วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2562

แปลอรรถกถามรรคสัจจนิทเทส

ควรอ่านลิงก์นี้ก่อน

               พึงทราบวินิจฉัยในสัมมาทิฏฐินิทเทสดังต่อไปนี้ 
               พระสารีบุตรแสดงจตุสัจกรรมฐานด้วยมีอาทิว่า ทุกฺเข ญาณํ ดังนี้. 
               บรรดาสัจจะ ๔ เหล่านั้น สัจจะ ๒ ข้างต้นเป็นวัฏฏะ, ๒ ข้างหลังเป็นวิวัฏฏะ. 
               ในสัจจะเหล่านั้น ภิกษุย่อมมีความตั้งใจมั่นในอารมณ์กรรมฐานฝ่ายวัฏฏะ ไม่มีความตั้งใจมั่นอารมณ์กรรมฐานฝ่ายวิวัฏฏะ. อธิบายว่า พระโยคาวจร(ตั้งใจมั่นในอารมณ์กรรมฐานฝ่ายวัฏฏะโดย)ทำกรรมด้วยการเรียนสัจจะ ๒ ข้างต้นในสำนักอาจารย์โดยสังเขปอย่างนี้ว่า "ปญฺจกฺขนฺธา ทุกฺขํ, ตณฺหา สมุทโย - ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ตัณหาเป็นเหตุให้เกิดทุกข์", และโดยพิสดารว่า "กตเม ปญฺจกฺขนฺธา, รูปกฺขนฺโธขันธ์ ๕ เป็นไฉน, คือ รูปขันธ์" เป็นต้น แล้วท่องกลับไปมาบ่อยๆ ด้วยวาจา
               ส่วนในสัจจะ ๒ นอกนี้ พระโยคาวจร(ไม่ต้องมีความตั้งใจมั่นอารมณ์กรรมฐานฝ่ายวิวัฏฏะเพียง)ทำกรรมด้วยการฟังเท่านั้นอย่างนี้ว่า นิโรธสจฺจํ อิฏฺฐํ กนฺตํ มนาปํ, มคฺคสจฺจํ อิฏฺฐํ กนฺตํ มนาปํ - นิโรธสัจ น่าใคร่ น่าปรารถนา น่าชอบใจ มรรคสัจ น่าใคร่ น่าปรารถนา น่าชอบใจ. 
               (ปฏิเวธะ=สัมมาทิฏฐิ=ปัญญินทรีย์=ธมฺมสภาวปฏิเวธลกฺขณํ ปญฺญินฺทฺริยํ=แทงตลอดสภาวะธรรมในวัฏฏะและวิวัฏฏะปฏิจจสมุปบาท คือ สัจจะทั้ง 4 ในบุพพภาคมรรคแทง 2 เท่านั้น ในโลกุตตรมรรค แทง 4 ในขณะจิตเดียว)
               (อภิสมัย=เวลาประชุม=เวลาที่โลกุตตรอริยมรรคจิตตุปบาทเกิด มรรค 8 ประชุมทำกิจพร้อมกัน หลังจากฝึกโลกิยบุพพภาคมรรคจนมีกำลังสมบูรณ์พรั่งพร้อมแล้ว, แต่ว่าในบุพพภาคมรรคอาจแยกกันธรรม เช่น สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ เป็นเจตสิกที่ไม่เกิดกับโลกิยะอัปปนาสัมมาสมาธิ เป็นต้น. ดู อภิสมยกถา)
               พระโยคาวจรนั้นเมื่อทำกรรมดังกล่าวนั้น (สัมมาทิฏฐิ)ย่อมแทงตลอดสัจจะ ๔ ด้วยปฏิเวธครั้งเดียว (โลกุตตรอริยมรรคจิตตุปบาท)ย่อมทำกิจพร้อมกันด้วยอภิสมัยครั้งเดียว. อธิบายว่า (สัมมาทิฏฐิ)ใช้ปริญญาปฏิเวธแทงตลอดทุกข์, ใช้ปหานปฏิเวธแทงตลอดสมุทัย, ใช้สัจฉิกิริยาปฏิเวธแทงตลอดนิโรธ, ใช้ภาวนาปฏิเวธแทงตลอดมรรค. (โลกุตตรอริยมรรค 8)ย่อมใช้ปริญญาภิสมัยทำ(ปริญญา)กิจในทุกข์ด้วยกัน ฯลฯ ย่อมใช้สัจฉิกินิยาภิสมัยทำ(สัจฉิกิริยา)กิจในมรรคด้วยกัน.
               เอวมสฺส ปุพฺพภาเค ทฺวีสุ สจฺเจสุ อุคฺคหปริปุจฺฉาสวนธารณสมฺมสนปฺปฏิเวโธ โหติ ทฺวีสุ สวนปฺปฏิเวโธเยว ฯ
               อปรภาเค ตีสุ กิจฺจโต ปฏิเวโธ โหติ นิโรเธ อารมฺมณปฺปฏิเวโธ ฯ
               ตตฺถ สพฺพมฺปิ ปฏิเวธญาณํ โลกุตฺตรํ สวนธารณสมฺมสนญาณํ โลกิยํ กามาวจรํ ฯ
               ปจฺจเวกฺขณา ปน มคฺคสจฺจสฺส(๑) โหติ อยญฺจ อาทิกมฺมิโก ฯ
               ตสฺมา สา อิธ น วุตฺตา ฯ
               อปรภาเค ปน ทุกฺขํ ปริญฺญาตเมว โหติ ฯเปฯ มคฺโค ภาวิโตว โหติ ฯ
#๑. ม. ปตฺตสจฺจสฺส ฯ
 
