วันศุกร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2560

ความหมายศัพท์ว่า อาเสวิตายะ ภาวิตายะ

ใจความ คือ ภาวนาทั้งปวง เช่น เมตตา, วิปัสสนา เป็นต้น ควรภาวนาต่อเนื่องไม่หยุด ไม่มีพัก เพื่อให้เจริญดีงามขึ้นๆ ไป จนกว่าจะบรรลุฌาน หรือ มรรค ครับ, เพราะถ้าหยุด ถ้าพัก (หมายถึง เกิดอกุศลขั้น) ภาวนาจะเสื่อมกำลัง แล้วทำให้ไม่บรรลุสักที. เหมือนคนที่ถมหลุมบ้าง ขุดออกบ้าง หลุมมันก็ไม่มีทางเต็มสักที ฉันนั้น.

ความต่างของ ต กับ ฏ ในภาษาบาลี สำหรับคนไทย

ฏ ออกเหมือน ต ในภาษาไทย ครับ, ต ในภาษาไทย ต้องเปลี่ยนเอาลิ้นมาแตะที่ฟันแทน จึงจะตรงกับบาลี. อ้างอิงตามหลักฐานกรณ์ ไทยเทียบกับบาลี.

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2

ความหมายศัพท์ว่า ปรมัตถ์

ปรมัตถ์=ไม่วิปริต คือ ถูกต้องตรงตามปัจจัยปัจจยุปบัน ไม่ผิดเพี้ยนไปจากปัจจัยปัจจยุปบัน (ถ้าบัญญัติ จะไม่มีปัจจัย และบัญญัติก็ไม่เป็นปัจจยุปบันด้วย บัญญัติจึงวิปริตเปลี่ยนไปเรื่อย ตามแต่จิตจะคิดไปเอง). 
 อีกอย่าง ปรมัตถ์=ประโยชน์ที่ดีที่สุด คือ นิพพาน.

อา-หุ-น-เออ-ย-โย ไม่มีใช้ในภาษาบาลี เพราะภาษาบาลี ไม่มีสระ เออ, มีแต่สระ เอ

คนที่ออก น+เออ+ย อ่านผิดครับ เพราะไม่มี สระ "เออ" ในภาษาบาลี. ออกไนย จึงจะตรงกับหลักภาษาบาลีครับ. การออกเสียงว่า เนย แบบ เนยแข็ง เนยเหลว ในภาษาไทยนั้น ไม่มีใช้ในภาษาบาลี ครับ เพราะสระในภาษาบาลีมีแค่ 8 ตัว ไม่มีสระ เออ แม้แต่สันสกฤต ก็ไม่มีสระ เออ เช่นกัน.

ความหมายศัพท์ว่า ปฏิสนธิ จุติ

จุติ แปลว่า การเคลื่อน คือ เคลื่อนจากภพนี้ เป็นจุดจบของภพนี้ จุดเคลื่อนไปเป็นปฏิสนธิ ที่แปลว่า การต่อ คือ การเกิดใหม่ในภพใหม่ต่อจากจุติจิตในภพที่แล้ว.

"โลภ" กับ "ตณฺหา" ในพุทธพจน์ 2 คำนี้ใช้ต่างกันอย่างไร

โลภ ศัพท์ ในพระไตรปิฎก ใช้อธิบาย มูลของอกุศลจิตตุปบาท (อกุสลมูล), แต่ตัณหาศัพท์ ในพระไตรปิฏกใช้อธิบาย ปฏิจจสมุปบาท ครับ. 
ที่ต้องใช้แยกกัน เพราะในปฏิจจสมุปบาท แสดงเหตุ 2 คือ อวิชชา กับ ตัณหา, แต่อกุสลมูล 3 แสดงเหตุ 3 คือ โลภะเหตุ โทสะเหตุ โมหะเหตุ. 
ถ้าใช้ โลภะมูลศัพท์ในปฏิจจสมุปบาท โทสะมูลก็จะเป็นส่วนเกิน เพราะไม่ได้กล่าวไว้โดยตรงในปฏิจจสมุปบาท. ถ้าใช้เหตุ 2 (อวิชชา ตัณหา) แทนอกุสลมูล 3 โทสะเหตุก็จะหายไป ทำให้เวลาอธิบาย อกุศลว่าเกิดขึ้นได้ยังไง ก็จะไม่มีโทสอกุสลมูลจิตด้วย ทำให้พระไตรปิฎกตกหล่น.
พระพุทธเจ้าทรงเห็นด้วยพระญาณอย่างนี้แล้ว จึงแสดงตัณหาบ้าง โลภะบ้าง ตามสมควรแก่บุคคล และตามสมควรแก่การรักษาคำสอนไว้ให้พระศาสนาให้อยู่ครบ 5 พันปี เพื่อสัตว์จะได้มีโอกาสบรรลุธรรมมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยนัยตัวอย่างดังกล่าวมานี้ เป็นต้น.

