วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2561

สัญญา&ปัญญา ไม่ใช่สภาพรู้ แค่มีรากศัพท์ คือ ญา ที่แปลว่า รู้ เหมือนวิญญาณ เท่านั้น

สัญญา มีกิจ คือ ทำเครื่องหมายที่เป็นปัจจัยให้ปัจจยุปบันนามธรรมหลังๆ เกิดขึ้นในอารมณ์นั้นได้อีกในภายหลัง (ปุนสญฺชานนปจฺจยนิมิตฺตกรณรสา). 
ปัญญา มีลักษณะ คือ แทงตลอดปัจจัยปัจจยุปบันและบัญญัติของปรมัตถธรรมทั้งหลาย (ธมฺมสภาวปฏิเวธลกฺขณา)[แปลตาม ปฏิสัมภิทา 4 ปฏิเวธ 5].
วิญญาณ มีกิจ คือ นำสหชาตปัจจยุปบันนามไปทำกิจในอารมณ์ (ปุพฺพงฺคมรสา).

ลักษณะใช้ทำสมูหฆนวินิพโภคะ, รสะใช้ทำกิจฆนวินิพโภคะ, ปทัฏฐานและปัจจุปัฏฐานใช้ทำสันตติฆนวินิพโภคะ. (เป็นความเห็นส่วนตัว)

ปุพพังคมรสา หมายถึง ถ้าวิญญาณไม่กิจนำหน้า คือแสดงปชานนปัจจัตตลักษณะ สัญญาจะจำไม่ได้ และปัญญาก็จะแทงตลอดไม่ได้ เพราะไม่มีข้อมูลอะไรให้จำหรือแทงตลอดเลย เจตสิกอื่นๆ ที่สัมปยุตก็เช่นกัน ทำกิจอะไรๆ ไม่ได้.

จะเห็นได้จากลักขณาทิจจตุกกะว่า วิญญาณรู้ทุกอย่างที่เป็นภูมิของวิญญาณนั้นๆ ไปแล้ว ไม่ใช่ว่า "วิญญาณรู้สีแล้วสัญญาก็เข้าไปรู้สีด้วยโดยสหชาตะ" อย่างนี้ไม่ถูก. สัญญามีหน้าที่จำ ก็แค่จำ ปัญญามีหน้าที่แทงตลอดก็แค่แทงตลอด ไม่ได้ไปรู้อะไรเพิ่มอีก. 

ต่อให้แทงตลอดอริยสัจ ขณะนั้นก็มีแค่วิญญาณเท่านั้นที่รู้ทุกอย่างในขณะมรรค ปัญญาไม่รู้อะไร, สัญญาก็ไม่รู้อะไร. แต่มัคคปัญญานั่นแหละ ที่ทำกิจแทงตลอดและเป็นปัญญินทริยปัจจัยให้วิญญาณปัจจยุปบันทำกิจนำหน้าไปรู้อารมณ์ได้. และติลักขณสัญญา อาทีนวสัญญา นิพพิทาสัญญา วิราคสัญญา นิโรธสัญญา ในโลกิยะพลววิปัสสนาญาณแหละ ที่เป็นปกตูปนิสสยปัจจัยให้มัคคสัญญาทำปุนสัญชานนปัจจยนิมิตตกรณกิจในมัคคจิตตุปบาท เป็นสหชาตัตถิปัจจัยให้วิญญาณทำกิจนำหน้าไปรู้อารมณ์ได้. 

จากตัวอย่างข้างต้น ไม่มีการรู้ใดๆ ของสัญญา และปัญญา ซ้ำจิตอีกทีเลย มีแต่ว่า กิจของปัญญานั้นทำให้การรู้ของวิญญาณพิเศษขึ้นกว่าปุถุชนเท่านั้นเอง ในวิสุทธิมรรคตรงนั้นๆ แหละ จึงกล่าวถึงเรื่องนี้ในระดับมัคคจิต เพื่อแสดงความต่างของ 3 อย่างนี้อย่างชัดเจน โดยใช้ศัพท์ว่า "ชานน" กับ "ปาเปติ". แต่เราชอบไปอ่านกันแค่ตรงอุปมา.

