วันนี้เราจะมาแก้อาการกลัวการเถียง กลัวการโต้แย้ง กลัวการอวดตัวกันตามหลักธรรมของพระพุทธเจ้า.
ทำไมชาวพุทธไทย จึงกลัวการเถียง กลัวการโต้แย้ง กลัวการอวดตัว? เพราะยังไม่เข้าใจทั้งทิฏฐิ ไม่เข้าใจทั้งโลภะ ไม่เข้าใจทั้งพุทธปัญญา และไม่รู้จักระงับโทสะ ดังนั้นจึงกลัวการสนทนาธรรมะลึกซึ้ง ที่เป็นแก่น เป็นสาระ, เลยไปจนถึงว่า กลัวว่าจะเป็นการอวดตัวไปเลยก็มี (ไม่กลัววิจิกิจฉาหรือ? วิจิกิจฉาทำให้ตกนรก, แต่มานะที่ไม่ประกอบด้วยทิฏฐิ ของพระโสดาบันผู้ไม่ตกนรกมีอยู่ อันไหนควรกลัวมากกว่ากัน?).
ก่อนอื่นก็ต้องทำความเข้าใจองค์ธรรมหลักๆ ก่อน:
ความเห็นผิด (ทิฏฐิ) คือ ความเข้าใจผิดในความเป็นไปของขันธ์ในวงจรของปัฏฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในปฏิจจสมุปบาท, และต้องมีความติดใจ สละออกไม่ได้ (โลภะ) จึงเรียกว่า ความเห็นผิด (ไม่เช่นนั้น เป็นแต่จิตตวิปปลาส สัญญาวิปปลาส).
(ดูองค์สองมิจฉาทิฏฐิ ข้อแรก คือ ผิดเหตุผล, ข้อสอง คือ มีโลภะ)
พุทธปัญญา มีอาการคือ รู้รอบคอบ คิดแล้วคิดอีก เพื่อให้เข้าใจ (ป. 9) ทั้ง 1.ตัวเหตุ 2. ตัวผล (ป. 1-7) 5.คำพูดเรียกตัวเหตุตัวผล (ปัฏฐาน/ปฏิจจสมุปบาท) นั้น(ป. 8) 4. และมีไหวพริบความชำนาญใน 3 ข้อนั้น. ปฏิเวธะ ก็คือ ปฏิสัมภิทา, และปฏิเวธะนี่แหละ คือ พุทธปัญญา ที่ต้องอบรมเจริญ ให้ถึงขั้นโลกุตตระ (พ้นจากอุปาทานขันธ์ในวงจรปฏิจจสมุปบาทด้วยการถอนราก).
ถ้าเข้าใจทั้งทิฏฐิ เข้าใจทั้งโลภะ เข้าใจทั้งพุทธปัญญา และรู้จักระงับโทสะ จะสนทนาธรรมะลึกซึ้งแค่ไหนก็ได้.
ผมไปสนทนากับพระอาจารย์กรรมฐานของพาอ้าว เรื่องกลาปะ, เรื่องอนุสัย, เรื่องกรรมฐาน, รวมถึงเรื่อง พหิธาอุตุชรูป ไม่มีเรื่องไหนที่ท่านเงียบไม่สนใจเลย ท่านมีความใส่ใจใคร่รู้โดยตลอด, ท่านตอบได้ตรงตามพระไตรปิฎก (และตอบลึกกว่าที่ผมรู้). แต่บางเรื่องที่ทั้งผมและพระอาจารย์ท่านไม่รู้ ต่างฝ่ายก็ต่างพูดว่า "ข้อนี้ผมไม่รู้ เดี๋ยวจะถาม คนนู้น คนนี้ให้". ทั้งๆ ที่กรรมฐานท่านก้าวหน้าไปไกลกว่าผมมากแล้ว แต่ท่านก็ไม่มีความถือตัวกับผมซึ่งเป็นผู้น้อยกว่าทั้งโดยเพศและโดยคุณธรรม. ท่านกลับอ่อนน้อมกับผม ราวกับว่าไม่มีความแตกต่างระหว่างผมกับท่านโดยตลอด โดยที่ผมไม่ต้องประดิษฐ์ประดอยถ้อยคำใดๆ เลย แค่ระลึกอยู่ทุกขณะว่า "ท่านนี้เป็นผู้สูงค่า ควรแก่การกราบไหว้" แล้วก็สนทนาด้วยภาษาปกติธรรมดา แต่ประกอบด้วยอรรถและธรรมเท่านั้นเอง.
