วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2563
กลาปะอภิธรรม เทียบกับ เซลล์โควิด 19 (บนรูปเปรียบเทียบ, ล่างคลิปพะอ็อค ตอยะ)
วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2563
ข้ามขั้นตอนก็ไม่ดี ยึดติดในขั้นตอนก็ไม่ได้
วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2563
คุณสมบัติคนไม่ได้ฌานแล้วบรรลุธรรม คือ อาจารย์ดี อกุศลบางเบา
ถาม: ผมเคยได้ยินมาว่า การบรรลุไม่เกี่ยวข้องกับการได้ณาน คนที่บรรลุไม่ได้ณานก็มี และคนที่ได้ณานไม่บรรลุก็มีเช่นพวกฤาษี จริงหรือป่าวครับ
ตอบ: ความจริงครึ่งเดียวครับ, แต่อีกครึ่งหนึ่งไม่ใช่ความจริงถาม: คืออะไรครับ จริงครึ่ง ไม่จริงครึ่ง
ตอบ: คนที่บรรลุโดยไม่ได้ฌาน (คนมีจิตตวิสุทธิง่าย) มีจริง ใน 2 กรณี คือ1. ได้อาจารย์ที่สั่งสมบารมีร่วมกันมา (เช่นพระพุทธเจ้า) สอนกรรมฐานวิธีลัดที่สอนร่วมกันมาหลายชาติให้จนบรรลุ (ติปุกขลนัย),
2. เป็นคนที่ไม่ค่อยมีอกุศลเกิดเลยตั้งแต่เกิด ซึ่งมักเกิดจากพรหมโลก (สีหวิกกีฬิตนัย).
แต่คนที่อกุศลเกิดบ่อย วิปัสสนาจะถูกอกุศลไปกั้นทำให้ภาวนาไม่เป็นภาวนา มรรคผลไม่ยอมเกิด ครับ, ฉะนั้น กรณีนี้ ควรฝึกฌาน ครับ. อย่างน้อย ถ้าทำวิปัสสนาเกิน 7 ปี แล้วไม่บรรลุ ก็ควรถอยมาทำฌานก่อน ครับ.
ฉะนั้น ที่บอกว่า ไม่ต้องทำฌานก็ได้ จึงเป็นความจริงแค่ครึ่งเดียว, ว่าตามหลักเนตติปกรณ์ เทสนาหาระ และสีหวิกกีฬิตนัย ครับ.
วันพฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2563
ผมหงอก ออกบวช เจริญเนกขัมมะ : วัฒนธรรม ผู้มีปัญญา
“ราชกุมาร ก็ในกาลนั้น ถ้าพระองค์กับพระชายา จักถึงความไม่ประมาท แม้ในวัย ๑ บุตรหรือธิดา พึงเกิดขึ้นแม้ในวัย ๑ ก็ถ้าบรรดาพระองค์ทั้ง ๒ แม้คนหนึ่งจักได้เป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว บุตรหรือธิดาจักอาศัยผู้ไม่ประมาทนั้นเกิดขึ้น ราชกุมาร ก็บุคคล เมื่อสําคัญตนว่า เป็นที่รัก จึงไม่ประมาท รักษาตนแม้ในวัยทั้ง ๓ เมื่อไม่อาจ (รักษา) ได้อย่างนั้น พึงรักษาให้ได้แม้ในวัย ๑”
แล้วจึงตรัสพระคาถานี้ว่า
[๑๕๗] | “ถ้าบุคคลรู้ว่าตนเป็นที่รัก ก็ควรรักษาตนนั้น | |
ไว้ให้ดี บัณฑิตควรประคับประคองตนไว้ให้ได้อย่างน้อย | ||
ยามใดยามหนึ่งใน ๓ ยาม” |
