วันอังคารที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2558

อย่ากลัวผิดคำพูดว่าจะทำดี แต่ให้กลัวว่าจะไม่ได้ทำดี, คนผิดคำพูดว่าจะทำดี คือ คนที่ทำแล้วพลาด, แต่คนที่ไม่ทำเลย คือ คนชั่วบริสุทธิ์ ไม่มีดีเจือเลย.

อย่ากลัวผิดคำพูดว่าจะทำดี แต่ให้กลัวว่าจะไม่ได้ทำดี, คนผิดคำพูดว่าจะทำดี คือ คนที่ทำแล้วพลาด, แต่คนที่ไม่ทำเลย คือ คนชั่วบริสุทธิ์ ไม่มีดีเจือเลย.

วันอาทิตย์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2558

คนที่อ้างแต่ว่า "ในพระสูตรฟังธรรมจบแล้วบรรลุเลย ไม่ต้องทำฌาน" คือ พวกมานะแรงกล้า ยกตนเสมออุคฆฏิตัญญู

เนยยะบุคคลที่ฟังธรรมามากก็ยังไม่บรรลุ ซ้ำยังขี้เกียจทำฌานเพื่อพัฒนาตนเองให้เป็นอุคฆฏิตัญญู วิปจิตัญญู ตามที่พระไตรปิฎก และเนตติปกรณ์แนะนำไว้ มักจะอ้างว่า...

"ในพระสูตร มีคนฟังแล้วบรรลุธรรมกันเยอะแยะ ไม่เห็นต้องทำฌานเลย"

โดยอ้างเช่นนั้นมา เพื่อที่จะบอกว่า "เมื่อคนพวกนั้นไม่ต้องทำฌานยังบรรลุ, งั้นพวกเราก็ไม่จำเป็นต้องทำฌาน ก็คงจะบรรลุได้ เช่นกัน"

คนพวกนี้เป็นพวกยกตนเสมอท่าน มีมานะที่ไม่ตรงตามความเป็นจริง ตนเองไม่ใช่อุคฆฏิตัญญู แต่ก็จะไปเอาข้อปฏิบัติของอุคฏิตัญญูมาอ้าง เพื่อจะทำเลียนแบบ ทั้งๆ ที่ไม่สมควรกับฐานะของตน

ระวังตัวให้ดี อย่าให้เป็นแบบนั้นนะครับ ถ้าคิดจะลัดขั้นตอนโดยไม่ดูฐานะของตัวเองอย่างนั้น สุดท้าย ก็จะไม่พ้นจากสังสารวัฏฏ์แน่นอน.

วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2558

วิธีรอดตายในสังคมแบบต่างๆ

คนไม่รู้จักคิด ไม่เห็นแก่ตัว 
> ตาย

คนไม่รู้จักคิด เห็นแก่ตัว 
> รอดไปวันๆ รอวันล่มจมทั้งชาตินี้และชาติหน้า

คนรู้จักคิด เห็นแก่ตัว 
> รอดไปชาตินึง รอล่มจมอย่างหนักในชาติต่อๆ ไป

คนรู้จักคิด ไม่เห็นแก่ตัว 
> รอดทั้งในปัจจุบัน และอนาคต

วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ขณปัจจุบัน (ย่อ)

ขณะปัจจุบัน คือ ขณะปัจจุบันของขณะอดีตกับขณะอนาคต. ซึ่งขณะอดีต ก็คือ ขณะปัจจุบัน ของขณะอดีตของตนกับขณะอนาคตของตน เช่นกัน.
เรื่องเหล่านี้เป็นกาล ที่อัฏฐสาลินี ระบุไว้ว่า เป็นเพียงบัญญัติ.
แต่ปรมัตถธรรมที่มีอุปาทะ ฐิติ ภังคะ (สังขตลักษณะ-ลักษณะของสังขารธรรม) ที่ถูกจิตเข้าไปบัญญัติว่า ขณะอดีตบ้าง ขณะอนาคตบ้าง ขณะปัจจุบันบ้าง, ปรมัตถธรรมที่มีสังขตลักษณะนี้นั่นแหละ คือ ปรมัตถธรรม. (สรุปจาก อัฏฐสาลินี)
ฉะนั้น จะขณะอดีต ขณะอนาคต ขณะปัจจุบัน ก็เป็นอารมณ์ของวิปัสสนา ครับ เพราะทั้งหมดตอนที่ถึงพร้อมด้วยสังขตลักษณะ ก็ล้วนเป็นขณะปัจจุบันเหมือนๆ กัน.
เรื่องนี้ ต้องแม่น ธัมมสังคณีมาติกา อตีตติกะนะครับ, อย่าลืมว่า อตีตติกะ เป็นปรมัตถ์เท่านั้น ครับ. ฉะนั้น ขณะอดีต ใน อตีตติกะ ก็ต้องเป็นปรมัตถ์ ถึงพร้อมด้วยสังขตลักษณะเช่นกัน ครับ.
จริงๆ ยังมีเรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับปัจจุบันแบบต่างๆ อีกมาก, ผมเองก็ตั้งใจจะเขียนบทความมาตั้งนานแล้ว ถ้าสำเร็จ (อาจ) จะเอามาเผยแพร่อีกครั้ง ครับ.

วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558

อายุศาสนาใน อ.พระวินัย คือ อายุของศาสนาพระพุทธโคดม, ใน อ.ทีฆนิกาย คือ ยุคพระพุทธกัสสปะ, ส่วน อ.อังคุตตรนิกาย แค่เอาสองที่มารวมกัน ไม่ใช่ต้นฉบับ.

