วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

คำว่า"อยาก"ไม่ใช่ตัณหาเสมอไป, และอยากนิพพานอย่างไรที่พระพุทธเจ้าสอน

ถาม: อยากนิพพานไม่สมควรใช่ไหม? หรืออย่างไร?

ตอบ: อยาก ไม่ได้แปลว่าตัณหาเสมอไปครับ. ถ้าอยาก แต่ไม่ได้ติดใจ ยึดถือ อาจแปลว่า ฉันทะที่เป็นกุศลได้เช่นกัน. เช่น อยากทำบุญ เป็นต้น.

เพราะฉันทะเป็นสภาพพอใจจะทำ (อยากทำสมเหตุผลก็ได้ ไม่สมเหตุผลก็ได้) ส่วนโลภะเป็นสภาพติดใจ ยึดมั่น ถือมั่น ในอารมณ์ (อยากยาบ้า ไม่สมเหตุผล ไร้ประโยชน์).

 การตอบว่า "ตัณหาไม่เท่ากับอยาก(ฉันทะ)จะนิพพาน" เป็นการตอบแบบเพียวๆ เหมือนอยู่ในห้องทดลอง ไม่มีตัวแปรที่คาดไม่ถึงครับ.

ในชีวิตจริงๆ ปฏิเสธไม่ได้ว่า "ตัณหาในกุสลฉันทะ" กับ "กุสลฉันทะที่มุ่งจะนิพพาน" มาคู่กัน. ทีนี่เมื่อจะเอาของในห้องทดลองมาใช้กับการปฏิบัติจริงๆ ในพระไตรปิฎกจึงมีหลักอยู่ว่า "อาศัยตัณหาละเอียดๆ ละตัณหาหยาบๆ" (เรื่อง หยาบ-ละเอียด ดูขยายในขันธวิภังค์ สุตตันตนัย) จึงยังไม่ต้องกำหนดละตัณหาในกุศลฉันทะก่อน เพราะตัณหาในกุสลฉันทะที่มุ่งนิพพานนั้น จัดว่าละเอียดที่สุด เป็นอย่างสุดท้ายที่จะต้องกำหนดละ ฉะนั้น ในอรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตรจึงกล่าวว่า "ไม่ควรเจริญโพชฌงค์บรรพะในระยะเริ่มต้น" เพราะการเจริญ โพชฌังคบรรพะ คือ การพิจารณาเหตุแห่งความเกิดความดับในโพชฌังคธรรม ซึ่งจะทำให้เบื่อหน่ายการเจริญกุศล ท่านจึงไม่ให้เจริญบรรพะนี้ในระยะแรก ครับ.

ท่านที่กล่าวว่า การฟังไม่เป็นภาวนา ชื่อว่าทำลายธัมมจักกัปปวัตนสูตรได้เลยทีเดียว

ในเนตติปกรณ์ แห่งสุตตันตปิฎก(พม่า) กล่าวว่า "ปัญญาที่ชำนาญ(ญาณ)ที่เกิดโดยอาศัยสุตมยปัญญาหรือจินตามยปัญญาก็ตาม เรียกว่า ภาวนามยปัญญา". คำนี้สอดคล้องกับ สุตมยปัญญา จินตามยปัญญา ในอภิธรรม วิภังคปกรณ์ครับ.
ธัมมสวนมัย ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ เป็นภาวนามัยในบุญกิริยาวัตถุ ๓ ครับ. ท่านที่กล่าวว่า การฟังไม่เป็นภาวนา ชื่อว่าทำลายธัมมจักกัปปวัตนสูตรได้เลยทีเดียว เพราะพระอัญญาโกณทัญญะก็บรรลุขณะที่ฟังครับ.

ญาณ,ฌาน,ฌานปัจจัย,ฌานสมาบัติ

ญาณ=ปัญญาเจตสิก (ญ ผู้หญิง, ณ เณร อ่านว่า ยาน),
ฌาน=เอกัคคตาเจตสิก (ฌ กระเฌอ, น หนู อ่านว่า ชาน), 
ฌานปัจจัย⊂เอกัคคตาเจตสิก, 
วิกขัมภนฌาน+สมุจเฉทฌาน+ปฏิปัสสัทธิฌาน=ฌานสมาบัติ.

