วันพุธที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2562

ตำราการทำน้ำมนต์ ลดน้ำมนต์ บนบานสานกล่าวกับเทวดาไหมครับ มีบาลีไหมครับ?

มีแต่แบบประยุกต์ครับ คือ ไม่ใช่หลักคำสอน แต่ประยุกต์ใช้ตามสถานการณ์ได้ เช่น พระทำน้ำมนต์เองไม่ได้ผิดพระวินัย แต่ถ้าชาวบ้านขอแล้วไม่ทำ ก็ผิดพระวินัยข้อ #ทำศรัทธาของบุคคลที่ยังไม่เลื่อมใส ไม่ให้เลื่อมใส เสียโอกาสบรรลุธรรมของคนเหล่านี้เช่นกัน, ดังนั้น มัชฌิมาปฏิปทาของวินัยสองข้อคือ ถ้าโยมเตรียมน้ำไว้ ให้พระพรมให้ พระพรมให้ได้ แต่ถ้าให้พระทำจัดเตรียมน้ำใหั พระทำไม่ได้ มีอาบัติ. #คนละครึ่งทาง ไม่สุดโต่ง. พระพุทธเจ้าก็เคยใช้วิธีนี้ใน อ.รตนสูตร.
หรือการบนบานนั้น แม้จะไม่ใช้วิธีทางพุทธ แต่ก็ไม่ได้ผิดศีลข้อไหนโดยตรง อีกทั้งยังจัดเข้าในข้อบูชาคุณของเทวดาผู้มีศีลได้ด้วย (เทวตานุสสติ) ฉะนั้น ถ้าเขายังไม่พร้อมฟังคำอธิบาย ก็ไม่ควรขัดสุ่มสี่สุ่มห้า  เพราะคนมีปัญญาจริงตัองรู้จักกาละเทศะด้วย.
ไทยเสียวัฒนธรรมความเข้าใจเหล่านี้ไปสมัยสงคราม ต้องเห็นใจกันและกันนะครับ ไม่ใช่ซ้ำเติมกัน. อย่าหักดิบเกินงาม เขาจะรังเกียจคำสอนได้ เพราะคนพุทธต้องมีสัปปุริสธรรม 7 ไม่ใช่พวกจรเข้ขวางคลองครับ ไม่งั้นไม่น่าเลื่อมใส เป็นไปเพื่อความขัดแย้ง ไม่เป็นไปเพื่อมรรคผลนิพพาน.

วันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2562

อาณิสูตร สาวกภาสิต แปลว่า สาวกภาษิตของกวี ไม่เช่นนั้นผิดหลักและโครงสร้างบาลี

๗. อาณิสูตร

ว่าด้วยลิ่ม
[๒๒๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ... “ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ได้มีตะโพนชื่ออานกะของพวกกษัตริย์ผู้มี พระนามว่าทสารหะ เมื่อตะโพนแตก พวกกษัตริย์ทสารหะได้ตอกลิ่มอื่นลงไป ต่อมา ไม้โครงเก่าของตะโพนชื่ออานกะก็หายไปเหลือแต่โครงลิ่ม ฉันใด

ภิกษุทั้งหลาย ในอนาคต เมื่อผู้อื่นกล่าวสูตรที่ตถาคตกล่าวไว้ล้ำลึก มีเนื้อความ ลึกซึ้ง เป็นโลกุตตรธรรม ประกอบด้วยความว่าง ภิกษุทั้งหลายจักไม่ตั้งใจฟังให้ดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อรู้ทั่วถึง และไม่ให้ความสำคัญธรรมว่า ควรเรียน ควรท่องจำให้ขึ้นใจ ฉันนั้น


แต่เมื่อผู้อื่นกล่าวสูตรที่นักกวี ได้รจนาไว้ เป็นบทกวี มีอักษรวิจิตร มีพยัญชนะวิจิตร อยู่ภายนอก๑- เป็นภาษิตของสาวกนักกวีนั้น (สาวกภาสิตมาหลังนักกวี
ต้องทำหน้าที่ขยายนักกวี ไม่ใช่ไปขยายตถาคต ผิดหลักบาลี) ๒- ภิกษุเหล่านั้นกลับตั้งใจฟังด้วยดี เงี่ยหูฟัง เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อรู้ทั่วถึง และจักสำคัญธรรมว่า ควรเรียน ควรท่องจำ ให้ขึ้นใจ๓- ฉันใด แต่เมื่อผู้อื่นกล่าวสูตรที่ตถาคตกล่าวไว้ล้ำลึก มีเนื้อความลึกซึ้ง เป็นโลกุตตรธรรม ประกอบด้วยความว่าง ก็จักอันตรธานไป ฉันนั้น

ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า ‘เมื่อผู้อื่น (เช่น สาวกของพระตถาคต) กล่าวสูตรที่ตถาคตกล่าวไว้ล้ำลึก มีเนื้อความลึกซึ้ง เป็นโลกุตตรธรรม ประกอบด้วย ความว่าง เราทั้งหลายจักตั้งใจฟังด้วยดี เงี่ยหูฟัง เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อรู้ทั่วถึง และให้ ความสำคัญธรรมว่า ควรเรียน ควรท่องจำให้ขึ้นใจ’ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”

@ อยู่ภายนอก หมายถึงภายนอกพระพุทธศาสนา (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๘/๕๕) @ สาวกภาษิต หมายถึงภาษิตอันเหล่าสาวกของเจ้าลัทธิคนใดคนหนึ่งที่ไม่ได้ชื่อว่าเป็นพระพุทธสาวกได้ภาษิตไว้ @(องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๘/๕๕, องฺ.ทุก.ฏีกา ๒/๔๘/๕๓) @ ดูเทียบ องฺ.ทุก. (แปล) ๒๐/๔๘/๙๑-๙๒

อรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฎ แปลคำนี้ตกหายไป:-

สาวกภาสิตาติ เตสํ เตสํ สาวเกหิ ภาสิตา. <<< ของเดิมไม่มี

บทว่า สาวกภาสิตา คือ สาวกของนักกวีเหล่านั้น.

cr. http://www.84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=16&A=6239&w=&modeTY=2&pagebreak=

วันเสาร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2562

ปัจจุบันยังมีมหาอรรถกถาอยู่

#มหาอรรถกถา สืบทอดมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลครับ. ส่วนอรรถกถาที่ถูกเรียบเรียงขึ้นใหม่ในภาษาสิงหลนั้น เรียกว่า #สิงหลอรรถกถา เป็นคนละอันกับมหากถา อันนี้ถึงเป็นตำรารุ่นหลังครับ ซึ่งก็ไม่ได้ต่างจากพระไตรปิฎกและมหาอรรถกถามากนัก. ต่อมาประมาณ 1,500 กว่าปีที่แล้ว พระพุทธโฆษาจารย์ได้เอาอรรถกถาทั้งสองยุคมารวมกัน เพราะอรรถกถาบาลีในชมพูทวีปมีไม่ครบ เลยต้องมาแปลไปจากภาษาสิงหล เรียกว่า #อภินวอรรถกถา แต่ได้ใส่คำแยกไว้ไม่ให้ปะปนกันแล้ว. ถ้าอ่านเป็นจะแยกออกว่าตรงไหนเป็นอรรถกถาที่มีมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล ตรงไหนเป็นอรรถกถาที่แต่งขึ้นในสมัยสิงหล เพราะพระพุทธโฆษาจารย์ไม่ได้เอาอรรถกถามารวมกันอย่างไม่มีหลักการ ท่านได้แยกไว้ให้หมดแล้ว ต้องอ่านบาลีให้เป็นครับ อย่าอ่านมั่วๆไม่มีหลักการไม่รู้วิธีการ.

เกย์บวชได้ ถ้าอวัยวะเพศไม่พิการ ปฏิบัติธรรมและรักษาศีลพระได้

ถ้าเอาตามพระไตรปิฎกบาลีเลย บัณเฑาะก์ ไม่นับเกย์เลยด้วยซ้ำครับ เพราะศัพท์นี้ หมายถึง คนมีอวัยวะเพศพิการเท่านั้นครับ ไม่นับเกย์.  เกย์บวชได้สบายๆเลย.

บัณเฑาะก์ที่นับเกย์ มาใน #มหาอรรถกถา ที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลครับ แต่ถึงในอรรถกถาเองก็ยังอนุญาตเกย์ครับ ไม่ใด้ห้ามเกย์บวชเช่นกัน.

ว่ากันกลางๆ ตามตำราดีกว่าครับ. พระไตรปิฎกอรรถกถาไม่มีตรงไหนแอนตี้เกย์เลยนะครับ ทั้งยังบอกว่า มีทั้งเกย์ที่บวชได้ และมีเกย์ที่ห้ามบวชด้วย ไม่ได้ห้ามไปเสียหมดทุกเกย์. 

นอกตำราไปก็เสียโอกาสเกย์ที่จิตใจดีงาม สามารถบรรลุได้. เกย์นิสัยดีน่ารักๆ มีเยอะมาก ไม่ต่างอะไรกับผู้หญิงผู้ชายนิสัยดีครับ.

ในอรรถกถาแบ่งเกย์ไว้ 5 ประเภทครับ ประเภทที่ห้ามบวชจริงๆ คือ พวกที่พิการอวัยวเพศ (มีผลต่อฮอร์โมนเพศชาย). ส่วนเกย์ทั่วไป ถ้าตั้งใจปฏิบัติ ตั้งอยู่ในศีล ไม่เข้าไปจีบพระ อันนี้บวชได้ครับ (ถ้าพระรู้วินัยจริง และรู้ว่าเกย์จะตั้งใจปฏิบัติ ท่านจะให้บวช).

การเข้าวัดทำดี ยังไงก็เป็นความดีครับ ไม่บาป วัดที่ห้ามผู้หญิงเข้านั้น ก็แค่เทวดาไม่ชอบ ไม่ใช่ข้อกำหนดทางศาสนาพุทธครับ.

เกย์รับผลบาปกรรมในอดีตก็จริง แต่มันไม่ใช่การทำบาปกรรมในปัจจุบันครับ.

#ผลคือผล #เหตุคือเหตุ. แม้ในอดีตทำชั่วมา ถ้าปัจจุบันเกย์ก็ทำดี ในอนาคตก็จะต้องได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ผู้หญิงก็ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว #ไม่ต่างอะไรกับผู้ชาย เพียงแต่ด้วยร่างกายที่ไม่พร้อม ส่วนใหญ่ก็จะทำกรรมได้ไม่หนักเท่าผู้ชาย ก็เท่านั้น.

http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=04&siri=42

ยุคนี้เบาแล้ว

ยุคนี้เบาแล้ว ย้อนไปก่อนจะมีพระพุทธเจ้า  ดูประวัติศาสตร์โลกก็ได้โหดร้ายขนาดไหน, เดี๋ยวพอหมดยุคของพระพุทธเจ้านะ  โคตรหนักแน่นอน 😊  ไม่งั้นจะ...