วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2558

วิเคราะห์ เค็ม (อย่างย่อ แต่ครบกระบวน)

อาศัยสหชาตปัจจัย เกลือจึงเค็ม. รสเค็มสัมผัสกับลิ้นไม่ได้ และลิ้นก็สัมผัสกับรสเค็มไม่ได้ ถ้าไม่อาศัยปฐวี อาโป เตโช วาโย คันธะ สัทธะ โอชา ที่เป็นสหชาตปัจจัย.

จะไปบังคับบัญชาให้เกลือไม่เค็มก็ไม่ได้ เพราะมันเค็มโดยปรมัตถ์ เมื่อกระทบกับกรรมชรูปคือชิวหาปสาทะแล้ว กรรมมีกำลังมาพอจะยังให้ชิวหาวิญญาณเกิดรับรู้รสเค็ม ชิวหาวิญญาณก็จะต้องเกิดมารู้รสเค็มนั้นแน่นอน แม้ใจจะไม่อยากให้เกิดก็ตาม ก็ไม่มีอัตตาใดๆ ไปสามารถห้ามกรรมเก่าได้, แต่อุปนิสสยปัจจัยสามารถเป็นปัจจัยให้ไม่รับรู้รถเค็มได้บ้าง ด้วยปโยคะสมบัติบ้าง ด้วยกรรมอื่นเบียดบังบ้าง เป็นต้น ที่ทำให้กรรมเก่าไม่มีโอกาสให้ผล เช่น ด้วยการหลับ, ทำฌาน เป็นต้น ซึ่งก็ไม่จีรัง เกิดขึ้นด้วยปัจจัยจำนวนมาก เป็นอนัตตา.

ความเค็ม ความเผ็ด เป็นความต่างที่เป็นปรมัตถ์ ก็จริง, จิตที่เข้าไปรับรู้เค็มแต่ละอย่างๆ ก็รับรู้ปรมัตถ์จริงๆ. #แต่ จิตที่รู้ความต่างระหว่างความเค็มกับความเผ็ด, หรือ ความเค็มกับความเค็ม เป็นต้น นั้น, เป็นจิตที่กำลังรู้ #อุปนิธานบัญญัติ อยู่ เพราะมีการเปรียบเทียบความต่างแห่งปรมัตถ์ ซึ่งความต่างนี้ ไม่ใช่ปรมัตถ์ เป็นเพียงสิ่งที่จิตอาศัยการจำปรมัตถ์ได้ แล้วคิดขึ้นมาเท่านั้นเอง.

เมื่อจิตรับรู้ปรมัตถ์และบัญญัติสลับกันอยู่เช่นนี้ แล้วคิดจะกล่าว แสดง บอกให้ผู้อื่นรู้, จิตก็จะคิด #สัททบัญญัติ ขึ้น (ซึ่งไม่ใช่อัตถบัญญัติ). จิตเหล่านั้นเกือบทั้งหมด ก็จะยังวจีวิญญัติ หรือ กายวิญญัติจิตตชรูป ให้เกิดในกายวิญญัติกลาป วจีวิญญัติกลาป ตามสมควร แล้วเปล่งวาจาออกมา เป็นสัททรูป ในสัททกลาป.

จากข้อความข้างต้น จะเห็นได้นะครับว่า ไม่มีสัตว์บุคคลใดๆ ไปรู้รถเค็ม, มีเพียงปัจจัยจำนวนมหาศาล กับ ปัจจยุปบันจำนวนมหาศาล. เกิดดับนับไม่ถ้วนรอบ ทำกิจแต่ละอย่างๆ ของตนเท่านั้น. ความเค็ม การรับรู้รสเค็ม การบัญญัติรสเค็ม เป็นไปโดยอาการดังกล่าวมาทั้งหมดนี้แล.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รับตอบปัญหาธรรมะ ตามพระไตรปิฏก อรรถกถา ฏีกา
ท่านสอบถาม/แสดงความคิดเห็น/บอกข้อบกพร่องของบทความได้ที่ facebook: ตอบปัญหาธรรมะลึกซึ้ง หรือ ช่องตอบกลับข้างล่างนี้.

ยุคนี้เบาแล้ว

ยุคนี้เบาแล้ว ย้อนไปก่อนจะมีพระพุทธเจ้า  ดูประวัติศาสตร์โลกก็ได้โหดร้ายขนาดไหน, เดี๋ยวพอหมดยุคของพระพุทธเจ้านะ  โคตรหนักแน่นอน 😊  ไม่งั้นจะ...