ซึ่งอุปมานั้น ก็ควรจะเข้าใจใหม่ด้วย อุปมาในที่นั้น ควรจะเข้าใจอย่างนี้ว่า เมื่อเรายังเด็กทารกเราก็ค่อยๆจำไปทีละแง่ ทีละมุมตามที่จิตไปรู้ (เหมือนตอนเริ่มเรียนธรรมะใหม่ๆ)  เห็นเหรียญบนมือในเวลา 5 โมง ก็จำได้แต่สีตามที่เห็น ไม่รู้เสียงของเหรียญ ไม่รู้เวลาของเหรียญ ไม่รู้สถานที่ของเหรียญ, พอโตขึ้นมา แม้ไม่จำไปทีละอย่างๆ ก็สามารถรู้ได้หลายแง่หลายมุมทันทีในคราวเดียวที่เห็น หรือ รับรู้ ด้วยอำนาจความชำนาญของสัมปยุตตสัญญา (รวมถึงอำนาจสัมปยุตอื่นๆ ด้วย) ที่เป็นปัจจัยให้จิตตุปบาทในอัตถัคคหณวิถีวาระ นามมัคคหณวิถีวาระว่า "เหรียญบนมือในเวลา 5 โมง" (ในขณะจิตเดียว เพราะนึกถึง อัตถฆนบัญญัติ คือ เหรียญบนมือในเวลา 5 โมง จึงเป็นเอการัมมณะ คือ บัญญัติ), แต่ปัญญาจะแทงตลอดปัจจัยและปัจจยุปบันของสิ่งที่สัญญาจำและจิตรับรู้ เหมือนกับเวลาที่เราไปเป็นพ่อค้า นั่นเอง เช่น ใช้เหรียญห้าไปซื้อทองตอนนี้ อีก 5 ปีหลังวิกฤตเศรษฐกิจโลก มูลค่าจะเพิ่ม x เท่า (สุตมยปัญญา จินตามยปัญญาในสิปปะ ดูวิภังค์ ปัญญา 3) เป็นต้น.

ฉะนั้น อย่าไปติดแค่คำว่า "รู้" ต้องแทงตลอดธรรมะจริงๆ จะเห็นเลยว่า ใช้คำว่า "จำ" กับคำว่า "เข้าใจ/แทงตลอด" แบบภาษาไทยดีกว่า ส่วนความสับสนที่เกิดขึ้นจากรากศัพท์บาลีที่ถูกแปลมาเป็นไทยนั้น ในเมื่อต้องแปลมาเป็นไทยอยู่แล้ว ก็อย่าแปลให้มันผิดซ้ำเดิมอีก, 

อีกอย่างบทความนี้ยังเป็นบทเรียนด้วยว่า เมื่อจะแสดงธรรมให้คนอื่นเข้าใจชัดเจน ง่าย ไว ถูกต้อง ครบถ้วน รักษาศาสนาไว้ได้ ก็จะต้องเข้าใจแบบภาษาบาลี และสอนแบบบาลีเท่านั้น.

แปลวิสุทธิมรรค ตรงนั้น ให้ชัดๆ ว่า:

อะไรคือปัญญา ?
ปัญญา มีอัตถะของศัพท์ คือ ปชานนะ (ป-ปการ,ปฏิเวธ+ญา-สุฏฺฐุ ชานนํ). 
ปชานนะ นี้ คืออย่างไร? 
ปชานนะ คือ การชานนะด้วยแง่มุมต่างๆ ที่พิเศษกว่าอาการ สัญชานนะ และ วิชานนะ. อธิบายว่า แม้เมื่อสัญญา, วิญญาณ, และปัญญา จะมีภาวะชานนะเหมือนกัน (ภาวะเป็นลักขณะของสภาวะที่เป็นลักขณวันตะ ก็หมายความว่า ชานนะ เป็นแค่สัททบัญญัติที่จิตคิดขึ้นจากการนำ 3 นามนี้ไปเปรียบเทียบกับนามอื่นๆ เหมือนกับการนำ นมนลักขณะ ไปเปรียบกับรุปปนลักขณะ ในทิฏฐิวิสุทธินิทเทส ซึ่งท่านก็ใช้ศัพท์ว่า ฐปนํ=ตั้งชื่อ ที่ใช้ในเรื่องของสัททบัญญัติในปริจเฉทที่ 8 เรื่องสัททบัญญัติ 6 นั่นแหละ, เมื่อเทียบกับตรงนี้ ชานนํ จึงเป็นการตั้งชื่อกลุ่มขึ้นเท่านั้น แบบเดียวกับ การจัดราสิในปริเฉท 7). 

ที่เหลือ ยังไม่มีเวลาแปล.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รับตอบปัญหาธรรมะ ตามพระไตรปิฏก อรรถกถา ฏีกา
ท่านสอบถาม/แสดงความคิดเห็น/บอกข้อบกพร่องของบทความได้ที่ facebook: ตอบปัญหาธรรมะลึกซึ้ง หรือ ช่องตอบกลับข้างล่างนี้.

การร้องทำนองเพลงที่ใจนึกถึงธรรมะ สมควรอยู่, แต่การร้องธรรมะที่ใจนึกถึงทำนองเพลง ไม่สมควร

การร้องทำนองเพลงที่ใจนึกถึงธรรมะ สมควรอยู่, แต่การร้องธรรมะที่ใจนึกถึงทำนองเพลง ไม่สมควร https://wiki.sutta.men/ฟุตโน้ต:541:99 -------------...