วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ถูก: "พิจารณาเห็นเหตุเกิดเหตุดับแห่งกายด้วยอุทยัพยญาณ" ผิด: "พิจารณาเห็นธรรมคือ ทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความดับ ในกายอยู่"

เหตุใดประโยคนี้จึงแปลผิด: "พิจารณาเห็นธรรมคือ ทั้งความเกิดขึ้น (สมุทยะ) ทั้งความดับ (วยะ) ในกายอยู่"
  1. ตอบโดยสภาวะ: สัตว์ที่ไม่มีปัญญาก็เห็นความเกิด ความดับอยู่ตลอดเวลา เพราะตัวอย่างเช่น เมื่อตาเห็นสี ย่อมเห็นสีทั้งอุปาทะ ทั้งฐิติ และทั้งภังคะ, ตาไม่สามารถเลือกจะเห็นแต่ฐิติขณะได้เลย. แต่คนเราก็เห็นสีอยู่ทั้งวัน, การเห็นความเกิดความดับจึงไม่ใช่ปัญญาเสมอไป. ดังนั้น การเห็นเช่นนี้ จึงเป็นการเห็นระดับที่อรรถกถา อ. มหาสติปัฏฐานสูตร กล่าวไว้ว่า "สุนัขก็รู้จิต รู้เวทนาได้". 
  2. ตอบโดยลักษณะการใช้ศัพท์ในตำรา: ความเกิด ในพระไตรปิฎกอรรถกถาและฏีกา ใช้ศัพท์ว่า นิพพัตติลักขณะ  และ ความดับ ใช้ศัพท์ว่า วิปริณามลักษณะ. ส่วนศัพท์ว่า สมุทยะ ในประโยคนี้ เมื่อใช้ในที่แสดงวิปัสสนาญาณ ท่านจะหมายถึงเหตุแห่งนิพพัตติลักษณะเสมอ ซึ่งเหตุแห่งนิพพัตติลักษณะก็ไม่ใช่ตัวนิพพัตติลักษณะตามที่อธิบายในข้อต้น. วยะ-ศัพท์ ก็เช่นเดียวกัน โดยศัพท์นี้เมื่อมากับสมุทยะในที่เป็นวิปัสสนา ให้แปลความหมายเดียวกับคู่ สมุทยะ-นิโรธะ.
  3. ตอบโดยหลักฐานในอรรถกถา: ไม่สอดคล้องกับอรรถกถา อรรถกถาอธิบายคำนี้ด้วยองค์ธรรมที่เป็นเหตุแห่งความเกิดความดับด้วย, (อวิชชา ตัณหา กรรม เป็นต้น หรือ ธรรมเป็นเหตุเกิดอัสสาสะปัสสาสะ เป็นต้น) ส่วนองค์ธรรมที่เป็นความเกิด (อุปาทขณะ) ความดับ (ภังคขณะ) นั้น ก็เห็นเป็นผลของธรรมะศัพท์นี้อีกที คือ ไม่ได้เห็นแต่ความเกิดความดับ แต่เห็นเหตุแห่งความเกิดความดับด้วย.
  4. ตอบโดยหลักฐานในฉบับแปลอื่นๆ: แปลไม่ตรงกับพระไตรปิฎกแปลฉบับมหาจุฬา เพราะฉบับนั้นแปลตามฏีกา.
  5. ตอบโดยหลักฐานในฏีกา: แปลไม่ตรงกับฏีกามหาสติปัฏฐานสูตร.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รับตอบปัญหาธรรมะ ตามพระไตรปิฏก อรรถกถา ฏีกา
ท่านสอบถาม/แสดงความคิดเห็น/บอกข้อบกพร่องของบทความได้ที่ facebook: ตอบปัญหาธรรมะลึกซึ้ง หรือ ช่องตอบกลับข้างล่างนี้.

การร้องทำนองเพลงที่ใจนึกถึงธรรมะ สมควรอยู่, แต่การร้องธรรมะที่ใจนึกถึงทำนองเพลง ไม่สมควร

การร้องทำนองเพลงที่ใจนึกถึงธรรมะ สมควรอยู่, แต่การร้องธรรมะที่ใจนึกถึงทำนองเพลง ไม่สมควร https://wiki.sutta.men/ฟุตโน้ต:541:99 -------------...