วันพฤหัสบดีที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2561

วิญญาณ วิญญาณธาตุ มโน มนายตนะ มโนธาตุ มโนวิญญาณ มโนวิญญาณธาตุ:วินิจฉัย

ปัญจวิญญาณธาตุ (ทรงไว้ซึ่งกิจของตน+กิจคือการน้อมไปรู้เท่านั้น) + มโนธาตุ (ทรงไว้ซึ่งกิจของตน+กิจคือการน้อมไปรู้เท่านั้น)

คือ จิตน้อมไปรู้กามคุณ 5 ที่เป็นสภาวะธรรมอย่างเดียว ไม่สามารถคิดประมวลอะไรได้ ไม่ว่าจะทำดีทำชั่ว หรือคิดบัญญัติอะไรก็ไม่ได้เลย. ทั้ง มโนธาตุ และ วิญญาณธาตุข้างต้น จึงใช้ในความหมายเดียวกัน คือ แค่น้อมไป ไม่คิด ไม่คำนวนใดๆ เป็นไปด้วยอำนาจกรรมที่ให้เกิด จักขุวัตถุอินทรีย์ (เฉพาะทวิปัญจวิญญาณจิต) และด้วยอำนาจกรรมี่ทำให้เกิดจักขุวิญญาณ/สัมปฏิจฉัน-วิปากมนินทรีย์, จึงไม่ต้องมีวิริยะฉันทะ เพราะทำตามอำนาจของปุเรชาตกัมมชปัจจัย กัมมปัจจัย สหชาตวิปากปัจจัย จึงไม่ได้ใคร่ทำการคิดประมวลอะไรในแบบที่มโนวิญญาณธาตุคิดได้ ทำตามที่ถูกปัจจัยที่มีกำลังมาก อย่างกัมมปกตูปนิสสยปัจจัยทั้งหลาย กัมมชวิปากปัจจัย กัมมชรูป ทำให้เกิดเท่านั้น ปัจจัยที่มีกำลังน้อยกว่า อย่างวิตกวิจารอธิโมกข์วิริยฉันทะเป็นต้นจึงไม่ต้องเกิดช่วยในจิตเหล่านี้.
อธิบายเป็นตัวอย่างได้ว่า จะวิริยะกับฉันทะเพื่อทำกรรมแบบชวนะก็ไม่ได้, และไม่สามารถวิริยะกับฉันทะเพื่อใคร่ครวญแบบอเหตุกกุสลสันตีรณมโนวิญญาณจิต ว่า "อารมณ์นี้เป็นอติอิฏฐารมณ์ ควรให้เกิดปีติโสมนัส". ฉะนั้น วิญญาณธาตุ/มโนธาตุเหล่านี้ จึงสักแต่ว่าน้อมไปรู้เท่านั้นจริงๆ ไม่ใคร่ครวญก่อนทำอะไรใดๆทั้งสิ้น กรรมและปัจจัยแวดล้อมมาอย่างไรก็เป็นไปอย่างนั้น สหชาตปัจจัยไม่ช่วยให้จิตเหล่านี้คิดเองแบบมโนวิญญาณธาตุได้เลย.
ฉะนั้น สัมปฏิจฉันนวิปากจิต 2 จึงเป็นแค่ มโนธาตุ (จิตที่รับปัญจารมณ์จากทวิปัญจวิญญาณ+เป็น+การทรงไว้ซึ่งกิจของตน+คือการน้อมไปรู้เท่านั้น), และปัญจทวาราวัชชนกิริยาจิต 1 เป็นแค่ มโนธาตุ (จิตที่รับปัญจารมณ์จากภวังคุปัจเฉทวิปากจิต+เป็น+การทรงไว้ซึ่งกิจของตน+คือการน้อมไปรู้เท่านั้น)
อนึ่ง, ภวังคุปัจเฉทะไม่รู้ปัญจารมณ์แต่ได้รับปกตูปนนิสสยปัจจัยจากการกระทบระหว่างจักขุวัตถุกัมมชรูปอินทริยปัจจัย กับ รูปารมณ์, จึงทำกิจเป็นอนันตรูปนิสสยปัจจัยให้ปัญจทวาราวัชชนะที่เกิดถัดมาต้องทำวิตกวิจารอธิโมกข์เพื่อไปรับรู้รูปารมณ์นั้นโดยตรง.

อุปมา: 

เหมือนอุบาสกคนหนึ่งขณะสนทนาธรรมกับสามเณรรูปหนึ่งที่หันหน้าเข้าหากัน โดยที่อุบาสกหันหลังให้พระอรหันต์รูปหนึ่งที่เพิ่งเดินมาโดยไม่รู้มาก่อน พออุบาสกซึ่งหันหลังอยู่เห็นอากัปกิริยาเปลี่ยนไปของสามเณรที่เห็นพระอรหันต์ที่กำลังเดินเข้ามารูปนั้น ก็เป็นปัจจัยให้อุบาสกหันหลังกลับไปมองพระอรหันต์แล้วกราบไหว้ จากนั้นก็พากันหลับตาตั้งใจฟังเทศนาของพระอรหันต์, ตามอุปมานี้ สามเณรที่หันหลังดุจจักขุวัตถุ, พระอรหันต์ดุจรูปารมณ์, อุบาสกขณะเห็นอากัปกิริยาของสามเณรเปลี่ยนไปดุจภวังคุปัจเฉท,ะ อุบาสกขณะที่หันไปมองพระภิกษุ ดุจปัญจทวาราวัชชนวิตกวิจารอธิโมกข์สหคตจิต เพราะรู้ด้วยปัญจทวาราวัชชนะจิตที่เกิดจากภวังคุปัจเฉทะแล้วว่าจะรับรู้อารมณ์ทางปสาทะ เพียงแต่ยังไม่เห็นอารมณ์นั้นด้วทวิปัญจวิญญาณจริงๆ, อุบาสกขณะแรกที่เห็นพระอรหันต์ทางจักขุนทรีย์กัมมชรูป ดุจจักขุวิญญาณที่รับรู้รูปารมณ์โดยไม่ต้องมิวิตกวิจารอธิโมกข์, อุบาสกขณะแรกที่หลับตาแต่ยังรู้พระอรหันต์ได้ ดุจสัมปฏิจฉันนะจิตที่รู้รูปารมร์ได้โดยไม่ได้อาศัยจักขุนทรีย์ แต่อาศัยจักขุวิญญาณินทรีย์ เป็นอนันตรูปนิสสยปัจจัย  อาศัยกัมมปัจจัย และอาศัยสหชาตวิปากปัจจัย เกิดขึ้นรู้รูปารมณ์โดยไม่ต้องอาศัยจักขุสัมผัสสะที่จักขุปสาทะโดยตรง.

