วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2563

สติปัฏฐานมี 2 แบบ คือ แบบสมถะ (กายคตาสติสูตร) กับแบบวิปัสสนา (มหาสติปัฏฐานสูตร).

สติปัฏฐานมี 2 แบบ คือ แบบสมถะ (กายคตาสติสูตร) กับแบบวิปัสสนา (มหาสติปัฏฐานสูตร).

สติปัฏฐานแบบสมถะ คือ เอากายานุปัสสนามาทำอุปจาระและอัปปนาฌาน 8 ให้ได้วสีในอิริยาบถ 4 ฐานะ 7.

สติปัฏฐานแบบวิปัสสนา คือ หลังได้ฌานนิวรณ์สงบแล้ว เอากายเวทนาจิตธรรม ที่ได้ฌานและทำวิปัสสนาทั้งหมด มาทำภังคญาณจนต่อเนื่องเข้าขั้นภาวนาอีกที ครับ.

วันอังคารที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2563

เลขในภาษาบาลี บางที่เลขจริง บางที่เลขปัดเศษ บางที่นับจากคนละยุคโลก

ถาม: อยากรู้ว่าการนับตัวเลขบาลี จะเหมือนกับการแปลบาลีรึเปล่าครับ เช่น8พันปี เห็นหลายที่ตัวเลขเหมือนจะเกินจริง เช่นอายุมนุษย์​เป็นหมื่นปี หรือจำนวนคนในเมืองหลายโกฏิ​ ถ้าเอาตัวเลขจำนวนเยอะๆมารวมกัน ไม่รู้ว่าจะนับแบบไหน เห็นบาลีจะอ่านไม่เหมือนภาษาไทย

วันอาทิตย์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2563

คนแรกที่สอนละวางอัตตวาทุปาทานในปฏิจจสมุปบาททั้งปวงได้ คือ พระพุทธเจ้าเท่านั้น.

ม.ม. จูฬสีหนาทสูตร (บางส่วน)
[๑๔๓] ภิกษุทั้งหลาย อุปาทาน ๔ ประการนี้ อุปาทาน ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ 
๑. กามุปาทาน (ความยึดมั่นในกาม) 
๒. ทิฏฐุปาทาน (ความยึดมั่นในทิฏฐิ) 
๓. สีลัพพตุปาทาน (ความยึดมั่นในศีลและวัตร) 
๔. อัตตวาทุปาทาน (ความยึดมั่นในวาทะว่ามีอัตตา) 
....ฯลฯ... มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งปฏิญญาลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง แต่พวกเขา ไม่บัญญัติความรอบรู้อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ คือบัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทาน บัญญัติความรอบรู้สีลัพพตุปาทาน ไม่บัญญัติ ความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้นไม่รู้ ฐานะ ๑ ประการนี้ตามความเป็นจริง เหตุนั้น พวกเขาจึงปฏิญญาลัทธิว่ารอบรู้ อุปาทานทุกอย่าง แต่พวกเขาไม่บัญญัติความรอบรู้อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ คือ บัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน บัญญัติความรอบรู้ทิฏฐุปาทาน บัญญัติความรอบรู้ สีลัพพตุปาทาน ไม่บัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน ภิกษุทั้งหลาย ความเลื่อมใสใดในศาสดา ความเลื่อมใสใดในธรรม ความ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ใดในศีลทั้งหลาย ความเป็นที่รักเป็นที่พอใจใดในหมู่สหธรรมิก ข้อนั้น ทั้งหมดเราไม่กล่าวว่า ดำเนินไปชอบในธรรมวินัยเห็นปานนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะข้อนั้นเป็นความเลื่อมใสในธรรมวินัยที่ศาสดากล่าวไว้ผิดแล้ว ประกาศไว้ไม่ ถูกต้อง ไม่เป็นเหตุนำสัตว์ออกจากทุกข์ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามิได้ประกาศไว้ 

[๑๔๔] ภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ปฏิญญาวาทะ ว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง จึงบัญญัติความรอบรู้อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ คือ บัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน๑- ความรอบรู้ทิฏฐุปาทาน ความรอบรู้สีลัพพตุปาทาน และความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน ความเลื่อมใสใดในศาสดา ความเลื่อมใสใด ในธรรม ความเป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ใดในศีลทั้งหลาย ความเป็นที่รักเป็นที่พอใจใด ในหมู่สหธรรมิก ข้อนั้นทั้งหมดเรากล่าวว่า ดำเนินไปชอบในธรรมวินัยเห็นปานนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะข้อนั้นเป็นความเลื่อมใสในธรรมวินัยที่เรากล่าวไว้ถูกต้องแล้ว ประกาศไว้ถูกต้องแล้ว เป็นเหตุนำสัตว์ออกจากทุกข์ เป็นไปเพื่อความสงบ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้แล้ว

    

วันพฤหัสบดีที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2563

ทำไมศาสนาพุทธถือว่าการฆ่าผู้มีคุณบาปกว่าฆ่าสัตว์ทั่วไป

คนด้วยกัน ถ้าคนๆ นั้น มีประโยชน์กับเราหลายด้าน เราจะตัดความสัมพันธ์ได้ยากกว่า ตัดคนที่ไร้ประโยชน์กับเรา แม้ฉันใด, การฆ่าสิ่งที่มีคุณประโยชน์มากก็ฉันนั้นเหมือนกัน. ผู้ฆ่าต้องใช้ #เจตนา แรงกล้ามากในการทำ เจตนานี้จึงให้ผลนำเกิดรุนแรงกว่า ครับ.

ยุคนี้เบาแล้ว

ยุคนี้เบาแล้ว ย้อนไปก่อนจะมีพระพุทธเจ้า  ดูประวัติศาสตร์โลกก็ได้โหดร้ายขนาดไหน, เดี๋ยวพอหมดยุคของพระพุทธเจ้านะ  โคตรหนักแน่นอน 😊  ไม่งั้นจะ...