วันพุธที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2562

คำถามของแอดมินเพจถึงพระอาจารย์กรรมฐานรูปหนึ่งของพาอ้าว และคำตอบของท่าน

คำถามของแอดมินเพจถึงพระอาจารย์กรรมฐานรูปหนึ่งของพาอ้าว และคำตอบของท่าน ที่แสดงถึงความใจเย็น ใจกว้าง ไม่มีความยึดมั่น ไม่มีมานะ และมีเมตตาอย่างยิ่ง สาธุ สาธุ สาธุ:
#ถาม1. ถ้ากล่าวว่า พระอาจารย์ใหญ่ "อ่าน" มาเยอะ จะเป็นการทำให้คนไทยเข้าใจผิดว่า ท่านเพียงแค่ "อ่าน" เหมือนที่ชาวพุทธไทยทั่วไปเข้าใจกันหรือไม่ครับ? เพราะว่า ที่พม่านั้นท่องจำเยอะมาก กว่าจะจบธัมมาจริยะ (ไม่นับรวม ที่พระอาจารย์ใหญ่ท่านไปท่องจำพระไตรปิฎกเองอีกต่างหาก)
ในคลิปนาทีที่ 25:40 จะเห็นว่า สามเณรที่ paauk ท่องจำกันจริงจังมาก
https://youtu.be/gI4W0Qrysck?t=1540อนึ่ง เมื่อสักครู่ ฟังพระอาจารย์เล่าเกี่ยวกับพระอาจารย์ใหญ่แล้ว ไม่มีคำว่า "ท่องจำ ท่องซ้ำๆ" อยู่เลย มีเพียงคำว่า "อ่าน" เกรงว่า คนไทยจะไม่เห็นความสำคัญในการท่องจำพระบาลี ครับ.
ส่วนธรรมะอย่างอื่น ไฟล์ของปีนี้ สมบูรณ์ ไร้ที่ติ แต่เป็นความผิดที่ผมเอง ที่ยังปฏิบัติตามไม่ได้ ครับ.
#ตอบข้อที่1 เท่าที่ทราบประวัติพระอาจารย์ อ่านพระไตรปิฏกจบ 6 รอบ บวชเป็นสามเณรตั้งแต่อายุ 10 ปี อายุ 17 ปีจบ ปฐมแหง่ อายุ 18 จบ ปฐมลัตต์ อายุ 19 จบ ปฐมจี่ อายุ 20 บวชพระแล้วได้ศึกษาบาลีอรรถกถาต่อกับพระอาจารย์ที่จบอภิวังสะหลายรูปจนสามารถสอบผ่าน ธรรมจริยะตอนอายุ 22 ปี หลังจากนั้นอีก 8 ปีท่านตระเวนปฏิบัติกับอาจารย์กรรมฐานที่มีชื่อเสียงอีกหลายท่าน หลังจากนั้นจึงอยู่ป่าศึกษาปฏิบัติด้วยตนเองถึง 16 ปี จึงออกมาเป็นเจ้าอาวาสวัดพระอ๊อดและเรอ่าสอนตอนอายุ 50
หลังจากนั้น 12 ปี จึงสามารถเรียบเรียงตำรานิพพานคามินี ปฏิปทา เป็นตำรา 6 เล่มใหญ่ที่ร้อยเรียงและอ้างอิงบาลีอรรถกถาทั้งหมดเสร็จและจัดพิมพ์ตอนอายุ 63 ปี
จะเห็นได้ว่า:
1 ถ้าท่านไม่ทรงจำก็จะไม่สามารถประมวล บาลีอรรถกถาทั้งหมด ให้เป็นรูปแบบการปฏิบัติที่ระบบตามคัมภีร์วิสุทธิมรรคได้ (ในสมัยนั้นไม่มีคอมช่วยสืบค้นด้วย)
2 ถ้าท่านไม่ได้มีประสบการณ์ปฏิบัติกับครูอาจารย์กรรมฐาน 8ปี และอยู่ป่าศึกษาปฏิบัติด้วยตนเองอีก 16 ปี กับสอนลูกศิษย์อีก12 ปี ก็จะไม่มั่นใจในวธีการตามคัมภีร์วิสุทธิมรรคเช่นกัน
สรุปว่าการทรงจำสำคัญมาก และการปฏิบัติก็สำคัญเช่นกันจึงจะสมบูรณ์
เราโชคดีที่มีครูบาอาจารย์เยี่ยงอย่างท่าน เจริญพร
-------------------------------------------