อนึ่ง, ที่ท่านใช้มโนธาตุ กับ วิญญาณธาตุแยกกัน ทั้งที่เป็นแค่สภาพน้อมรู้ไปเหมือนกัน เพราะทวิปัญจวิญญาณเกิดทางอุปัตติทวารโดยมีกัมมปัจจัยและสหชาตวิปากปัจจัยเป็นหลัก. แต่ปัญจทวาราวัชชนะจิตและสัมปฏิจฉันนะจิตนั้น แม้ไม่ได้ถึงพร้อมด้วยปัจจัยมีกำลังเท่าทวิปัญจวิญญาณธาตุนั้นก็จริง แต่ก็ทำหน้าทีแค่นั้น ไม่ได้รู้ ไม่คิดใคร่ครวญประมวลใดๆ มีวิตกวิจารอธิโมกข์มาช่วยแค่ให้น้อมไปรู้ได้แบบทวิปัญจวิญญาณธาตุเท่านั้น, พระพุทธเจ้าจึงใช้ศัพท์ว่าวิญญาณธาตุ กับ จิต 5 ทวารแรก จากนั้นจึงใช้คำว่า มโนธาตุกับจิตที่ทำกิจแบบวิญญาณทางทวารสุดท้าย เพื่อแยกความเหมือนกันนี้ออกจากกัน เพราะปัจจัยต่างกัน และมโนธาตุทวารสุดท้ายนี้ก็ไม่ได้แสดงโดยอุปัตติทวารเหมือน 5 ทวารแรกด้วย. จากนั้น จึงแสดง มโนวิญญาณธาตุอีกศัพท์ เพราะมโนวิญญาณธาตุเป็นวิญญาณที่ไม่ใช่แค่น้อมไปรู้อย่างที่วิญญาณธาตุ  และ มโนธาตุ เหล่านั้นเป็น, แต่มโนวิญญาณธาตุเป็นวิญญาณที่คิดใคร่ครวญด้วย, เป็นไปตามความหมายของ มโน และ วิญญาณ รวมกัน ก็คือ เมื่อรู้ด้วยวิญญาณธาตุ 5 กับมโนธาตุ 3 ในช่วงแรกของวิถีวาระแล้ว (ปัญจทวาราวัชชนะ ทวิปัญจวิญญาณ สัมปฏิจจฉันนะ) ก็ถึงจะมารู้ด้วยมโนวิญญาณอีกทีหนึ่ง.

ถามว่า ถ้าเช่นนั้น ทำไมอรรถกถาสฬายตนวิภังคสูตร จึงกล่าวว่า เว้น ทวิปัญจวิญญาณจิต จิตที่เหลือเป็นมโนวิญญาณ? 

ตอบว่า เพราะในสฬายตนวิภังคสูตรนั้น กล่าวถึงมโนปวิจาร ว่าเป็น มโน วิตก วิจาร, ดังนั้น มโนธาตุซึ่งมีวิตกวิจาร จึงนับเป็นมโนวิญญาณด้วย. และด้วยเหตุผลเดียวกันนี้ มโน ในคำว่า "อาศัยมโนกับธรรมะจึงเกิดฯลฯ"  จะหมายถึง วิตก วิจาร ที่ประกอบกับมโนธาตุ 3 ไปก็ได้, พระพุทธเจ้า จึงตรัสว่า มโนปวิจาระ ไว้ในสูตรนั้น และพระสารีบุตรจึงอธิบายสฬายตนวิภังสูตรไว้ในอรรถกถาเช่นนั้น. แต่ในสูตรอื่นให้ถือเอาตามวิสุทธิมรรคและปฏิสัมภิทามรรคนั่นแหละ.

ถามว่า ถ้าเช่นนั้นแล้วมโนวิญญาณธาตุของอรูปพรหมเล่า ทำไมเรียกมโนวิญญาณธาตุได้ ทั้งๆ ที่ในภพนั้นไม่มีทวิปัญจวิญญาณธาตุ และไม่มีมโนวิญญาณธาตุ, และจิตทางมโนทวารเล่า ทำไมจึงเรียกมโนวิญญาณธาตุ ทั้งๆที่ไม่ได้มีทวิปัญจวิญญาณธาตุและมโนธาตุในมโนทวารวิถีวาระ.

ตอบว่า ทั้งสองคำถามตอบอย่างเดียวกัน คือ เพราะอรูปพรหมจิตและจิตทางมโนทวารวาระทั้งหมด ล้วนได้ปกตูปนิสสยปัจจัยจาก ทวิปัญจวิญญาณธาตุและมโนธาตุทั้งสิ้น. อธิบายว่า ไม่อาศัยกามคุณ 5 ครั้งยังเป็นกามบุคคล ก็ทำรูปฌานไม่ได้ เมื่อไม่มีรูปฌาน ก็ยังอรูปฌานให้เกิดไม่ได้ เมื่อไม่มีอรูปฌานก็ไปเกิดในอรูปภพไม่ได้, ฉะนั้น อรูปพรหมจึงได้ปกตูปนิสสยปัจจัยจากกามคุณโดยประการอย่างนี้ จิตของอรูปพรหมจึงเรียกมโนวิญญาณธาตุ แม้ไม่มีทวิปัญจวิญญาณธาตุและมโนวิญญาณธาตุในอรูปพรหมก็ตาม. ในมโนทวารวิถีวาระก็ทำนองเดียวกัน คือ ถ้าไม่อาศัยปกตูปนิสสยปัจจัยจากการรับรู้ของมโนธาตุและทวิปัญจวิญญาณธาตุที่เกิดก่อนๆ แล้วไซร้ มโนวิญญาณธาตุทั้งปวงทั้งในวิถีวาระเดียวกัน และในมโนทวารวิถีวาระหลังๆ ก็ล้วนเกิดไม่ได้, โดยประการอย่างนี้ จิตทางมโนทวารจึงเรียกมโนวิญญาณธาตุได้ แม้ไม่มีทวิปัญจวิญญาณธาตุและมโนธาตุเกิดในวาระเดียวกันก็ตาม.