บรรดาคําเหล่านั้น ในคํานี้ว่า ยาม (ยามํ) พระศาสดาทรงแสดงวัยทั้ง ๓ วัยใดวัยหนึ่งให้ชื่อว่ายาม เพราะความที่พระองค์ทรงเป็นใหญ่ในธรรมและเพราะความพระองค์ทรงฉลาดในเทศนาวิธี เพราะเหตุนั้น ในพระคาถานี้ บัณฑิตพึงทราบความอย่างนี้ว่า
“ถ้าบุคคลรู้ว่าตนเป็นที่รัก พึงรักษาตนนั้น ให้เป็นอันรักษาดีแล้ว คือพึงรักษาตนนั้น โดยประการที่ตนเป็นอันรักษาดีแล้ว บรรดาชนผู้รักษาตนเหล่านั้น ถ้าผู้เป็นคฤหัสถ์คิดว่า ‘จักรักษาตน’ เข้าไปยังห้องที่เขาปิดไว้เรียบ
แต่ผู้เป็นคฤหัสถ์ ทําบุญทั้งหลายมีทานศีลเป็นต้นตามกําลังอยู่ หรือผู้เป็นบรรพชิต ถึงความขวนขวาย
ก็ถ้าว่า บรรพชิต ในปฐมวัย ทําการสาธยายอยู่ ทรงจำ บอก ทําวัตรปฏิบัติตอบอยู่ ชื่อว่าถึงความประมาท ในมัชฌิมวัยพึงเป็นผู้ไม่ประมาท บำเพ็ญสมณธรรม อนึ่ง ถ้ายังสอบถามอรรถกถาและวินิจฉัยและเหตุแห่งปริยัติอันตนเรียนแล้วในปฐมวัยอยู่ ชื่อว่าถึงความประมาทในมัชฌิมวัย ในปัจฉิมวัยพึงเป็นผู้ไม่ประมาทบําเพ็ญสมณธรรม ด้วยอาการแม้อย่างนี้ ตนย่อมเป็นอันบรรพชิตนั้นประคับประคองแล้วทีเดียว แต่เมื่อไม่ทําอย่างนั้น ตนย่อมชื่อว่าไม่เป็นที่รัก บรรพชิตนั้น (เท่ากับ) ทำตนนั้นให้เดือดร้อน ด้วยการตามเดือดร้อนในภายหลังแท้”
ในเวลาจบเทศนา โพธิราชกุมารดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว พระธรรมเทศนาได้สาเร็จประโยชน์ แม้แก่บริษัทที่ประชุมกันแล้วดังนี้แล
อรรถกถา ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
อรรถกถา เอกกนิบาตชาดก อปัณณกวรรค
มฆเทวชาดก ว่าด้วยเทวทูต
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=9&p=1&h=ผมหงอก#hl
วันหนึ่ง ตรัสเรียกช่างกัลบกมาว่า ดูก่อนช่างกัลบกผู้สหาย ท่านเห็นผมหงอกบนศีรษะของเราในกาลใด
พระราชาตรัสว่า สหาย ถ้าอย่างนั้น ท่านจงถอนผมหงอกนั้นของเรา เอามาวางในฝ่ามือ.
แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น พระราชาได้ทรงเห็นผมหงอกแล้ว ก็ทรงสำคัญประหนึ่งว่า
ดูก่อนมฆเทวะผู้เขลา เจ้าไม่อาจละกิเลสเหล่านี้ จนตราบเท่าผมหงอกเกิดขึ้น.
เมื่อพระเจ้ามฆเทวะนั้นทรงรำพึงถึง ผมหงอกที่ปรากฏแล้ว
ดูก่อนพ่อ ผมหงอกปรากฏบนศีรษะของพ่อแล้ว พ่อเป็นคนแก่แล้ว
พระราชาทรงถือผมหงอก ตรัสพระคาถานี้แก่อำมาตย์ทั้งหลายว่า
บทว่า อิเม ชาตา วโยหรา ความว่า พ่อทั้งหลาย จงดูผมหงอกเหล่านี้เกิดแล้ว ชื่อว่าเป็นเหตุนำเอาวัยไป
เพราะนำเอาวัยทั้ง ๓ ไป โดยภาวะปรากฏผมหงอก.
