วันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

ไม่ใช่สักแต่ว่าเรียน ไม่ใช่สักแต่ว่าทำสมาธิ แต่คือเรียนอย่างไรการทำสมาธิจึงจะมีคุณภาพ

สาธุ กุศลจิตครับ และสาธุที่ร่วมกันทำกิจกรรมพร้อมเพรียงกันทำกุศล กับเพื่อนสหธรรมิก ครับ😊🙏

เรียนเยอะ รู้เยอะ เห็นเยอะ
เลยยึดมั่นถือมั่นธรรมะเยอะ
เพราะสมาธิไม่พอจะคุ้มครองทวาร5
จากการเรียน (เรียน=กามคุณ5)
วิธีแก้ คือ ทำสมาธิเยอะๆ ไม่ใช่ไม่เรียน
และไม่ใช่เรียนเยอะๆ แต่เป็นคุณภาพจิตที่เรียน
บางคนไม่เรียนเลยก็สุดโต่ง 
แต่คนที่หมกมุ่นกับการเรียนก็สุดโต่งเช่นกัน

บางทีเราเรียนด้วยนิสัยเดิมที่เป็นอกุศล การเรียนที่อาศัยกามคุณ คือ สี เสียง ทางตา หู จึงถูกอุปาทาน 4 ยึดครอง ยึดมั่นถือมั่นว่า "ต้องสีนี้ เสียงนี้เท่านั้น  อย่าได้เป็น สีนั้น เสียงนั้น คือ ต้องบาลีนี้เท่านั้น อย่าได้เป็นบาลีนั่น, ต้องแปลให้ฉันเข้าใจเท่านั้น อย่าได้เป็นบาลีฉันไม่เข้าใจ ฉันห้ามงง เธอต้องทำให้ฉันเข้าใจ ถ้าฉันงง คือเธอทำไม่ถูกต้องเท่านั้น, ต้องนั่งสมาธิ อย่าได้เรียน ถ้าเธอฟุ้งซ่านเธอต้องผิดเท่านั้น, ฉันไม่ฟุ้งซ่านเลย ฉันเป็นกุศลเท่านั้นตลอดเลย" เป็นต้น.

ทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นอุปาทาน 4 ยึดมั่นถือมั่นแม้การเรียนที่ควรเป็นกุศล ก็กลายเป็นอกุศล. ซึ่งละเอียดเกิดดับล้านๆ ขณะ (trillion) ในเสี้ยวนาที, ถ้าไม่มีสมาธิมาก ก็เหมารวมยึดมั่นอย่างรวดเร็ว ไปพร้อมๆ กับกุศลที่ตั้งใจเรียนนั่นเอง.

แต่พระพุทธเจ้าผู้ฉลาดในการผสมอักษรได่เลือก ระบบมุขปาฐะ (เรียนแบบลูกศิษย์ผูกปิ่นโตกับอาจารย์) เพื่อแก้ปัญหาเรียนแล้วฟุ้งซ่านเหล่านี้.

เพราะเมื่อมีศรัทธาในผู้ทรงจำพระไตรปิฎกที่กรรมฐานมั่นคง เช่น พะอ็อคตอยะสยาดอ ก็สามารถค่อยๆเรียนปีละไม่มากได้ แต่เน้นไปที่การพัฒนากุศลจิตพื้นฐานก่อนด้วยการสังเกตเลียนแบบอาจารย์ (ไม่ต้องเรียนเป็นคำๆ) ซึ่งเป็นวิธีที่พูดน้อย ฟังน้อย ฟุ้งซ่านน้อยกว่า  แต่มีประสิทธิภาพสูงกว่า เพราะมีเวลาทำสมาธิปูพื้นฐานกุศลจิตให้กลายเป็นภาวนามากกว่า  และจะเห็นว่า มีความครบถ้วนตามข้อแนะนำการเจริญโพชฌงค์ ตาม อ. มหาสติปัฏฐานสูตร ทุกข้อบริบูรณ์.