               ดังกล่าวมาข้างต้นนี้ ฉะนั้น... 
               ในช่วงบุพพภาคมรรค ในสัจจะ ๒ อย่างแรก ภิกษุนั้นจะมีกิจ คือ การท่องบทบริกรรมกรรมฐาน การสอบถาม การฟังคำอธิบาย(คำตอบ) การทรงจำ การสัมมสนะ และการปฏิเวธ, 
               ในสัจจะ ๒ อย่างหลัง  ภิกษุนั้นจะมีกิจ คือ การฟังคำอธิบาย และการปฏิเวธเท่านั้น. 
              ในช่วงอริยมรรค ภิกษุนั้นจะมีกิจ คือ ปฏิเวธสัจจะ 3 โดยการทำกิจ และปฏิเวธนิโรธโดยการทำให้เป็นอารมณ์. 
               ในกิจเหล่านั้น ปฏิเวธญาณแม้ทั้งหมดเป็นโลกุตระ(ทั้งสัจจะ 2 แรกและหลัง), ญาณที่ฟังคำอธิบาย ญาณที่ทรงจำ ญาณที่สัมมสนะ เป็นโลกิยกามาวจร. 
               ส่วนปัจจเวกขณญาณย่อมเป็นของผู้บรรลุสัจจะไปแล้ว แต่ในที่นี้เป็นญาณก่อนปัจจเวกขณญาณของผู้ที่ยังไม่ได้บรรลุไปแล้ว. เพราะฉะนั้น ท่านจึงไม่กล่าวปัจจเวกขณญาณนั้นไว้ในที่นี้ อธิบายว่า ก่อนหน้านั้น ภิกษุนี้ย่อมไม่มีอาโภคะ สมันนาหาระ มนสิการะ และปัจจเวกขณะว่า "เราทำปริญญาในทุกข์อยู่ เราทำปหานะในสมุทัยอยู่ เราทำสัจฉิกิริยาในนิโรธอยู่ เราทำภาวนาในมรรคอยู่" ดังนี้, ภิกษุมามีก็หลังจากได้กำหนดรู้แล้ว. แต่หลังจากนั้น ทุกข์เป็นอันภิกษุทำปริญญาแล้ว ฯลฯ มรรคเป็นอันภิกษุภาวนาแล้ว. 
               ในสัจจะเหล่านั้น สัจจะ ๒ ลึกซึ้ง เพราะเห็นได้ยาก, สัจจะ ๒ เห็นได้ยาก เพราะลึกซึ้ง. จริงอยู่ ทุกขสัจจะปรากฏแต่เกิด, ในขณะถูกตอและหนามทิ่มแทงเป็นต้น ก็ร้องว่าโอยเจ็บ!  สมุทยสัจจะปรากฏแต่เกิดด้วยอยากจะเคี้ยวอยากจะกินเป็นต้น. สัจจะแม้ทั้งสองข้อหลัง ชื่อว่าลึกซึ้ง เพราะแทงตลอดด้วยลักษณะ. สัจจะเหล่านั้น ชื่อว่าลึกซึ้ง เพราะเห็นได้ยากด้วยประการฉะนี้. การประกอบความเพียรเพื่อเห็นสัจจะ ๒ อย่างหลังนั้น นอกนั้นก็เหมือนเหยียดมือเพื่อถือเอาภวัคคพรหม เหมือนเหยียดเท้าเพื่อสัมผัสอเวจี และเหมือนการจรดปลายขนทรายที่แยกออกร้อยส่วนด้วยปลายขนทราย. สัจจะเหล่านั้น ชื่อว่าเห็นได้ยาก เพราะลึกซึ้งด้วยประการฉะนี้. 
               พระสารีบุตรกล่าวบทมีอาทิว่า ทุกฺเข ญาณํ นี้หมายถึงการเกิดแห่งญาณอันเป็นส่วนเบื้องต้นด้วยการทำกิจในสัจจะ ๔ คือ การท่องคำบริกรรม เป็นต้น ชื่อว่าลึกซึ้ง เพราะเห็นได้ยาก และชื่อว่าเห็นได้ยากเพราะลึกซึ้ง แต่ในขณะแทงตลอด ญาณนั้นมีเพียงญาณเดียวเท่านั้น. 

