วันพฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2558

แปลเรื่องกสิณและปริตตาภาพรหมในอนุรุทธสูตรใหม่





ตรงนี้ฉบับมหาจุฬายังแปลผิดอยู่นะครับ คำว่า กสิณตรงนี้ โยคมาผิด ครับ. ในบาลีไม่มี ในอรรถกถาก็ไม่ได้ใส่ให้ ครับ. ควรแปลประมาณว่า "แผ่ไป น้อมไปว่า เป็นผู้แสงสว่างเล็กน้อย(ปริตตาภา)" (ไม่แน่ใจเรื่องปัจจัยว่าลงเป็นบุคคล สิ่งของ หรืออะไร เนื่องจากอ่านคร่าวๆ และไม่เคยอ่านมาก่อน).




ส่วนข้อความตรงนี้ คนที่อ่านไม่ตามลำดับ และไม่แม่นอภิธรรมอาจจะสับสนได้นะครับ อาจจะเข้าใจผิดไปได้ว่า "ผุ้เข้ากสิณฌานอยู่มีแสงสว่างเศร้าหมองหรือบริสุทธิ์เป็นอารมณ์อยู่" ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิดนะครับ.
จริงๆ ตรงนี้ หมายความว่า ผู้ทำฌานจากย่อหน้าก่อนๆ ที่ไม่ได้อยู่ในรูปนี้ เมื่อออกจากฌานในย่อหน้านี้ แล้วน้อมไปคำนึงถึงแสงสว่างเศร้าหมองเป็นอารมณ์ของปริตตาภาพรหม ซึ่งเป็นภพที่ตรงกับภูมิฌานที่ตนทำได้นั้น ในขณะที่ไม่ได้ทำฌานอยู่นะครับ ไม่ใช่ในขณะที่ทำฌาน.
ในฏีกาปฏิเสธไว้ประมาณว่า เพราะการแผ่อย่างนี้ไม่มีอยู่ในผู้ที่ทำฌาน (มีแต่กสิณนิมิตบัญญัติเป็นอารมณ์) ในอรรถกถาจึงแสดงว่า ท่านกล่าวอย่างนี้ เพราะเมื่อทำฌาน ในย่อหน้าก่อนๆ แล้ว ก็จะได้เป็นปริตตาภาพรหม ซึ่งเป็นพรหมที่มีแสงแผ่ ตามภูมิฌานที่เศร้าหมอง หรือ บริสุทธิ์ ด้วยอำนาจวสีของตน.
ต้องเรียนเรื่อง อุปจาระ และนยะ ให้ดี แล้วดูอรรถกถาบาลีประกอบครับ เป็นปาฐะที่เข้าใจผิดง่ายมาก เพราะเมื่อไม่เข้าใจหลักอุปจาระ นยะ จะอ่านอรรถกถาตรงนี้ไม่ เข้าใจ ผมเองก็ยังอ่านอยู่ 2 ชั่วโมง ถึงจะจับความได้ เพราะมีความซับซ้อนทางสำนวน และบริบทที่เชื่อมโยงกัน #จะตัดเอามาอ่านอย่างในรูปแค่นั้นไม่ได้ ครับ.
อนึ่ง นี่เป็นข้อดีของการคบผู้ที่ทำฌาน อย่าง Pa-Auk นะครับ คือ อ่านปาฐะบาลีเรื่องฌานพวกนี้ได้รู้เรื่องจนได้ แม้ตัวเองจะไม่ได้ทำฌาน ครับ.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รับตอบปัญหาธรรมะ ตามพระไตรปิฏก อรรถกถา ฏีกา
ท่านสอบถาม/แสดงความคิดเห็น/บอกข้อบกพร่องของบทความได้ที่ facebook: ตอบปัญหาธรรมะลึกซึ้ง หรือ ช่องตอบกลับข้างล่างนี้.

การร้องทำนองเพลงที่ใจนึกถึงธรรมะ สมควรอยู่, แต่การร้องธรรมะที่ใจนึกถึงทำนองเพลง ไม่สมควร

การร้องทำนองเพลงที่ใจนึกถึงธรรมะ สมควรอยู่, แต่การร้องธรรมะที่ใจนึกถึงทำนองเพลง ไม่สมควร https://wiki.sutta.men/ฟุตโน้ต:541:99 -------------...