เมื่อเป็นอย่างนี้ เรียนก็ไม่เสีย สมาธิก็ได้ กุศลก็พัฒนา จากที่หนึ่งวินาทีเหมารวมว่ากุศลทั้งหมด ดีงามทั้งหมด จะเริ่มเห็นตัณหาทิฏฐิมานะที่เกิดแทรกอยู่สลับอยู่ เพราะสมาธิที่สะสมก็จะค่อยๆ เข้าใจบทแม้น้อยที่ค่อยๆเรียนอย่างลึกซึ้ง จากพระอาจารย์กรรมฐานผู้ทีงจำพระไตรปิฎกบาลี จนเห็นนามขณะ รูปขณะ ที่ละเอียดแสนละเอียด เห็นกิเลสที่แสนละเอียดเหลือเกินแทรกซึมอยู่ไหนๆขณะทำกุศลในเสี้ยววินาที.

นี้คือ คุณภาพการเรียนที่ได้จากการเรียนแบบโบราณมุขปาฐะผูกปิ่นโตท่องจำทีละน้อย แต่ทำสมาธิมากๆ ครับ เห็นอุปาทานได้ชัด ได้เร็วดี😊🙏

วันพุธที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2564

พุทธบารมี

 บารมีของพระพุทธเจ้า คือ การสะสมนิสัยที่ดีงามต่างๆ มายาวนานนับชาติไม่ถ้วน คำนวนไม่ได้ ของพระพุทธเจ้า เพื่อที่จะตรัสรู้ ครับ.

บารมีมี 10 คือ 

1. #ฝึกนิสัยเสียสละอกุศลสั่งสมกุศล พระพุทธเจ้าผ่านการฝึกนิสัยเสียสละทุกอย่างแม้กระทั่งสละชีวิต เพื่อช่วยคนอื่นให้ได้ฝึกนิสัยเสียสละตามๆกันนับไม่ถ้วนชาติ (ทาน),

2. #ฝึกนิสัยห้ามกายวาจาจากอกุศลธรรมเพื่อเจริญกุศล พระพุทธเจ้าผ่านการฝึกนิสัยห้ามกายวาจาจากอกุศลธรรมทุกอย่างแม้กระทั่งสละชีวิต เพื่อช่วยคนอื่นให้ได้ฝึกนิสัยเสียสละอกุศลสั่งสมกุศลตามๆกันนับไม่ถ้วนชาติ (ศีล),

3. #ฝึกนิสัยห้ามใจจากกามคุณ5 (สีเสียงกลิ่นรสสัมผัส) เพื่อเจริญกุศล พระพุทธเจ้าผ่านการฝึกนิสัยห้ามใจจากกามคุณ 5 ทุกอย่างแม้กระทั่งสละชีวิต เพื่อช่วยคนอื่นให้ได้ฝึกนิสัยเสียสละอกุศลสั่งสมกุศลตามๆกันนับไม่ถ้วนชาติ (เนกขัมมะ),

4. #ฝึกนิสัยเข้าใจเหตุผลความจริงโดยแง่มุมต่างๆ ห้ามอกุศลรักษากุศล พระพุทธเจ้าผ่านการฝึกนิสัยเข้าใจเหตุผลความจริงโดยแง่มุมต่างๆ ทุกอย่างแม้กระทั่งสละชีวิต เพื่อช่วยคนอื่นให้ได้ฝึกนิสัยเสียสละอกุศลสั่งสมกุศลตามๆกันนับไม่ถ้วนชาติ (ปัญญา),

5. #ฝึกนิสัยเพียรอย่างต่อเนื่องไม่ย่อท้อในการห้ามอกุศลทุกอย่างจนเกิดแต่กุศลต่อเนื่องไม่มีระหว่างคั่น พระพุทธเจ้าผ่านการฝึกนิสัยเพียรอย่างต่อเนื่องไม่ย่อท้อในการห้ามอกุศลทุกอย่างจนเกิดแต่กุศลต่อเนื่องไม่มีระหว่างคั่นทุกอย่างแม้กระทั่งสละชีวิต เพื่อช่วยคนอื่นให้ได้ฝึกนิสัยเสียสละอกุศลสั่งสมกุศลตามๆกันนับไม่ถ้วนชาติ (วิริยะ),