แยก"สติของทาน สติของศีล สติของสมถะ สติของวิปัสสนา"ด้วยคำถาม

หลายท่าน กำลังหาทางจำกัดความของสติของทาน สติของศีล สติของสมถะ สติของวิปัสสนา.
สติของทาน ต่างจาก สติของไตรสิกขา ด้วยคำตอบของคำถามว่า "ทำไมทานจึงไม่เป็นไตรสิกขา?"
สติของศีล ต่างจาก สติของภาวนา ด้วยคำตอบของคำถามว่า "ภาวนามาจากธาตุอะไร? มีคำขยายว่าอย่างไร? ภาวนาจัดเป็นอะไรในกุสลัตติกะ? ศีลเป็นบาทฐานของอะไร? ต่างจากภาวนาที่เป็นบาทฐานของอะไร?"
สติของสมถภาวนา ต่างจาก สติของวิปัสสนาภาวนา ด้วยคำตอบของคำถามว่า "อะไรบ้างไม่เป็นอารมณ์ของสมถะ? อะไรบ้างเป็นอารมณ์ของวิปัสสนา? ไตรลักษณ์ข้อใดที่คนนอกศาสนารู้เองไม่ได้?"
ทำไมไม่ระบุองค์ธรรมไปเลย? ทำไมต้องตอบเป็นคำถาม? เพราะส่วนใหญ่ท่านเคยฟังมาในพระไตรปิฎกกันอยู่แล้ว แต่ท่านไม่เข้าใจโดยแท้จริง ฉะนั้น ต้องให้ท่านคิดเอง ฝึกสุตมยปัญญาในใจ ให้กลายเป็นสุตมยญาณด้วยตัวเองครับ.

อนึ่ง เถรวาท 18 นิกาย ก็เกิดจากผู้ที่ตอบคำถามเหล่านี้ได้ไม่สมบูรณ์ครับ, ดูกถาวัตถุ.


สายสมถะกับสายวิปัสสนาต่างกันอย่างไร?


 ในเนตติปกรณ์และอรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร แสดงไว้ว่า ตัณหาจริต (ข่มกิเลสไม่ค่อยได้ เจริญกุศลได้ไม่นาน) ท่านแนะนำให้ทำฌานก่อนแล้วทำวิปัสสนาปิดท้าย. ส่วนพวกทิฏฐิจริต (ข่มกิเลสได้ง่าย ทำกุศลสบายๆ) ท่านแนะนำว่าไม่ต้องทำฌานก่อนก็ได้ ทำวิปัสสนาได้เลย.

จริตพวกนี้ ภิกขุปริสูปัฏฐาปกะขึ้นไป จะเป็นผู้สังเกตและเลือกกรรมฐานให้ครับ.

วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

พระอริยะแสดงตัวได้หรือไม่? พระอริยะเก่งทุกเรื่องหรือไม่? (แสดงสรุป ไม่ได้ยกที่มาอ้างอิง)

  • 1. วิสุทธิมรรคว่า ถ้าเปิดเผยแล้วมีประโยชน์จริงๆ พระอริยะก็เปิดเผยตัวครับ (กับเพศเดียวกันไม่มีอาบัติด้วยภูตาโรจนปาจิตติยสิกขาบท)

    2. พระอริยะไม่ได้เก่งไปทุกเรื่อง ครับ, แต่เก่งมากเฉพาะกรรมฐานกองที่ตนชำนาญเท่านั้น. ถ้าจะสังเกตพระอริยะให้ใกล้เคียงที่สุด ให้ปริยัติให้มากๆ แล้วเทียบเคียงเอา ครับ. แบบเดียวกับที่ทำกับพระคึกฤทธิ์นั่นแหละ ครับ องค์นี้ถ้าดูแต่จิตตชรูป ก็คงคิดกันว่ามีเมตตามาก จริงไหมครับ?

เรื่องพระอรหันต์จักขุปาละ อุทาหรณ์ อุปวาทกรรม

จากเรื่องอรหันต์จักขุปาละ จะเห็นได้ว่า
เมตตานั้น ไม่ใช่สิ่งที่ดูได้จากจิตตชรูปเสมอไป,
และคนไม่มีปัญญาก็ไม่อาจมองเห็นเมตตาได้หมดด้วย,
จึงไม่ควรคิดว่าคนที่พูดไม่ตรงกับใจเรา คือ คนไม่ดีเสมอไป.
ฉะนั้น พึงสำรวมกายวาจา ระวังอุปวาทกรรมกันให้ดีนะครับ.

