วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2562

วิเคราะห์สภาพธรรมขณะอ่านเรื่องนั่งร้านไม่ไผ่

แท้จริงชวนจิตในปัญจทวารและอตีตัคคหนวิถีตทนุวัตติกมโนทวารอาศัยอุตุชรูปแล้ว จิตประมวลปัจจัตตลักษณะขึ้นในสมูหัคคหณวิถีแล้ว จิตบัญญัติสังขารอุปาทาบัญญัติขึ้นในอัตถัคคหนวิถีตทนุวัตติกมโนทวารแล้ว นามัคคหณวิถีจิตในตทนุวัตติกมโนทวารเรียกนามบัญญัติว่า "ไม้ไผ่" จากนั้นสุทธมโนทวารของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็น และไม่ได้ฝึกฝนในธรรมวินัยของพระอริยะ ก็เอามาหลงยึดติดพอใจบ้าง ปฏิฆะบ้างว่า  "เรื่องไม้ไผ่ของฉัน"บ้าง  "ไม่ใช่เรื่องไม้ไผ่ของฉัน"บ้าง ทั้งที่ไม่มีสาระ ไม่ทำให้พ้นทุกข์ เพราะไม่รู้มหาภูตตามความเป็นจริง คือ คือไม่รู้เห็นปัจจัยปัจจยุปบันเป็นเหตุเกิดเหตุดับ จึงไม่สละ ไม่ละคลายความยินดี. คนประกอบไม้ไผ่บรรลุ ก็นัยเดียวกัน แต่เป็นสมุฏฐาน 4 สัตว์บัญญัติ.

ก็ถ้าปุถุชนผู้ได้สดับ ได้เห็น และได้ฝึกฝนในธรรมวินัยของพระอริยะ ย่อมขยันหมั่นตามเห็นทุกๆ ขณะไม้ไผ่ คนผูกไม้ไผ่ และแม้ตัวคนอ่านคนพิจารณาที่กำลังอ่านและพิจารณาอยู่นี้ตามความเป็นจริง คือ เป็นสังขตธรรมที่ปัจจัยปัจจยุปบัน เหตุเกิดเหตุดับ ซึ่งไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา ตามเห็นด้วยความเบื่อหน่ายในความดับทุกๆขณะที่ตามเห็นประจักษ์อยู่ ตามเห็นอย่างสละยางเหนียวยึดติดแน่นในสังขตธรรมทั้งปวง ตามเห็นเพื่อดับความยึดติด ตามเห็นเพืีอสละความยิตติดในสังขตธรรทั้งปวงทุกๆขณะเสียได้. ปุถุชนเช่นนี้ ถ้าไม่ตายก่อนก็ย่อมได้ ธรรมที่ควรบรรลุ ความเป็นหน่อไผ่ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นพุทธบุตร ผู้ยินดียิ่งในการทรงจำและนำคำของพระพุทธเจ้ามาใช้งาน.

ดัดแปลงจาก มูลปริยายสูตร ม.ม. ข้อ 1

---------------

ข้าพเจ้าขอกราบพระรัตนตรัย กับทั้งผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ ทั้งผู้ได้ฌานวิปัสสนาและทรงพระไตรปิฎกที่ PaAuk Forest Monastery พะอ็อคตอยะ พม่า (อัครมหาบัณฑิตด้านวิปัสสนาพม่า; อภิวังสะ; ทรงพระไตรปิฎก), และผู้ฟื้นฟูการศึกษาในไทย ทั้งหลาย เช่น สายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (นักอภิธรรม), พระอาจารย์โชติกะ, ท่านพระอาจารย์สุมนต์ นันทิโก, ท่านพระอาจารย์ สมทบ ปรักกโม, ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขต, พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก, ท่านพระอาจารย์สันติ อุตตมปุญโญ, ท่านพระอาจารย์มหาพยอม ธัมมรักขิโต (ป.ธ.9;วินัยปิฎก), ท่านพระอาจารย์มหาอัมพร อาภัสสโร (วินัยปิฎก), ท่านพระอาจารย์มหาจรัญ พุทธัปปิโย (ป.ธ.9;วินัยปิฎก), ท่านพระมหาสุพล สุจิณโณ ป.ธ.9;วินัยปิฎก), พระอาจารย์นาบุญ, พระอาจารย์หยง มีชัย, และผู้สอนผู้แปลพระไตรปิฎกทั้งบาลีและไทยทั้งหลาย เป็นต้น.