6. #ฝึกนิสัยอดทนไม่ขุ่นเคืองที่จะห้ามอกุศลรักษากุศล พระพุทธเจ้าผ่านการฝึกนิสัยอดทนไม่ขุ่นเคืองที่จะห้ามอกุศลรักษากุศลทุกอย่างแม้กระทั่งสละชีวิต เพื่อช่วยคนอื่นให้ได้ฝึกนิสัยเสียสละอกุศลสั่งสมกุศลตามๆกันนับไม่ถ้วนชาติ (ขันติ),

7. #ฝึกนิสัยตัดสินใจเก่งที่จะห้ามอกุศลตัดสินใจเก่งรักษากุศล พระพุทธเจ้าผ่านการฝึกนิสัยตัดสินใจเก่งที่จะห้ามอกุศลตัดสินใจเก่งรักษากุศลทุกอย่างแม้กระทั่งสละชีวิต เพื่อช่วยคนอื่นให้ได้ฝึกนิสัยเสียสละอกุศลสั่งสมกุศลตามๆกันนับไม่ถ้วนชาติ (อธิษฐาน),

8. #ฝึกนิสัยรักษาสัจจะที่เคยตัดสินใจไว้ว่าจะห้ามอกุศลเจริญกุศล พระพุทธเจ้าผ่านการฝึกนิสัยทุกอย่างแม้กระทั่งชีวิต เพื่อช่วยคนอื่นให้ได้ฝึกนิสัยเสียสละอกุศลสั่งสมกุศลตามๆกันนับไม่ถ้วนชาติ (สัจจะ),

9. #ฝึกนิสัยหวังดีหวังประโยชน์ให้ผู้อื่นห้ามอกุศลเจริญกุศล พระพุทธเจ้าผ่านการฝึกนิสัยทุกอย่างแม้กระทั่งชีวิตโดยปราศจากความขุ่นเคือง เพื่อช่วยคนอื่นให้ได้ฝึกนิสัยเสียสละอกุศลสั่งสมกุศลตามๆกันนับไม่ถ้วนชาติ (เมตตา),

10. #ฝึกนิสัยประคับประคองการห้ามอกุศลเจริญกุศลให้สมดุลไม่ขัดแย้งกันเพื่อจะได้เกิดอย่างต่อเนื่องไม่มีระหว่างขั้น พระพุทธเจ้าผ่านการฝึกนิสัยประคับประคองการห้ามอกุศลเจริญกุศลให้สมดุลไม่ขัดแย้งกันเพื่อจะได้เกิดอย่างต่อเนื่องไม่มีระหว่างขั้นทุกอย่างแม้กระทั่งชีวิต เพื่อช่วยคนอื่นให้ได้ฝึกนิสัยเสียสละอกุศลสั่งสมกุศลตามๆกันนับไม่ถ้วนชาติ (อุเบกขา).

วันจันทร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2564

ชวนกันเลิกแซะ

การแซะ การพูดไม่มีเมตตา เป็นธรรมชาติของผู้ทึ่เติบโตมาในสังคมที่ไม่ไตร่ตรองให้ละเอียดรอบคอบในใจเสีย ก่อนจะปล่อยคำพูด ก่อนจะทำออกมา บางทีครอบครัวอาจจะพูดจาทำร้ายจิตใจมาตั้งแต่เด็ก พอโตมาก็เลยคิดไปว่า การแซะ การพูดทำร้ายจิตใจผู้อื่นนั้นดีงาม ไม่มีโทษ😅, ฉะนั้น ผู้ที่อยากจะช่วยเหลือสังคม ก็ต้องทำให้เขาเห็น ทำให้เป็นตัวอย่างว่า การไตร่ตรองมีเมตตาก่อนพูดนั้น มันดีกว่าอย่างไร ให้ประโยชน์กว่าอย่างไร ให้ความสุขมากกว่าการแซะอย่างไร เมื่อเขาเข้าใจ เขาจะเปลี่ยนเองครับ 😊😊😊

ความเพียร คือ กุศลต่อเนื่องและกุศลต่อเนื่องด้วยภาวนาเพราะภาวนาแปลว่า เกิดต่อเนื่องไม่มีนิวรณ์/ภวังค์ เกิดคั่นกลาง

ความเพียร คือ กุศลต่อเนื่อง
และกุศลต่อเนื่องด้วยภาวนา
เพราะภาวนาแปลว่า เกิดต่อเนื่อง
ไม่มีนิวรณ์/ภวังค์ เกิดคั่นกลาง

วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2564

นิพพานเมืองแก้ว คือ อะไร?

