วันจันทร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บัญญัตติ ใน สังคหะป. 8 แปลเผด็จ (บัญญัติที่ถูกรู้เท่านั้น กับ บัญญัติที่ทำให้รู้อย่างอื่นจากตนเองด้วย)

          (ใช้สังคหะแปลฉบับมหามกุฏเป็นโครง)

          ในเรื่องบัญญัติต่างๆ ย่อได้อย่างนี้: 
          นามและรูป (ที่เป็นปัจจัยและปัจจยุปบันซึ่งกล่าวมาในปริจเฉทนี้และก่อนๆ นั้น จำกัดความอย่างนี้:)

          รูป หมายถึง รูปขันธ์.
          นาม/อรูป หมายถึง  อรูปขันธ์ ๔ (จิตเจตสิก) และนิพพาน รวม 5 อย่าง.

          ส่วนอะไรที่นอกจากนี้เป็นบัญญัติ.
          บัญญัติที่ว่านั้นมีอยู่ ๒ อย่าง คือ 

        1. ปัญญาปิยัตตาบัญญัติ (บัญญัติที่ถูกรู้) 
        2. ปัญญาปนโตบัญญัติ (บัญญัติที่ทำให้รู้)
          สองอย่างนี้เป็นอย่างไร?

        คาถาสรุป

            อัตถบัญญัติทั้งหลาย(ปัญญาปิยัตตา) ที่เป็นอารมณ์แห่งโสตอัตถัคคหณมโนทวารวิถี (ซึ่งเป็นวิถีที่เกิดหลังจากนามมัคคหณวิถีที่ระลึกคล้อยตามกระแสสัททรูปที่เกิดจากวจีวิญญัติ), อรรถะนั้นย่อมถูกรู้คล้อยตามกระแสนามบัญญัติใด (ปัญญาปนโต), นามบัญญัตินั้นแหละคิดกันขึ้นตามการทำเครื่องหมายรู้ของชาวโลก.

          ปัญญาปิยัตตาบัญญัติ (บัญญัติที่ถูกรู้อย่างเดียว=ไม่ใช่ชื่อ)

              ปัญญาปิยัตตาบัญญัติ (บางตำราเรียก อุปาทาบัญญัติ, อุปาทายบัญญัติ) หมายถึง สิ่งที่แม้ไม่ได้มีอยู่จริงโดยปรมัตถ์ (แปลจาก "อวิชชมานา") แต่ก็เป็นอารมณ์แห่งจิตตุปบาท ด้วยการเป็นเงาของปรมัตถ์, จิตอาศัยปรมัตถ์นั้นๆ มาเปรียบเทียบกัน แล้วทำเป็นเหตุให้บัญญัติที่ถูกจิตคิดอยู่ถูกกล่าวกัน ถูกเข้าใจกัน เรียกร้องกัน ให้รู้ความหมายกัน เพราะฉะนั้น จึงกล่าวบัญญัติประเภทแรกไว้ว่า ปัญญาปิยัตตาบัญญัติ (บัญญัติที่ถูกรู้) ฯ 

          ตัวอย่างของปัญญาปิยัตตาบัญญัติ

            สันตานบัญญัติ คือ บัญญัติที่จิตคิดขึ้นโดยอาศัยอาการความเป็นไปต่างๆ ของมหาภูต ได้แก่ พื้นที่และภูเขา เป็นต้น. 
            สมูหบัญญัติ คือ บัญญัติที่จิตคิดขึ้นโดยอาศัยอาการความประชุมแห่งสัมภาระ ได้แก่ รถและเกวียน เป็นต้น. 
            สมมติบัญญัติ คือ บัญญัติที่จิตคิดขึ้นโดยอาศัยขันธ์ 5 (บัญัติข้ออื่น อาศัยขันธ์ 1) ได้แก่ บุรุษและบุคคล เป็นต้น.
            ทิสาบัญญัติ คือ บัญญัติที่จิตคิดขึ้นโดยอาศัยความหมุนเวียนของพระจันทร์เป็นต้น ได้แก่ ทิศและกาล เป็นต้น. 
            อากาสบัญญัติ คือ บัญญัติที่จิตคิดขึ้นโดยอาศัยอาการที่มหาภูตรูปไม่จดถึงกัน ได้แก่ หลุมและถ้ำ เป็นต้น. 
            นิมิตตบัญญัติ คือ บัญญัติที่จิตคิดขึ้นโดยอาศัยภูตนิมิตนั้น ๆ และอาการพิเศษของภาวนา ได้แก่ กสิณนิมิต เป็นต้น. 
            .