----------ส่วนต่อไปนี้ยังไม่ได้ปรับสำนวน----------------
               ส่วนอาจารย์เหล่าอื่นกล่าวว่า ญาณในสัจจะทั้งหลายมี ๔ อย่าง คือ สุตมยญาณ - ญาณเกิดจากการฟัง ๑ ววัตถานญาณ - ญาณเกิดจากการกำหนด ๑ สัมมสนญาณ - ญาณเกิดจากการสัมมสนะ ๑ อภิสมยญาณ - ญาณเกิดจากการถึงพร้อมด้วยกัน ๑. 
               ในญาณเหล่านั้น สุตมยญาณเป็นไฉน? 
               พระโยคาวจรฟังสัจจะ ๔ โดยย่อหรือโดยพิสดารย่อมรู้ว่า นี้ทุกข์ นี้สมุทัย นี้นิโรธ นี้มรรค. นี้ชื่อว่าสุตมยญาณ. 
               ววัตถานญาณเป็นไฉน? 
               พระโยคาวจรนั้นย่อมกำหนดความของการฟัง โดยเหตุเกิดและโดยลักษณะ (สมุทยเหตุ 4+นิพพัตติลักษณะ) ย่อมลงความเห็นว่า ธรรมเหล่านี้นับเนื่องในสัจจะนี้ นี้เป็นลักษณะของสัจจะนี้. นี้ชื่อว่า ววัตถานญาณ. 
               สัมมสนญาณเป็นไฉน? 
               พระโยคาวจรนั้นกำหนดสัจจะ ๔ ตามลำดับอย่างนี้แล้วถือเอาทุกข์เท่านั้น ย่อมพิจารณาตลอดไปถึงโคตรภูญาณ โดยความไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา. นี้ชื่อว่าสัมมสนญาณ. 
               อภิสมยญาณเป็นไฉน? 
               พระโยคาวจรนั้นตรัสรู้สัจจะ ๔ ด้วยญาณหนึ่ง ในขณะโลกุตรมรรค ไม่ก่อน ไม่หลัง คือย่อมตรัสรู้ทุกข์โดยการตรัสรู้ด้วยการกำหนดรู้, ย่อมตรัสรู้สมุทัย โดยการตรัสรู้ด้วยการละ, ย่อมตรัสรู้นิโรธ โดยการตรัสรู้ด้วยการทำให้แจ้ง, ย่อมตรัสรู้มรรค โดยการตรัสรู้ด้วยการเจริญ. นี้ชื่อว่าอภิสมยญาณ. 

