วันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ผู้ถือศีล 8 ทำอาหารอย่างมีสติปัญญาว่าใส่อะไรไปเท่าไหร่, อย่าทำไปชิมไป

ศีลข้อนี้เป็นอจิตตกะ องค์ของศีลข้อในทสสิกขาปาปาฐะอฏฺฐกถานี้จึงไม่แสดงจิตไว้ มีแต่คำว่า " วิกาลโภชนะมีองค์ ๔ คือ ๑. วิกาล ๒. ของเป็นยาวกาลิกะ ๓. การกลืนกิน ๔. ความไม่เป็นคนบ้า" ไม่มีข้อว่า "๕. จิตคิดจะกลืน".
เพื่อจะกล่าวให้คล้อยตามองค์ดังกล่าว ผมจะกล่าวว่า "ไม่ต้องชิม ครับ, ทำอาหารด้วยสติ ก็จะรู้ว่าอันไหนใส่แล้วหรือยังไม่ใส่ ถ้าไม่มีสติ ก็จะหลงๆ ลืมๆ ก็เลยต้องชิม"
ด้วยประการอย่างนี้ วินิจฉัยจะรักษาคำสอนไว้ด้วย และผู้ฟังก็ได้เจริญสติด้วย.

ศีล 8 ข้อ 3 ช่วยตัวเองก็ไม่ได้

ข้อนี้ คำตอบอยู่ในคำว่า อพฺรหฺมจริยา  นะครับ.

พรหมจริย คือ ข้อปฏิบัติของพระพรหมอนาคามีสุทธาวาสที่มาบอกพระเวทย์แก่ #ฤๅษี ชาวอารยันที่เรียกตัวเองว่า "พราหมณ์(ลูกหลานพรหม)".
ในเมื่อพรหมจริยะเป็นข้อปฏิบัติของพรหมกับฤๅษีผู้ทำฌาน และพรหมกับฤๅษีก็ไม่ช่วยตัวเองอยู่แล้ว เพราะเป็นกามคุณอย่างหนึ่ง ถ้าช่วยตัวเอง ฌานจะเสื่อม.
ถ้าช่วยตัวเองได้ก็ไม่ควรเรียกว่า พรหมจริยะ เพราะช่วยตัวเองไม่ใช่สิ่งที่พรหมทำ ครับ.

วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2561

อนุปุพพีกถาคือพระสูตรที่ยาวมาก และได้ถูกแยกไปไว้ในนิกายต่างๆ กับอรรถกถา เพื่อสะดวกท่องจำ

พระพุทธเจ้าสอนอริยสัจแก่คฤหัสถ์

อุคคหบดี, คฤหัสถ์, กล่าวไว้ใน อัง. อัฏฐกะ. ทุติยอุคคสูตร:
๒. โยมมีจิตเลื่อมใสแล้ว เข้าไปนั่งใกล้พระผู้มีพระภาค พระผู้มี พระภาคทรงแสดงอนุปุพพีกถาแก่โยม คือ ทรงประกาศทานกถา สีลกถา สัคคกถา กามาทีนวกถา เนกขัมมานิสังสกถา เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่าโยมมีจิตควร อ่อน ปราศจาก นิวรณ์ เบิกบาน ผ่องใส จึงทรงประกาศสามุกกังสิกเทศนา คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจาก มลทิน ได้เกิดแก่โยมบนที่นั่งนั้นเองว่า ‘สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้น เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา’ เปรียบเหมือน ผ้าขาวสะอาด ปราศจากมลทิน ควรรับน้ำย้อมได้เป็นอย่างดี ท่านผู้เจริญ โยมนั้นได้เห็นธรรม บรรลุธรรม รู้ธรรม หยั่งลงสู่ธรรม ข้ามพ้นความสงสัย ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความแกล้วกล้า ปราศจากความมีผู้อื่นเป็นปัจจัยในศาสนาของพระศาสดา ได้ถึง พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะแล้ว และได้ สมาทานสิกขาบทที่มีพรหมจรรย์เป็นที่ ๕ บนที่นั่งนั่นเอง นี้แล เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๒ ที่โยมมีอยู่
หลังฟังอนุปุพพีกถา, บางท่านสามารถบรรลุธรรมจักขุ (โสดาบัน), เช่น ที.สี. สามัญญผลสูตร:
ครั้นเมื่อท้าวเธอเสด็จจากไปไม่นาน พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุ มารับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย พระราชาองค์นี้ถูกขจัดเสียแล้ว ถูกทำลายเสียแล้ว หากท้าวเธอจักไม่ปลงพระชนม์พระราชบิดาผู้ทรงธรรม ธรรมจักษุอันไร้ธุลีคือ กิเลส ปราศจากมลทิน จักเกิดขึ้นแก่ท้าวเธอ ณ ที่ประทับนี้ทีเดียว
ท่านสามารถหาตัวอย่างเพิ่มเติมได้เองด้วยการค้นคำว่า "ธมฺมจกฺขุ", "อนุปุพฺพีก", และ "อนุปุพฺพิก".