          ปัญญาปนโตบัญญัติ (บัญญัติที่ทำให้รู้อย่างอื่นจากตนเองอีกด้วย=ชื่อ)

          ส่วนปัญญาปนโตบัญญัติ (บางตำราเรียก นามบัญญัติ, สัททบัญญัติ) ท่านแสดง(ไว้ในธัมมสังคณี)ว่า "นาม, นามกัมมะ" เป็นต้น ฯ นามบัญญัตินั้นมี ๖ อย่าง คือ:
          1. วิชชมานบัญญัติ ชื่อที่ทำให้รู้สิ่งที่มีอยู่จริง
          2. อวิชชามานบัญญัติ ชื่อที่ทำให้รู้สิ่งที่ไม่มีอยู่จริง
          3. วิชชามาเนนอวิชชามานบัญญัติ
            ชื่อที่ทำให้รู้สิ่งที่ไม่มีอยู่จริงด้วยสิ่งที่มีอยู่จริง
          4. อวิชชามาเนนวิชชามานบัญญัติ
            ชื่อที่ทำให้รู้สิ่งที่มีอยู่จริง
            ด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง
          5. วิชชามาเนนวิชชมานบัญญัติ
            ชื่อที่ให้รู้สิ่งที่มีอยู่จริง
            ด้วยสิ่งที่มีอยู่จริง
          6. อวิชชามาเนนอวิชชมานบัญญัติ ชื่อที่ให้รู้สิ่งที่ไม่มีอยู่จริงด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง

          (ตัวอย่างของปัญญาปนโต)

          ใน 6 ข้อนั้น:
          1. การตั้งชื่อว่า "รูป" "เวทนา" เป็นต้น ซึ่งมีอยู่โดยปรมัตถ์ บัญญัตินี้ท่านเรียกว่า วิชชมานบัญญัติ.
          2. การตั้งชื่อว่า "แผ่นดิน" "ภูเขา" เป็นต้น ซึ่งไม่มีอยู่โดยปรมัตถ์, บัญญัตินี้ท่านเรียกว่า อวิชชมานบัญญัติ.
            ส่วนบัญญัติที่เหลือนั้น
            พึงทราบโดยการผสมกันของบัญญัติทั้ง 2 ว่า 
          3. ผู้มีอภิญญาหก = ผู้+อภิญญาหก (คำว่า "ผู้" ทำให้รู้สัตว์บุคคล ซึ่งสัตว์บุคคลไม่มีอยู่จริง, คำว่า "อภิญญาหก" ทำให้รู้อภิญญาจิตตุปบาท ซึ่งจิตตุปบาทมีอยู่จริงเพราะมีลักขณาทิจตุกกะ. ผู้มีถูกขยายด้วยคำว่าอภิญญาหก ฉะนั้น คำว่า "ผู้" จึงถูกทำให้รู้พร้อมกับคำว่า "อภิญญาหก".)
          4. เสียงของหญิง=เสียง+หญิง
            (คำว่า "เสียง" ทำให้รู้สัททรูป ซึ่งสัททรูปมีอยู่จริง, คำว่า "หญิง" ทำให้รู้สัตว์บุคคล ซึ่งสัตว์บุคคลไม่มีอยู่จริง.)
          5. จักขุ+วิญญาณ
            (คำว่า "จักขุ" ทำให้รู้ จักขุรูป ซึ่งจักขุรูป มีอยู่จริง, วิญญาณก็นัยยะเดียวกัน)
          6. โอรส+ของพระราชา=โอรส+พระราชา
            (ทั้งคำว่า "โอรส" และ "พระราชา" ล้วนทำให้รู้สัตว์บุคคล ซึ่งสัตว์บุคคลไม่มีอยู่จริง)
            ตามลำดับ ฯ

            1. ปริเฉทที่ ๘ ชื่อปัจจัยสังคหวิภาคในปกรณ์ชื่อว่าอภิธัมมัตถสังคหะ จบด้วยประการฉะนี้ ฯ

              ------------------------------------------------------------

              ผู้แปลและเรียบเรียงเสริมจากสมูหบัญญัติ

            ตรงที่สมูหบัญญัติในปัญญาปิยัตตาบัญญัติ พูดถึงสัมภาระ ให้ลองนึกถึงสสัมภารมหาภูต, และสสัมภาระจักขุ, แล้วถามตัวเองว่า จักขุทสกะต่างอะไรกับสสัมภาระจักขุ, สสัมภาระจักขุต่างอะไรกับจักขุปสาทะ, และจักขุปสาทะต่างอะไรกับจักขุทสกะ.

            ในกุศล, กุศลจิต, กุศลจิตตุปบาท และในรูป, จักขุปสาทรูป, รูปกลาป ให้พิจารณาความต่างให้ออก โดยแยกว่า





            1. อะไรเป็นชื่อ(ปัญญาปนโตบัญญัติ) สื่อถึงสภาวะแต่ละอย่างแต่มีลักษณะที่มีเหมือนกัน [พูด 1 สื่อสภาวะมากกว่า 1], 
            2. อะไรเป็นชื่อ สื่อถึงสภาวะอย่างเดียว มีลักษณะเฉพาะเดียว [พูด 1 สื่อสภาวะ 1], 
            3. และอะไรเป็นชื่อ สื่อถึงกลุ่มก้อน ซึ่งไม่มีสภาวะ [พูด 1 สื่อถึงปัญญาปิยัตตาบัญญัติ แล้วปัญญาปิยัตตาบัญญัติ ถึงจะไปสื่อถึงสภาวะหลายอย่างอีกที], 

              1. อย่าเหมารวม อย่าคิดว่าเหมือนกันหมด ครับ.