โครงสร้างมรรคสัจจนิทเทสอรรถกถา

ในมัคคสัจจนิทเทสอรรถกถา:

ตั้งแต่ "ปฏิเวธกฺขเณ ปน เอกเมว ตํ ญาณํ โหติ" ขึ้นมา เป็น เอกปฏิเวเธเนว, หลังจากนั้นไป เป็นเอกาภิสมเยน.

เพราะปฏิเวธะด้วยสัมมาทิฏฐิ (ธมฺมสภาวปฏิเวธลกฺขณํ ปญฺญินฺทฺริยํ) แต่มีสัจจะถึง 4 ท่านจึงอธิบายว่า ปุพพภาคมรรคนั้นรู้มรรคไม่ครบ 4 แต่ในมรรคขณะนั้น ปฏิเวธะด้วยอริยมัคคสัมมาทิฏฐิดวงเดียวในมัคคจิตตุปบาท.

ส่วนอภิสมยญาณกถาในปฏิสัมภิทามรรค หมายถึง มัคคสมังคีจิตตุปบาท, ฉะนั้น เอกาภิสมเยน จึงหมายถึง การประชุมขององค์มรรคทั้ง 8 พร้อมกันในมรรคจิตตุปบาทเดียว (ตามพระบาลีในอภิสมยกถาเลย ครับ)

วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2562

ญาณทัศนะ รู้ชัด ปัญญา

คำว่า ญาณทัสสนะ ใช้อธิบายองค์ธรรมด้วยคำว่า ปัญญา ได้ แต่เวลาใช้ในพระสูตร น้ำหนักไม่เท่ากับปัญญา ครับ.

ปัญญา=เข้าใจแง่มุมต่างๆ อย่างชัดเจนแทงตลอด (ปการโต ชานนํ เช่น อานาปานัสสติก็เข้าใจลมเข้า/ออก ยาว/สั้นอย่างชัดเจน ก็ใช้ศัพท์ว่า ปชานาติ ไม่ใช่ ชานาติ/ญาต),
ญาณ=ปัญญาที่ชำนาญกว่าปัญญาที่ยังไม่ได้ภาวนาให้เกิดต่อเนื่องไม่มีกิเลสคั่นลดกำลัง (ญาต, อภิญฺญาต, สุฏฺฐุ ชานนํ เช่น ญาณทสฺสนํในธรรมจักร ซึ่งแสดงขณะที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้),

ถ้าแสดงลำดับธรรมส่วนใหญ่จะเป็นแบบนี้ แต่ที่เน้นความต่างของสภาวะธรรม ไม่เน้นลำดับถึงจะใช้ปัญญา เช่น เจโตวิมุต ปัญญาวิมุต

ทสฺสน ทิฏฐิ อาโลก จกฺขุ = แสดงความชัดเหมือนเห็นด้วยตา ที่ต้องมีตา มีทสฺสนวิญฺญาณ มีแสง

ปัญญา จกฺขุ ทสฺสน ทิฏฺฐิ หมั่นอนุปสฺสนา/อนุทสฺสน ซึ่งปฏิจจสมุปฺปาทและปฏิจฺจสมุปฺปนฺน อย่างภาวนา คือ อย่างไม่มีกิเลสคั่นระหว่าง จนมีความชำนาญ อันนี้ ชื่อว่า ญาณทสฺสน

ทั้งหมดดูจาก ธมฺมจกฺกปฺปวตฺตนสุตฺตํ+นิทานของสูตร

ส่วนวิเคราะห์ศัพท์ อยู่ในปฏิสัมภิทามรรค ครับ.