มโนวิญญาณธาตุ (ทรงไว้ซึ่งกิจของตน+คือการน้อมไปรู้ด้วย [มโน]+และการพยายามใคร่ทำการคิดใคร่ครวญตามที่น้อมไปรู้นั่นด้วย [ฉันทะ+วิริยะ+วิญญาณ])

มโนวิญญาณธาตุรู้อารมณ์ตาม มโนธาตุและวิญญาณธาตุที่เกิดก่อนๆ นั่นแหละโดยปกตูปนิสสยปัจจัย. รายละเอียดได้อธิบายแล้วข้างต้น.

มโนทวาราวัชชนจิต เป็น มโนวิญญาณธาตุ (ช่องทางเพื่อน้อมไป+จิตที่เริ่มคิดในช่องทางนั้น+เป็น+การทรงไว้ซึ่งกิจของตน+คือการน้อมไปด้วย+การรู้คิดใคร่ครวญตามที่น้อมไปรู้นั่นด้วย)

มโนทวาราวัชชนจิต ทั้งน้อม(มโน) ทั้งคิดประมวล(วิญญาณ) ตามปกตูปนิสสยปัจจัย คือ มโนธาตุและทวิปัญจวิญญาณธาตุที่เกิดก่อนๆ เพราะเหตุนั้นจึงเป็นปัจจัยแก่ชวนะให้ทำกรรมได้ และเพราะเหตุนั้นจึงรู้บัญญัติได้.

รายละเอียดได้อธิบายแล้วข้างต้น.

ภวังคจิต เป็น มโนวิญญาณธาตุ (จิตที่เป็นองค์รักษาภพนั้นๆ ไว้+เป็น+การทรงไว้ซึ่งกิจของตน+คือการน้อมไปด้วย+การรู้คิดใคร่ครวญตามที่น้อมไปรู้นั่นด้วย)

รายละเอียดได้อธิบายแล้วข้างต้นในเรื่อง มโนวิญญาณธาตุ.

ถามว่า ภวังคจิตคิดใคร่ครวญอะไรจึงจัดเป็นวิญญาณธาตุ?

ตอบว่า ภวังคจิตคิดใคร่ครวญตามที่ปฏิสนธิกรรมจัดแจง.

ถามว่า ถ้าภวังคจิตคิดอยู่ดังว่ามา ทำไมเราจึงไม่รู้เรื่องที่ภวังคจิตคิด?

ตอบว่า เพราะเราเคยชิน(ชำนาญ)กับเรื่องเหล่านั้น และเพราะการให้ผลของกรรมเป็นเรื่องละเอียดมากเกินความเข้าใจของคนธรรมดา. ภวังคจิตคิดรักษาภพชาติให้ดำรงค์อยู่ตามอำนาจปฏิสนธินานักขณิกกัมมปัจจัย ยังให้เกิดสหชาตวิปากจิตตชรูป ยังให้เกิดอนันตรูปนิสสยภวังคจิตหลังๆ ยังให้เกิดอาวัชชนะแบบพระอรหันต์ เป็นต้น. อุปมาเหมือนพระอรหันตภิกษุ แม้เมื่อไม่ได้ใช้เวลาคิดเลยว่า "เราจะนุ่งอย่างนี้ เราจะพูดอย่างนี้ เราจะทำอย่างนี้ "แต่ท่านก็ย่อมดำเนินชีวิตแบบพระอรหันต์ได้ไม่ผิดเพี้ยน, เพราะว่าได้เกิดเป็นพระอรหันต์แล้ว ความสิ้นกิเลสย่อมทำให้คิดโดยไม่มีกิเลส และจิตตชรูปต่างๆ ก็เกิดตามจิตที่ไม่มีกิเลสนั้นๆ ได้ โดยไม่ต้องใช้เวลาคิดเลย (คิดใคร่ครวญ แต่ไวมากจนเหมือนกับไม่ได้คิด).

ทำไมมนายตนะท่านจึงอธิบายว่า จิตทั้งหมด 89/121 เล่า ทำไมไม่อธิบายเหมือนมโนธาตุ?

เพราะมนายตนะ เป็น อายตนะที่ 6 แห่งสฬายตนะในปัจจุบันอัทธาปฏิจจสมุปบาท ซึ่งตามสังยุตตนิกาย สฬายตนวรรคนั้น มนายตนะ เป็นวิญญาณ 32 แห่งวิญญาณปฏิจจสมุปบาทในปฏิสนธิกาล  และ เป็นวิญญาณ 121 ในปวัตติกาล กล่าวคือ วิบากจิตที่เป็นปัจจุบันนัทธาปฏิจจสมุปบาท ก็เป็นมนายตนะ, ชวนจิตที่เป็นปัจจุบันนัทธาก็เป็นมนายตนะ.  เพราะเหตุนี้อายตนะจึงวิเคราะห์ศัพท์ว่า เป็นรอยต่อ/เป็นที่นำไป คือ เป็นรอยต่อของผัสสะด้วย เป็นรอยต่อของวัฏฏะด้วย เป็นรอยต่อของวิบากวัฏฏ์กิเลสวัฏฏ์ด้วย, และดังนั้น มโนธาตุจึงไม่ได้อธิบายเหมือนมนายตนะ.

อนึ่ง เป็นการคิดเอาเองคร่าวๆ ครับ ถ้ามีผู้รู้ ช่วยตรวจสอบติติง คงจะเป็นประโยชน์กับผมอย่างมาก.

