วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2559

อวิชชา 8 ข้อ อธิบายตามนัยยะของธัมมจักกัปปวัตตนสูตร มหาสติปัฏฐานสูตร วิสุทธิ 7 ปฏิสัมภิทามรรค

อวิชชา 8 ข้อ คือ:

  1. ความไม่เข้าใจทุกข์ว่า ทุกข์ คือ อุปาทานขันธ์ 5 เป็นของมีกิจควรอนุปัสสนาว่า "ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา" อันเรายังไม่ได้อนุปัสสนา.
  2. ความไม่เข้าใจทุกขสมุทัยว่า เหตุทุกข์คือตัณหาในอารมณ์ 6 เป็นของมีกิจควรละ ด้วยการอนุปัสสนา อันเรายังไม่ได้ละ.
  3. ความไม่เข้าใจทุกขนิโรธว่า ความดับทุกข์คือสอุปาทิเสสนิพพานธาตุในอารมณ์ 6 เป็นของมีกิจควรทำให้ประจักษ์กับใจ อันเรายังไม่ได้ประจักษ์.
  4. ความไม่เข้าใจทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาว่า "แนวทางดับทุกข์คือมรรค 8 ได้แก่ สัมมาทิฏฐิที่ทำกิจในอริยสัจจ์ 4 กำลังสะสมวิสุทธิ 5 ข้อหลังอยู่, สัมมาสังกัปปะ ที่เป็นจิตตวิสุทธิอยู่ (เพราะทำมรรค 6 ที่เหลือมาสมบูรณ์แล้ว จนจิตตวิสุทธิ์ เป็นฐานให้สัมมาทิฏฐิที่กำลังเกิดอยู่ได้), สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ ที่เป็นสีลวิสุทธิมาก่อนแล้ว, สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ที่เป็นจิตตวิสุทธิมาก่อนแล้ว" เป็นของมีกิจควรทำให้เกิดขึ้นต่อเนื่องไม่ขาดสายจนมีกำลังละกิเลส (ภานากิจ) อันเรายังไม่ได้ภาวนา. 
  5. ความไม่เข้าใจอัทธาอดีตของปฏิจจสมุปบาทว่า ประกอบไปด้วยอวิชชา สังขาร แต่ละอย่างๆ มีลักษณะอย่างไร มีกิจอย่างไร.
  6. ความไม่เข้าใจอัทธาอนาคตของปฏิจจสมุปบาทว่า ประกอบไปด้วย ชาติ ชรามรณะ แต่ละอย่างๆ มีลักษณะอย่างไร มีกิจอย่างไร.
  7. ความไม่เข้าใจทั้งอัทธาอดีตและอัทธาอนาคตของปฏิจจสมุปบาทว่า มีผลและมีเหตุเป็นอัทธาปัจจุบัน คือ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ปัจจุบันนัทธาเหล่านี้ แต่ละอย่างๆ มีลักษณะอย่างไร มีกิจอย่างไร.
  8. ความไม่เข้าใจปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัยให้ธรรมนี้จึงเกิดขึ้นได้ คือ ไม่เข้าใจว่า อวิชชาอย่างไรเป็นปัจจัยแก่สังขารอย่างไร อวิชชาอย่างไรและสังขารอย่างไร ที่เป็นอตีตัทธาอย่างไร จึงเป็นปัจจัยอย่างไร แก่ปัจจุบันนัทธาอย่างไร และอนาคตัทธาอย่างไร เป็นต้น. (คำว่า อย่างไร ในที่นี้ ไม่ได้พิมพ์เกิน มันต้องใช้คำอธิบายอย่างนี้จริงๆ).

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รับตอบปัญหาธรรมะ ตามพระไตรปิฏก อรรถกถา ฏีกา
ท่านสอบถาม/แสดงความคิดเห็น/บอกข้อบกพร่องของบทความได้ที่ facebook: ตอบปัญหาธรรมะลึกซึ้ง หรือ ช่องตอบกลับข้างล่างนี้.

การร้องทำนองเพลงที่ใจนึกถึงธรรมะ สมควรอยู่, แต่การร้องธรรมะที่ใจนึกถึงทำนองเพลง ไม่สมควร

การร้องทำนองเพลงที่ใจนึกถึงธรรมะ สมควรอยู่, แต่การร้องธรรมะที่ใจนึกถึงทำนองเพลง ไม่สมควร https://wiki.sutta.men/ฟุตโน้ต:541:99 -------------...