อนึ่ง ในธัมมจักรแสดงญาณทัสสนะในอริยสัจ 4 นะครับ, แต่ในที่นี้ผมใช้ปฏิจจสมุปบาทแทน เพราะคนไทยเคยฟังแต่แบบนี้มา แต่ก็ยังมักสงสัยกันอยู่ว่าว่า รู้ชัดอริยสัจ เป็นยังไง, ก็ต้องเอาปฏิจจสมุปบาทมาขยาย เพราะในสัจจบรรพะ ก็เอาปฏิจจสมุปบาทมาขยายอริยสัจเหมือนกันครับ.

ตามหลักภาษาไทย เข้าใจ/เห็นลมชัด ไม่ใช่ รู้ชัดลม, เข้าใจ(ธาตุ 4 ใน)อิริยาบถชัด ไม่ใช่รู้ชัดอิริยาบถ.

ภาษาบาลี กัตตุทำกิริยาชัดๆ ซึ่งกรรม แต่ภาษาไทย กัตตุทำกิริยาซึ่งกรรมที่ชัดขึ้นๆ.

ตามหลักภาษาไทย เข้าใจ/เห็นลมชัด ไม่ใช่ รู้ชัดลม, เข้าใจ(ธาตุ 4 ใน)อิริยาบถชัด ไม่ใช่รู้ชัดอิริยาบถ.

ภาษาบาลี กัตตุทำกิริยาชัดๆ ซึ่งกรรม แต่ภาษาไทย กัตตุทำกิริยาซึ่งกรรมที่ชัดขึ้นๆ.

ภาษาไทย: บอลเห็นภาพที่มีความคมชัด, ภาษาบาลี: บอลเห็นประจักข์ภาพ (สังเกตคำขยาย)

กฎภาษาไทยไม่ใช่แบบนี้เสมอไปครับ แต่เวลาผมอ่านพระไตรปิฎกแปล ผมเห็นข้อนี้บ่อยสุด และทำให้ผมงงมากๆ เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ตอนที่ยังอ่านบาลีไม่ออก, และมั่นใจว่า คนไทยส่วนใหญ่ก็งงเหมือนกัน จึงคิดว่า มีความสำคัญกับการแสดงธรรม.

วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2562

ภาพ: อายุ 10 ขวบ ท่องอภิธรรมมุขปาฐะ



พวกเราก็ทำได้ครับ และควรทำครับ ท่องจำทุกๆ วัน เราก็ได้ คนรอบๆข้าง ก็จะรู้สึกมีกำลังใจที่จะท่องจำตามบ้าง ครับ.

ถ้าไม่ท่องจำพระบาลี เวลาปฏิบัติธรรมะ ก็จะหลงทางได้ง่าย ยิ่งถ้าไม่ได้อาจารย์ที่เก่งสุดๆ มีคุณสมบัติตามวิสุทธิมรรค แล้วไม่ท่องจำพระบาลี ก็จะปฏิบัติหลงทิศหลงทางแน่นอน

ต่อให้ได้อาจารย์ที่มีคุณสมบัติครบ แต่ไม่ท่องจำคำของอาจารย์ให้ดี ก็ปฏิบัติหลงทิศได้เช่นกัน

มุขปาฐะสำคัญมากจริงๆ ครับ.

คำว่า อริยะ ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตรหมายถึงอะไร?