วันอังคารที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2561

สนทนาธรรมะอย่างไรไม่ให้เครียด

วันนี้เราจะมาแก้อาการกลัวการเถียง กลัวการโต้แย้ง กลัวการอวดตัวกันตามหลักธรรมของพระพุทธเจ้า.

ทำไมชาวพุทธไทย จึงกลัวการเถียง กลัวการโต้แย้ง กลัวการอวดตัว? เพราะยังไม่เข้าใจทั้งทิฏฐิ ไม่เข้าใจทั้งโลภะ ไม่เข้าใจทั้งพุทธปัญญา และไม่รู้จักระงับโทสะ ดังนั้นจึงกลัวการสนทนาธรรมะลึกซึ้ง ที่เป็นแก่น เป็นสาระ, เลยไปจนถึงว่า กลัวว่าจะเป็นการอวดตัวไปเลยก็มี (ไม่กลัววิจิกิจฉาหรือ? วิจิกิจฉาทำให้ตกนรก, แต่มานะที่ไม่ประกอบด้วยทิฏฐิ ของพระโสดาบันผู้ไม่ตกนรกมีอยู่ อันไหนควรกลัวมากกว่ากัน?).

ก่อนอื่นก็ต้องทำความเข้าใจองค์ธรรมหลักๆ ก่อน:

ความเห็นผิด (ทิฏฐิ) คือ ความเข้าใจผิดในความเป็นไปของขันธ์ในวงจรของปัฏฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในปฏิจจสมุปบาท, และต้องมีความติดใจ สละออกไม่ได้ (โลภะ) จึงเรียกว่า ความเห็นผิด (ไม่เช่นนั้น เป็นแต่จิตตวิปปลาส สัญญาวิปปลาส).

(ดูองค์สองมิจฉาทิฏฐิ ข้อแรก คือ ผิดเหตุผล, ข้อสอง คือ มีโลภะ)

พุทธปัญญา มีอาการคือ รู้รอบคอบ คิดแล้วคิดอีก เพื่อให้เข้าใจ (ป. 9) ทั้ง 1.ตัวเหตุ 2. ตัวผล (ป. 1-7) 5.คำพูดเรียกตัวเหตุตัวผล (ปัฏฐาน/ปฏิจจสมุปบาท) นั้น(ป. 8) 4. และมีไหวพริบความชำนาญใน 3 ข้อนั้น. ปฏิเวธะ ก็คือ ปฏิสัมภิทา, และปฏิเวธะนี่แหละ คือ พุทธปัญญา ที่ต้องอบรมเจริญ ให้ถึงขั้นโลกุตตระ (พ้นจากอุปาทานขันธ์ในวงจรปฏิจจสมุปบาทด้วยการถอนราก).

ถ้าเข้าใจทั้งทิฏฐิ เข้าใจทั้งโลภะ เข้าใจทั้งพุทธปัญญา และรู้จักระงับโทสะ จะสนทนาธรรมะลึกซึ้งแค่ไหนก็ได้.

ผมไปสนทนากับพระอาจารย์กรรมฐานของพาอ้าว เรื่องกลาปะ, เรื่องอนุสัย, เรื่องกรรมฐาน, รวมถึงเรื่อง พหิธาอุตุชรูป ไม่มีเรื่องไหนที่ท่านเงียบไม่สนใจเลย ท่านมีความใส่ใจใคร่รู้โดยตลอด, ท่านตอบได้ตรงตามพระไตรปิฎก (และตอบลึกกว่าที่ผมรู้). แต่บางเรื่องที่ทั้งผมและพระอาจารย์ท่านไม่รู้ ต่างฝ่ายก็ต่างพูดว่า "ข้อนี้ผมไม่รู้ เดี๋ยวจะถาม คนนู้น คนนี้ให้". ทั้งๆ ที่กรรมฐานท่านก้าวหน้าไปไกลกว่าผมมากแล้ว แต่ท่านก็ไม่มีความถือตัวกับผมซึ่งเป็นผู้น้อยกว่าทั้งโดยเพศและโดยคุณธรรม. ท่านกลับอ่อนน้อมกับผม ราวกับว่าไม่มีความแตกต่างระหว่างผมกับท่านโดยตลอด โดยที่ผมไม่ต้องประดิษฐ์ประดอยถ้อยคำใดๆ เลย แค่ระลึกอยู่ทุกขณะว่า "ท่านนี้เป็นผู้สูงค่า ควรแก่การกราบไหว้" แล้วก็สนทนาด้วยภาษาปกติธรรมดา แต่ประกอบด้วยอรรถและธรรมเท่านั้นเอง.

จากกรณีของผมข้างต้น จะเห็นได้ว่า เรื่องสนทนายากมากก็จริง แต่คุยกันได้จบทุกเรื่อง ไม่เครียดเลย และไม่ต้องใช้คำพิธีรีตรองอะไรมาก, แต่ให้ถูกต้องตรงตามธรรมวินัยก็พอแล้ว.

ถ้าสนทนากันเพื่อความเข้าใจจริงๆ จะไม่มีความกลัวว่า "ทิฏฐิของตนจะผิด" เลย, มีแต่จะค้นคว้าตามว่า หลักฐานที่เขาให้มาว่าเราผิดนั้น โดยอรรถะ ธัมมะ นิรุตติ ปฏิภานแล้ว เห็นจริงหรือไม่ ถ้าเป็นจริงก็แก้ ถ้าไม่เป็นจริง ก็เก็บไว้ (มีหลักฐานเพิ่ม ก็พิสูจน์ใหม่อีกที.)

ป.ล. เรื่องทิฏฐิ ที่เขียนข้างต้น จึงเป็นเหตุผลชัดเจนว่าว่า ที่พระอานนท์เข้าใจเรื่องกัลยาณมิตรผิด จึงไม่เป็นมิจฉาทิฏฐิ, ก็เพราะ ท่านพระโสดาบันอานนท์(ในขณะนั้น)ไม่มีโลภะในความเข้าใจผิดนั้นเลยนั่นเอง (พอพระพุทธเจ้าท้วงจึงฟังได้ และไถ่ถอนได้) จึงไม่ครบองค์ของมิจฉาทิฏฐิ เป็นแค่สัญญาวิปลาส จิตตวิปลาส เท่านั้น ไม่เป็นทิฏฐิวิปลาส.