#ถาม2. การกล่าวบ่อยๆ กับลูกศิษย์และผู้ฟังว่า "พระอาจารย์ใหญ่และพระอาจารย์กรรมฐานที่ paauk พม่า" มีอัธยาศัยท่องจำพระไตรปิฎกบาลีกันเป็นปกติ จะเป็นผลดีต่อประเทศที่ขาดแคลนผู้ทรงพระไตรปิฎกบาลี อย่างประเทศไทย เพียงไร ครับ? ผมจำได้ว่า เคยสนทนากับ พ.อ.เรวตะ (ที่เชียงใหม่) ว่าการท่องจำสำคัญมาก และท่านก็บอกผมว่า ท่านก็เห็นด้วยว่าสำคัญมาก และมีคนเล่าว่า ท่านจะไปเรียนเพิ่ม แต่ พ.อ.ใหญ่ ยังไม่อนุญาต (เพราะไม่มีคนทำงาน) อีกครั้งหนึ่ง ผมเคยเห็น พระที่ติดตามพระอาจารย์ใหญ่ทางเฟซบุ้ค ไลฟ์สดท่องจำพระไตรปิฎกบาลีด้วย เป็นต้น นี่ก็แสดงให้เห็นว่า พระภิกษุที่ paauk ที่เป็นระดับอาจารย์ มีอัธยาศัยในการท่องจำพระไตรปิฎกบาลีเพียงไร ยิ่งในคลิปสามเณรของพาอ้าว ยิ่งเห็นถึงการปลูกฝังแต่เล็กทีเดียว
#ตอบข้อที่2 เป็นการสร้างแรงบันดาลใจที่มีประโยชน์มาก ที่จะทำไห้นักปฏิบัติเห็นความสำคัญของปริยัติว่าจะทำไห้การปฏิบัติเป็นระบบไม่ออกนอกทางและตรงตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
จะเห็นได้ว่า อาจารย์กรรมฐานวัดพะอ๊อก มีอัธยาศัยในการศึกษาและทรงจำ อย่างน้อยต้องทรงภิกขุปาติโมกข์ และภิกขุนีปาติโมกข์ได้ และส่วนใหญ่จะจบขั้นตำ่ธรรมจริยะ และเท่าที่ทราบก็มีจบอภิวังสะ ประมาณ 2-3รูป เจริญพร
-------------------------------------------
#ถาม3. การกล่าวว่า "พระพุทธโฆสาจารย์ รจนาคัมภีร์วิสุทธิมรรค" กับกล่าวว่า "พระพุทธโฆสาจารย์รวบรวมอรรถกถาจากอาจารย์ต่างๆ (ตั้งแต่ครั้งพุทธกาลมาจนถึงในลังกา) มาไว้ในวิสุทธิมรรค" อย่างไหนจะใกล้เคียงกับที่ว่า "พระอาจารย์ใหญ่รวบรวมพระสูตร อรรถกถา ฏีกา ต่างๆ มาร้อยเรียง" มากกว่ากัน ครับ?
ตอบข้อ 3 "พระพุทธโฆสาจารย์รวบรวมอรรถกถาจากอาจารย์ต่างๆ (ตั้งแต่ครั้งพุทธกาลมาจนถึงในลังกา) มาไว้ในวิสุทธิมรรค" น่าจะใกล้เคียงกับที่ว่า "พระอาจารย์ใหญ่รวบรวมพระสูตร อรรถกถา ฏีกา ต่างๆ มาร้อยเรียง" ไม่อนุญาตให้มีรูปท่านในหนังสือเพราะบอกว่าท่านเป็นเพียงผู้รวบรวมร้อยเรียงจากบาลีอรรถกถาเท่านั้น ต้องพยายามทำให้ได้อย่างท่านบ้างนะ เจริญพร
----------------------------------------
ท่านยังเทสนาสอนผมด้วยว่า:
เมื่อไรอิ่มในปริยัติแล้วการปฏิบัติจะก้าวหน้า เจริญพร
และถ้าปฏิบัติได้ดีกลับไปศึกษาปริยัติอีกจะ มีความสุข และเข้าใจพุทธพจน์ลึกขึ้นอีกมาก เจริญพร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รับตอบปัญหาธรรมะ ตามพระไตรปิฏก อรรถกถา ฏีกา
ท่านสอบถาม/แสดงความคิดเห็น/บอกข้อบกพร่องของบทความได้ที่ facebook: ตอบปัญหาธรรมะลึกซึ้ง หรือ ช่องตอบกลับข้างล่างนี้.

การร้องทำนองเพลงที่ใจนึกถึงธรรมะ สมควรอยู่, แต่การร้องธรรมะที่ใจนึกถึงทำนองเพลง ไม่สมควร

การร้องทำนองเพลงที่ใจนึกถึงธรรมะ สมควรอยู่, แต่การร้องธรรมะที่ใจนึกถึงทำนองเพลง ไม่สมควร https://wiki.sutta.men/ฟุตโน้ต:541:99 -------------...