ตัวอย่างในรูป จาก จักขุปาลเถรคาถา.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=11&p=1


วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

อริยะไม่ได้สมบูรณ์แบบทุกอย่างเสมอไป ฉะนั้น พึงระวังอริยุปวาทกรรม

พระอริยะ ทำอริยุปวาทะ พระอริยะ
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php…
พระเจ้ามหานามะ ผู้เป็นสกทาคามี ยังมีความยึดมั่นอยู่ 
กล่าวไว้ว่า "พระเจ้าวิฑูฑภะนี้จักฆ่าเราผู้ไม่บริโภคร่วม, 
การตายเองของเราเท่านั้น ประเสริฐกว่า"
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=14&p=3
สิ่งที่มุ่งหมายจะบอก คือ พระอริยะก็ยังมีความยึดมั่น
บางอย่างเหลืออยู่ได้ ครับ. จะตำหนิ จะว่ากล่าว 
จะวิพากย์ใคร ขอให้พิจารณาถ้อยคำ และบุคคลกันให้ถี่ถ้วน. 
โดยเฉพาะท่านที่เรียนอภิธรรมกันมาแล้ว 
ก็อย่าให้ที่เรียนมานั้นเสียเปล่านะครับ 
พิจารณาองค์ธรรมให้รอบคอบ ถ้าไม่ครบองค์ 
ก็อย่าพลั้ง อย่าพลาด ให้หลุดออกจากปากไปได้ ครับ.

วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สุตมยปัญญา จินตามยปัญญา ภาวนามยปัญญา ในวิภังค์

    (แปลตามอนุฏีกาของพระธัมมปาลาจารย์ครับ)

    เรื่องสุตมยปัญญา จินตามยปัญญา ภาวนามยปัญญา เป็นเรื่องที่เป็นปัญหาใหญ่มากสำหรับผม เพราะมีการตีความที่ขัดแย้งกับอรรถกถาหลายมติจากหลายสำนัก จนนำไปสู่ความขัดแย้งเป็นก๊กเป็นเหล่าระหว่างสำนักที่ตั้งใจปฏิบัติตามพระไตรปิฎกด้วยกัน ซึ่งพระไตรปิฎกตรงนี้แปลยากมากสำหรับมือใหม่ (เพราะยังไม่ชำนาญกับอรรถกถาฏีกา) ผู้เขียนเองใช้เวลาตั้งแต่ พ.ศ. 2006 จวบจนถึง ปีนี้ 2014 จึงแปลรู้เรื่อง. ด้วยเหตุนี้ จึงได้นำคำแปลนี้มาเผยแพร่ให้ได้ศึกษากัน ครับ.

    จินตามยปัญญา คือ บุคคลย่อมได้ปัญญาเหล่านี้โดยไม่ได้ฟังจากผู้อื่น คือ  
  1. ปัญญา(คือ ขันติ, ทิฏฐิ, รุจิ, มุทิ, เปกขา, ธัมมนิชฌานขันติ [ไวพจน์ของปัญญาทั้งหมด]) ในงานใช้แรงงานต่างๆที่จัดการด้วยปัญญาบ้าง (เช่นคิดด้วยตนเองว่าจะสร้างศาลาเพราะอยากให้คนอื่นมาพักผ่อนใช้สอย), 
  2. ปัญญาในงานใช้หัวคิดต่างๆที่จัดการด้วยปัญญาบ้าง(เช่นคิดด้วยตนเองว่าน่าจะทำแผนที่ให้คนอ่านจะได้ไม่หลงทาง),
  3. ปัญญาในงานใช้วิชชาต่างๆที่จัดการด้วยปัญญาบ้าง (เช่นคิดด้วยตนเองว่าน่าจะร่ายมนต์รักษาคนเขาจะได้หายป่วยเป็นสุข),
  4. กัมมสสกตาปัญญาบ้าง(เช่นคิดขึ้นมาเองว่า ทำบุญได้ผลเช่นนี้ ทำบาปได้ผลเช่นนี้ บุญควรทำ บาปไม่ควรทำ),
  5. สัจจานุโลมิกปัญญาบ้าง (ว่า "รูป-เวทนา-สัญญา-สังขาร-วิญญาณ ไม่เที่ยง" ดังนี้),
  6. หรือได้ปัญญาอะไรก็ตามที่เป็นอนุโลมิกะ (ปัญญาใดๆ ที่เข้ากันได้กับเหตุ 5 ข้อนั้น/กับประโยชน์ของสัตว์โลก/กับมัคคสัจ/และกับนิพพาน).


    -------------------------------------------------------------------------

    ในสุตมยปัญญาก็เหมือนกัน, ต่างกันตรงที่ สุตมยปัญญา ได้ยินได้ฟังมาจากคนอื่นจึงเกิดปัญญา ใน 6  ข้อนั้นขึ้นมา, ส่วนจินตามยปัญญาไม่ได้ยินได้ฟัง ก็สามารถคิดได้เอง.


    อรรถกถาบอกว่า เฉพาะสัจจานุโลมิกญาณเท่านั้น ที่เป็นจินตามยปัญญาเฉพาะของพระพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้า, จินตามยปัญญาอื่นนอกนั้นสัตว์ที่มีปัญญามากเหล่าอื่นๆ ก็สามารถทำได้.

