได้.
แค่นี้ท่านก็ไม่กล้าว่าอะไรแล้ว ท่านก็กลัวจะไม่ได้เจอคุณ ท่านก็จะไม่กล้าจ้ำจี้จ้ำไชมาก.
แล้วก็ไม่ต้องไปแคร์ท่านมาก เพราะถ้าแคร์มากคุณก็จะเสียใจ ในเมื่อเราใจไม่กว้างพอ จะรักษาความสุขส่วนตัวไว้ ก็ต้องไม่แคร์คนอื่นมาก เดี๋ยวจะเสียความสุขส่วนตัว. ต่อให้เป็นพ่อแม่ก็ตาม. ถ้าคุณทำให้มันเป็นความสุขได้ด้วยการคิดอย่างนี้ คุณก็จะไม่ข้องใจใดๆทั้งสิ้นที่จะทำ. ส่วนชาติหน้าจะมีหรือไม่มีหรือไม่ ก็รอดูตอนตายแล้วกัน.
2. #ถ้าเราใจกว้างหน่อย. ถ้าเราอยากให้คนอื่นมีความสุขมากๆ ในแบบที่เขาต้องการ โดยเฉพาะถ้าสิ่งนั้นมันยังมีข้อดีอยู่บ้าง (ถ้าเขาอยากให้เราเล่นยา กินเหล้า อันนี้ไม่ต้องไปแคร์ไปสนเลย เพราะเขาพาเราลงนรก).  เราก็จะหาวิธีทำใจให้ตัวเองมีความสุขด้วย แรกๆก็จะยาก พ่อทำเป็นก็จะง่าย, จะมีความสุข ในการที่ได้ให้ความสุขแก่พ่อแม่ ในแบบที่ท่านต้องการ.
ถ้าเราไม่สามารถทำใจให้กว้างได้ขนาดนั้นจริงๆ เป็นคนมีมุมมองแคบ เราก็แค่หนีไปไกลๆไปทำงานไกลไกล ท่านก็เห็นใจแล้ว.
แล้วเราก็อยู่ห่างๆท่าน อย่าไปรบกวนท่านมาก อย่าไปให้ท่านเห็นหน้า.
แค่นี้ท่านก็ไม่กล้าว่าอะไรแล้ว ท่านก็กลัวจะไม่ได้เจอคุณ ท่านก็จะไม่กล้าจ้ำจี้จ้ำไชมาก.

วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2563

แสงสี เกิดได้ทั้งทำสมถะและวิปัสสนา ขณะที่พระพุทธเจ้าบรรลุก็มีแสงสีสว่างไสวไปทั่วเช่นกัน

นิมิตนี่ ถ้านั่งถึง 4 ชมขึ้นไป ต่อกันหลายๆบัลลังก์ และนั่งถูกวิธี ก็ต้องได้อยู่แล้วเป็นธรรมชาตินะครับ ต่อให้ไม่ได้สนใจจะดู แต่ถ้านั่งถึงมันก็ได้อัตโนมัติ เพราะมันเริ่มมาจากสีในกุสลจิตตรูปที่ดี เพราะจิตเป็นกุศลต่อเนื่อง มันก็เห็นแสงสีนี้เอง. ต่อให้ทำวิปัสสนาก็เห็น แต่เราไม่ได้สนใจมันในขั้นวิปัสสนาเท่านั้น. แสงสีนี้เกิดทั้งในสมถะและวิปัสสนา เรียกว่าวิปัสสนูปกิเลส #แม้ในขณะที่พระพุทธเจ้าบรรลุ ก็มีแสงสีนี้เกิดขึ้น อ่านได้ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร #บาลี ครับ. มันเป็นสีในกลาป ที่มีกำลังเพราะเป็นจิตตชรูปที่ได้กุศลที่มีกำลังมากเป็นปัจจัย.

แต่สำหรับคนทำรูปฌานนั้น ปกติแล้ว ถ้าจะทำให้ได้ฌานต้องอาศัยนิมิต #ซึ่งนิมิตพัฒนามาจากแสงสีนั้นอีกทีนึง เพราะนิมิตเป็นอย่างเดียวที่ไม่ใช่กามคุณ และไม่เนื่องด้วยกามคุณ ที่ปุถุชน ที่ไม่เคยได้ฌานพอจะรู้ได้. ปรมัตถ์และบัญญัตินอกนั้น ก็เนื่องด้วยกามคุณหมดเลย.

วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2563

อายุพระศาสนา 5,000 ปี มาในปฐมสังคายนาตรงๆ

ถาม: อยากทราบที่มา ที่ชาวพุทธเมืองไทยเราบอกว่า ศาสนาพุทธเราจะอยู่ 5 พันปีนั้นเป็นพุทธพจน์ที่พระองค์ตรัสไว้ที่ใหนครับ หรือว่าเป็นคำของใครครับ

ตอบ: อายุ 1,000 ปี มาในพระวินัยปิฎกตรงๆ ครับ, แต่พระอุบาลี เอตทัคคะด้านพระวินัย (อดีตช่างตัดผมของเจ้าชายสิทธัตถะ) อธิบายไว้ในปฐมสังคายนามีใจความว่า สัทธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่าจะอันตรธานใน 1,000 ปีนี้ พระพุทธเจ้าทรงตรัสหมายเอาเฉพาะพระอรหันต์ปฏิสัมภิทาก่อน, แต่ยังมีพระอริยะอื่นๆ อยู่จนถึง 5,000 ปี.

ซึ่งตรงนี้สอดคล้องกับคำอธิบายของพระอานนท์ พระพุทธอนุชา เอตทัคคะด้านพหูสูตร ที่อธิบายไว้ในครั้งปฐมสังคายนา โดยหลายนัยยะ ในทีฆนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย ที่เชื่อมโยงไม่ขัดแย้งกัน กับ 5,000 ปีที่พระอุบาลีอธิบายไว้ .

ถ้าหลักฐาน เกิน 5 ที่สอดคล้องกันอย่างนี้ ก็มั่นใจได้เลยว่า เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้า และพระสาวกในครั้งพุทธกาล ได้ให้การรับรองยืนยัน เพราะคัมภีร์ที่กล่าวมาข้างต้น ไม่ได้ทรงจำมาด้วยพระเถระสายเดียว ยากที่จะอธิบายให้ตรงกัน เนื่องจากทรงจำแบ่งออกเป็น 5 สาย สายละนิกาย คือ วินัย อุบาลี, ทีฆนิกาย อานนท์, มัชฌิมนิกาย ลูกศิษย์พระสารีบุตร, สังยุตตนิกาย  พระมหากัสสปะ, อังคุตตรนิกาย พระอนุรุทธะ.

ก็หมายความว่าพระเถระเหล่านี้ ได้รับรองมติมีไว้เรียบร้อย เพราะปรากฏ 5,000 ปีในคำอธิบายของท่านเหล่านี้ เกือบทุกท่าน ทั้งๆ ที่แยกกันทรงจำ กลับสอดคล้องกัน ไม่ขัดแย้งกัน ครับ.

รายละเอียด และอ้างอิงต่างๆ  ดูในลิงก์นี้ครับ 

วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2563

ปัญญา,ญาณ, สัมมาทิฏฐิ เหมือนกันในธัมมสังคณี, ต่างกันในปฏิสัมภิทามรรค เป็นต้น อยู่ที่บริบท