จากกรณีของผมข้างต้น จะเห็นได้ว่า เรื่องสนทนายากมากก็จริง แต่คุยกันได้จบทุกเรื่อง ไม่เครียดเลย และไม่ต้องใช้คำพิธีรีตรองอะไรมาก, แต่ให้ถูกต้องตรงตามธรรมวินัยก็พอแล้ว.
ถ้าสนทนากันเพื่อความเข้าใจจริงๆ จะไม่มีความกลัวว่า "ทิฏฐิของตนจะผิด" เลย, มีแต่จะค้นคว้าตามว่า หลักฐานที่เขาให้มาว่าเราผิดนั้น โดยอรรถะ ธัมมะ นิรุตติ ปฏิภานแล้ว เห็นจริงหรือไม่ ถ้าเป็นจริงก็แก้ ถ้าไม่เป็นจริง ก็เก็บไว้ (มีหลักฐานเพิ่ม ก็พิสูจน์ใหม่อีกที.)
ป.ล. เรื่องทิฏฐิ ที่เขียนข้างต้น จึงเป็นเหตุผลชัดเจนว่าว่า ที่พระอานนท์เข้าใจเรื่องกัลยาณมิตรผิด จึงไม่เป็นมิจฉาทิฏฐิ, ก็เพราะ ท่านพระโสดาบันอานนท์(ในขณะนั้น)ไม่มีโลภะในความเข้าใจผิดนั้นเลยนั่นเอง (พอพระพุทธเจ้าท้วงจึงฟังได้ และไถ่ถอนได้) จึงไม่ครบองค์ของมิจฉาทิฏฐิ เป็นแค่สัญญาวิปลาส จิตตวิปลาส เท่านั้น ไม่เป็นทิฏฐิวิปลาส.
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
การร้องทำนองเพลงที่ใจนึกถึงธรรมะ สมควรอยู่, แต่การร้องธรรมะที่ใจนึกถึงทำนองเพลง ไม่สมควร
การร้องทำนองเพลงที่ใจนึกถึงธรรมะ สมควรอยู่, แต่การร้องธรรมะที่ใจนึกถึงทำนองเพลง ไม่สมควร https://wiki.sutta.men/ฟุตโน้ต:541:99 -------------...
-
โครงการศึกษาพระวินัยปิฏกแบบโบราณเพื่อการประพฤติปฏิบัติ สถานที่ตั้งสำนักเรียนมหาธรรมรักขิตเจดีย์ -146 ม.1 ต.โป่งน้ำร้อน อ.โป่งน้ำร้อน จ.จัน...
-
ในกรณีที่มีอาจารย์กรรมฐานที่มี คุณสมบัติ คือ ทั้งบรรลุธรรม ได้ฌาน ได้อภิญญา ได้วิปัสสนาญาณ ได้มรรคผล และทั้ง ทรงจำพระไตรปิฎก อย่าง คล่องป...
-
ถ: ถ้าติดสังฆาทิเสสแล้วไม่ได้แก้ก่อนสึกจะทำให้ชีวิตไม่ดีทำมาหากินไมขึ้นจริงหรือเปล่าครับ? ต: อาบัติไม่มีผลกับฆราวาส ครับ, สึกมาเป็นฆรา...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
รับตอบปัญหาธรรมะ ตามพระไตรปิฏก อรรถกถา ฏีกา
ท่านสอบถาม/แสดงความคิดเห็น/บอกข้อบกพร่องของบทความได้ที่ facebook: ตอบปัญหาธรรมะลึกซึ้ง หรือ ช่องตอบกลับข้างล่างนี้.