มีหลายแห่งในพระไตรปิฎกกล่าวเช่นนั้น, ก็แสดงว่า พระพุทธเจ้าทรงสอนอริยสัจกะคฤหัสถ์จริงๆ, คำถามจึงมีอยู่ว่า:
  1. อะไรคืออนุปุพพิกถา?
  2. ทำไมพระพุทธเจ้าจึงทรงสอนอนุปุพพิกถากะคฤหัสถ์?
  3. ทำไมพระปฐมสังคายนาจารย์ต้องตัดเอาอนุปุพพิกถาตัวเต็มออกด้วย?
  4. ทำไมบางท่านถึงเข้าใจไปว่าพระพุทธเจ้าไม่เคยสอนภาวนาแก่คฤหัสถ์?

1. อะไรคืออนุปุพพิกถา?

  1. อนุปุพพีกถา, ในตำราบาลี, คือ คำสอนตามลำดับ, เรื่องเล่าตามลำดับ, หรือ ประวัติตามลำดับ. ลองใช้คำว่า "อนุปุพฺพีก"และ "อนุปุพฺพิก" ค้นหาใน พระไตรปิฎกบาลี และอรรถกถาบาลีแล้วเทียบเคียงดู.
  2. อนุปุพพีกถา, ในพระไตรปิฎก, คือ การสอนข้อปฏิบัติในศาสนาพุทธแบบครั้งเดียวรวดเดียวจบตั้งแต่เริ่มต้นจนที่อริยสัจ พร้อมทั้งคำอธิบายประกอบ เช่น ทรงเริ่มสอนทานกถาด้วย ขุ.ขุ. นิธิกัณฑสูตร พร้อมคำอธิบายบางส่วน + ตามด้วยสอนศีลกถาและสัคคกถาด้วย อัง.ติกะ. อุโปสถสูตร พร้อมคำอธิบายบางส่วน + ตามด้วยสอนลำดับการปฏิบัติของนักบวชในศาสนาพุทธตั้งแต่ต้นจนจบที่อริยสัจ ด้วย ที.สี. สามัญญผลสูตร พร้อมคำอธิบายบางส่วน ดังนี้. เมื่อพิจารณาจากความยาวของสูตรข้างต้นพร้อมทั้งคำอธิบายนอรรถกถา, อนุปุพพีกถาแบบนี้ ถ้าสังคายนามาหมดจะเป็นสูตรที่ยาวมากจนไม่สามารถท่องจำด้วยปากเปล่าได้. จึงต้องซอยออกไปไว้ในนิกายต่างๆ บ้าง อรรถกถาบ้าง เพื่อความง่ายแก่การท่องจำ.

2. ทำไมพระพุทธเจ้าจึงทรงสอนอนุปุพพิกถากะคฤหัสถ์?

