วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2558

เคยต้องสังฆาทิเสสตอนเป็นพระ สึกมาได้รับการยกเว้นไม่ต้องแก้ไขอาบัติได้ จนกว่าจะบวชใหม่อีกครั้ง

ถ: ถ้าติดสังฆาทิเสสแล้วไม่ได้แก้ก่อนสึกจะทำให้ชีวิตไม่ดีทำมาหากินไมขึ้นจริงหรือเปล่าครับ?


ต: อาบัติไม่มีผลกับฆราวาส ครับ, สึกมาเป็นฆราวาสแล้ว อาบัติก็ไม่ตามมา, ต่อเมื่อบวชใหม่ ถึงจะต้องไปอยู่กรรมแก้ของที่บวชครั้งที่แล้ว ครับ. ฉะนั้น สบายใจได้ว่า อาบัติไม่ตามมาในตอนเป็นฆราวาส ครับ.



ถ: ถ้าไม่ได้กลับไปบวชอีกจะมีวิธีแก้ไขได้ไหมครับ?


ไม่ต้องแก้ครับ เรื่องของพระ ไม่ใช่เรื่องของโยม, เกิดใหม่เป็นฆราวาสแล้ว ก็มีความผิดตามกฎหมายฆราวาส ส่วนกฎหมายพระก็ตามมาไม่ถึงครับ. 


บาปกรรมก็สำเร็จไปตั้งแต่ขณะทำแล้ว ถึงแม้ตอนนี้ยังเป็นพระอยู่ก็ตาม ก็ไม่สามารถจะไปแก้บาปได้เหมือนกันครับ.



เป็นอันว่า บาปเก่าแก้ไม่ได้ไม่ว่าเป็นพระอยู่หรือเป็นโยม... 

ส่วนอยู่ปริวาสมานัติไม่ต้องทำ เพราะเป็นข้อยกเว้นให้ฆราวาสอยู่แล้ว... 


ดังนั้น จึงเหลือสิ่งที่ต้องทำคือ ทำความเข้าใจแล้วตัดกังวลเสีย เพราะกุกกุจจะความเดือดร้อนใจในสิ่งไม่ดีที่ทำไว้และสิ่งดีๆที่ไม่ได้ทำนั้นคือบาปแน่นอนที่กำลังทำอยู่ตอนนี้ ซึ่งแก้ได้เด็ดขาด ด้วยการเข้าใจถูกต้อง ครับ.

วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2558

ธาตุในอรรถกถาบางทีแปลว่ากระดูก ไม่จำเป็นต้องมีลักษณะพิเศษกว่ากระดูกทั่วไป

ในอรรถกถา คำว่า ธาตุ ในที่ๆ มีการเผาศพกัน ตรงนั้นตามอภิธานัปปทีปิกาให้แปลว่า กระดูก (อฏฺฐิ). ธาตุในที่นั้นไม่จำเป็นต้องเป็นกระดูกที่ผิดปกติ หรือ สวยกว่าปกติ เป็นกระดูกสีขาวธรรมดาๆ ก็ได้ ครับ.

ลองค้นคำว่า ธาตุ ดูนะครับ.
http://www.mahamodo.com/buddict/buddict_pali.asp

ที่ทรงให้เอากระดูกไปสร้างอนุเสาวรีย์เก็บไว้ ก็เพราะคนๆ นั้นมีบุญคุณน่ายกย่องเป็นแบบอย่าง ครับ.

วันพฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2558

แปลเรื่องกสิณและปริตตาภาพรหมในอนุรุทธสูตรใหม่





ตรงนี้ฉบับมหาจุฬายังแปลผิดอยู่นะครับ คำว่า กสิณตรงนี้ โยคมาผิด ครับ. ในบาลีไม่มี ในอรรถกถาก็ไม่ได้ใส่ให้ ครับ. ควรแปลประมาณว่า "แผ่ไป น้อมไปว่า เป็นผู้แสงสว่างเล็กน้อย(ปริตตาภา)" (ไม่แน่ใจเรื่องปัจจัยว่าลงเป็นบุคคล สิ่งของ หรืออะไร เนื่องจากอ่านคร่าวๆ และไม่เคยอ่านมาก่อน).