วันพุธที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2562

คำถามของแอดมินเพจถึงพระอาจารย์กรรมฐานรูปหนึ่งของพาอ้าว และคำตอบของท่าน

คำถามของแอดมินเพจถึงพระอาจารย์กรรมฐานรูปหนึ่งของพาอ้าว และคำตอบของท่าน ที่แสดงถึงความใจเย็น ใจกว้าง ไม่มีความยึดมั่น ไม่มีมานะ และมีเมตตาอย่างยิ่ง สาธุ สาธุ สาธุ:
#ถาม1. ถ้ากล่าวว่า พระอาจารย์ใหญ่ "อ่าน" มาเยอะ จะเป็นการทำให้คนไทยเข้าใจผิดว่า ท่านเพียงแค่ "อ่าน" เหมือนที่ชาวพุทธไทยทั่วไปเข้าใจกันหรือไม่ครับ? เพราะว่า ที่พม่านั้นท่องจำเยอะมาก กว่าจะจบธัมมาจริยะ (ไม่นับรวม ที่พระอาจารย์ใหญ่ท่านไปท่องจำพระไตรปิฎกเองอีกต่างหาก)
ในคลิปนาทีที่ 25:40 จะเห็นว่า สามเณรที่ paauk ท่องจำกันจริงจังมาก
https://youtu.be/gI4W0Qrysck?t=1540อนึ่ง เมื่อสักครู่ ฟังพระอาจารย์เล่าเกี่ยวกับพระอาจารย์ใหญ่แล้ว ไม่มีคำว่า "ท่องจำ ท่องซ้ำๆ" อยู่เลย มีเพียงคำว่า "อ่าน" เกรงว่า คนไทยจะไม่เห็นความสำคัญในการท่องจำพระบาลี ครับ.
ส่วนธรรมะอย่างอื่น ไฟล์ของปีนี้ สมบูรณ์ ไร้ที่ติ แต่เป็นความผิดที่ผมเอง ที่ยังปฏิบัติตามไม่ได้ ครับ.
#ตอบข้อที่1 เท่าที่ทราบประวัติพระอาจารย์ อ่านพระไตรปิฏกจบ 6 รอบ บวชเป็นสามเณรตั้งแต่อายุ 10 ปี อายุ 17 ปีจบ ปฐมแหง่ อายุ 18 จบ ปฐมลัตต์ อายุ 19 จบ ปฐมจี่ อายุ 20 บวชพระแล้วได้ศึกษาบาลีอรรถกถาต่อกับพระอาจารย์ที่จบอภิวังสะหลายรูปจนสามารถสอบผ่าน ธรรมจริยะตอนอายุ 22 ปี หลังจากนั้นอีก 8 ปีท่านตระเวนปฏิบัติกับอาจารย์กรรมฐานที่มีชื่อเสียงอีกหลายท่าน หลังจากนั้นจึงอยู่ป่าศึกษาปฏิบัติด้วยตนเองถึง 16 ปี จึงออกมาเป็นเจ้าอาวาสวัดพระอ๊อดและเรอ่าสอนตอนอายุ 50
หลังจากนั้น 12 ปี จึงสามารถเรียบเรียงตำรานิพพานคามินี ปฏิปทา เป็นตำรา 6 เล่มใหญ่ที่ร้อยเรียงและอ้างอิงบาลีอรรถกถาทั้งหมดเสร็จและจัดพิมพ์ตอนอายุ 63 ปี
จะเห็นได้ว่า:
1 ถ้าท่านไม่ทรงจำก็จะไม่สามารถประมวล บาลีอรรถกถาทั้งหมด ให้เป็นรูปแบบการปฏิบัติที่ระบบตามคัมภีร์วิสุทธิมรรคได้ (ในสมัยนั้นไม่มีคอมช่วยสืบค้นด้วย)
2 ถ้าท่านไม่ได้มีประสบการณ์ปฏิบัติกับครูอาจารย์กรรมฐาน 8ปี และอยู่ป่าศึกษาปฏิบัติด้วยตนเองอีก 16 ปี กับสอนลูกศิษย์อีก12 ปี ก็จะไม่มั่นใจในวธีการตามคัมภีร์วิสุทธิมรรคเช่นกัน
สรุปว่าการทรงจำสำคัญมาก และการปฏิบัติก็สำคัญเช่นกันจึงจะสมบูรณ์
เราโชคดีที่มีครูบาอาจารย์เยี่ยงอย่างท่าน เจริญพร