วันอาทิตย์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2560

โครงสร้างอุปวาณสูตร

สูตรก่อนหน้าอุปวาณสูตรที่ท่านยกมา ได้ปฏิจจสมุปบาทแสดงไว้แล้วว่า #เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา (สุข-ทุกข์). 
แต่อุปวาณสูตร ก็แสดงปฏิจจสมุปบาทเช่นกัน แต่ยกมาแค่ #เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีทุกขเวทนา.

ที่เหลือก็ทำความเข้าใจตามหลักปฏิจจสมุปบาทได้เลย ครับ.

อุปวาณสูตร http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=16&A=1012&Z=1039

สูตรก่อนหน้า http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=16&A=931&Z=1011

สติไม่ลืมอะไร? สติไม่ปล่อยให้อะไรหลุดลอยไป?

สติไม่ลืมอารมณ์ของสัพพกุสลสาธารณกุสล 18 ดวงที่เหลือ ซึ่งเป็นเจตสิกที่มีพวกมาก จึงมีกำลังมากกว่าอกุศลมากๆ พัฒนาไปเป็นมหัคคต เป็นโลกุตตระได้. 
ส่วนอกุศลวิตก อกุสลวิญญาณ อกุศลสัญญา แม้จะนึกขึ้นได้ รับร้ได้ จดจำได้, ก็หวั่นไหวซัดส่ายเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาด้วยอำนาจอุจธัจจะ ทำให้มีพวกน้อย เกิดทีก็มีเจตสิกเกิดร่วมน้อย ความมั่นคงในอารมณ์ก็น้อย เปลี่ยนไป เปลี่ยนมา.

ท่านจะเห็นได้ว่า คนทั่วไปที่อกุศลเกิดบ่อยๆ จะทำนู่นทำนี่ไปเรื่อยเปื่อย ไม่เหมือนพระอริยะที่มั่นคง หนักแน่น, แม้แต่ปุถุชนด้วยกัน คนที่มีกุศลเกิดต่อเนื่อง ก็จะดูมั่นคง หนักแน่น สุขุมกว่า.

ปุถุชนรู้สึกตัว ด้วยวิตกวิจารสัมปยุตตอกุศลจิต ก็ได้ว่า "ฉันสวย ฉันเที่ยง ฉันงาม ฉันเป็นอัตตา"

ปุถุชนรู้สึกตัว ด้วยวิตกวิจารสัมปยุตตอกุศลจิต ก็ได้ว่า "ฉันสวย ฉันเที่ยง ฉันงาม ฉันเป็นอัตตา". 

การจะแยกแยะระหว่างรู้สึกตัวด้วยอกุศล กับ รู้สึกตัวด้วยกุศล จึงต้องสังเกตจากสัมปยุตธรรมของการรู้สึกตัวว่า เป็นกุสลจิตเจตสิก หรือ อกุสลจิตเจตสิก ที่กำลังเกิดร่วมกัน หรือเป็นปัจจัยต่อกันโดยปัจจัยอื่นๆ.