มติ 5000 ปี ที่สืบทอดกันมาในสายพระอุบาลีนั้น เป็นยุคของพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ครับ มีมาก่อนพระอานนท์จะเป็นพุทธอุปัฏฐาก, ซึ่งพระอุบาลีเป็นผู้ที่คอยตามทรงจำทำความเข้าใจพระวินัย และเป็นผู้ตอบพระวินัย ตอนปฐมสังคายนา. มติ ที่มีฉฬภิญโญ เตวิชโช นั้นเป็นยุคของพระพุทธเจ้ากัสสปะ ครับ มาจากสายของพระอานนท์ที่คอยตามทรงจำพระสูตร และเป็นผู้ตอบพระสูตร ตอนปฐมสังคายนา. ในสัมปสาทนียสูตรและอรรถกถาที่นั้นก็แสดงไว้ชัดเจนว่าเป็นยุคของพระพุทธเจ้ากัสสปะ ครับ.

ส่วนมติในอรรถกถาอังคุตตรนิกาย เป็นการเอาสองมตินี้มารวมกันครับ (ซึ่งจริงๆแล้วรวมกันไม่ได้ เพราะเป็นคนละพุทธยุค). และอรรถกถาอังคุตตรนิกายนี้ เป็นสายของพระอนุรุทธะ ซึ่งท่านไม่ได้คอยตามฟังพระพุทธเจ้าเพื่อทรงพระวินัย และพระธรรม แบบที่พระอุบาลีและพระอานนท์ทำครับ. มติในอรรถกถาอังคุตตรนิกายนั้น จึงไม่ใช่สายต้นตำหรับของอันตรธานทั้ง 2 แห่ง. คนที่ไปเอาอรรถกถาที่นั้นมาเป็นหลักวินิจฉัยเรื่องอันตรธานของศาสนายุคปัจจุบัน เวลาวินิจฉัย ก็จะไปขัดกับพระบาลีนิทานแห่งอัฏฐครุธรรม ครับ, เพราะพระบาลีในอรรถกถาอังคุตตรนิกายนี้ เอานัยยะของอันตรธานของศาสนายุคพระพุทธเจ้ากัสสปะมาผสมกันด้วย. อย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ บาลีนิทานของอัฏฐครุธรรม ไม่มีตรงไหนบอกนะครับว่าหลังจาก 2000 ปี จะไม่มีพระอรหันต์ (ซึ่งก็ควรมีได้ ตามที่พระสูตรว่า ถ้ายังมีสุปฏิปันนโนอยู่ โลกจะไม่ว่างเปล่าจากพระอรหันต์).

ถ้าสืบสาวราวเรื่องอย่างนี้ ทุกอย่างก็จะชัดเจนตามปาฐะบาลี และอรรถกถาที่ขยายของ 2 มติต้นฉบับนั้นอยู่แล้ว ครับ, ไม่มีการทิ้งปมอะไรไว้ให้สงสัยอีก.

-------------------------------------------------------------

ป.ล. อ่านบาลีต้องเก็บทุกปาฐะนะครับ ไม่ใช่อ่านข้ามๆ จะมองหาที่มาที่ไปไม่ครบ ทำให้วินิจฉัยไม่ได้ แม้หลักฐานจะแสดงชัดอยู่ในตัวแล้วก็ตามก็วินิจฉัยไม่ได้อยู่ดี เพราะไม่สวดท่องสาธยายตามลำดับ ทำให้มองข้อมูลไม่ครบทั้งหมด. ในอรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร ตอนที่ผู้ทรงพระไตรปิฎก 2 รูป แย้งกันเรื่อง สติปัฏฐานมีมรรคเดียวหรือหลายมรรค ท่านจึงใช้การสวดทวนตัวสูตรเองนั่นแหละ เพื่อหาคำตอบ. 

ไม่ใช่เล่าเรียนทรงจำพระไตรปิฎกแล้ววินิจฉัยอะไรไม่ได้เลย ปล่อยให้ผ่านๆ ตา แล้วก็ลืมไปหมดสิ้น ไม่เกิดปัญญา หาประโยชน์ใดๆไม่ได้เลย. ในพระวินัยจึงแสดงคุณสมบัติของนิสสยมุจจกะ ภิกขุปริสูปัฏฐาปกะ ภิกขุโนวาทกะไว้ ให้ไม่ใช่แค่ทรงจำเท่านั้น แต่ต้องเข้าใจ แทงตลอด และวินิจฉัยได้ด้วยไงครับ.

ฉะนั้น ถ้าเรียนพระไตรปิฎกแล้ววินิจฉัยไม่ได้ ทั้งๆที่ข้อมูลมีครบถ้วนอยู่แล้ว ก็แสดงว่าเรียนมาผิดวิธี ท่องมาไม่ดี ทวนไม่บ่อย ถามไม่ละเอียดพอ ครับ.

การทำบุญบาปเหมือนสะสม exp เลเวลในเกม แต่เกมชีวิตมันมีลดเลเวลได้

 การทำบุญบาปเหมือนสะสม exp เลเวลในเกม แต่เกมชีวิตมันมีลดเลเวลได้ ถ้าไม่ทำครบขั้นตอนแบบพระพุทธเจ้าบอกสูตรไว้ คือ ดีแล้วกลับมาชั่วทีหลัง ชั่วแ...