อธิบาย นิสฺสรณนิทฺเทโส ใน ปฏิสัมภิทามรรค

แปลอรรถกถา:

นึ่ง นิสฺสรณะนี้นับเป็น 180 อย่างไร? อธิบายว่า – ในปฐมวาระ นิสฺสรณะนับ 25 โดยมรรคผล, นับ 40 โดยสมติกมะ, นับ 37 โดยปฏิปักข์, รวมเป็น 96, ในทุติยวาระ นิสสรณะในปฐมวาระนั่นแหละ เนื่องจากเป็นวาระของพระขีณาสพ จึงไม่นับเสีย 12 ฉะนั้นจึงเหลือ 84, รวมวาระแรก 96 กับวาระหลัง 84 นี้เข้าด้วยกัน จึงเป็น นิสสรณะ 180. 
อนึ่ง นิสสรณะ 12 ที่เอาออกไปจากทุติยวาระ เนื่องจากเป็นวาระของพระขีณาสพนั้น มีอะไรบ้าง? ได้แก่ นิสสรณะ 8 ในหัวข้อ (b) สมติกกมะ ที่ท่านว่าไว้ด้วยมรรคและผล, นิสสรณะ 4 ในหัวข้อ (c) ปฏิปักขะ ที่ท่านว่าไว้ด้วยมรรค, รวมเป็น 12 นิสสรณะที่ต้องนำออกไปในทุติยวาระ. 
ทำไม ในทุติยวาระจึงไม่นับเอานิสสรณะที่ท่านกล่าวไว้ในปฐมวาระ ทั้งที่ในทุติยวาระก็กล่าวเกี่ยวกับอรหัตตผล (ปฏิปัสสัทธินิสสรณะ)? เพราะนิสสรณะ 25 ที่กล่าวไว้ตั้งแต่แรกนั้น กล่าวด้วยอำนาจมรรคผลอยู่แล้ว, ดังนั้น นิสสรณะที่เกี่ยวกับอรหัตตผลจึงเป็นอันกล่าวไว้แล้วนั่นแหละ (ไม่ต้องกล่าวซ้ำอีก และถ้ากล่าวมันก็จะข้ามลำดับ เพราะเหตุผลคือ->) อนึ่ง ผลทั้ง 3 ข้างต้น ก็นับไม่ได้อยู่แล้ว เพราะผู้ที่ได้ผลสมาบัติสูงกว่าแล้ว ย่อมไม่มีทางเข้าผลสมาบัติที่ต่ำกว่า (ดังนั้นเมื่อตัดมรรคผลออกไป 11 แล้วเหลือ อรหัตผลไว้โดดๆ บาลีก็จะข้ามลำดับ จึงเอาอรหัตผลตรงนี้ไปรวมกับข้อ a มคฺคผล 25 เสีย). ส่วนฌานสมาปตฺติวิปสฺสนาเนกฺขมฺม เป็นต้นยังนับได้ด้วยกิริยาจิต (เพราะพระขีณาสพยังทำได้ด้วยกิริยาจิต). อินทรีย์เหล่านี้ทั้ง 5 สลัดออกไปจากปฏิปักข์แล้วนั่นแหละ เพราะความที่ปฏิปักข์ถูกทำปฏิปัสสัทธินิสสรณะไปก่อนแล้วนั่นเอง (จึงเท่ากับว่า พระอรหันต์ยังทำข้อ c อยู่ตลอดเวลาไปโดยปริยาย, ฉะนั้นข้อละปฏิปักข์จึงต้องนับด้วยในทุติยวาระ).
ทุติยสุตฺตนฺตนิทฺเทสวณฺณนา นิฏฺฐิตาฯ

อธิบายบาลี:

สุตฺต. ขุ. ปฏิสมฺภิทามคฺโค
ค. นิสฺสรณนิทฺเทโส
[191] กตเมหิ อสีติสตํ อากาเรหิ ปญฺจนฺนํ อินฺทฺริยานํ นิสฺสรณํ โหติ;
 กตเมหิ อสีติสตํ อากาเรหิ ปญฺจนฺนํ อินฺทฺริยานํ นิสฺสรณํ ปชานาติ?

<ปฐมวาโร 96 = a25+b34+c37>

(a. มคฺคผล 25)

  1. อธิโมกฺขฏฺเฐน สทฺธินฺทฺริยํ อสฺสทฺธิยา นิสฺสฏํ โหติ,
  2.  อสฺสทฺธิยปริฬาหา นิสฺสฏํ โหติ,
  3.  ตทนุวตฺตกกิเลเสหิ จ ขนฺเธหิ จ นิสฺสฏํ โหติ,
  4.  พหิทฺธา จ สพฺพนิมิตฺเตหิ นิสฺสฏํ โหติ,
  5.  ตโต ปณีตตรสทฺธินฺทฺริยสฺส ปฏิลาภา ปุริมตรสทฺธินฺทฺริยา นิสฺสฏํ โหติ;
  6. ปคฺคหฏฺเฐน วีริยินฺทฺริยํ โกสชฺชา นิสฺสฏํ โหติ,
  7.  โกสชฺชปริฬาหา นิสฺสฏํ โหติ,
  8.  ตทนุวตฺตกกิเลเสหิ จ ขนฺเธหิ จ นิสฺสฏํ โหติ,
  9.  พหิทฺธา จ สพฺพนิมิตฺเตหิ นิสฺสฏํ โหติ,
  10.  ตโต ปณีตตรวีริยินฺทฺริยสฺส ปฏิลาภา ปุริมตรวีริยินฺทฺริยา นิสฺสฏํ โหติ;
  11.  อุปฏฺฐานฏฺเฐน สตินฺทฺริยํ ปมาทา นิสฺสฏํ โหติ,
  12.  ปมาทปริฬาหา นิสฺสฏํ โหติ ,
  13.  ตทนุวตฺตกกิเลเสหิ จ ขนฺเธหิ จ นิสฺสฏํ โหติ,
  14.  พหิทฺธา จ สพฺพนิมิตฺเตหิ นิสฺสฏํ โหติ,
  15.  ตโต ปณีตตรสตินฺทฺริยสฺส ปฏิลาภา ปุริมตรสตินฺทฺริยา นิสฺสฏํ โหติ;
  16.  อวิกฺเขปฏฺเฐน สมาธินฺทฺริยํ อุทฺธจฺจา นิสฺสฏํ โหติ,
  17.  อุทฺธจฺจปริฬาหา นิสฺสฏํ โหติ,
  18.  ตทนุวตฺตกกิเลเสหิ จ ขนฺเธหิ จ นิสฺสฏํ โหติ,
  19.  พหิทฺธา จ สพฺพนิมิตฺเตหิ นิสฺสฏํ โหติ,
  20.  ตโต ปณีตตรสมาธินฺทฺริยสฺส ปฏิลาภา ปุริมตรสมาธินฺทฺริยา นิสฺสฏํ โหติ;
  21.  ทสฺสนฏฺเฐน ปญฺญินฺทฺริยํ อวิชฺชาย นิสฺสฏํ โหติ,
  22.  อวิชฺชาปริฬาหา นิสฺสฏํ โหติ,
  23.  ตทนุวตฺตกกิเลเสหิ จ ขนฺเธหิ จ นิสฺสฏํ โหติ,
  24.  พหิทฺธา จ สพฺพนิมิตฺเตหิ นิสฺสฏํ โหติ,
  25.  ตโต ปณีตตรปญฺญินฺทฺริยสฺส ปฏิลาภา ปุริมตรปญฺญินฺทฺริยา นิสฺสฏํ โหติฯ