ผมมีข้อจะถามว่า
ปัญญา กับ สัมมาทิฏฐิ เป็นอย่างเดียวกันหรือเปล่า
หากคนละอย่าง มีความแตกต่างอย่างไร
ตอบสั้นๆ: ปัญญา, ญาณ, สัมมาทิฏฐิ เหมือนกันในที่แสดงองค์ธรรม เช่น ใน อภิ.ธัมมสังคณี, แต่ต่างกันในพระสูตรที่แสดงลำดับการพัฒนา เช่น ในมาติกา ขุ.ปฏิสัมภิทามรรคบาลี. ขึ้นอยู่กับบริบท เพราะในระบบมุขปาฐะ เรื่องเดียวกัน ถ้าองค์ธรรมเดียวกันแต่ปัจจัยต่างกัน จะใช้ศัพท์แยกกัน เพื่อป้องกันผู้เรียนสับสน.
ตอบแบบอธิบาย: คำถามนี้ เป็นคำถามประเภทที่เคยสร้างความร้าวฉานในคณะสงฆ์ไทยมานับครั้งไม่ถ้วน ทั้งๆ ที่เป็นคำถามไม่ยากนักสำหรับผู้ที่เรียนมาแบบท่องจำในระบบมุขปาฐะ, ฉะนั้น ขออนุญาตตอบละเอียด เพื่อให้เกิดความสามัคคี เห็นอกเห็นใจกันของหมู่คณะพุทธบริษัท 4.
คำถามๆ เกี่ยวกับศัพท์บาลี ฉะนั้นก็ต้องดูว่า ในพระไตรปิฎกภาษาบาลีใช้ 2 คำนี้อย่างไร?
ก่อนอื่นควรทราบว่า ในพระไตรปิฎกนั้น ถ้าในสูตรใดมีสิ่งที่มีองค์ธรรมเหมือนกัน แต่ความเป็นปัจจัยขององค์ธรรมต่างกันมาก ท่านจะใช้ศัพท์ให้ต่างกัน.
เช่น วิญญาณ และ จิต ใน อภิ.ธัมมสังคณี จะมีลักษณะรู้อารมณ์เหมือนกัน, แต่ก็เพราะในที่นั้นกำลังแสดงโดยใช้คำซ้ำอธิบายกันและกัน เหมือนพจนานุกรม (เนตฺติ. ลักขณหาระ, เววจนะหาระ, กัมมนยะ 2) จิต และ วิญญาณ จึงมีองค์ธรรมเท่ากันในที่นั้น. ส่วนใน วิ.อนัตตลักขณสูตร แม้แสดงทั้ง วิญญาณ และ จิต ไว้เช่นกัน แต่องค์ธรรมต่างกัน เพราะบริบทแสดงวิญญาณและจิต โดยใช้คำต่างกันด้วยวัตถุประสงค์ที่ต่างกัน (เนตฺติ จตุพยูหหาระ, บัญญัติหาระ) โดยแสดงวิญญาณ ในภูมิ 3 โดยอารัมมณปัจจัย แล้วแสดงจิตของอริยสาวก(พระปัญจวัคคี)เป็นอารัมมณปัจจยุปบัน เป็นต้น.
จะเห็นได้ว่า ศัพท์ที่มีองค์ธรรมเดียวกัน อาจมีความหมายต่างกันไปในแต่ละสูตรก็ได้.
เช่นเดียวกัน แม้ใน อภิ.ธัมมสังคณี จะแสดง ปัญญา กับ สัมมาทิฏฐิ โดยใช้คำซ้ำอธิบายกันและกัน,  แต่ในพระสูตรที่แสดงลำดับขั้นของปัญญา ศัพท์ในธัมมสังคณีนั้น ถ้าปรากฎใช้ในสูตรเดียวกัน จะใช้ในความหมายต่างกัน องค์ธรรมต่างกัน เว้นแต่แสดงเป็นเววจนะ, วิเสสนะ (คำอธิบายซึ่งกันและกัน;คำไวพจน์).
เช่น ใน ที.ม.มหาสติปัฏฐานสูตร ท่านแสดง ญา ธาตุ และ ธาตุที่เกี่ยวกับการเห็นประจักษ์ไว้ดังนี้ (ทั้งหมดเข้ากับ นิทฺธารณของ กาเย เป็นต้น) ปชานาติ (ปญฺญา) นิสีทติ (วิหรติ)> อนุปสฺสีญาณํ > คจฺฉนฺโต ฐิโต นิสฺสินฺโน สยาโน วิหรติ ปชานาติ > อนุปสฺสี >  ญาณํ  > สตฺตฐาเนสุ สมฺปชานการี โหติ วิหรติ > อนุปสฺสี >  ญาณํ >  ปจฺจเวกฺขติ > (วนลูปเดิมไปทุกบรรพะ ปสฺเสยฺย, อุปสงฺหรติ, ปชานาติ, อนุปสฺสี, ญาณํ) > สมฺมาทิฏฺฐิ > ทุกฺเข ญาณํ ฯลฯ > อนุปสฺสี > ญาณํ > อญฺญา.
