วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

คำว่า"อยาก"ไม่ใช่ตัณหาเสมอไป, และอยากนิพพานอย่างไรที่พระพุทธเจ้าสอน

ถาม: อยากนิพพานไม่สมควรใช่ไหม? หรืออย่างไร?

ตอบ: อยาก ไม่ได้แปลว่าตัณหาเสมอไปครับ. ถ้าอยาก แต่ไม่ได้ติดใจ ยึดถือ อาจแปลว่า ฉันทะที่เป็นกุศลได้เช่นกัน. เช่น อยากทำบุญ เป็นต้น.

เพราะฉันทะเป็นสภาพพอใจจะทำ (อยากทำสมเหตุผลก็ได้ ไม่สมเหตุผลก็ได้) ส่วนโลภะเป็นสภาพติดใจ ยึดมั่น ถือมั่น ในอารมณ์ (อยากยาบ้า ไม่สมเหตุผล ไร้ประโยชน์).

 การตอบว่า "ตัณหาไม่เท่ากับอยาก(ฉันทะ)จะนิพพาน" เป็นการตอบแบบเพียวๆ เหมือนอยู่ในห้องทดลอง ไม่มีตัวแปรที่คาดไม่ถึงครับ.

ในชีวิตจริงๆ ปฏิเสธไม่ได้ว่า "ตัณหาในกุสลฉันทะ" กับ "กุสลฉันทะที่มุ่งจะนิพพาน" มาคู่กัน. ทีนี่เมื่อจะเอาของในห้องทดลองมาใช้กับการปฏิบัติจริงๆ ในพระไตรปิฎกจึงมีหลักอยู่ว่า "อาศัยตัณหาละเอียดๆ ละตัณหาหยาบๆ" (เรื่อง หยาบ-ละเอียด ดูขยายในขันธวิภังค์ สุตตันตนัย) จึงยังไม่ต้องกำหนดละตัณหาในกุศลฉันทะก่อน เพราะตัณหาในกุสลฉันทะที่มุ่งนิพพานนั้น จัดว่าละเอียดที่สุด เป็นอย่างสุดท้ายที่จะต้องกำหนดละ ฉะนั้น ในอรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตรจึงกล่าวว่า "ไม่ควรเจริญโพชฌงค์บรรพะในระยะเริ่มต้น" เพราะการเจริญ โพชฌังคบรรพะ คือ การพิจารณาเหตุแห่งความเกิดความดับในโพชฌังคธรรม ซึ่งจะทำให้เบื่อหน่ายการเจริญกุศล ท่านจึงไม่ให้เจริญบรรพะนี้ในระยะแรก ครับ.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รับตอบปัญหาธรรมะ ตามพระไตรปิฏก อรรถกถา ฏีกา
ท่านสอบถาม/แสดงความคิดเห็น/บอกข้อบกพร่องของบทความได้ที่ facebook: ตอบปัญหาธรรมะลึกซึ้ง หรือ ช่องตอบกลับข้างล่างนี้.

การร้องทำนองเพลงที่ใจนึกถึงธรรมะ สมควรอยู่, แต่การร้องธรรมะที่ใจนึกถึงทำนองเพลง ไม่สมควร

การร้องทำนองเพลงที่ใจนึกถึงธรรมะ สมควรอยู่, แต่การร้องธรรมะที่ใจนึกถึงทำนองเพลง ไม่สมควร https://wiki.sutta.men/ฟุตโน้ต:541:99 -------------...