วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2563

อินทรีย์กุศล ทำให้สำเร็จอรหัตผล ได้อย่างไร?

ขอคำอธิบาย: พระอานนท์ถามพระพุทธเจ้าว่า เหตุใดบุคคลถึงสำเร็จอรหัตผล
พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า เพราะอินทรีย์กุศล คือ ศรัทธา ศีล สมาธิ ภาวนา ปัญญา

อินทรีย์ คือ อะไร?

อินทรีย์ คือ การรับผิดชอบหน้าที่ต่างๆ.  อินทรีย์มีทั้งกุศล อกุศล อัพยากตะ, แต่สำหรับในเรื่องภาวนา จะนับเอาเฉพาะอินทรีย์ที่เป็นกุศลเท่านั้น โดยเฉพาะศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา.
อินทรีย์ เปรียบเหมือนผู้มีอำนาจทำงานเฉพาะด้านนั้นๆ ถ้าผู้มีอำนาจรับผิดชอบทำหน้าที่ของตนในงานที่ทำร่วมกันอย่างสมัครสมานสามัคคีทำงานกันอย่างเต็มที่จนพัฒนาถึงที่สุดแล้ว งานก็ย่อมออกมาสมบูรณ์.

  1. สัทธินทรีย์ รับผิดชอบหน้าที่เชื่อมั่น โดยมีอำนาจทำงาน คือ เชื่อมั่นอารมณ์ของกุศลเท่านั้น.
  2. วิริยินทรีย์ มีอำนาจทำงาน คือ ทำกุศลเท่านั้นที่เกิดพร้อมกันนั้นให้พากเพียรทำกิจของตนอย่างต่อเนื่อง.
  3. สตินทรีย์ มีอำนาจทำงาน คือ ไม่ลืมอารมณ์ของกุศลเท่านั้น.
  4. สมาธินทรีย์ มีอำนาจทำงาน คือ มีอารมณ์เพียงอารมณ์เดียวและเป็นอารมณ์ของกุศลเท่านั้น.
  5. ปัญญินทรีย์ มีอำนาจทำงาน คือ แทงตลอดอารมณ์ของกุศลเท่านั้นในแง่มุมต่างๆ ตรงตามปฏิจจสมุปบาทและปฏิจจสมุปปันนะ (เหตุผล).

อรหัตผล คือ อะไร?

อรหัตผล คือ วิบากของอรหัตตมรรคกุศล.

กุศล คือ อะไร?

กุศล คือ สิ่งที่ละ ทำลาย จนปราศจากโรคและสิ่งที่มีโทษ (คือ กิเลสที่ทำให้จิตเป็นอกุศล) กุศลจึงให้ผลเป็นสุขวิบาก. อินทรีย์ที่เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี แต่อินทรีย์ที่ภาวนาให้บรรลุฌาน มรรค ผล (รวมถึงให้บรรลุอรหัตตผลที่ถามมาด้วย) หมายถึง อินทรีย์ที่เป็นกุศลเท่านั้น.

โรคและโทษ (คือ กิเลสที่ทำให้จิตเป็นอกุศล) คืออะไร?

โรคและโทษ คือ สิ่งที่ทำแล้วประโยชน์ 6 ขัดแย้งกัน เกิดผลเสียหาย คือ เสียประโยชน์ 6 ได้แก่ ...
  1. ให้ผลเสีย คือ ทุกขวิบาก ในโลกนี้.
  2. ให้ผลเสีย คือ ทุกขวิบาก ในโลกหน้า.
  3. ไม่ทำให้นิพพาน ยังได้รับทุกขวิบากในวัฏฏะต่อไปไม่สิ้นสุด.
  4. เสียประโยชน์ตนเอง  คือ ตนเองได้ทุกขวิบาก.
  5. เสียประโยชน์คนอื่น คือ คนอื่นได้ทุกขวิบาก.
  6. เสียประโยชน์ส่วนรวม คือ ทั้งตนเองและคนอื่นได้ทุกขวิบาก.

การบริหารอินทรีย์ให้สมดุล

ในขณะที่ทำฌาน หรือ วิปัสสนา ผู้ปฏิบัติจำเป็นต้องสมดุลอินทรีย์ฝั่งตื่นตัว คือ วิริยะและปัญญา ให้มีกำลังเหมาะสมกับ อินทรีย์ฝั่งนิ่งสงบ คือ ศรัทธาและสมาธิ.

ตัวอย่างเช่น ถ้าทำวิปัสสนาอยู่แต่จะหลับ ก็ต้องนึกถึงอารมณ์ที่ทำให้เกิดวิริยะหรือปัญญา เช่น เรื่องความเพียรของพระมหาโมคคัลลานะ เป็นต้น, หรือทำวิปัสสนาแล้วเพียรมากจนฟุ้งซ่านอกุศลเกิด ก็ต้องพักมานึกถึงอารมณ์ของศรัทธาและสมาธิ เช่น ทำสมถะมีพุทธานุสสติ เป็นต้น.

ผลของการปรับอินทรีย์ได้สมดุล

จะทำให้ภาวนาพัฒนาคืบหน้าได้ไว เพราะโลกิยฌานก็ดี มรรคก็ดี ผลก็ดี ล้วนเป็นความสมบูรณ์แบบของจิตเจตสิก ฉะนั้น ถ้ายังมีอินทรีย์เจตสิกใดที่บกพร่อง คือ ไม่สมบูรณ์เท่ากับอินทรีย์อื่นๆ จิตเจตสิกนั้นก็ไม่อาจเข้าถึงอัปปนาได้ เพราะบกพร่อง ไม่สมบูรณ์แบบพอ.

----------------------------------

จริงๆ แล้วเรื่องปรับสมดุลอินทรีย์ เป็นเรื่องสำคัญมากของคำถามนี้ แต่ผมเองยังมีประสบการณ์ในการปฏิบัติภาวนาไม่มากพอจะตอบ เรื่องนี้มีรายละเอียดเยอะมาก จึงแนะนำให้ฟัง ผู้ที่มีประสบการณ์ปรับอินทรีย์ เช่น ท่าน พ.อ. สมทบ, หรือ พ.อ.กรรมฐานของ พะอ็อกตอยะ เป็นต้น ครับ.

รายละเอียดดูอรรถกถา โพชฌังคบรรพะ

พระอาจารย์สมทบ ปรกฺกโม สมถะกรรมฐาน ปรับอินทรีย์
https://archive.org/details/12FEB2020/21+Feb+2020+สมถกัมมฐาน+9+การปรับสมดุลของอินทรีย์+และโพชฌงค์.MP3

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รับตอบปัญหาธรรมะ ตามพระไตรปิฏก อรรถกถา ฏีกา
ท่านสอบถาม/แสดงความคิดเห็น/บอกข้อบกพร่องของบทความได้ที่ facebook: ตอบปัญหาธรรมะลึกซึ้ง หรือ ช่องตอบกลับข้างล่างนี้.

การทำบุญบาปเหมือนสะสม exp เลเวลในเกม แต่เกมชีวิตมันมีลดเลเวลได้

 การทำบุญบาปเหมือนสะสม exp เลเวลในเกม แต่เกมชีวิตมันมีลดเลเวลได้ ถ้าไม่ทำครบขั้นตอนแบบพระพุทธเจ้าบอกสูตรไว้ คือ ดีแล้วกลับมาชั่วทีหลัง ชั่วแ...