    ส่วนภาวนามยปัญญานั้น วิสุทธิมรรคมหาฏีกา กล่าวว่า หมายถึงวิปัสสนาและมรรคปัญญา. แต่ในที่นั้น ท่านหมายถึง ภาวนามยปัญญาในวิสุทธิ ๕ ข้อหลัง ที่เป็นวิปัสสนา เพราะเป็นเนื้อหาที่กำลังกล่าวอยู่ในวิสุทธิมรรคจุดนั้น, ดังนั้น จึงไม่ควรจะเอามาใช้ขยายในวิภังค์ตรงๆ ทีเดียว. ในวิภังค์ที่กำลังยกมาแปลนี้ โดยบริบทแล้วควรจะหมายถึง ฌานและมรรคปัญญา  (ถ้าเอาแบบวิสุทธิมรรคมหาฏีกาก็ต้องรวมทั้งอุปจาระด้วย ซึ่งผู้แปลมองว่า ซ้ำซ้อนกับสัจจานุโลมิกปัญญาข้างต้นจึงไม่เอามารวมไว้)

    ควรดูปัญญา 3 อย่างนี้ใน เทสนาหารปฏินิทเทส ในเนตติปกรณ์ประกอบด้วย เพื่อความเข้าใจยิ่งๆ ขึ้นไป ครับ.

    วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

    ระหว่าง กินเนื้อสัตว์+ห้ามมีเซ็กส์ กับ กินมังสะวิรัต+มีเซ็กส์ได้ อันไหนบาป บุญ มากน้อยกว่ากัน

    เซ็กส์ที่ไม่บาปไม่มี, พระอรหันต์จึงไม่มีเซ็กส์ เพราะมันไร้สาระมาก 
    คิดดูเอาเองว่า ท่านจะยอมกราบไหว้คนที่ทำเรื่องไร้สาระไปทำไม?
    การกินที่บาปก็มี ที่ไม่บาปก็มี, พระอรหันต์จึงยังกินอยู่ เพราะท่านกินแบบไม่บาป
    และการกินไม่ใช่เรื่องไร้สาระเสียอย่างเดียว มีสาระ มีความจำเป็นก็ได้
    เพราะกินเพื่อมรรคผลนิพพานได้ แต่มีเซ็กส์ไม่ได้ช่วยให้ละกิเลสมีความติดใจ
    ในสัมผัสเป็นต้น ได้เลย.

    ถ้าการกินเนื้อสัตว์ต้องบาปเท่านั้น ผู้กินผักย่อมบาปไม่น้อยไปกว่าผู้กินเนื้อ,
    เพราะกว่าจะได้ผักมาพอต้มมื้อหนึ่ง มีสัตว์ในดิน มีจุลินทรีย์ แบคทีเรีย ตายมากมาย
    พวกเขาเห็นแก่ตัว รักตัวกลัวตาย จึงยังฝืนกินผักบ้าง เนื้อบ้าง อย่างนั้นหรือ?

    ลัทธิแรกจึงให้ประโยชน์มากกว่าลัทธิหลังครับ.

    วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

    คนสมัยใหม่ มักง่าย ไม่ค่อยตั้งใจฟัง

    ในโรงเรียนแห่งหนึ่ง มีครูอยู่ 1 คน สอนลูกศิษย์อยู่ 5,000 ปี
    สมัยนักเรียนรุ่นที่ 2,600 นักเรียนทั้งหลายมาประชุมสนทนากันว่า:

    นายคนรุ่นใหม่ถามว่า: 
    ...วันนี้ครูสอนว่าอะไรอ่ะ?...
    นายคนรุ่นใหม่เหมือนกันตอบว่า:
    ...ครูสอนว่่า ปัญญา คือ ตามเห็นตุ๊กแกได้ทุกที่...
    นายคนรุ่นใหม่รับว่า: 
    สาธุ สาธุ สาธุ
    นายคนรุ่นเก่าตอบว่า:
    ...ปัญญา เพราะอรรถว่า รู้หลายประการ, ญาณ เพราะอรรถว่ารู้ชำนาญ...
    นายคนรุ่นใหม่รับว่า: 
    ...ช่วยตอบง่ายๆหน่อยครับ...