ตัวอย่างการแยกแยะนามรูปจากการอ่านชาดก

(ถ้าเข้าลิงก์ไม่ได้ ให้อ่านเรื่องเล่าที่ถูกอ้างถึงที่ด้านล่าง)

ถ้าเป็นเรื่องในลิงก์ นายปัญญา เห็นปัจจัย คือ การมีนามรูป คือ วัว ของนามรูป คือ ตัวนายปัญญา, เห็นปัจจัย คือ การพยายามขายมหาภูติ คือ สลาก แก่นามรูป คือ คนซื้อสลาก, เห็นปัจจัย คือ การให้มหา่ภูติ คือ เงินจำนวนเพิ่มขึ้น แก่นามรูป คือ คนซื้อวัว.
และนายปัญญา ก็เห็นปัจจยุปบัน คือ การได้มหาภูติ คือ เงิน. การโดนด่า คือ ความเกิดขึ้นอกุสลวิบาก, การไม่โดนด่า คือ ความไม่เกิดขึ้นของอกุสลวิบาก เพราะดับปัจจัย.

นายปัญญา ยังเห็นปัจจัย คือ บัญญัติศัพท์ที่ใช้พูดสื่อสารให้นามปัจจยุปบันต่างๆ คล้อยตาม ยอมจ่ายมหาภูติ คือ เงิน อีกด้วย.

เมื่อเห็นปัจจัยปัจจยุปบันอย่างนี้ แม้ไม่สามารถบัญญัติศัพท์เรียกได้ละเอียดละออเท่าพระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้อภิธรรม แต่ก็ยังประโยชน์ให้สำเร็จได้ตามระดับปัญญาของตน ครับ.

เรื่องเล่า:

             มีเรื่องเล่าว่าครั้งหนึ่งนายปัญญา(นามสมมุติ)ได้ซื้อวัวจากพ่อค้ามาหนึ่งตัว  เพื่อต้องการนำไปเลี้ยง จ่ายเงินไปเรียบร้อยแล้วสนราคาห้าพันบาท โดยได้นัดหมายว่าพรุ่งนี้เช้าให้นำวัวมาส่งที่บ้าน รุ่งเช้าเจ้าของวัวได้เดินทางมาหานายปัญญาตั้งแต่เช้าพลางแจ้งข่าวร้ายว่าวัวที่ท่านซื้อไว้นั้นบัดนี้ตายแล้ว จึงไม่สามารถนำมาส่งให้ตามที่สัญญากันไว้ นายปัญญาจึงขอเงินคืน แต่พ่อค้าบอกว่าเงินก็ได้ใช้หมดแล้ว
            นายปัญญาครุ่นคิดครู่หนึ่งจึงบอกพ่อค้าคนนั้นว่า "ถ้าอย่างนั้นก็นำวัวที่ตายมาให้ก็แล้วกัน" พ่อค้ายังงงๆแต่ก็ได้ไปนำวัวที่ตายแล้วมาให้ตามที่นายปัญญาร้องขอ
             นายปัญญาจึงทำสลากขึ้นมาจำนวนหนึ่งพันฉบับ ประกาศขายฉบับห้าสิบบาท โดยประกาศว่า “ถ้าใครอยากได้วัวหนึ่งตัวให้ซื้อสลาก บางทีอาจโชคดีได้วัวที่ราคาถูกที่สุดในโลก ตัวละ 50 บาทเท่านั้น” ไม่ถึงหนึ่งวันเขาก็ขายสลากหมดได้เงินมาจำนวน 50,000 บาท
             วันรุ่งขึ้นพ่อค้าคนนั้นก็ได้แวะมาหาด้วยความสงสัยจึงถามว่า “ท่านขายวัวตายคนเขาไม่ด่าท่านหรือ”
             นายปัญญาตอบว่า “ด่าเหมือนกันแต่ด่าอยู่คนเดียวส่วนอีก 999 คนไม่มีใครด่า  คนที่ด่าก็คือคนที่จับสลากได้นั่นแหละ แต่ก็ได้คืนเงินเขาไปสองเท่า เขาได้เงินคืนจึงไม่ได้เอาเรื่องอะไรอีก”
             การทำมาค้าขายมักจะมีกลเม็ดเด็ดพรายที่คาดไม่ถึง นายปัญญามีปัญญาสมชื่อจริงๆ แม้แต่วัวที่ตายแล้วยังสามารถนำมาหาเงินได้ คนผู้ประกอบด้วยปัญญาแม้ในเวลาที่ตนตกทุกข์ ก็ย่อมได้รับความสุข ปัญญามีไว้เพื่อแก้ปัญหา ไม่ใช่มีไว้เพื่อแกงกิน หากใช้ปัญญาให้ถูกวิธีย่อมหาวิธีดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขจนได้