พระพุทธเจ้าทรงสอนอนุปุพพีกถากะทุกคน, ไม่ใช่แค่คฤหัสถ์, เพราะผู้ปฏิบัติธรรมทุกคนล้วนต้องปฏิบัติให้เก่งไปทีละลำดับตามขั้นตอนอยู่แล้ว. ไม่มีใครสามารถข้ามไปปฏิบัติขั้นสูงทันทีได้ ถ้าไม่เก่งกาจสามารถในเรื่องพื้นฐานมาก่อน. ดู ม.ม. กีฏาคิริสูตร ข้อ 238 การตั้งอยู่ในอรหัตตผล และ ขุ.ปฏิ. มาติกา ประกอบ.
อย่างไรก็ตาม สำหรับคฤหัสถ์ที่มีความฉลาดรอบรู้มาก, พระพุทธเจ้าจะสอนสอนข้อปฏิบัติในศาสนาพุทธแบบครั้งเดียวรวดเดียวจบตั้งแต่เริ่มต้นจนที่อริยสัจ พร้อมทั้งคำอธิบายประกอบ เช่น ทรงเริ่มสอนทานกถาด้วย ขุ.ขุ. นิธิกัณฑสูตร พร้อมคำอธิบายบางส่วน + ตามด้วยสอนศีลกถาและสัคคกถาด้วย อัง.ติกะ. อุโปสถสูตร พร้อมคำอธิบายบางส่วน + ตามด้วยสอนลำดับการปฏิบัติของนักบวชในศาสนาพุทธตั้งแต่ต้นจนจบที่อริยสัจ ด้วย ที.สี. สามัญญผลสูตร พร้อมคำอธิบายบางส่วน ดังนี้.  จนเป็นสูตรที่ยาวมาก ยากแก่การท่องจำ, จึงต้องซอยออกไปไว้ในนิกายต่างๆ บ้าง อรรถกถาบ้าง เพื่อความง่ายแก่การท่องจำ.
นี่จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมเราจึงไม่เจออนุปุพพิกถาเต็มๆ สูตรในพระไตรปิฎกหรือแม้กระทั่งอรรถกถาเลย. ดังนั้นในอรรถกถาจึงอธิบายอนุปุพพิกถาไว้ว่า:
อนุปุพพีกถา คือ คำสอน(พระสูตร)และคำอธิบาย(อรรถกถา)ตามลำดับ เริ่มจากทาน, ตามด้วยศีล, ตามด้วยสวรรค์, และตามด้วยข้อปฏิบัติธรรม. 
แต่พระพุทธเจ้าหรือพระอาจารย์สอนธรรมะท่านจะสอนสั้นและรวบรัดมากขึ้น สำหรับนักบวช หรือ อุบาสกอุบาสิกา ที่มีอินทรีย์แก่กล้าขึ้นมาแล้ว, เนื่องจากมีพื้นฐานสำหรับการฝึกฝนธรรมะที่ยากขึ้นไปอีก เช่น อัง.สัตตกะ. ทานสูตร. จะเห็นได้ว่าเป็นสูตรที่สั้นกว่า อนุปุพพิกถาในตัวอย่างข้างต้น, รวบรัดและกระชับกว่า คือ มีแค่เรื่องทานและเรื่องภาวนาในตอนท้ายเท่านั้น. ตัวอย่างนี้ คือ อนุปุพพิกถาโดยความหมายของศัพท์, แต่ไม่ใช่ที่มุ่งหมายเอาในคำว่า "อนุปุพพิกถา" ที่มาในพระสูตร อย่างอัง. อัฏฐกะ. ทุติยอุคคสูตร.

3. ทำไมพระปฐมสังคายนาจารย์ต้องตัดเอาอนุปุพพิกถาตัวเต็มออกไปไว้ที่อื่นด้วย?

พระปฐมสังคายนาจารย์ เลือกใช้คำว่า "อนุปุพพีกถา" เพื่อที่จะเลี่ยงพระสูตรที่ยาวเกินกว่าจะสวดท่องจำ. เพราะคฤหัสถ์หน้าใหม่นั้น ยังไม่มีความรู้พอที่จะบรรลุธรรม, พระพุทธเจ้าจึงต้องสอนด้วยสูตรที่ยาวมาก (อาจยาวกว่าสูตรทีฆนิกาย) และรวมหลายหัวข้อมาสอน เพื่อให้พวกเขาบรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันหรืออย่างน้อยก็เลื่อมใสหลังฟังธรรมะจนจบ. ดังนั้น ถ้าพระปฐมสังคายนาจารย์ไม่แยกเทศนานั้นออกเป็นส่วนๆ ไปไว้ในนิกายหมวดต่างๆ และอรรถกถาตามความเหมาะสม, พระสูตรนั้นก็จะยาวมาก และยากเกินกว่าจะท่องจำด้วยปากเปล่ารวมถึงยากที่จะทำความเข้าใจได้โดยง่าย.
ดังนั้น ในเนตติ วิจยหารสัมปาตะจึงกล่าวว่า:
       ในบุคคล 3 นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมตรัสสอนบุคคลผู้มีอินทรีย์แก่กล้าด้วยโอวาทย่อ ย่อมตรัสสอนบุคคลผู้มีอินทรีย์ปานกลางด้วยโอวาทที่พิสดารอย่างย่อ ย่อมตรัสสอนบุคคลผู้มีอินทรีย์อ่อนด้วยโอวาทพิสดาร ฯ ในบุคคลเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมเทศนาเล็กน้อย (คือ เพียงยกอุทเทสขึ้น)แก่บุคคลผู้มีอินทรีย์แก่กล้า ย่อมแสดงธรรมเทศนาอันควรแก่บุคคลผู้มีปัญญาไม่คมกล้านัก (โดยอุทเทสและนิทเทส) แก่ผู้มีอินทรีย์ปานกลาง ย่อมแสดงธรรมเทศนาพิสดาร (โดยอุทเทส นิทเทส และปฏินิทเทส) แก่ผู้มีอินทรีย์อ่อน ฯ