    (ถ้าเป็นคนตั้งใจฟัง ฟังด้วยความเคารพ เป็นสุตธร จะจำได้ จะถามต่อไปว่า อรรถะ คืออะไร, หลายประการเป็นอย่างไร, รู้เป็นอย่างไร, ชำนาญเป็นอย่างไร เป็นต้น, หรืออย่างน้อยที่สุด ก็ขอให้แสดงอีกครั้ง, ไม่ใช่กี่ปีๆ ก็ตั้งจิตไว้ว่า "ของ่ายๆ หน่อย ยากไป ไม่เอาๆ ไม่ชอบยากๆ" เช่นนี้ เท่ากับไม่เคารพธรรมะ, ไม่มีภาวนา, ไมัพัฒนาตัวเองเลย ครับ)

    ทุกข์ ทุกขอริยสัจจ์ ทุกขธรรม ทุกขลักษณะ ทุกขเวทนา ทุกข์กาย ทุกข์ใจ

    หาคนทำเป็นสูตรซับเซ็ต กับ แผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ (เซต) 
    1. อภิญเญยยธรรม=ปริญเญยยธรรม ปหาตัพพธรรม ภาเวตัพพธรรม สัจฉิกาตัพพธรรม สัจจวิมุติ บัญญัติ
    2. อริยสัจจ์=ปริญเญยยธรรม ปหาตัพพธรรม ภาเวตัพพธรรม สัจฉิกาตัพพธรรม
    3. อริยสัจจ์=ทุกข์ สมุทัย มรรค นิโรธ
    4. อภิญเญยยธรรม = ขันธ์ ๕ นิพพาน บัญญัติ
    5. ทุกขลักษณะ=อัตถบัญญัติ
    6. ขันธ์ ๕ ทั้งปวง ∈ อภิญเญยยธรรม  
    7. ทุกขธรรม = ธรรมมีทุกขลักษณะ 
    8. ขันธ์ ๕ = ทุกขธรรม
    9. อุปาทานขันธ์ ๕ = โลกิยทุกขธรรม 
    10. ทุกขอริยสัจจ์ = อุปาทานขันธ์ ๕
    11. ปริญเญยยธรรม=ทุกขอริยสัจจ์
    12. ทุกขเวทนา  ∈ ปริญเญยยธรรม ปหาตัพพธรรมโดยอภิธรรมนัย
    13. เวทนาขันธ์ =ทุกข์กาย ทุกข์ใจ สุขกาย สุขใจ อุเบกขา
    14. เวทนาขันธ์  ∈ อภิญเญยยธรรม  ปริญเญยยธรรม ปหาตัพพธรรม ภาเวตัพพธรรม
    15. สัจฉิกาตัพพธรรม = นิโรธสัจจ์

    เราจะรู้ได้อย่างไรว่าผู้นั้นได้ฌาน ผู้นั่นเป็นพระอริยะ

    เราจะรู้ได้อย่างไรว่าผู้นั้นได้ฌาน ผู้นั่นเป็นพระอริยะ

    สำหรับคนที่ไม่เคยได้ฌาน หรือบรรลุ สามารถอนุมานว่า
    ครได้หรือบรรลุ ได้จากการเข้าใจพระไตรปิฎกและข้อปฏิบัติ
    โดยลำดับอย่างถ่องแท้+การสนทนาสังเกตุการณ์จนเข้าใจคำสอน 
    วิธีสอน การปฏิบัติ ในสำนักที่จะตรวจสอบอย่างลึกซึ้ง.

    การอนุมานข้างต้นเป็นไปตามสูตรที่ว่า "เมื่อคำสอนมีอยู่ 
    โลกไม่ว่างจากพระอรหันต์".

    และสามารถเจาะลึกลงไปที่ตัวบุคคลได้อีก 
    ด้วยการสังเกตการวางตำแหน่งในสำนัก เช่น 
    คนเป็นอาจารย์กรรมฐานในสำนักที่เน้นเรื่องฌาน
    (ซึ่งสอนตรงตามพระไตรปิฏก อรรถกถา ทุกประการ)
    ละสอนตรงตามพระไตรปิฎกทุกอย่าง 
    ก็ย่อมต้องได้ฌาน เป็นต้น อันนี้ค่อนข้างแน่นอน
    ในเรื่องฌานและวิปัสสนาญาณ แต่การบรรลุนั้น
    ไม่แน่นอนเสมอไป เพราะบางท่านใคร่เป็นพระโพธิสัตว์
    เป็นต้นก็จะยังไม่ยอมบรรลุ.

    วันจันทร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

    บัญญัตติ ใน สังคหะป. 8 แปลเผด็จ (บัญญัติที่ถูกรู้เท่านั้น กับ บัญญัติที่ทำให้รู้อย่างอื่นจากตนเองด้วย)

            (ใช้สังคหะแปลฉบับมหามกุฏเป็นโครง)

            ในเรื่องบัญญัติต่างๆ ย่อได้อย่างนี้: 
            นามและรูป (ที่เป็นปัจจัยและปัจจยุปบันซึ่งกล่าวมาในปริจเฉทนี้และก่อนๆ นั้น จำกัดความอย่างนี้:)

            รูป หมายถึง รูปขันธ์.
            นาม/อรูป หมายถึง  อรูปขันธ์ ๔ (จิตเจตสิก) และนิพพาน รวม 5 อย่าง.

