วันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568

ศัพท์เกี่ยวกับการเรียน

อุคฺคห #ไม่เท่ากับ ศึกษา/เรียน ในภาษาปัจจุบัน.

สิกฺขา #ไม่เท่ากับ ศึกษา/เรียน ในภาษาปัจจุบัน.

ฟังแล้วเข้าใจ = ศึกษา/เรียน ในภาษาปัจจุบัน.

อุปสงฺกมิ =ไปเข้าค่าย / คอร์ส.

ปยิรุปาสติ = ไปฟังแล้วทรงจำ.

โสตาวธานํ = ฟังแล้วทรงจำ.

อุคคห = อุทฺเทสํ โสตาวธานํ (ฟังแล้วทรงจำหัวข้อ หรือ ถ้าจำไม่ได้ทันทีก็ท่องซ้ำๆ จนกว่าจะปรากฏที่ใจ).

ปริปุจฺฉา = อฏฺฐกถํ ปริปุจฺฉา (สอบถามเนื้อหาแห่งอุทเทสที่ท่องไว้).

สิกฺขา = ฝึกฝนกุศลจิตที่ประกอบด้วยปัญญา ด้วยการออกจากกามคุณ 5 และออกจากอกุศลธรรมที่เป็นไปในกามคุณ (เพราะกามคุณ 5 ที่กระทบทวารเป็นอัพยากตฝึกฝนไม่ได้ และอกุศลก็ฝึกฝนไม่ได้ เพราะเป็นไปในกามคุณ 5).

เล่มตำรา = กามคุณคือสี ที่กระทบจักขุทวาร.

ตัวอักษรที่ปรากฏทางสุทธมโนทวาร = อุคคหนิมิต.

เมื่อสังวรจักขุนทรีย์ในคันถปลิโพธ ด้วยการทรงจำทางสุทธมโนทวาร จิตจะถึงความไม่ซัดส่าย ยังให้เกิดอวิปฏิสาร ปราโมทย์ ปีติ ปัสสัทธิ สุข สมาธิ, หลังจากนั้นคันถธุระจึงจะง่าย เพราะไปต่อกรรมฐานอื่นๆก็ง่ายแล้ว.

วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568

ความกตัญญู

คนที่ปฏิบัติไม่ถึงระดับ จะเข้าใจความกตัญญู

เป็นอัตตาตัวตนว่า "เขามีคุณเพราะเขาเคยกระทำแล้วให้เรา"

ซึ่งทำให้ความกตัญญูไม่มีความรอบคอบ

ไม่แยกแยะตรงกับสภาวะจริงๆ บ่อยๆ กตัญุตกรรม

ก็จะไม่ประกอบด้วยปัญญา มีผลน้อย,

แต่ถ้าปฏิบัติได้ถึงความบริสุทธิทั้ง 2 ฝ่าย

ความกตัญญูจะเป็นไปตามสภาวะในทักขิณาวิภังคสูตร คือ

สภาพที่เป็นคุณประโยชน์มากๆ ขึ้นไปมีเท่าไหร่

ถ้าผู้รับมีคุณธรรมพอจะระลึกถึงธรรมนั้น แม้ไม่เคยเจอ

ไม่เคยรับอะไรจากคนๆ นั้น ไม่เคยเจอสิ่งๆนั้นเลย

ก็เป็นการระลึกที่ยอดเยี่ยมกว่าการกตัญญู

ต่อผู้ที่มีคุณธรรมต่ำกว่าแม้เคยกระทำต่อกันเป็นพันๆ ครั้ง.

เหมือนพระนิพพาน ไม่เคยเจอเลย แต่พอระลึกถึงได้ครั้งหนึ่ง

กลับยอดเยี่ยมกว่าการให้ทานในสงฆ์.

หรืออย่างพระสารีบุตร ที่ระลึกถึงพระพุทธเจ้า บ่อยกว่าพ่อแม่ เป็นต้น.

ศัพท์เกี่ยวกับการเรียน

อุคฺคห #ไม่เท่ากับ ศึกษา/เรียน ในภาษาปัจจุบัน. สิกฺขา #ไม่เท่ากับ ศึกษา/เรียน ในภาษาปัจจุบัน. ฟังแล้วเข้าใจ = ศึกษา/เรียน ในภาษาปัจจุบัน. อุ...