(b. สมติกฺกม 34)

  1. [192] ปุพฺพภาเค ปญฺจหิ อินฺทฺริเยหิ ปฐมชฺฌานวเสน ปญฺจินฺทฺริยานิ นิสฺสฏานิ โหนฺติ,
  2.  ปฐเม ฌาเน ปญฺจหินฺทฺริเยหิ ทุติยชฺฌานวเสน ปญฺจินฺทฺริยานิ นิสฺสฏานิ โหนฺติ,
  3.  ทุติเย ฌาเน ปญฺจหินฺทฺริเยหิ ตติยชฺฌานวเสน ปญฺจินฺทฺริยานิ นิสฺสฏานิ โหนฺติ,
  4.  ตติเย ฌาเน ปญฺจหินฺทฺริเยหิ จตุตฺถชฺฌานวเสน ปญฺจินฺทฺริยานิ นิสฺสฏานิ โหนฺติ,
  5.  จตุตฺเถ ฌาเน ปญฺจหินฺทฺริเยหิ อากาสานญฺจายตนสมาปตฺติวเสน ปญฺจินฺทฺริยานิ นิสฺสฏานิ โหนฺติ ,
  6.  อากาสานญฺจายตนสมาปตฺติยา ปญฺจหินฺทฺริเยหิ วิญฺญาณญฺจายตนสมาปตฺติวเสน ปญฺจินฺทฺริยานิ นิสฺสฏานิ โหนฺติ,
  7.  วิญฺญาณญฺจายตนสมาปตฺติยา ปญฺจหินฺทฺริเยหิ อากิญฺจญฺญายตนสมาปตฺติวเสน ปญฺจินฺทฺริยานิ นิสฺสฏานิ โหนฺติ,
  8.  อากิญฺจญฺญายตนสมาปตฺติยา ปญฺจหินฺทฺริเยหิ เนวสญฺญานาสญฺญายตนสมาปตฺติวเสน ปญฺจินฺทฺริยานิ นิสฺสฏานิ โหนฺติ,
  9.  เนวสญฺญานาสญฺญายตนสมาปตฺติยา ปญฺจหินฺทฺริเยหิ อนิจฺจานุปสฺสนาวเสน ปญฺจินฺทฺริยานิ นิสฺสฏานิ โหนฺติฯ
  10. อนิจฺจานุปสฺสนา ปญฺจหินฺทฺริเยหิ ทุกฺขานุปสฺสนาวเส ปญฺจินฺทฺริยานิ นิสฺสฏานิ โหนฺติ,
  11.  ทุกฺขานุปสฺสนา ปญฺจหินฺทฺริเยหิ อนตฺตานุปสฺสนาวเส ปญฺจินฺทฺริยานิ นิสฺสฏานิ โหนฺติ,
  12.  อนตฺตานุปสฺสนา ปญฺจหินฺทฺริเยหิ นิพฺพิทานุปสฺสนาวเสน ปญฺจินฺทฺริยานิ นิสฺสฏานิ โหนฺติ,
  13.  นิพฺพิทานุปสฺสนาย ปญฺจหินฺทฺริเยหิ วิราคานุปสฺสนาวเสน ปญฺจินฺทฺริยานิ นิสฺสฏานิ โหนฺติ,
  14.  วิราคานุปสฺสนาย ปญฺจหินฺทฺริเยหิ นิโรธานุปสฺสนาวเสน ปญฺจินฺทฺริยานิ นิสฺสฏานิ โหนฺติ,
  15.  นิโรธานุปสฺสนาย ปญฺจหินฺทฺริเยหิ ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสนาวเสน ปญฺจินฺทฺริยานิ นิสฺสฏานิ โหนฺติ,
  16.  ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสนาย ปญฺจหินฺทฺริเยหิ ขยานุปสฺสนาวเสน ปญฺจินฺทฺริยานิ นิสฺสฏานิ โหนฺติ,
  17.  ขยานุปสฺสนาย ปญฺจหินฺทฺริเยหิ วยานุปสฺสนาวเสน ปญฺจินฺทฺริยานิ นิสฺสฏานิ โหนฺติ,
  18.  วยานุปสฺสนาย ปญฺจหินฺทฺริเยหิ วิปริณามานุปสฺสนาวเสน ปญฺจินฺทฺริยานิ นิสฺสฏานิ โหนฺติ,