            ส่วนอะไรที่นอกจากนี้เป็นบัญญัติ.
            บัญญัติที่ว่านั้นมีอยู่ ๒ อย่าง คือ 

          1. ปัญญาปิยัตตาบัญญัติ (บัญญัติที่ถูกรู้) 
          2. ปัญญาปนโตบัญญัติ (บัญญัติที่ทำให้รู้)
            สองอย่างนี้เป็นอย่างไร?

          คาถาสรุป

              อัตถบัญญัติทั้งหลาย(ปัญญาปิยัตตา) ที่เป็นอารมณ์แห่งโสตอัตถัคคหณมโนทวารวิถี (ซึ่งเป็นวิถีที่เกิดหลังจากนามมัคคหณวิถีที่ระลึกคล้อยตามกระแสสัททรูปที่เกิดจากวจีวิญญัติ), อรรถะนั้นย่อมถูกรู้คล้อยตามกระแสนามบัญญัติใด (ปัญญาปนโต), นามบัญญัตินั้นแหละคิดกันขึ้นตามการทำเครื่องหมายรู้ของชาวโลก.

            ปัญญาปิยัตตาบัญญัติ (บัญญัติที่ถูกรู้อย่างเดียว=ไม่ใช่ชื่อ)

                ปัญญาปิยัตตาบัญญัติ (บางตำราเรียก อุปาทาบัญญัติ, อุปาทายบัญญัติ) หมายถึง สิ่งที่แม้ไม่ได้มีอยู่จริงโดยปรมัตถ์ (แปลจาก "อวิชชมานา") แต่ก็เป็นอารมณ์แห่งจิตตุปบาท ด้วยการเป็นเงาของปรมัตถ์, จิตอาศัยปรมัตถ์นั้นๆ มาเปรียบเทียบกัน แล้วทำเป็นเหตุให้บัญญัติที่ถูกจิตคิดอยู่ถูกกล่าวกัน ถูกเข้าใจกัน เรียกร้องกัน ให้รู้ความหมายกัน เพราะฉะนั้น จึงกล่าวบัญญัติประเภทแรกไว้ว่า ปัญญาปิยัตตาบัญญัติ (บัญญัติที่ถูกรู้) ฯ 

            ตัวอย่างของปัญญาปิยัตตาบัญญัติ

              สันตานบัญญัติ คือ บัญญัติที่จิตคิดขึ้นโดยอาศัยอาการความเป็นไปต่างๆ ของมหาภูต ได้แก่ พื้นที่และภูเขา เป็นต้น. 
              สมูหบัญญัติ คือ บัญญัติที่จิตคิดขึ้นโดยอาศัยอาการความประชุมแห่งสัมภาระ ได้แก่ รถและเกวียน เป็นต้น. 
              สมมติบัญญัติ คือ บัญญัติที่จิตคิดขึ้นโดยอาศัยขันธ์ 5 (บัญัติข้ออื่น อาศัยขันธ์ 1) ได้แก่ บุรุษและบุคคล เป็นต้น.
              ทิสาบัญญัติ คือ บัญญัติที่จิตคิดขึ้นโดยอาศัยความหมุนเวียนของพระจันทร์เป็นต้น ได้แก่ ทิศและกาล เป็นต้น. 
              อากาสบัญญัติ คือ บัญญัติที่จิตคิดขึ้นโดยอาศัยอาการที่มหาภูตรูปไม่จดถึงกัน ได้แก่ หลุมและถ้ำ เป็นต้น. 
              นิมิตตบัญญัติ คือ บัญญัติที่จิตคิดขึ้นโดยอาศัยภูตนิมิตนั้น ๆ และอาการพิเศษของภาวนา ได้แก่ กสิณนิมิต เป็นต้น. 
              .

            ปัญญาปนโตบัญญัติ (บัญญัติที่ทำให้รู้อย่างอื่นจากตนเองอีกด้วย=ชื่อ)

            ส่วนปัญญาปนโตบัญญัติ (บางตำราเรียก นามบัญญัติ, สัททบัญญัติ) ท่านแสดง(ไว้ในธัมมสังคณี)ว่า "นาม, นามกัมมะ" เป็นต้น ฯ นามบัญญัตินั้นมี ๖ อย่าง คือ:
            1. วิชชมานบัญญัติ ชื่อที่ทำให้รู้สิ่งที่มีอยู่จริง
            2. อวิชชามานบัญญัติ ชื่อที่ทำให้รู้สิ่งที่ไม่มีอยู่จริง
            3. วิชชามาเนนอวิชชามานบัญญัติ
              ชื่อที่ทำให้รู้สิ่งที่ไม่มีอยู่จริงด้วยสิ่งที่มีอยู่จริง
            4. อวิชชามาเนนวิชชามานบัญญัติ
              ชื่อที่ทำให้รู้สิ่งที่มีอยู่จริง
              ด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง
            5. วิชชามาเนนวิชชมานบัญญัติ
              ชื่อที่ให้รู้สิ่งที่มีอยู่จริง
              ด้วยสิ่งที่มีอยู่จริง
            6. อวิชชามาเนนอวิชชมานบัญญัติ ชื่อที่ให้รู้สิ่งที่ไม่มีอยู่จริงด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง

            (ตัวอย่างของปัญญาปนโต)

            ใน 6 ข้อนั้น:
            1. การตั้งชื่อว่า "รูป" "เวทนา" เป็นต้น ซึ่งมีอยู่โดยปรมัตถ์ บัญญัตินี้ท่านเรียกว่า วิชชมานบัญญัติ.
            2. การตั้งชื่อว่า "แผ่นดิน" "ภูเขา" เป็นต้น ซึ่งไม่มีอยู่โดยปรมัตถ์, บัญญัตินี้ท่านเรียกว่า อวิชชมานบัญญัติ.
              ส่วนบัญญัติที่เหลือนั้น
              พึงทราบโดยการผสมกันของบัญญัติทั้ง 2 ว่า 
            3. ผู้มีอภิญญาหก = ผู้+อภิญญาหก (คำว่า "ผู้" ทำให้รู้สัตว์บุคคล ซึ่งสัตว์บุคคลไม่มีอยู่จริง, คำว่า "อภิญญาหก" ทำให้รู้อภิญญาจิตตุปบาท ซึ่งจิตตุปบาทมีอยู่จริงเพราะมีลักขณาทิจตุกกะ. ผู้มีถูกขยายด้วยคำว่าอภิญญาหก ฉะนั้น คำว่า "ผู้" จึงถูกทำให้รู้พร้อมกับคำว่า "อภิญญาหก".)
            4. เสียงของหญิง=เสียง+หญิง
              (คำว่า "เสียง" ทำให้รู้สัททรูป ซึ่งสัททรูปมีอยู่จริง, คำว่า "หญิง" ทำให้รู้สัตว์บุคคล ซึ่งสัตว์บุคคลไม่มีอยู่จริง.)
            5. จักขุ+วิญญาณ
              (คำว่า "จักขุ" ทำให้รู้ จักขุรูป ซึ่งจักขุรูป มีอยู่จริง, วิญญาณก็นัยยะเดียวกัน)
            6. โอรส+ของพระราชา=โอรส+พระราชา
              (ทั้งคำว่า "โอรส" และ "พระราชา" ล้วนทำให้รู้สัตว์บุคคล ซึ่งสัตว์บุคคลไม่มีอยู่จริง)
              ตามลำดับ ฯ

              1. ปริเฉทที่ ๘ ชื่อปัจจัยสังคหวิภาคในปกรณ์ชื่อว่าอภิธัมมัตถสังคหะ จบด้วยประการฉะนี้ ฯ

                ------------------------------------------------------------

                ผู้แปลและเรียบเรียงเสริมจากสมูหบัญญัติ

              ตรงที่สมูหบัญญัติในปัญญาปิยัตตาบัญญัติ พูดถึงสัมภาระ ให้ลองนึกถึงสสัมภารมหาภูต, และสสัมภาระจักขุ, แล้วถามตัวเองว่า จักขุทสกะต่างอะไรกับสสัมภาระจักขุ, สสัมภาระจักขุต่างอะไรกับจักขุปสาทะ, และจักขุปสาทะต่างอะไรกับจักขุทสกะ.

              ในกุศล, กุศลจิต, กุศลจิตตุปบาท และในรูป, จักขุปสาทรูป, รูปกลาป ให้พิจารณาความต่างให้ออก โดยแยกว่า





              1. อะไรเป็นชื่อ(ปัญญาปนโตบัญญัติ) สื่อถึงสภาวะแต่ละอย่างแต่มีลักษณะที่มีเหมือนกัน [พูด 1 สื่อสภาวะมากกว่า 1], 
              2. อะไรเป็นชื่อ สื่อถึงสภาวะอย่างเดียว มีลักษณะเฉพาะเดียว [พูด 1 สื่อสภาวะ 1], 
              3. และอะไรเป็นชื่อ สื่อถึงกลุ่มก้อน ซึ่งไม่มีสภาวะ [พูด 1 สื่อถึงปัญญาปิยัตตาบัญญัติ แล้วปัญญาปิยัตตาบัญญัติ ถึงจะไปสื่อถึงสภาวะหลายอย่างอีกที], 

                1. อย่าเหมารวม อย่าคิดว่าเหมือนกันหมด ครับ.