จริงอยู่ เมื่อผมหงอกทั้งหลายปรากฏบนศีรษะ บุคคลย่อมเป็นเหมือนยืนอยู่ในสำนักของพญามัจจุราช
เพราะฉะนั้น ผมหงอกทั้งหลายท่านจึงเรียกว่า ทูตของเทวะ คือมัจจุ ที่ชื่อว่า เทวทูต เพราะเป็นทูตเหมือนเทวะ ดังนี้ก็มี
ท่านจักตายในวันชื่อโน้น ฉันใด เมื่อผมหงอกทั้งหลายปรากฏแล้วบนศีรษะ
เพราะฉะนั้น ผมหงอกทั้งหลาย ท่านจึงกล่าวว่า เป็นทูตเหมือนเทพ
โดยปริยายนี้ ผมหงอกทั้งหลาย ท่านจึงเรียกว่าเทวทูต
อรรถกถา สุสีมชาดก
ว่าด้วย พระเจ้าสุสีมะออกผนวช
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1079&p=1&h=ผมหงอก#hl
ประทับยืน ประทับนั่ง และทรงบรรทมแต่ลำพังพระองค์เดียว แต่พระราชาพระองค์นี้เป็นคนหนุ่ม ส่วนเราเป็นคนแก่ ผมหงอกปรากฏบนศีรษะของเรา
พระราชาตรัสว่า ข้าแต่นางผู้เจริญ ถ้ากระนั้น ขอเธอจงถอนผมหงอกเส้นนั้นมาวางไว้บนมือของฉัน.
ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ผมหงอกของหม่อมฉันเอง ไม่ใช่ของพระองค์
ผมหงอกงอกขึ้นบนศีรษะ บนกระหม่อมของหม่อมฉันเอง
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มเมว สีสํ ความว่า พระราชินีทรงแสดงว่า ผมหงอกงอกขึ้นบนศีรษะของหม่อมฉันเอง.
อรรถกถา ๒๘ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒
อรรถกถา เนมิราชชาดก
ว่าด้วย พระเจ้าเนมิราชทรงบำเพ็ญอธิษฐานบารมี
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=28&i=525&p=1&h=ผมหงอก#hl
มีพระราชดำรัสกะเจ้าพนักงานภูษามาลาว่า เมื่อใดเจ้าเห็นผมหงอกในศีรษะเรา เจ้าจงบอกข้าเมื่อนั้น.
ผมหงอกที่งอกบนศีรษะของพ่อนี้ นำความหนุ่มไปเสีย เป็นเทวทูตปรากฏแล้ว คราวนี้จึงเป็นคราวที่พ่อจะบวช.
ครั้นตรัสดังนี้แล้ว ก็อภิเษกพระราชโอรสในราชสมบัติ แล้วพระราชทานพระโอวาทว่า แม้ตัวเธอเห็นผมหงอกอย่างนี้แล้ว ก็พึงบวช.
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒
อรรถกถา เนมิราชชาดก
ว่าด้วย พระเจ้าเนมิราชทรงบำเพ็ญอธิษฐานบารมี
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=28&i=525&p=3&h=ผมหงอก#hl
ผมหงอกที่งอกขึ้นบนเศียรของพ่อเหล่านี้ เกิดแล้วก็นำความหนุ่มไปเสีย เป็นเทวทูตปรากฏแล้ว สมัยนี้จึงเป็นคราวที่พ่อจะบวช.
วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2563
พระปัจเจกไม่ได้เป็นใบ้ พระอนาคามีพรหมยุคพระพุทธเจ้ากัสสปะเช่นกัน แต่ท่านพูดอริยสัจแล้วคนฟังไม่บรรลุเท่านั้นเอง คำของท่านเลยไม่เป็นอริยสัจ
อนึ่ง คนที่สามารถเริ่มบัญญัติอริยสัจให้คนอื่นบรรลุได้ มีเฉพาะพระพุทธเจ้าเป็นคนแรกของยุคเท่านั้น.
แต่อยากให้มองมุมนี้ด้วยว่า เป็นไปไม่ได้ที่พระอนาคามีอริยะ จะกล่าว "อริยสัจ" ไม่ได้เลย, เช่นเดียวกับพระปัจเจกอริยะ เพราะท่านเหล่านี้ไม่ได้เป็นใบ้. #แต่ที่ท่านไม่อาจทำให้คนอื่นบรรลุได้ เพราะท่าน #ไม่มีความสามารถบัญญัติ คำที่ทำให้คนอื่นบรรลุได้ (ขุ.ปฏิ.อ.) เนื่องจากการจะรู้คำที่เหมาะสมแก่คนอื่นจะต้องสะสมบารมีร่วมกันมายาวนานมาก และเมื่อคนพวกนั้นไม่ได้สั่งสมบารมีมาเพื่อบรรลุกับท่านเขาก็จะไม่บรรลุเมื่อฟังธรรมจากปากพระปัจเจกอริยะ เป็นต้น (ขุ.อปทาน).
กล่าวง่ายๆ คือ พูดเหตุผลได้ รู้ทุกข์สมุทัยนิโรธมรรค แต่พูดแล้วคนฟังไม่บรรลุ ก็ไม่เป็นอริยสัจนั่นเอง.
ที่มาของคำว่า อริยสัจ ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เกี่ยวข้องกับลักขณสูตร อย่างไร? (#วิธีสวดธรรมจักรอย่างเข้าใจ1)
วันอังคารที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2563
ถาม: ไม่อยากบวชให้พ่อแม่ทำอย่างไร? ตอบ: อยู่ที่ว่าเราใจกว้างแค่ไหน
วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2563
แสงสี เกิดได้ทั้งทำสมถะและวิปัสสนา ขณะที่พระพุทธเจ้าบรรลุก็มีแสงสีสว่างไสวไปทั่วเช่นกัน
วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2563
อายุพระศาสนา 5,000 ปี มาในปฐมสังคายนาตรงๆ
วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2563
ปัญญา,ญาณ, สัมมาทิฏฐิ เหมือนกันในธัมมสังคณี, ต่างกันในปฏิสัมภิทามรรค เป็นต้น อยู่ที่บริบท
ตอบสั้นๆ: ปัญญา, ญาณ, สัมมาทิฏฐิ เหมือนกันในที่แสดงองค์ธรรม เช่น ใน อภิ.ธัมมสังคณี, แต่ต่างกันในพระสูตรที่แสดงลำดับการพัฒนา เช่น ในมาติกา ขุ.ปฏิสัมภิทามรรคบาลี. ขึ้นอยู่กับบริบท เพราะในระบบมุขปาฐะ เรื่องเดียวกัน ถ้าองค์ธรรมเดียวกันแต่ปัจจัยต่างกัน จะใช้ศัพท์แยกกัน เพื่อป้องกันผู้เรียนสับสน.ปัญญา กับ สัมมาทิฏฐิ เป็นอย่างเดียวกันหรือเปล่าหากคนละอย่าง มีความแตกต่างอย่างไร
ตอบแบบอธิบาย: คำถามนี้ เป็นคำถามประเภทที่เคยสร้างความร้าวฉานในคณะสงฆ์ไทยมานับครั้งไม่ถ้วน ทั้งๆ ที่เป็นคำถามไม่ยากนักสำหรับผู้ที่เรียนมาแบบท่องจำในระบบมุขปาฐะ, ฉะนั้น ขออนุญาตตอบละเอียด เพื่อให้เกิดความสามัคคี เห็นอกเห็นใจกันของหมู่คณะพุทธบริษัท 4.