  19.  วิปริณามานุปสฺสนาย ปญฺจหินฺทฺริเยหิ อนิมิตฺตานุปสฺสนาวเสน ปญฺจินฺทฺริยานิ นิสฺสฏานิ โหนฺติ,
  20.  อนิมิตฺตานุปสฺสนาย ปญฺจหินฺทฺริเยหิ อปฺปณิหิตานุปสฺสนาวเสน ปญฺจินฺทฺริยานิ นิสฺสฏานิ โหนฺติ,
  21.  อปฺปณิหิตานุปสฺสนาย ปญฺจหินฺทฺริเยหิ สุญฺญตานุปสฺสนาวเสน ปญฺจินฺทฺริยานิ นิสฺสฏานิ โหนฺติ,
  22. สุญฺญตานุปสฺสนาย ปญฺจหินฺทฺริเยหิ อธิปญฺญาธมฺมวิปสฺสนาวเสน ปญฺจินฺทฺริยานิ นิสฺสฏานิ โหนฺติฯ 
  23. อธิปญฺญาธมฺมวิปสฺสนาย ปญฺจหินฺทฺริเยหิ ยถาภูตญาณทสฺสนวเสน ปญฺจินฺทฺริยานิ นิสฺสฏานิ โหนฺติ,
  24.  ยถาภูตญาณทสฺสเน ปญฺจหินฺทฺริเยหิ อาทีนวานุปสฺสนาวเสน ปญฺจินฺทฺริยานิ นิสฺสฏานิ โหนฺติ,
  25.  อาทีนวานุปสฺสนาย ปญฺจหินฺทฺริเยหิ ปฏิสงฺขานุปสฺสนาวเสน ปญฺจินฺทฺริยานิ นิสฺสฏานิ โหนฺติ,
  26.  ปฏิสงฺขานุปสฺสนาย ปญฺจหินฺทฺริเยหิ วิวฏฺฏนานุปสฺสนาวเสน ปญฺจินฺทฺริยานิ นิสฺสฏานิ โหนฺติฯ 
  27. วิวฏฺฏนานุปสฺสนาย ปญฺจหินฺทฺริเยหิ โสตาปตฺติมคฺควเสน ปญฺจินฺทฺริยานิ นิสฺสฏานิ โหนฺติฯ
  28. โสตาปตฺติมคฺเค ปญฺจหินฺทฺริเยหิ โสตาปตฺติผลสมาปตฺติวเสน ปญฺจินฺทฺริยานิ นิสฺสฏานิ โหนฺติ,
  29.  โสตาปตฺติผลสมาปตฺติยา ปญฺจหินฺทฺริเยหิ สกทาคามิมคฺควเสน ปญฺจินฺทฺริยานิ นิสฺสฏานิ โหนฺติ,
  30.  สกทาคามิมคฺเค ปญฺจหินฺทฺริเยหิ สกทาคามิผลสมาปตฺติวเสน ปญฺจินฺทฺริยานิ นิสฺสฏานิ โหนฺติ,
  31.  สกทาคามิผลสมาปตฺติยา ปญฺจหินฺทฺริเยหิ อนาคามิมคฺควเสน ปญฺจินฺทฺริยานิ นิสฺสฏานิ โหนฺติ,
  32.  อนาคามิมคฺเค ปญฺจหินฺทฺริเยหิ อนาคามิผลสมาปตฺติวเสน ปญฺจินฺทฺริยานิ นิสฺสฏานิ โหนฺติ,
  33.  อนาคามิผลสมาปตฺติยา ปญฺจหินฺทฺริเยหิ อรหตฺตมคฺควเสน ปญฺจินฺทฺริยานิ นิสฺสฏานิ โหนฺติ,
  34.  อรหตฺตมคฺเค ปญฺจหินฺทฺริเยหิ อรหตฺตผลสมาปตฺติวเสน ปญฺจินฺทฺริยานิ นิสฺสฏานิ โหนฺติฯ (=ปฏิปสฺสทฺธิ=อรหตฺตผล ซึ่งนับเข้าในทุติยวาระ แต่เก็บไว้ไม่ได้ เพราะข้อ 27-33 นับในทุติยวาระไม่ได้ จึงต้องเอาข้อ 34 ไปรวม กับ 25 ข้อแรก ซึ่งเป็นวาระมรรคผลเหมือนกัน เพียงแต่ไม่ได้แจกเรียงตัวบุรุษ 8 เอาไว้)