หรือในสูตรเดียวกันนี้ นามรูปํ ในสัจจะบรรพะ หมุนด้วยปฏิจจสมุปบาทนัย > กาเย > กายสฺมึ > เวทนาสุ > เวทนาสุ > จิตฺเต > จิตฺตสฺมึ > ธมฺเมสุ > ธมฺเมสุ ทั้งหมดนี้องค์ธรรมไม่เท่ากันเช่นกัน
ลักษณะเดียวกันนี้ยังใช้กับที่ๆแสดง ทสฺสนภูมิ ภาวนาภูมิ, เสกฺข อเสกฺข, ปญฺญา ญาณ สมฺมาทิฏฺฐิ ทสฺสน เป็นต้น เช่น ในมาติกา ขุ.ปฏิสัมภิทามรรคบาลี อีกด้วย.
อีกตัวอย่างในมาติกา ขุ.ปฏิสัมภิทามรรคบาลี:
  • ข้อความนี้ ปัญญาจะชำนาญหรือไม่ชำนาญก็ได้ แต่ญาณต้องชำนาญแล้ว (ญาตฏฺเฐน ญาณํ; สุฏฺฐุ ชานนํ; อภิญฺญาตํ): "'พวกนี้ควรถูกทำญาตปริญญา' เมื่อฟังจำและเข้าใจแง่มุมต่างๆ อย่างนี้เป็นปัญญาที่ชำนาญจากการฟัง (สุตมยญาณ)ฯ" 
อีกตัวอย่างในพระสูตรทั่วไป:
  • สมฺมาทิฏฺฐิ คู่กับ มิจฉาทิฏฺฐิ พระโสดาบันละมิจฉาทิฏฐิได้สิ้น จึงสำเร็จทัสสนภูมิ เข้าสู่ขั้นภาวนาภูมิ. แต่ยังมีอวิชชา ที่ไม่เกิดกับทิฏฐิได้อยู่.
  • วิชฺชา คู่กับ อวิชฺชา พระอรหันต์ละอวิชชาได้หมดสิ้น ถึงที่สุดแห่งภาวนาภูมิ ไม่ต้องทำภาวนากิจเพื่อละกิเลสอีกต่อไป.
  • ปญฺญา(ปชานน) จะชำนาญหรือไม่ชำนาญก็ได้ แต่ญาณต้องชำนาญแล้ว และปุถุชนฝึกปัญญาให้เป็นสัมมาทิฏฐิญาณ ในทัสสนภูมิ, พระโสดาบัน(ทิฏฐิสัมปันโน) ฝึกสัมมาทิฏฐิญาณให้เป็นภาวนามยญาณ ในภาวนาภูมิ. ทั้งหมดเป็นปัญญา แต่ความสมบูรณ์ของปัญญา (level) ถูกแจกออกด้วยศัพท์ว่า ญาณ, สัมมาทิฏฐิ, ทิฏฐิสัมปันโน, ทัสสนภูมิ, ภาวนาภูมิ.
เรื่องนี้เป็นข้อผิดพลาด แบบปลาตายน้ำตื้น เส้นผมบังภูเขา แม้แต่ปธ. 9 แปลก็ตายกันมาแทบทุกราย ทั้งๆ ที่ไม่ยาก ครับ.
ถ้าจับหลักตัวที่อธิบายในบทความนี้ได้ จะเข้าใจพยัญชนะบท 6 อรรถบท 6 (บท 12) ในเนตติปกรณ์, สนธิ อนุสนธิ ปุพพาปรสนธิ (ความเชื่อมโยง ระหว่าง บท 12 นั้น). อรรถกถาจะอธิบายหรือไม่ก็ตาม ก็สามารถแทงตลอดพระสูตรได้เอง, และจะเข้าใจข้อความยาก ที่อรรถกถาอธิบายด้วยว่า ท่านใช้ปาฐะใด บริบทใด มาอธิบายพระพุทธพจน์ตรงนั้น จะไม่สงสัยในอรรถกถาเลย.
ที่สำคัญ คือ จะเห็นเลยว่า "ที่คนไทย ดูบาลีก็แล้ว อรรถกถาก็แล้ว ก็ยังเอาพระสูตรมาใช้ปฏิบัติไม่ได้" นั้น เป็นเพราะไม่ท่องจำและท่องจำไม่เป็นไปตามหลักเนตติปกรณ์ ครับ.

วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2563

อินทรีย์กุศล ทำให้สำเร็จอรหัตผล ได้อย่างไร?

ขอคำอธิบาย: พระอานนท์ถามพระพุทธเจ้าว่า เหตุใดบุคคลถึงสำเร็จอรหัตผล
พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า เพราะอินทรีย์กุศล คือ ศรัทธา ศีล สมาธิ ภาวนา ปัญญา

อินทรีย์ คือ อะไร?

อินทรีย์ คือ การรับผิดชอบหน้าที่ต่างๆ.  อินทรีย์มีทั้งกุศล อกุศล อัพยากตะ, แต่สำหรับในเรื่องภาวนา จะนับเอาเฉพาะอินทรีย์ที่เป็นกุศลเท่านั้น โดยเฉพาะศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา.
อินทรีย์ เปรียบเหมือนผู้มีอำนาจทำงานเฉพาะด้านนั้นๆ ถ้าผู้มีอำนาจรับผิดชอบทำหน้าที่ของตนในงานที่ทำร่วมกันอย่างสมัครสมานสามัคคีทำงานกันอย่างเต็มที่จนพัฒนาถึงที่สุดแล้ว งานก็ย่อมออกมาสมบูรณ์.

  1. สัทธินทรีย์ รับผิดชอบหน้าที่เชื่อมั่น โดยมีอำนาจทำงาน คือ เชื่อมั่นอารมณ์ของกุศลเท่านั้น.
  2. วิริยินทรีย์ มีอำนาจทำงาน คือ ทำกุศลเท่านั้นที่เกิดพร้อมกันนั้นให้พากเพียรทำกิจของตนอย่างต่อเนื่อง.
  3. สตินทรีย์ มีอำนาจทำงาน คือ ไม่ลืมอารมณ์ของกุศลเท่านั้น.
  4. สมาธินทรีย์ มีอำนาจทำงาน คือ มีอารมณ์เพียงอารมณ์เดียวและเป็นอารมณ์ของกุศลเท่านั้น.
  5. ปัญญินทรีย์ มีอำนาจทำงาน คือ แทงตลอดอารมณ์ของกุศลเท่านั้นในแง่มุมต่างๆ ตรงตามปฏิจจสมุปบาทและปฏิจจสมุปปันนะ (เหตุผล).

อรหัตผล คือ อะไร?

อรหัตผล คือ วิบากของอรหัตตมรรคกุศล.

กุศล คือ อะไร?

กุศล คือ สิ่งที่ละ ทำลาย จนปราศจากโรคและสิ่งที่มีโทษ (คือ กิเลสที่ทำให้จิตเป็นอกุศล) กุศลจึงให้ผลเป็นสุขวิบาก. อินทรีย์ที่เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี แต่อินทรีย์ที่ภาวนาให้บรรลุฌาน มรรค ผล (รวมถึงให้บรรลุอรหัตตผลที่ถามมาด้วย) หมายถึง อินทรีย์ที่เป็นกุศลเท่านั้น.

โรคและโทษ (คือ กิเลสที่ทำให้จิตเป็นอกุศล) คืออะไร?

โรคและโทษ คือ สิ่งที่ทำแล้วประโยชน์ 6 ขัดแย้งกัน เกิดผลเสียหาย คือ เสียประโยชน์ 6 ได้แก่ ...
  1. ให้ผลเสีย คือ ทุกขวิบาก ในโลกนี้.
  2. ให้ผลเสีย คือ ทุกขวิบาก ในโลกหน้า.
  3. ไม่ทำให้นิพพาน ยังได้รับทุกขวิบากในวัฏฏะต่อไปไม่สิ้นสุด.
  4. เสียประโยชน์ตนเอง  คือ ตนเองได้ทุกขวิบาก.
  5. เสียประโยชน์คนอื่น คือ คนอื่นได้ทุกขวิบาก.
  6. เสียประโยชน์ส่วนรวม คือ ทั้งตนเองและคนอื่นได้ทุกขวิบาก.

การบริหารอินทรีย์ให้สมดุล

ในขณะที่ทำฌาน หรือ วิปัสสนา ผู้ปฏิบัติจำเป็นต้องสมดุลอินทรีย์ฝั่งตื่นตัว คือ วิริยะและปัญญา ให้มีกำลังเหมาะสมกับ อินทรีย์ฝั่งนิ่งสงบ คือ ศรัทธาและสมาธิ.

ตัวอย่างเช่น ถ้าทำวิปัสสนาอยู่แต่จะหลับ ก็ต้องนึกถึงอารมณ์ที่ทำให้เกิดวิริยะหรือปัญญา เช่น เรื่องความเพียรของพระมหาโมคคัลลานะ เป็นต้น, หรือทำวิปัสสนาแล้วเพียรมากจนฟุ้งซ่านอกุศลเกิด ก็ต้องพักมานึกถึงอารมณ์ของศรัทธาและสมาธิ เช่น ทำสมถะมีพุทธานุสสติ เป็นต้น.

ผลของการปรับอินทรีย์ได้สมดุล

จะทำให้ภาวนาพัฒนาคืบหน้าได้ไว เพราะโลกิยฌานก็ดี มรรคก็ดี ผลก็ดี ล้วนเป็นความสมบูรณ์แบบของจิตเจตสิก ฉะนั้น ถ้ายังมีอินทรีย์เจตสิกใดที่บกพร่อง คือ ไม่สมบูรณ์เท่ากับอินทรีย์อื่นๆ จิตเจตสิกนั้นก็ไม่อาจเข้าถึงอัปปนาได้ เพราะบกพร่อง ไม่สมบูรณ์แบบพอ.

----------------------------------

จริงๆ แล้วเรื่องปรับสมดุลอินทรีย์ เป็นเรื่องสำคัญมากของคำถามนี้ แต่ผมเองยังมีประสบการณ์ในการปฏิบัติภาวนาไม่มากพอจะตอบ เรื่องนี้มีรายละเอียดเยอะมาก จึงแนะนำให้ฟัง ผู้ที่มีประสบการณ์ปรับอินทรีย์ เช่น ท่าน พ.อ. สมทบ, หรือ พ.อ.กรรมฐานของ พะอ็อกตอยะ เป็นต้น ครับ.