คำถามๆ เกี่ยวกับศัพท์บาลี ฉะนั้นก็ต้องดูว่า ในพระไตรปิฎกภาษาบาลีใช้ 2 คำนี้อย่างไร?
หรือในสูตรเดียวกันนี้ นามรูปํ ในสัจจะบรรพะ หมุนด้วยปฏิจจสมุปบาทนัย > กาเย > กายสฺมึ > เวทนาสุ > เวทนาสุ > จิตฺเต > จิตฺตสฺมึ > ธมฺเมสุ > ธมฺเมสุ ทั้งหมดนี้องค์ธรรมไม่เท่ากันเช่นกัน
อีกตัวอย่างในมาติกา ขุ.ปฏิสัมภิทามรรคบาลี:
- ข้อความนี้ ปัญญาจะชำนาญหรือไม่ชำนาญก็ได้ แต่ญาณต้องชำนาญแล้ว (ญาตฏฺเฐน ญาณํ; สุฏฺฐุ ชานนํ; อภิญฺญาตํ): "'พวกนี้ควรถูกทำญาตปริญญา' เมื่อฟังจำและเข้าใจแง่มุมต่างๆ อย่างนี้เป็นปัญญาที่ชำนาญจากการฟัง (สุตมยญาณ)ฯ"
- สมฺมาทิฏฺฐิ คู่กับ มิจฉาทิฏฺฐิ พระโสดาบันละมิจฉาทิฏฐิได้สิ้น จึงสำเร็จทัสสนภูมิ เข้าสู่ขั้นภาวนาภูมิ. แต่ยังมีอวิชชา ที่ไม่เกิดกับทิฏฐิได้อยู่.
- วิชฺชา คู่กับ อวิชฺชา พระอรหันต์ละอวิชชาได้หมดสิ้น ถึงที่สุดแห่งภาวนาภูมิ ไม่ต้องทำภาวนากิจเพื่อละกิเลสอีกต่อไป.
- ปญฺญา(ปชานน) จะชำนาญหรือไม่ชำนาญก็ได้ แต่ญาณต้องชำนาญแล้ว และปุถุชนฝึกปัญญาให้เป็นสัมมาทิฏฐิญาณ ในทัสสนภูมิ, พระโสดาบัน(ทิฏฐิสัมปันโน) ฝึกสัมมาทิฏฐิญาณให้เป็นภาวนามยญาณ ในภาวนาภูมิ. ทั้งหมดเป็นปัญญา แต่ความสมบูรณ์ของปัญญา (level) ถูกแจกออกด้วยศัพท์ว่า ญาณ, สัมมาทิฏฐิ, ทิฏฐิสัมปันโน, ทัสสนภูมิ, ภาวนาภูมิ.
วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2563
อินทรีย์กุศล ทำให้สำเร็จอรหัตผล ได้อย่างไร?
พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า เพราะอินทรีย์กุศล คือ ศรัทธา ศีล สมาธิ ภาวนา ปัญญา
อินทรีย์ คือ อะไร?
อินทรีย์ คือ การรับผิดชอบหน้าที่ต่างๆ. อินทรีย์มีทั้งกุศล อกุศล อัพยากตะ, แต่สำหรับในเรื่องภาวนา จะนับเอาเฉพาะอินทรีย์ที่เป็นกุศลเท่านั้น โดยเฉพาะศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา.อินทรีย์ เปรียบเหมือนผู้มีอำนาจทำงานเฉพาะด้านนั้นๆ ถ้าผู้มีอำนาจรับผิดชอบทำหน้าที่ของตนในงานที่ทำร่วมกันอย่างสมัครสมานสามัคคีทำงานกันอย่างเต็มที่จนพัฒนาถึงที่สุดแล้ว งานก็ย่อมออกมาสมบูรณ์.
