(อันนี้เอาแนว ปฏิสัมภิทา 4 มาเป็นบทตั้งขยาย) -เพราะเหตุผลที่ตรงกับข้อเท็จจริง นั่นแหละ ธรรมะ. นั่นข้อแรกที่ทำให้ธรรมะฟังยาก, เพราะเหตุของผลมีมากมาย และผลของเหตุก็มีมากมาย, ฉะนั้น การประมวลเหตุและผลมากมายเหล่านั้นให้สอดคล้องกันตามความเป็นจริง จึงเป็นเรื่องที่ยากมาก ใช้เวลานาน. -ข้อต่อมา คือ เพราะแต่ละคนใช้ภาษาต่างกัน, ทำให้การสื่อเหตุผล (ซึ่งก็คือแสดงธรรมนั่นแหละ) ออกมาเข้าใจได้ยากง่ายต่างกัน ต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจเรียนรู้ซึ่งกันและกัน. โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาบาลี หรือ ภาษาต่างชาติ. นี่ข้อสองที่ทำให้ธรรมะฟังยาก. ซึ่งแก้ได้ด้วยการถามเยอะๆ ฟังมากๆ คิดตามบ่อยๆ. -ข้อสุดท้าย คือ ปฏิภาณไหวพริบของแต่ละคนมีไม่เท่ากัน การใช้เวลาทำความเข้าใจเหตุผลและภาษาเหล่านั้น จึงมากน้อยต่างกัน. ยิ่งเหตุผลซับซ้อน ก็ยิ่งต้องใช้เวลามากขึ้นไปเรื่อยๆ และต้องใช้กำลังปัญญามากขึ้นเรื่อยๆ.
นี่คือข้อสุดท้าย, ก็ต้องอาศัยบุญเก่าและการฝึกฝนเป็นประจำ เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะการใช้เหตุผลให้ตรงตามความเป็นจริง. เหตุผลเหล่านี้ ทำให้เราเลือกจะปฏิเสธธรรมะ เพราะฟังไม่เข้าใจเหตุผล และฟังไม่เข้าใจภาษา เสียเวลาหาความสุขในแบบชาวโลก. แล้วพอมีความทุกข์ในแบบชาวโลกตามมา (ซึ่งมีมาเยอะกว่าสุขแน่ๆ), ตอนนั้นแหละถึงจะรู้สึกว่า "จำเป็นต้องพึ่งธรรมะ".
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
รับตอบปัญหาธรรมะ ตามพระไตรปิฏก อรรถกถา ฏีกา
ท่านสอบถาม/แสดงความคิดเห็น/บอกข้อบกพร่องของบทความได้ที่ facebook: ตอบปัญหาธรรมะลึกซึ้ง หรือ ช่องตอบกลับข้างล่างนี้.