รายละเอียดดูอรรถกถา โพชฌังคบรรพะ

พระอาจารย์สมทบ ปรกฺกโม สมถะกรรมฐาน ปรับอินทรีย์
https://archive.org/details/12FEB2020/21+Feb+2020+สมถกัมมฐาน+9+การปรับสมดุลของอินทรีย์+และโพชฌงค์.MP3

สิ่งที่เหลือท้ายสุดของปริยัติศาสนา คือ การท่องจำอย่างเข้าใจ ไม่ใช่เล่มหนังสือ

สิ่งสุดท้ายที่จะเหลืออยู่ของปริยัติศาสนาคือการท่องจำ ไม่ใช่เล่มหนังสือ เพราะเล่มหนังสือเข้าใจอักขระเองไม่ได้ แต่คนที่ท่องจำไว้ หากไม่ละความเพียรอย่างฉลาด ก็จะเข้าใจสิ่งที่ท่องไว้ได้ในไม่ช้า.  คนที่จำไม่ได้ก็เข้าใจอะไรไม่ได้เช่นกัน ดังบาลีว่า โสตาวธาเน ปัญญา สุตมเย ญาณํ #แปลว่า:  ฟังแล้ว ก็จำได้ พอเข้าใจแง่มุมต่างๆ [เมื่อชำนาญดี] ก็เป็นสุตมยญาณ.

นอกจากนี้ในพระวินัย ยังมีอาบัติทุกๆ คืนเมื่อไม่ท่องจำในพรรษาที่กำหนดอีกด้วย.

www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=02&i=406

วิธีเริ่มเจริญธรรมคุณ บทว่า สฺวากฺขาโต

คนที่ท่องจำจนชำนาญและมีความเข้าใจแทงตลอด จะได้รับคุณสมบัติ ในบทธรรมคุณข้อแรก ตามคำอธิบายบทที่สวดกันอยู่ทุกวันว่า สวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม เมื่อท่านสวดไปท่านจะเกิดปิติอย่างมาก หากท่านมีความชำนาญในพระธรรมคำสอนในระดับที่กล่าวไว้ในบทนี้จริงๆ
---------------
  ๑. อธิบายบท สวากฺขาโต
ก็แหละในบท สวากฺขาโต นี้ แม้ปริยัติธรรมก็ถึงอันสงเคราะห์เอาด้วยในบทอื่น ๆ นอกนี้สงเคราะห์เอาเฉพาะโลกุตตรธรรม
ปริยัติธรรมเป็นสวากขาตธรรม

ในธรรม ๒ ประเภทนั้น ปริยัติธรรมประการแรก ชื่อว่า อันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว เพราะมีความงามในเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุด และเพราะประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถะพร้อมทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง
ความงาม ๓ ของปริยัติธรรม

จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงพระพุทธพจน์อันใดแม้เพียงพระคาถาอันเดียว พระพุทธพจน์นั้น ชื่อว่ามีความงามในเบื้องต้นด้วยบาทต้น ชื่อว่ามีความงามในท่ามกลางด้วยบาทที่ ๒ และที่ ๓ ชื่อว่ามีความงามในที่สุดด้วยบาทหลัง เพราะธรรมมีความงามรอบตัว
(หน้าที่ 356)

