วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2562

วิเคราะห์สภาพธรรมขณะอ่านเรื่องนั่งร้านไม่ไผ่

แท้จริงชวนจิตในปัญจทวารและอตีตัคคหนวิถีตทนุวัตติกมโนทวารอาศัยอุตุชรูปแล้ว จิตประมวลปัจจัตตลักษณะขึ้นในสมูหัคคหณวิถีแล้ว จิตบัญญัติสังขารอุปาทาบัญญัติขึ้นในอัตถัคคหนวิถีตทนุวัตติกมโนทวารแล้ว นามัคคหณวิถีจิตในตทนุวัตติกมโนทวารเรียกนามบัญญัติว่า "ไม้ไผ่" จากนั้นสุทธมโนทวารของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็น และไม่ได้ฝึกฝนในธรรมวินัยของพระอริยะ ก็เอามาหลงยึดติดพอใจบ้าง ปฏิฆะบ้างว่า  "เรื่องไม้ไผ่ของฉัน"บ้าง  "ไม่ใช่เรื่องไม้ไผ่ของฉัน"บ้าง ทั้งที่ไม่มีสาระ ไม่ทำให้พ้นทุกข์ เพราะไม่รู้มหาภูตตามความเป็นจริง คือ คือไม่รู้เห็นปัจจัยปัจจยุปบันเป็นเหตุเกิดเหตุดับ จึงไม่สละ ไม่ละคลายความยินดี. คนประกอบไม้ไผ่บรรลุ ก็นัยเดียวกัน แต่เป็นสมุฏฐาน 4 สัตว์บัญญัติ.

ก็ถ้าปุถุชนผู้ได้สดับ ได้เห็น และได้ฝึกฝนในธรรมวินัยของพระอริยะ ย่อมขยันหมั่นตามเห็นทุกๆ ขณะไม้ไผ่ คนผูกไม้ไผ่ และแม้ตัวคนอ่านคนพิจารณาที่กำลังอ่านและพิจารณาอยู่นี้ตามความเป็นจริง คือ เป็นสังขตธรรมที่ปัจจัยปัจจยุปบัน เหตุเกิดเหตุดับ ซึ่งไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา ตามเห็นด้วยความเบื่อหน่ายในความดับทุกๆขณะที่ตามเห็นประจักษ์อยู่ ตามเห็นอย่างสละยางเหนียวยึดติดแน่นในสังขตธรรมทั้งปวง ตามเห็นเพื่อดับความยึดติด ตามเห็นเพืีอสละความยิตติดในสังขตธรรทั้งปวงทุกๆขณะเสียได้. ปุถุชนเช่นนี้ ถ้าไม่ตายก่อนก็ย่อมได้ ธรรมที่ควรบรรลุ ความเป็นหน่อไผ่ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นพุทธบุตร ผู้ยินดียิ่งในการทรงจำและนำคำของพระพุทธเจ้ามาใช้งาน.

ดัดแปลงจาก มูลปริยายสูตร ม.ม. ข้อ 1

---------------

ข้าพเจ้าขอกราบพระรัตนตรัย กับทั้งผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ ทั้งผู้ได้ฌานวิปัสสนาและทรงพระไตรปิฎกที่ PaAuk Forest Monastery พะอ็อคตอยะ พม่า (อัครมหาบัณฑิตด้านวิปัสสนาพม่า; อภิวังสะ; ทรงพระไตรปิฎก), และผู้ฟื้นฟูการศึกษาในไทย ทั้งหลาย เช่น สายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (นักอภิธรรม), พระอาจารย์โชติกะ, ท่านพระอาจารย์สุมนต์ นันทิโก, ท่านพระอาจารย์ สมทบ ปรักกโม, ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขต, พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก, ท่านพระอาจารย์สันติ อุตตมปุญโญ, ท่านพระอาจารย์มหาพยอม ธัมมรักขิโต (ป.ธ.9;วินัยปิฎก), ท่านพระอาจารย์มหาอัมพร อาภัสสโร (วินัยปิฎก), ท่านพระอาจารย์มหาจรัญ พุทธัปปิโย (ป.ธ.9;วินัยปิฎก), ท่านพระมหาสุพล สุจิณโณ ป.ธ.9;วินัยปิฎก), พระอาจารย์นาบุญ, พระอาจารย์หยง มีชัย, และผู้สอนผู้แปลพระไตรปิฎกทั้งบาลีและไทยทั้งหลาย เป็นต้น.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รับตอบปัญหาธรรมะ ตามพระไตรปิฏก อรรถกถา ฏีกา
ท่านสอบถาม/แสดงความคิดเห็น/บอกข้อบกพร่องของบทความได้ที่ facebook: ตอบปัญหาธรรมะลึกซึ้ง หรือ ช่องตอบกลับข้างล่างนี้.

การร้องทำนองเพลงที่ใจนึกถึงธรรมะ สมควรอยู่, แต่การร้องธรรมะที่ใจนึกถึงทำนองเพลง ไม่สมควร

การร้องทำนองเพลงที่ใจนึกถึงธรรมะ สมควรอยู่, แต่การร้องธรรมะที่ใจนึกถึงทำนองเพลง ไม่สมควร https://wiki.sutta.men/ฟุตโน้ต:541:99 -------------...