เวลาดูจิต(+เจตสิก) ให้ดูที่สัมปยุตตธรรม, ถ้าเพ่งแค่คำแปล สภาพธรรมจะไม่ชัดแจ้ง


#ฝึกดูจิต #ฝึกนามรูปปริจเฉทญาณ #ฝึกยถาภูตญาณทัสสนะ


สังขตสภาวธรรม แปลว่า สิ่งที่มีปัจจัยมากกว่า 1 ทำให้เกิด.

ฉะนั้น คำแค่ 1 คำจึงทำให้เข้าใจสภาวะชัดเจนไม่ได้. ต้องใช้คำหลายๆ คำ ใช้สัมปยุตหลายๆ อย่าง, ใช้ปัจจัยหลายๆ ตัว, ใช้ปัจจยุปบันหลายๆ ตัว เพื่อให้เห็นสภาวะธรรมชัดเจน.

เช่น ถ้าแปลสติ แค่ว่า ระลึก ในภาษาไทย, ก็จะสับสนกับวิตก สับสนกับจิตตุปบาท.

แต่ถ้าเพิ่มมุมมองเหล่านี้:
  • ใช้คำภาษาอังกฤษว่า non-floating (ไม่หลุดลอย, ไม่หายไป) ปัญญาก็จะยิ่งเห็นสติเจตสิกชัดเจนขึ้น.
  • ยิ่งจำลักขณาทิจจตุกะของสติเจตสิกได้ ปัญญาก็จะยิ่งเห็นสติเจตสิกชัดเจนขึ้น.
  • ยิ่งเห็นสัมปยุตธรรม ว่ามีมากกว่าอกุศลเป็น 10 ดวง ปัญญาก็จะยิ่งเห็นสติชัดเจนขึ้น.
  • ยิ่งพิจารณาสัมปยุตแต่ละอย่างๆ ว่า สนับสนุนส่งเสริมสติอย่างไร ปัญญาก็จะยิ่งเห็นสติชัดเจนขึ้น.
  • ยิ่งเห็นอุปนิสสยปัจจัยต่างๆ ที่ช่วยให้เกิดสติ ปัญญาก็จะยิ่งเห็นสติเจตสิกชัดเจนขึ้น.
  • ด้วยวิธีต่างๆเหล่านี้ ปัญญาก็จะยิ่งเห็นสติเจตสิกชัดเจนขึ้น เป็นต้น.


ฉะนั้น เวลาดูจิต(+เจตสิก) ให้ดูที่สัมปยุตตธรรม, ถ้าเพ่งแค่คำแปล สภาพธรรมจะไม่ชัดแจ้ง. ผุ้ปฏิบัติจะต้องใช้คำหลากหลาย ใช้ปัจจัยปัจจยุปบันหลากหลาย ตามที่อาจารย์กรรมฐานค่อยๆ แนะนำให้มา ในการดูจิต.

วิธีเหล่านี้ เป็นวิธีฝึกปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานของผู้ที่บรรลุแล้วที่พระอริยะทุกคนต้องมี แต่อาจจะมากน้อย และแตกฉานในกรรมฐานที่ต่างๆ กันไป).

การร้องทำนองเพลงที่ใจนึกถึงธรรมะ สมควรอยู่, แต่การร้องธรรมะที่ใจนึกถึงทำนองเพลง ไม่สมควร

การร้องทำนองเพลงที่ใจนึกถึงธรรมะ สมควรอยู่, แต่การร้องธรรมะที่ใจนึกถึงทำนองเพลง ไม่สมควร https://wiki.sutta.men/ฟุตโน้ต:541:99 -------------...