พระสูตรมีอนุสนธิอันเดียว มีความงามในเบื้องต้นด้วยคำนิทาน มีความงามในที่สุดด้วยคำนิคมน์ มีความงามในท่ามกลางด้วยคำที่เหลือ
พระสูตรทีมีอนุสนธิมากหลาย มีความงามในเบื้องต้นด้วยอนุสนธิแรก มีความงามในที่สุดด้วยอนุสนธิหลัง มีความงามในท่ามกลางด้วยอนุสนธิที่เหลือ
อีกประการหนึ่ง พระสูตรที่มีอนุสนธิมากหลายนั้น ชื่อว่ามีความงามในเบื้องต้น เพราะมีทั้งคำนิทาน มีทั้งคำอุบัติเหตุ ชื่อว่ามีความงามในท่ามกลาง เพราะมีเนื้อความไม่วิปริตผิดเพี้ยนไป และเพราะประกอบด้วยเหตุและอุทาหรณ์โดยสมควรแก่เวไนยนิกรทั้งหลาย และชื่อว่ามีความงามในที่สุด เพราะคำนิคมน์อันให้เกิดความได้ศรัทธาแก่ผู้ฟังทั้งหลาย
ศาสนธรรมแม้ทั้งสิ้น มีความงามในเบื้องต้นด้วยศีลอันเป็นเหตุของตน มีความงามในท่ามกลางด้วยสมถะ วิปัสสนา มรรค และผลทั้งหลาย มีความงามในที่สุดด้วยนิพพาน
อีกประการหนึ่ง ศาสนธรรมทั้งสิ้น มีความงามในเบื้องต้นด้วยศีลและสมาธิ มีความงามในท่ามกลางด้วยวิปัสสนาและมรรค ๔ มีความงามในที่สุดด้วยผล ๔ และนิพพาน
อีกประการหนึ่ง ศาสนธรรมทั้งสิ้น ชื่อว่ามีความงามในเบื้องต้นเพราะพระพุทธเจ้าเป็นผู้รู้ดี ชื่อว่ามีความงามในท่ามกลางเพราะพระธรรมเป็นธรรมดี ชื่อว่ามีความงามในที่สุดเพราะพระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดี
อีกประการหนึ่ง ศาสนธรรมทั้งสิ้น ชื่อว่ามีความงามในเบื้องต้น ด้วยอภิสัมโพธิที่สาธุชนฟังศาสนธรรมนั้นแล้วปฏิบัติเพื่อประโยชน์ด้วยประการนั้นจะพึงบรรลุได้ ชื่อว่ามีความงามในท่ามกลางด้วยปัจเจกโพธิ ชื่อว่ามีความงามในที่สุดด้วยสาวกโพธิ
ก็แหละ ศาสนธรรมนั้น ขณะฟังย่อมนำความงามมาแม้ด้วยการฟังนั่นเทียว โดยการข่มเสียซึ่งนิวรณ์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่ามีความงามในเบื้องต้น ขณะปฏิบัติก็นำความงามมาแม้ด้วยข้อปฏิบัติ โดยนำมาซึ่งความสุขอันเกิดแต่สมถะและวิปัสสนา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่ามีความงามในท่ามกลางและขณะปฏิบัติแล้ว ด้วยประการนั้น เมื่อผลแห่งปฏิบัติสำเร็จแล้ว ย่อมนำความงามมาแม้ด้วยผลแห่งการปฏิบัติ โดยนำมาซึ่งความเป็นผู้คงเส้นคงวา เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่ามีความงามในที่สุด
(หน้าที่ 357)

พระธรรม ชื่อว่าอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว เพราะมีความงามในเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุด ดังพรรณนามาด้วยประการฉะนี้
อธิบาย พร้อมทั้งอรรถะพร้อมทั้งพยัญชนะ

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคนั้น เมื่อทรงแสดงธรรม ย่อมทรงประกาศคือทรงแสดงซึ่งศาสนพรหมจรรย์และมรรคพรหมจรรย์อันใด โดยนัยต่าง ๆ พรหมจรรย์อันนั้น ชื่อว่าพร้อมทั้งอรรถะด้วยอรรถสมบัติตามสมควร ชื่อว่าพร้อมทั้งพยัญชนะด้วยพยัญชนสมบัติตามสมควร
ชื่อว่าพร้อมทั้งอรรถะเพราะประกอบด้วยอรรถบท คือ สงฺกาสน แสดงความโดยย่อ ๑ ปกาสน แสดงความเบื้องต้น ๑ วิวรณ การไขความ ๑ วิภชน การจำแนกความ ๑ อุตฺตานีกรณ การทำความให้ตื้น ๑ ปญฺญตฺติ การแต่งความ ๑ ชื่อว่าพร้อมทั้งพยัญชนะ เพราะถึงพร้อมด้วย อักขระ ตัวหนังสือ ๑ บท คำประกอบวิภัติ ๑ พยัญชนะ คำที่เป็นพากย์ ๑ อาการ คำแบ่งพากย์ออกไป ๑ นิรุตติ วิเคราะห์ศัพท์ ๑ นิทเทส อธิบายให้พิศดาร ๑
ชื่อว่าพร้อมทั้งอรรถะ ด้วยความเป็นธรรมลึกซึ้งแห่งเนื้อความและความเป็นธรรมลึกซึ้งแห่งการแทงตลอด ชื่อว่าพร้อมทั้งพยัญชนะ ด้วยความเป็นธรรมลึกซึ้งโดยธรรม และความเป็นธรรมลึกซึ้งโดยเทศนา
ชื่อว่าพร้อมทั้งอรรถะ โดยเป็นวิสัยแห่งอัตถปฏิสัมภิทาและปฏิภาณปฏิสัมภิทา ชื่อว่าพร้อมทั้งพยัญชนะ โดยเป็นวิสัยแห่งธัมมปฏิสัมภิทาและนิรุตติปฏิสัมภิทา
ชื่อว่าพร้อมทั้งอรรถะ เพราะว่าทำให้คนชั้นปัญญาชนเลื่อมใส โดยเป็นสิ่งอันบัณฑิตพึงรู้แจ้งได้ ชื่อว่าพร้อมทั้งพยัญชนะ เพราะว่าทำให้ชั้นโลก ๆ เลื่อมใส โดยเป็นสิ่งที่น่าเชื่อ
ชื่อว่าพร้อมทั้งอรรถะ โดยมีอธิบายอันลึกซึ้ง ชื่อว่าพร้อมทั้งพยัญชนะ โดยมีบทตื้น
(หน้าที่ 358)