ตัณหาสร้างภพอย่างไร?

อยากให้มีต่อไป ไม่อยากให้มีต่อไป อยากบ้าง ไม่อยากบ้างที่จะสัมผัสทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่สิ้นสุด.

อยากให้มีเราอยู่ในเมือง ไม่อยากให้มีเราเกิดเป็นมนุษย์ อยากให้อยู่ถาวรไม่สิ้นสุด

แต่เมืองที่เห็น ก็เป็นขันธ์ 5 เกิดดับอย่างรวดเร็ว ล้านๆ ครั้งในเสี้ยววินาที.

ไม่มีเมือง หรือ สิ่งใดในเมือง ที่จะสามารถอยู่ได้ชั่วกัลปวาศาล เพราะเหตุปัจจัยเกิดดับมากมายอย่างรวดเร็ว ขันธ์ทั้งหมด ก็ย่อมเกิดดับไปตามปัจจัยของตนๆ อย่างรวดเร็วเช่นกัน.

นี่จึงเป็นเหตุว่า ทำไมจึงต้องเห็นนามรูปเกิดับเป็นขณะล้านๆครั้งในเสี้ยววินาที ในอุทยัพพยญาณ ก็เพื่อให้เห็นธรรมตามเป็นจริงนั่นเอง ครับ.



วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2564

นิมิตและอนุพยัญชนะ แทนที่ด้วยปฏิภาคนิมิต และทำลายด้วยอนิมิตนิพพาน

นิมิต คือสิ่งที่จิตรับรู้ 

ถ้ารับรู้นิมิตอนุพยัญชนะว่า เที่ยง สุข สวย ก้อนอัตตา อันนี้ อกุศล.

ถ้ารับรู้นิมิตอนุพยัญชนะว่า จะทำบุญ อย่างนี้ เป็นกุศลที่ยังมีอกุศลเกิดสลับได้อยู่.

ถ้ารับรู้นิมิตอนุพยัญชนะว่า เป็นกามคุณ 5 แล้วทิ้งไปรู้ปฏิภาคนิมิตแทน อย่างนี้เป็นกุศลที่มีกำลังมาก แต่ยัฃมีอกุศลเกิดเมื่อเสื่อมได้อยู่.


ถ้ารับรู้เป็นก้อนๆ เช่น "คน" เป็นเส้นๆ เช่น "คนคิด 1 วินาที อย่างนี้" ไม่เป็นวิปัสสนา. ตัณหาทิฏฐิมานะ เหล่านี้แหละ ที่เกิดสลับกุศลทุกประเภท แม้ออกจากฌานที่มีกำลังมาแล้ว ก็เกิดทันที เว้นแต่จะมีวิปัสสนาที่มีกำลังเพียงพอ.

แต่ถ้าสามารถแยกแยะกลุ่มก้อน ตัดท่อนเส้นสายชีวิต เป็นขณะล้านๆครั้งในเสี้ยววินาที แบบในรูปภาพจากคลิปข้างต้นด้วยตาปัญญา ทำจนชำนาญ จึงจะสามารถเห็นตัณหาทิฐิมานะนั้นได้ นี่จึงจะเป็นโอกาสที่จะเป็นกุศลต่อเนื่องจนถึงพระอรหัต.

วันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ควรมีพรหมวิหาร ก่อนแยกแยะเดียรถีย์

พุทธเรียกทุกคนทั้งในและนอกศาสนาว่า "สัตว์" แปลอ้อมๆได้ว่า "#ผู้ที่ควรได้รับความปรารถนาดีทุกอย่าง 🥰 ความช่วยเหลือยามทุกข์ 🫂 ความร่วมยินดีในสุข 🏆 ความเห็นอกเห็นใจ ความเข้าใจตามความจริง (พรหมวิหาร 4)" ครับ. ก่อนจะแยกกันเป็นลัทธิ  ให้ทำจิตให้เสมอกันแบบนี้ก่อนครับ ไม่อย่างงั้นแยกหมู่แล้วโลกร้อน ทะเลาะกัน แยกแล้วไม่คุยกันด้วยเมตตา.😅

วันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2564

วิธีแปลโยนิโสมนสิการ ให้ได้องค์ธรรมและบาลี

โยนิโสมนสิการ แปล บาลีตาม ฏีกา หรือ องค์ธรรมอภิธรรม จะเข้าใจง่ายครับ แปลว่า #่ใช้ข้อปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมเป็นปัจจัยทำการน้อมอารมณ์มาใส่ใจ. อโยนิโสมนสการ คือ #น้อมอารมณ์มาใส่ใจโดยไม่ใช้ข้อปฏิบัติธรรมเป็นปัจจัย. ตัวอย่างเช่น มโนทวาราวัชชนะรับสีมาแล้ว เป็นอนันตรูปนิสสยปัจจัยให้ชวนะ มนสิการอารมณ์นั้นต่อโดยใช้ความเข้าใจที่สมควรแก่ธรรม(สัมมาทิฏฐิเจตสิกเป็นต้น)ว่า "เป็นสีไม่เที่ยงเกิดดับ" เป็นต้น. แต่ถ้าข้อปฏิบัติไม่สมควรแก่ธรรมเป็นปัจจัยให้อโยนิโสมนสิการชวนะเกิด ก็มนสิการอารมณ์นั้นต่อโดยใช้ความเข้าใจผิดความไม่รู้(อวิชชา ทิฏฐุปาทาน เป็นต้น)ว่า "เป็นก้อนเราเที่ยงแท้" เป็นต้น.

วันเสาร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2564

อยากเป็นผู้รู้ ผิดก็มี ถูกก็มี

ตราบเท่าที่ยังไม่เป็นพระอรหันต์ใครก็มีความอยากที่จะเป็นผู้รู้ทั้งนั้นครับ. แม้แต่พระอรหันต์ ไม่มีความอยากยึดมั่นถือมั่นแล้ว ก็ยังมีธัมมฉันทะ อยากทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่หมู่สัตว์ เช่นพระอรหันตเถระในมหาโคสิงคสาลสูตร ก็อยากจะไปฟังธรรมจากพระสารีบุตร. เพราะฉะนั้นเป็นสภาวะที่ละเอียดไม่ใช่จะตัดสินกันได้ง่ายๆครับ ว่าอันไหนเป็นความอยากได้ตัณหาควรละ และอันไหนเป็นความอยากด้วยกุศลฉันทะ ควรเจริญ. แค่เขาน้อมมาในกุศลได้ก็จัดว่าดีแล้วน่าอนุโมทนา.😊🙏

วันอังคารที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2564

ศึกษาพระวินัยจากการอ่านอย่างไร ไม่ให้เป็นวินัยฉลาดแกมโกง

อ่านพระวินัยปิฎกอย่างไร ไม่ให้เป็นคนฉลาดแกมโกง

ในกรณีที่ศึกษาพระวินัยปิฎกแปลหรือบาลี ก่อนการปฏิบัติ ควรศึกษาหลักของผู้โจทก์และผู้ถูกโจทก์ก่อนเป็นอันดับแรก คู่ไปกับอินทรียสังวรทางทวาร 6 สาราณียธรรม 6 สัมมาวาจา 4 ในมหาศีลแห่งสามัญญผลสูตร.

ทั้งนี้เพื่อที่จะสำรวมสังวรทวาร ไม่ก้าวล่วงสำนักนู้นสำนักนี้ทางกายวาจา ด้วยคำพูดที่ไม่จริง (เห็นอะไรก็กลัวผิดวินัยไปซะหมด). เพราะคนสมัยนี้จะโตมาในวัฒนธรรมที่ฟรีสปีช คืออยากจะพูดอะไรก็ได้ ไม่รู้จักประเมินความสามารถตัวเองและคิดให้ดีก่อนจะพูด, และยุคนี้เรียนแบบเป็ด คือ เรียนข้ามๆ รวบรัด ไม่ได้ตามลำดับทรงจำแบบมุขปาฐะ ซึ่งวิธีเรียนลวกๆนี้ ทำให้ความรู้ขาดตกหล่นเยอะมาก. 