-------------------------------------------
#ถาม2. การกล่าวบ่อยๆ กับลูกศิษย์และผู้ฟังว่า "พระอาจารย์ใหญ่และพระอาจารย์กรรมฐานที่ paauk พม่า" มีอัธยาศัยท่องจำพระไตรปิฎกบาลีกันเป็นปกติ จะเป็นผลดีต่อประเทศที่ขาดแคลนผู้ทรงพระไตรปิฎกบาลี อย่างประเทศไทย เพียงไร ครับ? ผมจำได้ว่า เคยสนทนากับ พ.อ.เรวตะ (ที่เชียงใหม่) ว่าการท่องจำสำคัญมาก และท่านก็บอกผมว่า ท่านก็เห็นด้วยว่าสำคัญมาก และมีคนเล่าว่า ท่านจะไปเรียนเพิ่ม แต่ พ.อ.ใหญ่ ยังไม่อนุญาต (เพราะไม่มีคนทำงาน) อีกครั้งหนึ่ง ผมเคยเห็น พระที่ติดตามพระอาจารย์ใหญ่ทางเฟซบุ้ค ไลฟ์สดท่องจำพระไตรปิฎกบาลีด้วย เป็นต้น นี่ก็แสดงให้เห็นว่า พระภิกษุที่ paauk ที่เป็นระดับอาจารย์ มีอัธยาศัยในการท่องจำพระไตรปิฎกบาลีเพียงไร ยิ่งในคลิปสามเณรของพาอ้าว ยิ่งเห็นถึงการปลูกฝังแต่เล็กทีเดียว
#ตอบข้อที่2 เป็นการสร้างแรงบันดาลใจที่มีประโยชน์มาก ที่จะทำไห้นักปฏิบัติเห็นความสำคัญของปริยัติว่าจะทำไห้การปฏิบัติเป็นระบบไม่ออกนอกทางและตรงตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
จะเห็นได้ว่า อาจารย์กรรมฐานวัดพะอ๊อก มีอัธยาศัยในการศึกษาและทรงจำ อย่างน้อยต้องทรงภิกขุปาติโมกข์ และภิกขุนีปาติโมกข์ได้ และส่วนใหญ่จะจบขั้นตำ่ธรรมจริยะ และเท่าที่ทราบก็มีจบอภิวังสะ ประมาณ 2-3รูป เจริญพร
-------------------------------------------
#ถาม3. การกล่าวว่า "พระพุทธโฆสาจารย์ รจนาคัมภีร์วิสุทธิมรรค" กับกล่าวว่า "พระพุทธโฆสาจารย์รวบรวมอรรถกถาจากอาจารย์ต่างๆ (ตั้งแต่ครั้งพุทธกาลมาจนถึงในลังกา) มาไว้ในวิสุทธิมรรค" อย่างไหนจะใกล้เคียงกับที่ว่า "พระอาจารย์ใหญ่รวบรวมพระสูตร อรรถกถา ฏีกา ต่างๆ มาร้อยเรียง" มากกว่ากัน ครับ?
ตอบข้อ 3 "พระพุทธโฆสาจารย์รวบรวมอรรถกถาจากอาจารย์ต่างๆ (ตั้งแต่ครั้งพุทธกาลมาจนถึงในลังกา) มาไว้ในวิสุทธิมรรค" น่าจะใกล้เคียงกับที่ว่า "พระอาจารย์ใหญ่รวบรวมพระสูตร อรรถกถา ฏีกา ต่างๆ มาร้อยเรียง" ไม่อนุญาตให้มีรูปท่านในหนังสือเพราะบอกว่าท่านเป็นเพียงผู้รวบรวมร้อยเรียงจากบาลีอรรถกถาเท่านั้น ต้องพยายามทำให้ได้อย่างท่านบ้างนะ เจริญพร
----------------------------------------
ท่านยังเทสนาสอนผมด้วยว่า:
เมื่อไรอิ่มในปริยัติแล้วการปฏิบัติจะก้าวหน้า เจริญพร
และถ้าปฏิบัติได้ดีกลับไปศึกษาปริยัติอีกจะ มีความสุข และเข้าใจพุทธพจน์ลึกขึ้นอีกมาก เจริญพร