อธิบาย บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง

ชื่อว่า บริบูรณ์สิ้นเชิง โดยเป็นธรรมมีความบริบูรณ์อย่างสิ้นเชิง เพราะไม่มีสิ่งที่จะพึงนำเข้าไปเพิ่มเติม ชื่อว่า บริสุทธิ์ โดยเป็นธรรมที่ปราศจากโทษ เพราะไม่มีสิ่งที่จะพึงนำออก
อรรถาธิบายอีกนัยหนึ่ง

อีกประการหนึ่ง พรหมจรรย์ ชื่อว่าพร้อมทั้งอรรถะ เพราะให้คนฉลาดในอธิคม คือ นิพพาน ด้วยการปฏิบัติ ชื่อว่าพร้อมทั้งพยัญชนะ เพราะให้ฉลาดในอาคมปริยัติด้วยการเล่าเรียน ชื่อว่าบริบูรณ์สิ้นเชิง เพราะประกอบด้วยธรรมขันธ์ ๕ กองมีศีลขันธ์เป็นต้น ชื่อว่าบริสุทธิ์ เพราะไม่มีอุปกิเลส เพราะเป็นไปเพื่อสลัดออก และเพราะไม่มุ่งโลกามิส
ปริยัติธรรมชื่อว่าเป็นธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว เพราะประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถะพร้อมทั้งพยัญชนะบริสุทธ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ดังพรรณนามาด้วยประการฉะนี้
ปริยัติธรรมเป็นสวากขาตธรรมอีกนัยหนึ่ง

อีกนัยหนึ่ง ปริยัติธรรม ชื่อว่าอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ด้วยดีแล้ว เพราะไม่มีข้อความอันวิปลาสคลาดเคลื่อน เพราะฉะนั้น ปริยัติธรรมนั้น จึงชื่อว่าอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว
เป็นความจริงเช่นนั้น ข้อความของธรรมของอัญญเดียรถีย์ทั้งหลาย ยังถึงความวิปลาสคลาดเคลื่อนอยู่ เพราะว่าธรรมทั้งหลายที่เขากล่าวว่าเป็นอันตรายก็ไม่เป็นอันตรายจริง ธรรมทั้งหลายที่เขากล่าวว่าเป็นเครื่องนำออก ก็ไม่เป็นเครื่องนำออกจริง ด้วยเหตุนั้นอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้มีธรรมอันกล่าวไว้ไม่ดีโดยแท้
ข้อความของธรรมของพระผู้มีพระภาค มิได้ถึงความวิปลาสคลาดเคลื่อนเหมือนอย่างนั้น เพราะว่าธรรมทั้งหลายที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ธรรมเหล่านี้เป็นอันตรายิกธรรม ธรรมเหล่านี้เป็นเครื่องนำออก เช่นนี้แล้ว ก็มิได้เกินเลยจากความเป็นอย่างนั้นไปได้
ปริยัติธรรม ประการแรก เป็นสวากขาตธรรม ดังพรรณนามาด้วยประการฉะนี้
https://th.m.wikisource.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84_%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%99_%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%97_%E0%B9%97_%E0%B8%89%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%AA#อธิบายบท%20สวากฺขาโต

การทำบุญบาปเหมือนสะสม exp เลเวลในเกม แต่เกมชีวิตมันมีลดเลเวลได้

 การทำบุญบาปเหมือนสะสม exp เลเวลในเกม แต่เกมชีวิตมันมีลดเลเวลได้ ถ้าไม่ทำครบขั้นตอนแบบพระพุทธเจ้าบอกสูตรไว้ คือ ดีแล้วกลับมาชั่วทีหลัง ชั่วแ...