ส่วนข้อความตรงนี้ คนที่อ่านไม่ตามลำดับ และไม่แม่นอภิธรรมอาจจะสับสนได้นะครับ อาจจะเข้าใจผิดไปได้ว่า "ผุ้เข้ากสิณฌานอยู่มีแสงสว่างเศร้าหมองหรือบริสุทธิ์เป็นอารมณ์อยู่" ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิดนะครับ.
จริงๆ ตรงนี้ หมายความว่า ผู้ทำฌานจากย่อหน้าก่อนๆ ที่ไม่ได้อยู่ในรูปนี้ เมื่อออกจากฌานในย่อหน้านี้ แล้วน้อมไปคำนึงถึงแสงสว่างเศร้าหมองเป็นอารมณ์ของปริตตาภาพรหม ซึ่งเป็นภพที่ตรงกับภูมิฌานที่ตนทำได้นั้น ในขณะที่ไม่ได้ทำฌานอยู่นะครับ ไม่ใช่ในขณะที่ทำฌาน.
ในฏีกาปฏิเสธไว้ประมาณว่า เพราะการแผ่อย่างนี้ไม่มีอยู่ในผู้ที่ทำฌาน (มีแต่กสิณนิมิตบัญญัติเป็นอารมณ์) ในอรรถกถาจึงแสดงว่า ท่านกล่าวอย่างนี้ เพราะเมื่อทำฌาน ในย่อหน้าก่อนๆ แล้ว ก็จะได้เป็นปริตตาภาพรหม ซึ่งเป็นพรหมที่มีแสงแผ่ ตามภูมิฌานที่เศร้าหมอง หรือ บริสุทธิ์ ด้วยอำนาจวสีของตน.
ต้องเรียนเรื่อง อุปจาระ และนยะ ให้ดี แล้วดูอรรถกถาบาลีประกอบครับ เป็นปาฐะที่เข้าใจผิดง่ายมาก เพราะเมื่อไม่เข้าใจหลักอุปจาระ นยะ จะอ่านอรรถกถาตรงนี้ไม่ เข้าใจ ผมเองก็ยังอ่านอยู่ 2 ชั่วโมง ถึงจะจับความได้ เพราะมีความซับซ้อนทางสำนวน และบริบทที่เชื่อมโยงกัน #จะตัดเอามาอ่านอย่างในรูปแค่นั้นไม่ได้ ครับ.
อนึ่ง นี่เป็นข้อดีของการคบผู้ที่ทำฌาน อย่าง Pa-Auk นะครับ คือ อ่านปาฐะบาลีเรื่องฌานพวกนี้ได้รู้เรื่องจนได้ แม้ตัวเองจะไม่ได้ทำฌาน ครับ.

วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2558

บัณเฑาะก์บางประเภทที่บวชไม่ได้ เพราะมีกิเลสกล้า

อุภโตพฺยฺชนกปณฺฑกาติ อุภโตพฺยฺชนกา,ปณฺฑกา จฯ #กามฺ เจเต อเหตุกปฏิสนฺธิกตฺตา วิปากาวรเณน สมนฺนาคตา โหนฺติ, #ตถาปิ ติพฺพกิเลสตฺตา กิเลสาวรเณน สมนฺนาคตา วุตฺตาฯ (ปรมตฺถมญฺชูสา วิสุทฺธิมคฺคมหาฏีกา)
-----------------------------------------

"กามํ" และ "ตถาปิ" แสดงถึงประโยค ปุจฉาโจทกาโภคะ (คันถาภรณะ) คือ แปลว่า "ถึงแม้อุภโตพยัญชนกและบัณเฑาะก์จะมีวิปากาวรณ์ เพราะเป็นอเหตุกปฏิสนธิแล้วก็ตาม แต่ก็เป็นอันท่านกล่าวว่า อุภโตพยัญชนกและบัณเฑาะก์มีกิเลสาวรณ์ด้วย เพราะความที่พวกเขามีกิเลสกล้า".