วิสุทธิครบ 7 พร้อมวิธีปฏิบัติ ในพระสูตร [เหตุสูตร]

วิสุทธิครบ 7 พร้อมวิธีปฏิบัติ ในพระสูตร เหตุสูตร
http://84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=17&A=5222&w=&modeTY=2&h=ทิฏฺฐิ|กงฺขา|ปฏิปท|วิสุ|ปจฺจย#hl

ให้ใช้นัยนี้ หาคำอธิบายวิสุทธิในตัวพระสูตรตรงๆ ได้เลย ไม่ต้องผ่านวิสุทธิมรรค ก็จะสามารถเข้าใจได้ว่า ปฏิสัมภิทามรรค อภิธรรม และวิสุทธิมรรค รจนาขึ้นมาจากพระสูตรอย่างไร? จะช่วยให้หมดความลังเลสงสัยในอรรถกถา ฏีกา ได้อย่างมาก.
อนึ่ง คำว่า วิตรณ ในสูตรนี้ใช้คำว่า ปหีนา,
คำว่า มคฺคามคฺค ในสูตรนี้ใช้คำว่า ปฏิปทา กับ คามินี,
คำว่า ญาณ มาในสูตรที่มี สัจจ 4 ที่มีคำว่าญาณ เช่น ราธสูตร เป็นต้น ก่อนหน้าสูตรนี้ ต้องโยคตามมาในสูตรนี้ด้วย.
คำว่า ทสฺสน ก็คือ คำว่า ทิฏฺฐิ ในที่เป็นสัมมาทิฏฐิ ก็เป็นสัมมาทัสสนะ.
เท่านี้ ครบ 7 แล้ว และมีวิธีปฏิบัติอยู่ในตัวสูตรนี้ด้วย, สามารถนำศัพท์ในสูตร ไปหาคำขยายจากตัวพระสูตรตรงๆ ได้อีกมากด้วย.

วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2562

Appearing breaths at somewhere near by nose tip is ok for Anapanassati

PariMukkhaṃ Satiṃ upaṭṭhapetvā = the practitioner focuses the mindfulness on only Breaths.

So satova assasati satova passasati = he is focusing the mindfulness like that and breathing out/in.

Breaths are not nose tip, touching, or feeling. Breaths are long or short wind flowing at nose tip.

Sometime breaths appear at right nostril tip, sometime left, sometime middle, some time top lip.

But you are focus on clearing appearing breaths at somewhere of those, so wherever of them is OK.

The other touching points such as in side the nose or lung is over width for clear focusing on breath and easily to get Restlessness (uddhacca), so appearing breaths on somewhere at the nose tip is the best choice for the meditation.

ยุคนี้เบาแล้ว

ยุคนี้เบาแล้ว ย้อนไปก่อนจะมีพระพุทธเจ้า  ดูประวัติศาสตร์โลกก็ได้โหดร้ายขนาดไหน, เดี๋ยวพอหมดยุคของพระพุทธเจ้านะ  โคตรหนักแน่นอน 😊  ไม่งั้นจะ...