            ผู้แปลและเรียบเรียงเสริมปัญญาปนโตกับปัญญาปิยัตตา

            สามารถเทียบเคียงกับเรื่องปวัตตนวิญญัติ (วิญญัติที่ถูกรู้แต่ไม่ได้จงใจสื่อให้รู้ถึงสิ่งอื่น) กับโพธนวิญญัติ (วิญญัติที่ถูกรู้โดยจงใจให้รู้สิ่งที่สื่อถึง) ได้.

            การแปล อุปาทาบัญญัติ ว่า จิตเข้าไปอาศัยปรมัตถ์เพื่อคิดบัญญัติขึ้น (ไม่แปลแบบที่เข้าใจผิดกันเดิมว่า "บัญญัติอาศัยปรมัตถ์") เป็นการแปลตามสังคณีมูลฏีกานี้:




            ตีณิ ลกฺขณานีติ อนิจฺจทุกฺขอนตฺตตาฯ นามกสิณสตฺตปญฺญตฺติโย ติสฺโส ปญฺญตฺติโยฯ ปรมตฺเถ อมุญฺจิตฺวา โวหริยมานา(อิยะ=บัญญัติถูกจิตโวหารอยู่) วิหารมญฺจาทิกา อุปาทาปญฺญตฺติ สตฺตปญฺญตฺติคฺคหเณน คหิตาติ เวทิตพฺพา, เอตานิ จ ลกฺขณาทีนิ เหฏฺฐา ทฺวีสุ กณฺเฑสุ วิญฺญตฺติอาทีนิ วิย น วุตฺตานิ, น จ สภาวธมฺมาติ กตฺวา น ลพฺภนฺตีติ วุตฺตานิฯ น หิ โกจิ สภาโว กุสลตฺติกาสงฺคหิโตติ วตฺตุํ ยุตฺตนฺติฯ

            ในสังคณีอนุฏีกาขยายว่า:

            [987] อุปฺปาทาทิสงฺขตลกฺขณวินิวตฺตนตฺถํ ‘‘อนิจฺจทุกฺขอนตฺตตา’’ติ วุตฺตํฯ อุปฺปาทาทโย ปน ตทวตฺถธมฺมวิการภาวโต ตํตํธมฺมคฺคหเณน คหิตาเยวฯ ตถา หิ วุตฺตํ ‘‘ชรามรณํ ทฺวีหิ ขนฺเธหิ สงฺคหิต’’นฺติ (ธาตุ. 71), ‘‘รูปสฺส อุปจโย’’ติ จ อาทิฯ เกสกุมฺภาทิ สพฺพํ นามํ นามปญฺญตฺติ, รูปเวทนาทิอุปาทานา พฺรหฺมวิหาราทิโคจรา อุปาทาปญฺญตฺติ สตฺตปญฺญตฺติ, ตํตํภูตนิมิตฺตํ ภาวนาวิเสสญฺจ อุปาทาย คเหตพฺโพ ฌานโคจรวิเสโส กสิณปญฺญตฺติฯ ปรมตฺเถ อมุญฺจิตฺวา โวหริยมานาติ อิมินา วิหารมญฺจาทิปญฺญตฺตีนํ สตฺตปญฺญตฺติสทิสตํ ทสฺเสติ, ยโต ตา สตฺตปญฺญตฺติคฺคหเณน คยฺหนฺติฯ หุตฺวา อภาวปฏิปีฬนอวสวตฺตนาการภาวโต สงฺขตธมฺมานํ อาการภาวโต สงฺขตธมฺมานํ อาการวิเสสภูตานิ ลกฺขณานิ วิญฺญตฺติอาทโย วิย วตฺตพฺพานิ สิยุํ, ตานิ ปน นิสฺสยานเปกฺขํ น ลพฺภนฺตีติ ปญฺญตฺติสภาวาเนว ตชฺชาปญฺญตฺติภาวโตติ น วุตฺตานิ, สตฺตฆฏาทิโต วิเสสทสฺสนตฺถํ ปน อฏฺฐกถายํ วิสุํ วุตฺตานีติฯ น หิ โก…เป.… วตฺตุํ ยุตฺตํ กุสลตฺติกสฺส นิปฺปเทสตฺตาฯ

      ไม่มีความคิดเห็น:

      แสดงความคิดเห็น

      รับตอบปัญหาธรรมะ ตามพระไตรปิฏก อรรถกถา ฏีกา
      ท่านสอบถาม/แสดงความคิดเห็น/บอกข้อบกพร่องของบทความได้ที่ facebook: ตอบปัญหาธรรมะลึกซึ้ง หรือ ช่องตอบกลับข้างล่างนี้.

      การทำบุญบาปเหมือนสะสม exp เลเวลในเกม แต่เกมชีวิตมันมีลดเลเวลได้

       การทำบุญบาปเหมือนสะสม exp เลเวลในเกม แต่เกมชีวิตมันมีลดเลเวลได้ ถ้าไม่ทำครบขั้นตอนแบบพระพุทธเจ้าบอกสูตรไว้ คือ ดีแล้วกลับมาชั่วทีหลัง ชั่วแ...