อริยะ คือ ชื่อเผ่าพันธุ์ที่รับมหาปุริสลักษณะมาจากพระอนาคามิพรหมจากยุคพระกัสสปะสัมพุทธเจ้า, พระอนาคามิพรหมบอกมหาปุริสลักษณะนี้กับฤๅษีชาวอริยกะ และมีฤๅษีชาวอริยกะบางส่วนที่ได้ตาทิพย์หูทิพย์ย้อนไปถึงยุคพระกัสสปะสัมพุทธเจ้าจึงรู้มหาปุริสลักษณะได้ด้วย, ต่อมาพวกฤๅษีและผู้มีความรู้ชาวอริยกะจึงเรียกตัวเองว่า พราหมณ์ (เหล่ากอแห่งพรหม).

คนสมัยก่อนเข้าใจเรื่องพวกนี้อยู่แล้ว ฉะนั้น พระอัญญาโกณฑัญญะ จึงรู้ว่า คำว่า อริยสัจ ใน ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร หมายถึง สัจจะของพระพระกัสสปะสัมพุทธเจ้าที่พระอนาคามิพรหมบรรลุแล้วนั้นนั่นเอง, และท่านพระอัญญาโกณฑัญญะก็ได้บรรลุเป็นพระอริยสงฆ์สาวกได้เป็นคนแรกในที่สุด. นอกจากนี้ ในมูลเหตุเกิดธัมมจักกัปปวัตตนสูตรเอง ก็ยังได้กล่าวคำว่า พฺรหฺมจริยํ ไว้อีกด้วย.

ฉะนั้น คำว่า อริยะ ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร จึงหมายถึง "สัจจะที่พระกัสสปสัมมาสัมพุทธอริยะเจ้าแสดงไว้" นั่นเอง. แต่เนื่องจากพระศาสนาของพระกัสสปะสัมพุทธเจ้าได้อันตรธานไปนานแล้ว พระอนาคามีพรหมกับฤๅษีชาวอริยกะจึงสอนได้เฉพาะมหาปุริสลักษณะโดยใส่ไว้ในพระเวท แต่ไม่อาจสอนอริยสัจได้ จนกระทั่งพระโคตมสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้น จึงได้ประกาศอริยสัจที่บรรลุได้เฉพาะพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น.

วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2562

กุศลก็รู้อัตตาได้ ปัญญาก็รู้อัตตาได้

กุศลก็รู้อัตตาได้ ปัญญาก็รู้อัตตาได้

ตน เรา เขา (อัตตาบัญญัติ) เป็นอารมณ์แก่จิตในวิถีหลังๆ ตั้งแต่อัตถัคคหณวิถี นามัคคหณวิถี เป็นต้นไป เพราะเป็นบัญญัติ จิตรู้ขันธ์ที่เป็นปรมัตถ์ชำนาญในวีถีก่อนๆ แล้วจึงบัญญัติขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อการดำรงชีวิต.

ในขณะที่จิตคิดบัญญัติเท่านั้น บัญญัติจึงปรากฎเป็นอารมณ์ ขณะที่จิตไม่คิดบัญญัติ คือ รู้ปรมัตถ์อยู่ ก็ไม่มีบัญญัติอยู่ที่ไหนเลยทั้งในอดีตอนาคตและปัจจุบัน เพราะสังขตปรมัตถ์ต้องมีปัจจัยทำให้เกิดขึ้นจึงจะชื่อว่า มีอยู่จริงๆ จิตจะคิดหรือไม่คิดปรมัตถ์ก็ต้องเกิดขึ้นเมื่อปัจจัยถึงพร้อมแน่นอน ส่วนบัญญัตินั้น ไม่เกิดขึ้น ไม่มีปัจจัย ไม่เคยมีอยู่เลย เป็นได้เพียงอารมณ์ของจิต ในยามที่จิตคิดถึงมันเท่านั้น.

อัตตาบัญญัตตินั้นเป็นอารมณ์ให้จิตได้ทั้ง 3 ชาติ (เว้นวิบากชาติ) แม้พระพุทธเจ้าก็มีอัตตาเป็นอารมณ์ได้ เพียงแต่พระพุทธเจ้ามีจิตแค่ 1 ชาติที่รู้อัตตาบัญญัติ คือ กิริยาชาติเท่านั้น.