(c. ปฏิปกฺข 37)

  1. เนกฺขมฺเม ปญฺจินฺทฺริยานิ กามจฺฉนฺทโต นิสฺสฏานิ โหนฺติ,
  2.  อพฺยาปาเท ปญฺจินฺทฺริยานิ พฺยาปาทโต นิสฺสฏานิ โหนฺติ,
  3.  อาโลกสญฺญาย ปญฺจินฺทฺริยานิ ถินมิทฺธโต นิสฺสฏานิ โหนฺติ,
  4.  อวิกฺเขเป ปญฺจินฺทฺริยานิ อุทฺธจฺจโต นิสฺสฏานิ โหนฺติ,
  5.  ธมฺมววตฺถาเน ปญฺจินฺทฺริยานิ วิจิกิจฺฉาย นิสฺสฏานิ โหนฺติ,
  6.  ญาเณ ปญฺจินฺทฺริยานิ อวิชฺชาย นิสฺสฏานิ โหนฺติ,
  7.  ปาโมชฺเช ปญฺจินฺทฺริยานิ อรติยา นิสฺสฏานิ โหนฺติฯ
  8. [193] ปฐเม ฌาเน ปญฺจินฺทฺริยานิ นีวรเณหิ นิสฺสฏานิ โหนฺติ,
  9.  ทุติเย ฌาเน ปญฺจินฺทฺริยานิ วิตกฺกวิจาเรหิ นิสฺสฏานิ โหนฺติ,
  10.  ตติเย ฌาเน ปญฺจินฺทฺริยานิ ปีติยา นิสฺสฏานิ โหนฺติ,
  11.  จตุตฺเถ ฌาเน ปญฺจินฺทฺริยานิ สุขทุกฺเขหิ นิสฺสฏานิ โหนฺติ,
  12.  อากาสานญฺจายตนสมาปตฺติยา ปญฺจินฺทฺริยานิ รูปสญฺญาย ปฏิฆสญฺญาย นานตฺตสญฺญาย นิสฺสฏานิ โหนฺติ,
  13.  วิญฺญาณญฺจายตนสมาปตฺติยา ปญฺจินฺทฺริยานิ อากาสานญฺจายตนสญฺญาย นิสฺสฏานิ โหนฺติ,
  14.  อากิญฺจญฺญายตนสมาปตฺติยา ปญฺจินฺทฺริยานิ วิญฺญาณญฺจายตนสญฺญาย นิสฺสฏานิ โหนฺติ,
  15.  เนวสญฺญานาสญฺญายตนสมาปตฺติยา ปญฺจินฺทฺริยานิ อากิญฺจญฺญายตนสญฺญาย นิสฺสฏานิ โหนฺติฯ
  16. อนิจฺจานุปสฺสนา ปญฺจินฺทฺริยานิ นิจฺจสญฺญาย นิสฺสฏานิ โหนฺติ,
  17.  ทุกฺขานุปสฺสนา ปญฺจินฺทฺริยานิ สุขสญฺญาย นิสฺสฏานิ โหนฺติ,
  18.  อนตฺตานุปสฺสนา ปญฺจินฺทฺริยานิ อตฺตสญฺญาย นิสฺสฏานิ โหนฺติ,
  19.  นิพฺพิทานุปสฺสนาย ปญฺจินฺทฺริยานิ นนฺทิยา นิสฺสฏานิ โหนฺติ,
  20.  วิราคานุปสฺสนาย ปญฺจินฺทฺริยานิ ราคโต นิสฺสฏานิ โหนฺติ,
  21.  นิโรธานุปสฺสนาย ปญฺจินฺทฺริยานิ สมุทยโต นิสฺสฏานิ โหนฺติ,
  22.  ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสนาย ปญฺจินฺทฺริยานิ อาทานโต นิสฺสฏานิ โหนฺติ,
  23.  ขยานุปสฺสนาย ปญฺจินฺทฺริยานิ ฆนสญฺญาย นิสฺสฏานิ โหนฺติ ,
  24.  วยานุปสฺสนาย ปญฺจินฺทฺริยานิ อายูหนโต นิสฺสฏานิ โหนฺติ,
  25.  วิปริณามานุปสฺสนาย ปญฺจินฺทฺริยานิ ธุวสญฺญาย นิสฺสฏานิ โหนฺติ,
  26.  อนิมิตฺตานุปสฺสนาย ปญฺจินฺทฺริยานิ นิมิตฺตโต นิสฺสฏานิ โหนฺติ,
  27.  อปฺปณิหิตานุปสฺสนาย ปญฺจินฺทฺริยานิ ปณิธิยา นิสฺสฏานิ โหนฺติ,
  28.  สุญฺญตานุปสฺสนาย ปญฺจินฺทฺริยานิ อภินิเวสโต นิสฺสฏานิ โหนฺติฯ 
  29. อธิปญฺญาธมฺมวิปสฺสนาย ปญฺจินฺทฺริยานิ สาราทานาภินิเวสโต นิสฺสฏานิ โหนฺติ,
  30.  ยถาภูตญาณทสฺสเน ปญฺจินฺทฺริยานิ สมฺโมหาภินิเวสโต นิสฺสฏานิ โหนฺติ,
  31.  อาทีนวานุปสฺสนาย ปญฺจินฺทฺริยานิ อาลยาภินิเวสโต นิสฺสฏานิ โหนฺติ,
  32.  ปฏิสงฺขานุปสฺสนาย ปญฺจินฺทฺริยานิ อปฺปฏิสงฺขาย นิสฺสฏานิ โหนฺติ,
  33.  วิวฏฺฏนานุปสฺสนาย ปญฺจินฺทฺริยานิ สญฺโญคาภินิเวสโต นิสฺสฏานิ โหนฺติฯ
  34. โสตาปตฺติมคฺเค ปญฺจินฺทฺริยานิ ทิฏฺเฐกฏฺเฐหิ กิเลเสหิ นิสฺสฏานิ โหนฺติ,
  35.  สกทาคามิมคฺเค ปญฺจินฺทฺริยานิ โอฬาริเกหิ กิเลเสหิ นิสฺสฏานิ โหนฺติ,
  36.  อนาคามิมคฺเค ปญฺจินฺทฺริยานิ อนุสหคเตหิ กิเลเสหิ นิสฺสฏานิ โหนฺติ,
  37.  อรหตฺตมคฺเค ปญฺจินฺทฺริยานิ สพฺพกิเลเสหิ นิสฺสฏานิ โหนฺติ,

<ทุติยวาโร 84 = a25+(b-[27, ..., 34])+(c-[34, ..., 37])>


  •  สพฺเพสญฺเญว ขีณาสวานํ ตตฺถ ตตฺถ ปญฺจินฺทฺริยานิ นิสฺสฏานิ เจว โหนฺติ สุนิสฺสฏานิ จ ปฏิปฺปสฺสทฺธานิ จ สุปฺปฏิปฺปสฺสทฺธานิ จ (=ปฏิปสฺสทฺธินิสฺสรณ=อรหตฺตผล)


อิเมหิ อสีติสตํ อากาเรหิ ปญฺจนฺนํ อินฺทฺริยานํ นิสฺสรณํ โหติ;
 อิเมหิ อสีติสตํ อากาเรหิ ปญฺจนฺนํ อินฺทฺริยานํ นิสฺสรณํ ปชานาติฯ
สุตฺตนฺตนิทฺเทโส ทุติโยฯ
ปฐมภาณวาโรฯ

การร้องทำนองเพลงที่ใจนึกถึงธรรมะ สมควรอยู่, แต่การร้องธรรมะที่ใจนึกถึงทำนองเพลง ไม่สมควร

การร้องทำนองเพลงที่ใจนึกถึงธรรมะ สมควรอยู่, แต่การร้องธรรมะที่ใจนึกถึงทำนองเพลง ไม่สมควร https://wiki.sutta.men/ฟุตโน้ต:541:99 -------------...