แต่ถ้าทรงจำ "องค์ของโจทก์และผู้ถูกโจทก์" อย่างเข้าใจ ทรงจำสาราณียธรรมและสัมมาวาจาได้ ก็จะไม่กล้าตำหนิคนนู้นคนนี้ง่ายๆ ด้วยวินัยที่เพิ่งเรียนมาไม่ได้รู้จริง แต่จะมีความเคารพมีเมตตาไปก่อน (ไม่ใช่เห็นอะไรก็ขวางหูขวางตา เห็นใครก็ผิดวินัยไปหมด อย่างนี้เป็นการปฏิบัติไม่เคารพกถาวัตถุสูตร เพราะจ้องแต่จะเพ่งโทษคนอื่น ไม่เห็นจิตที่ฟุ้งซ่านของตน).

แต่ถ้าปฏิบัติวินัยตามครูบาอาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถ เช่น พะอ็อกตอยะสยาดอ ก็ไม่จำเป็นต้องศึกษาหลักผู้โจทก์และผู้ถูกโจทก์ตั้งแต่แรกครับ เพราะสามารถสังเกตจากสภาพแวดล้อมได้ สังเกตจิตได้ รวมถึงสมาธิจะช่วยทำให้รักษาจิตได้ดี.

วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2564

แนวทางพิจารณากรณีบุพพการีกับเครื่องช่วยชีวิต

#เจตนาฆ่า กับ #เจตนาไม่ช่วยต่อ ไม่เหมือนกันครับ. คนที่กำลังจับมือคนตกตึก แต่ไม่ไหวเลยปล่อยมือ ไม่ได้คิดจะฆ่าเขาเลย แค่ช่วยไม่ไหวก็ปล่อยมือ. เขาก็บอกอยู่ว่าเครื่องช่วยชีวิต หมายความว่าคนคนนี้ต้องตายอยู่แล้ว แต่เครื่องมาช่วยไว้. 

แต่ก็ต้องมนสิการดีๆ เพราะถ้ามนสิการไม่เก่งตั้งแต่แรก อาจจะเดือดร้อนใจทีหลังได้. ถ้าคิดว่ามนสิการไม่เป็น, ควรมอบฉันทะเรื่องพ่อแม่ให้คนอื่นตัดสินใจแทนได้ครับ ไม่ต้องตัดสินใจเอง ช่วยตัดกังวลทีหลังไปได้. 

จริงๆโรงพยาบาลควรจะมีการฝึกให้หมอและพยาบาลให้มนสิการเรื่องพวกนี้ให้เป็น ก็จะช่วยคนไข้ได้มาก.  อย่างน้อยที่สุด หาคนที่เป็นอุจเฉททิฏฐิ มารับมอบฉันทะประจำโรงพยาบาลไว้เลยก็ได้.

วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2564

ผมเขียนเว็ปทั้งคืนเเล้วพ่อบอกเล่นเเต่เกมไม่สนใจเรียนบ้างผมควรทําอะไรครับ

ถ้ารู้จักทำให้เป็นเวล่ำเวลา ก็คงไม่โดนตำหนิครับ. ถ้าเรามีตารางทำงานชัดเจนให้พ่อดู และตารางนั้นเป็นตารางที่เหมาะสมต่อสุขภาพเป็นต้น จนพ่อยอมรับได้ และเราก็ทำตรงตามตารางด้วยตลอด จะไม่โดนตำหนิเลย👍. คนมีความรับผิดชอบ จะทำหน้าที่ต่างๆตรงเวลา คำนวณเวลาให้ดีไม่ทำช้าไป และก็เป็นมงคลชีวิตอย่างหนึ่งด้วย ใน #มงคล38 ทำให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง 🙏😊🥰

ยุคนี้เบาแล้ว

ยุคนี้เบาแล้ว ย้อนไปก่อนจะมีพระพุทธเจ้า  ดูประวัติศาสตร์โลกก็ได้โหดร้ายขนาดไหน, เดี๋ยวพอหมดยุคของพระพุทธเจ้านะ  โคตรหนักแน่นอน 😊  ไม่งั้นจะ...