วันศุกร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2558

ปรมัตถ์ ไม่ได้แปลว่า ประเสริฐ เว้นแต่จะใช้กับกุศล หรือวิบากของกุศล หรือนิพพาน เท่านั้น.

ตรงนี้ต้องแก้นะครับ แปลผิดพลาดร้ายแรงมาก.
ปรมัตถ์ มี ๒ ความหมาย 
๑) สภาวะที่ประเสริฐ คือไม่วิปริต
วิ. ปรโม (อุตฺตโม อวิปรีโต) อตฺโถ ปรมตฺโถ
..............................
อุตฺตมตรงนี้ ไม่แปลว่าประเสริฐ ครับ.
ประเสริฐมาจาก เสฏฺฐ ซึ่งในบาลีแม้จะใช้ในหลายความหมาย แต่ในภาษาไทย มีความหมายไปในทางดี งาม เป็นกุศล หรือวิบากของกุศล หรือนิพพานเท่านั้น ครับ.
อุตฺตมตรงนี้ แปลว่า ที่สุด, ไม่สามารถมากไปกว่านี้ได้ มีแค่นี้เปลี่ยนแปลงไม่ได้ จึงจะสอดคล้องกับ คำขยายที่ว่า อวิปรีตะ. ซึ่งจะเป็นที่สุดของสิ่งที่ดี (ประเสริฐ) หรือ ชั่ว (ไม่ประเสริฐ) ก็ตาม ก็เป็นปรมัตถ์ มีขอบเขตสุดรอบของตัวเองให้จิตเข้าไปกำหนดรู้ สัญญาเข้าไปจดจำ ให้จิตเจตสิกเข้าไปทำกิจกับตนเอง ให้ปัจจัยยังตนเองให้เกิดได้ ให้เกิดปัจจยุปบันของตนเองได้เหมือนๆ กัน ตามขอบเขต ตามที่สุดของตน ตามความไม่วิปริต ไม่เปลี่ยนแปลง มีขอบเขตของตนเอง ครับ.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รับตอบปัญหาธรรมะ ตามพระไตรปิฏก อรรถกถา ฏีกา
ท่านสอบถาม/แสดงความคิดเห็น/บอกข้อบกพร่องของบทความได้ที่ facebook: ตอบปัญหาธรรมะลึกซึ้ง หรือ ช่องตอบกลับข้างล่างนี้.

การร้องทำนองเพลงที่ใจนึกถึงธรรมะ สมควรอยู่, แต่การร้องธรรมะที่ใจนึกถึงทำนองเพลง ไม่สมควร

การร้องทำนองเพลงที่ใจนึกถึงธรรมะ สมควรอยู่, แต่การร้องธรรมะที่ใจนึกถึงทำนองเพลง ไม่สมควร https://wiki.sutta.men/ฟุตโน้ต:541:99 -------------...