รู้อัตตาด้วยกุศลอย่างไร? 

ขณะที่ท่านอ่านข้อความนี้ ท่านก็กำลังรู้อัตตาด้วยกุสลญาณสัมปยุตอยู่. เราจักให้ทาน เราจะรักษาศีล เราจักทำสมถะ เราจักทำวิปัสสนา เราจักเข้าผลสมาบัติ เราจักดับขันธปรินิพพาน ล้วนรู้อัตตาบัญญัติทั้งสิ้น.
แต่การรู้อัตตาบัญญัตินี้ จะเป็นมิจฉาทิฏฐิ ก็ต่อเมื่อมีองค์ 2 ของมิจฉาทิฏฐิ คือ

1. อารมณ์ผิดเพี้ยนไปจากหลักปัจจยาการ คือ ปัจจัยปัจจยุปบัน (ปฏิจจสมุปบาท/ปัฏฐาน)
2.มีตัณหาอุปาทานเข้าไปติดใจ สละไม่ได้. (ม.ม.สัมมาทิฏฐิสูตร)

ถ้าขาดองค์ข้อ 1 ไม่เป็นวิปลาส ไม่เป็นทิฏฐิ เป็นเพียงจิต 3 ชาติอย่างใดอย่างหนึ่งที่ไม่มีทิฏฐิเกิดร่วมที่คิดบัญญัติอย่างหนึ่งเท่านั้น. 

ถ้าขาดองค์ข้อ 2 อาจเป็นวิปลาสได้ ไม่เป็นทิฏฐิ เช่น พระโสดาบันคิดว่า รูปฌานเป็นสุข ลืมคิดโดยความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ อย่างนี้แสดงว่ามีโมหะหลงลืมปัจจัยปัจจยุปบัน แต่เป็นเพียงความจำ และความคิดที่ผิดเพี้ยน ไม่ใช่ทิฏฐปาทาน คือไม่ได้ตามยึดมั่นเป็นความเห็น ความปักใจ ไม่ได้ตามวิตกวิจารแล้วๆ เล่าๆ เพราะเมื่อคิดแล้วก็จะมีการตามอนุปัสสนาภายหลังว่า จริงๆ ฌานนั้นก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เช่นกัน. อีกประการ คือ พระโสดาบันมีใจเปิดกว้างด้วยสัมมาทิฏฐิเผื่อปัจจัยปัจจยุปบันอื่นๆ ที่เกินวิสัยของตนด้วยอัตตสัมมาปนิธิอยู่แล้ว ไม่ใช่ "นี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า" จึงไม่เป็นมิจฉาทิฏฐิ.

แต่ในพระอรหันต์ ไม่เป็นทิฏฐิ ไม่เป็นวิปลาสโดยประการทั้งปวง เพราะไม่ว่าอะไรๆ ก็ไม่ที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา สำหรับพระอรหันต์ทั้งปวง.

โลภเจตสิกจะรู้อัตตา แต่เป็นเพียงทิฏฐิคตวิปปยุต ไร้ทิฏฐิเจตสิก ได้อย่างไร?

เราจักดูซีรีส์เกาหลีละครช่อง 7 ให้สนุก, เราจักกินของชอบบ่อยๆ, เราจักนอนที่นอนนุ่มๆทุกวัน เป็นต้น จิตปรารภปรมัตถ์ตรงตามปัจจัยปัจจยุปบันไม่ผิดเพี้ยน สีที่จะเกิดในทีวีมีจริง, รสที่จะเกิดที่ลิ้นมีจริง, ปฐวีธาตุที่เกิดกระทบกายที่นอนอยู่มีจริง,  นามรูปปฏิจจสมุปบาทที่จิตไปอาศัยรู้แล้วคิดบัญญัติว่า "เป็นเรา/เป็นเขากำลังดูทีวี/กำลังลิ้มรส/กำลังนอน" นามรูปนี้ทั้งหมดก็มีอยู่จริง เกิดขึ้นจริงๆ แต่จิตเจตสิกแม้คิดถูกหลักปัจจัยอย่างนี้ก็ยังมีโลภะอุปาทานไปติดใจ เพลิดๆ แล้วๆ เล่าๆ. โลภะเหล่านี้ มีอัตตาบัญญัติเป็นอารมณ์ แต่ไม่มีความเข้าใจผิดจึงไม่มีทิฏฐิคตสัมปยุต.

วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2562

ตามเห็นธรรมในธรรม และตามเห็นความเกิดขึ้นในธรรม เป็นอย่างไร?

เห็นธรรม คือ เห็นปัจจัย, ในธรรม คือ ปัจจุบันครับ หมายความว่า เห็นปัจจัยของปัจจยุปบันแต่ละอย่าง ในปัจจยุปบันทั้งหลาย 

ก็คือ ตามเห็นเหตุเกิดของนีรรณ์, อายตนะ, ขันธ์, โพชฌงค์, สัจจะ นั่นเองครับ.

ถ้าเข้าใจอย่างนี้ จะอ่านทั้งตัวสูตร และอรรถกถาได้เข้าใจ, และจะเข้าใจด้วยว่า ทำไมฉบับมหาจุฬา แปล สมุทยธมฺมา ว่า เหตุแห่งความเกิด

วันศุกร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2562

คำอธิบายอานาปานัสสติ 4 ข้อแรก ควรท่องจำให้ได้

คำอธิบายอานาปานัสสติ 4 ข้อแรก (ควรท่องจำให้ได้ เพราะต้องทำไปพร้อมๆ กัน ทั้ง 4 ข้อ ขาดข้อใดข้อหนึ่ง ไม่สำเร็จอานาปานัสสติ):

*ควรบริกรรมท่องจำให้ได้คล่องแคล่วชำนาญคล่องปากขึ้นใจแทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ

1. เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ลมชัดเจนว่า เราหายใจออกยาว (ที่ปลายจมูก)
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ลมชัดเจนว่า เราหายใจเข้ายาว (ที่ปลายจมูก)

2. เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ลมชัดเจนว่า เราหายใจออกสั้น (ที่ปลายจมูก)
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ลมชัดเจนว่า เราหายใจเข้าสั้น (ที่ปลายจมูก)

3.ฝึกอยู่ว่า เราจักเป็นผู้รู้สึกสัพพกาย คือ ลมหายใจทั้งสายขณะหายใจออก (ที่ปลายจมูก)
ฝึกอยู่ว่า เราจักเป็นผู้รู้สึกสัพพกาย คือ ลมหายใจทั้งสายขณะหายใจเข้า (ที่ปลายจมูก)

4.ฝึกอยู่ว่า เราจักหายใจด้วยกายสังขารเข้าที่เบาลงๆ คือ ลมหายใจเข้าที่เบาลงๆ (แต่ยังหายใจอยู่)
ฝึกอยู่ว่า เราจักหายใจด้วยกายสังขารออกที่เบาลงๆ คือ ลมหายใจออกที่เบาลงๆ (แต่ยังหายใจอยู่)

***อนึ่ง ควรจำให้ได้ เพราะต้องทำไปพร้อมๆ กัน ทั้ง 4 ข้อ ขาดข้อใดข้อหนึ่ง #ไม่สำเร็จอานาปานัสสติ***

*ควรบริกรรมท่องจำให้ได้คล่องแคล่วชำนาญคล่องปากขึ้นใจแทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ

การทำบุญบาปเหมือนสะสม exp เลเวลในเกม แต่เกมชีวิตมันมีลดเลเวลได้

 การทำบุญบาปเหมือนสะสม exp เลเวลในเกม แต่เกมชีวิตมันมีลดเลเวลได้ ถ้าไม่ทำครบขั้นตอนแบบพระพุทธเจ้าบอกสูตรไว้ คือ ดีแล้วกลับมาชั่วทีหลัง ชั่วแ...