ก็คือ ที่มีกิเลสกล้า เพราะเป็นอเหตุกะ ฉะนั้น อุสสูยและอาสิตบัณเฑาะก์ที่อนุญาตให้บวชไว้ จึงไม่เข้าพวก เพราะโดยปกติพระวินัยห้ามพวกอเหตุกะไม่ให้บวชไว้หมดแล้ว การที่อนุญาต อาสิตตและอุสสูยไว้ แสดงว่า ต้องมีคนกลุ่มนี้ที่ไม่เป็นอเหตุกะด้วย.

วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2558

ตัวอย่างการฝึกวิรตีศีล

หลักการ คือ วัตถุไหนไม่ได้ทำสมาทานวิรัติไว้เยอะๆ ให้มั่นคง, วัตถุนั้น สัมปัตตวิรัติจะไม่เกิดครับ.
อย่างที่ทำงานใหม่ของผมนี้ ตอนสมาทานศีล 8 ครั้งแรก จิตไม่มีกำลัง และสถานที่ก็ใหม่ ไม่เคยวิรัติในที่นี้ และไม่ได้ตั้งจิตวิรัติให้มั่นคง จึงทำให้ครั้งแรกเผลอทานไปทั้งจานเลย.
พอจะกลับห้อง ซึ่งเป็นสถานที่เริ่มตั้งสมาทานวิรัติ จึงระลึกได้ว่าศีลขาด.
ครั้งต่อๆ มา เวลาสมาทาน ก็จะนึกถึงห้องครัวด้วย ศีลก็เลยไม่ขาดอีก เพราะจิตคิดถึงห้องครัวเกิดขึ้นว่าจะไปทานข้าว ตัวสัมปัตตวิรัติก็จะเกิดขึ้นตามทันที.
แต่วันนี้ ตอนสมาทาน ลืมนึกถึงห้องครัว จึงเดินเข้าไปตักข้าว. แต่ก็เพราะครั้งก่อนๆ เคยวิรัติได้มาบ้างแล้ว บวกกับวันนี้อากาศสัปปายะต่อกุศลจิต พอจะทานก็เลยทำให้ระลึกได้ก่อนจะทานจริงๆ ครับ.

วันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2558

เจตสิกแค่มีอารมณ์เท่านั้น แต่ไม่ใช่สภาพรู้ (3)


ย้ายไปที่ลิงก์ข้างล่างนี้
http://dhammacomment.blogspot.com/2015/02/blog-post_24.html
ตามไปอ่านที่ลิงก์นั้นนะครับ.

เกย์ที่บรรลุธรรมได้ก็มี ที่บรรลุไม่ได้ก็มี แต่เกย์ทุกคนก็ควรปฏิบัติธรรมอยู่ดี เพราะมีดีกว่าอึ่งอ่าง ค้างคาว และพญานาค

เกย์ กระเทยจะมีโอกาสบรรลุหรือไม่, ก็ต้องปฏิบัติธรรมอยู่ดี ครับ, เพราะผู้ปฏิบัติธรรม แม้เกิดเป็นอึ่งอ่าง เป็นค้างคาว ก็ยังได้รับผลบุญมหาศาลเช่นกัน. ฉะนั้น เกย์ กระเทย จะบรรลุ ได้ก็ดี ไม่ได้ก็ดี ทั้ง 2 ประเภท ก็ควรปฏิบัติธรรมทั้งนั้น เพราะเกิดมาดีกว่าอึ่งอ่าง ค้างคาวเยอะ ครับ อย่าให้เสียชาติเกิด.

การร้องทำนองเพลงที่ใจนึกถึงธรรมะ สมควรอยู่, แต่การร้องธรรมะที่ใจนึกถึงทำนองเพลง ไม่สมควร

การร้องทำนองเพลงที่ใจนึกถึงธรรมะ สมควรอยู่, แต่การร้องธรรมะที่ใจนึกถึงทำนองเพลง ไม่สมควร https://wiki.sutta.men/ฟุตโน้ต:541:99 -------------...