              ผู้แปลและเรียบเรียงเสริมปัญญาปนโตกับปัญญาปิยัตตา

              สามารถเทียบเคียงกับเรื่องปวัตตนวิญญัติ (วิญญัติที่ถูกรู้แต่ไม่ได้จงใจสื่อให้รู้ถึงสิ่งอื่น) กับโพธนวิญญัติ (วิญญัติที่ถูกรู้โดยจงใจให้รู้สิ่งที่สื่อถึง) ได้.

              การแปล อุปาทาบัญญัติ ว่า จิตเข้าไปอาศัยปรมัตถ์เพื่อคิดบัญญัติขึ้น (ไม่แปลแบบที่เข้าใจผิดกันเดิมว่า "บัญญัติอาศัยปรมัตถ์") เป็นการแปลตามสังคณีมูลฏีกานี้:




              ตีณิ ลกฺขณานีติ อนิจฺจทุกฺขอนตฺตตาฯ นามกสิณสตฺตปญฺญตฺติโย ติสฺโส ปญฺญตฺติโยฯ ปรมตฺเถ อมุญฺจิตฺวา โวหริยมานา(อิยะ=บัญญัติถูกจิตโวหารอยู่) วิหารมญฺจาทิกา อุปาทาปญฺญตฺติ สตฺตปญฺญตฺติคฺคหเณน คหิตาติ เวทิตพฺพา, เอตานิ จ ลกฺขณาทีนิ เหฏฺฐา ทฺวีสุ กณฺเฑสุ วิญฺญตฺติอาทีนิ วิย น วุตฺตานิ, น จ สภาวธมฺมาติ กตฺวา น ลพฺภนฺตีติ วุตฺตานิฯ น หิ โกจิ สภาโว กุสลตฺติกาสงฺคหิโตติ วตฺตุํ ยุตฺตนฺติฯ

              ในสังคณีอนุฏีกาขยายว่า:

              [987] อุปฺปาทาทิสงฺขตลกฺขณวินิวตฺตนตฺถํ ‘‘อนิจฺจทุกฺขอนตฺตตา’’ติ วุตฺตํฯ อุปฺปาทาทโย ปน ตทวตฺถธมฺมวิการภาวโต ตํตํธมฺมคฺคหเณน คหิตาเยวฯ ตถา หิ วุตฺตํ ‘‘ชรามรณํ ทฺวีหิ ขนฺเธหิ สงฺคหิต’’นฺติ (ธาตุ. 71), ‘‘รูปสฺส อุปจโย’’ติ จ อาทิฯ เกสกุมฺภาทิ สพฺพํ นามํ นามปญฺญตฺติ, รูปเวทนาทิอุปาทานา พฺรหฺมวิหาราทิโคจรา อุปาทาปญฺญตฺติ สตฺตปญฺญตฺติ, ตํตํภูตนิมิตฺตํ ภาวนาวิเสสญฺจ อุปาทาย คเหตพฺโพ ฌานโคจรวิเสโส กสิณปญฺญตฺติฯ ปรมตฺเถ อมุญฺจิตฺวา โวหริยมานาติ อิมินา วิหารมญฺจาทิปญฺญตฺตีนํ สตฺตปญฺญตฺติสทิสตํ ทสฺเสติ, ยโต ตา สตฺตปญฺญตฺติคฺคหเณน คยฺหนฺติฯ หุตฺวา อภาวปฏิปีฬนอวสวตฺตนาการภาวโต สงฺขตธมฺมานํ อาการภาวโต สงฺขตธมฺมานํ อาการวิเสสภูตานิ ลกฺขณานิ วิญฺญตฺติอาทโย วิย วตฺตพฺพานิ สิยุํ, ตานิ ปน นิสฺสยานเปกฺขํ น ลพฺภนฺตีติ ปญฺญตฺติสภาวาเนว ตชฺชาปญฺญตฺติภาวโตติ น วุตฺตานิ, สตฺตฆฏาทิโต วิเสสทสฺสนตฺถํ ปน อฏฺฐกถายํ วิสุํ วุตฺตานีติฯ น หิ โก…เป.… วตฺตุํ ยุตฺตํ กุสลตฺติกสฺส นิปฺปเทสตฺตาฯ

        ยุคนี้เบาแล้ว

        ยุคนี้เบาแล้ว ย้อนไปก่อนจะมีพระพุทธเจ้า  ดูประวัติศาสตร์โลกก็ได้โหดร้ายขนาดไหน, เดี๋ยวพอหมดยุคของพระพุทธเจ้านะ  โคตรหนักแน่นอน 😊  ไม่งั้นจะ...