- สัทธินทรีย์ รับผิดชอบหน้าที่เชื่อมั่น โดยมีอำนาจทำงาน คือ เชื่อมั่นอารมณ์ของกุศลเท่านั้น.
- วิริยินทรีย์ มีอำนาจทำงาน คือ ทำกุศลเท่านั้นที่เกิดพร้อมกันนั้นให้พากเพียรทำกิจของตนอย่างต่อเนื่อง.
- สตินทรีย์ มีอำนาจทำงาน คือ ไม่ลืมอารมณ์ของกุศลเท่านั้น.
- สมาธินทรีย์ มีอำนาจทำงาน คือ มีอารมณ์เพียงอารมณ์เดียวและเป็นอารมณ์ของกุศลเท่านั้น.
- ปัญญินทรีย์ มีอำนาจทำงาน คือ แทงตลอดอารมณ์ของกุศลเท่านั้นในแง่มุมต่างๆ ตรงตามปฏิจจสมุปบาทและปฏิจจสมุปปันนะ (เหตุผล).
อรหัตผล คือ อะไร?
กุศล คือ อะไร?
โรคและโทษ (คือ กิเลสที่ทำให้จิตเป็นอกุศล) คืออะไร?
- ให้ผลเสีย คือ ทุกขวิบาก ในโลกนี้.
- ให้ผลเสีย คือ ทุกขวิบาก ในโลกหน้า.
- ไม่ทำให้นิพพาน ยังได้รับทุกขวิบากในวัฏฏะต่อไปไม่สิ้นสุด.
- เสียประโยชน์ตนเอง คือ ตนเองได้ทุกขวิบาก.
- เสียประโยชน์คนอื่น คือ คนอื่นได้ทุกขวิบาก.
- เสียประโยชน์ส่วนรวม คือ ทั้งตนเองและคนอื่นได้ทุกขวิบาก.
การบริหารอินทรีย์ให้สมดุล
ผลของการปรับอินทรีย์ได้สมดุล
----------------------------------
https://archive.org/details/12FEB2020/21+Feb+2020+สมถกัมมฐาน+9+การปรับสมดุลของอินทรีย์+และโพชฌงค์.MP3
สิ่งที่เหลือท้ายสุดของปริยัติศาสนา คือ การท่องจำอย่างเข้าใจ ไม่ใช่เล่มหนังสือ
วิธีเริ่มเจริญธรรมคุณ บทว่า สฺวากฺขาโต
ยุคนี้เบาแล้ว
ยุคนี้เบาแล้ว ย้อนไปก่อนจะมีพระพุทธเจ้า ดูประวัติศาสตร์โลกก็ได้โหดร้ายขนาดไหน, เดี๋ยวพอหมดยุคของพระพุทธเจ้านะ โคตรหนักแน่นอน 😊 ไม่งั้นจะ...
-
โครงการศึกษาพระวินัยปิฏกแบบโบราณเพื่อการประพฤติปฏิบัติ สถานที่ตั้งสำนักเรียนมหาธรรมรักขิตเจดีย์ -146 ม.1 ต.โป่งน้ำร้อน อ.โป่งน้ำร้อน จ.จัน...
-
ในกรณีที่มีอาจารย์กรรมฐานที่มี คุณสมบัติ คือ ทั้งบรรลุธรรม ได้ฌาน ได้อภิญญา ได้วิปัสสนาญาณ ได้มรรคผล และทั้ง ทรงจำพระไตรปิฎก อย่าง คล่องป...
-
ถ: ถ้าติดสังฆาทิเสสแล้วไม่ได้แก้ก่อนสึกจะทำให้ชีวิตไม่ดีทำมาหากินไมขึ้นจริงหรือเปล่าครับ? ต: อาบัติไม่มีผลกับฆราวาส ครับ, สึกมาเป็นฆรา...