4. ทำไมบางท่านถึงเข้าใจไปว่าพระพุทธเจ้าไม่เคยสอนภาวนาแก่คฤหัสถ์?

เพราะเขาไม่เข้าใจอนุปุพพิกถาครบถ้วนเท่าที่อธิบายไปข้างต้น. และพวกเขาก็ไม่เข้าใจวิธีการตีความพระสูตรให้เป็นอริยสัจด้วย อันเรื่องมาจากไม่เคยเรียนเนตติปกรณ์อย่างถูกต้อง, และไม่เคยเข้าถึงญาณใดๆ จากสำนักของผู้ทรงจำพระไตรปิฎก ที่ได้ฌาน ได้พลววิปัสสนาญาณขึ้นไป เช่น พาอ้าว เป็นต้น.
พระอริยะทุกท่านจะต้องบรรลุอริยสัจแน่นอน, แน่ไม่ใช่ปุถุชนทุกคนจะอ่านอริยสัจในพระไตรปิฎกออก. เฉพาะคนที่สามารถเชื่อมโยงพระไตรปิฎกได้โดยไม่ให้ขัดแย้งกันเลยเท่านั้น จึงจะอ่านอริยสัจในพระไตรปิฎกออกได้โดยง่าย. มันเป็นไปไม่ได้ที่ผู้ไม่ได้ทรงจำพระไตรปิฎกบาลีและเข้าใจเนตติปกรณ์จะอ่านอริยสัจในพระไตรปิฎกออกได้หมด, เพราะมันเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความแตกฉานทางด้านนิรุต ซึ่งมาพร้อมกับภาษาบาลี เพื่อจะเชื่อมโยงตำราบาลีทั้งหมดไม่ให้ขัดแย้งกันเลย.
สำหรับตัวอย่างการอ่านอริยสัจในพระไตรปิฎกนั้น เช่น ใน วิ.ม. มหาขันธกะ พระอัสสชิ สอนอุปติสสปริพพาชก (พระสารีบุตร) จนบรรลุพระโสดาบันด้วยคาถานี้:
ธรรมอะไรก็ตามที่เกิดจากเหตุ (ทุกขสัจ) พระตถาคตตรัสเหตุเกิด(สมุทยสัจ)แห่งธรรมเหล่านั้น, และตรัสความดับแห่งธรรมเหล่านั้นด้วย(นิโรธสัจ+มัคคสัจ). พระมหาสมณะมีปกติกล่าวอย่างนี้.
หรืออย่างใน ที.สี. สามัญญผลสูตร ที่พระเจ้าอชาตศัตรูเกือบจะได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันนั้น, สูตรนี้ก็มีส่วนที่แสดงวิปัสสนาไว้ทั้งแบบวิปัสสนายานิก (วิปัสสนาญาณ) และแบบสมถยานิก (ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ+จุตูปปาตญาณ) ซึ่งล้วนประกอบด้วยทุกขสัจ สมุทยสัจ รวมถึงมีนิโรธสัจ ในอาสวักขยญาณด้วย และข้อปฏิบัติทั้งหมดล้วนเป็นมรรคสัจทั้งสิ้น. นี้ล้วนเป็นอริยสัจ์ในพระสูตรทั้งสิ้น.

การทำบุญบาปเหมือนสะสม exp เลเวลในเกม แต่เกมชีวิตมันมีลดเลเวลได้

 การทำบุญบาปเหมือนสะสม exp เลเวลในเกม แต่เกมชีวิตมันมีลดเลเวลได้ ถ้าไม่ทำครบขั้นตอนแบบพระพุทธเจ้าบอกสูตรไว้ คือ ดีแล้วกลับมาชั่วทีหลัง ชั่วแ...