วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

นี้คือพระสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสตรงๆ ว่า 'วิญญาณในปฏิจจสมุปบาท คือ การเกิดในท้องแม่'

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค
๒. มหานิทานสูตร (บางส่วน)

             ก็คำนี้ว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิดนามรูป เรากล่าวอธิบายดังต่อไปนี้-
             ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าวไว้ว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิดนามรูป ดูกรอานนท์ ก็วิญญาณจักไม่หยั่งลง ในท้องแห่งมารดา นามรูปจักขาดในท้องแห่งมารดาได้บ้างไหม ฯ
             ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
             ดูกรอานนท์ ก็ถ้าวิญญาณหยั่งลงในท้องแห่งมารดาแล้วจักล่วงเลยไป นามรูปจักบังเกิดเพื่อความเป็นอย่างนี้ได้บ้างไหม ฯ
             ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
             ดูกรอานนท์ ก็ถ้าวิญญาณ ของกุมารก็ดี ของกุมาริกาก็ดี ผู้ยังเยาว์วัยอยู่จักขาดความสืบต่อ นามรูปจักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ ได้บ้างไหม ฯ
             ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
             เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งนามรูปก็คือวิญญาณนั่นเอง ฯ

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=10&A=1455&Z=1887&pagebreak=0

วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ปฏิสนธิวิญญาณเป็นศัพท์จากพระสูตรขุททกนิกาย มีมาแต่สมัยพระสารีบุตรอัครมหาสาวกยังมีชีวิตอยู่

พระไตรปิฎกเล่มที่ 31  พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 23
ขุททกนิกาย  ปฏิสัมภิทามรรค
ธัมมัฏฐิติญาณนิทเทส

อิธ ปริปกฺกตฺตา อายตนานํ โมโห อวิชฺชา, อายูหนา สงฺขารา, นิกนฺติ ตณฺหา อุปคมนํ อุปาทานํ, เจตนา ภโวฯ อิเม ปญฺจ ธมฺมา อิธ กมฺมภวสฺมิํ อายติํ ปฏิสนฺธิยา ปจฺจยาฯ อายติํ ปฏิสนฺธิ วิญฺญาณ, โอกฺกนฺติ นามรูปํ, ปสาโท อายตนํ, ผุฏฺโฐ ผสฺโส, เวทยิตํ เวทนาฯ อิเม ปญฺจ ธมฺมา อายติํ อุปปตฺติภวสฺมิํ อิธ กตสฺส กมฺมสฺส ปจฺจยาฯ อิติเม จตุสงฺเขเป ตโย อทฺเธ ติสนฺธิํ วีสติยา อากาเรหิ ปฏิจฺจสมุปฺปาทํ ชานาติ ปสฺสติ อญฺญาติ ปฏิวิชฺฌติฯ ตํ ญาตฏฺเฐน ญาณํ, ปชานนฏฺเฐน ปญฺญาฯ เตน วุจฺจติ – ปจฺจยปริคฺคเห ปญฺญา ธมฺมฏฺฐิติญาณํ.

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=31&siri=16

วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ฝรั่งเข้าใจอภิธรรมผิดๆ เพราะไม่เคยเรียนไม่เคยสอนแบบมุขปาฐะ มุ่งเอาแต่กามคุณ 5

หลังจากระบบมุขปาฐะของไทยเสียหายไป เพราะการรุกรานจากวิธีการเรียนการสอนแบบตะวันตก ตั้งแต่ยุคสนธิสัญญาเบาริ่งเป็นต้นมา, คนไทยก็เรียนโดยใช้แนวคิดแบบชาวตะวันตกมาตลอด ซึ่งต่อไปในบทความนี้จะขอเรียกว่า ฝรั่ง.

ฝรั่งเข้ามาเรียนรู้พระพุทธศาสนา ด้วยมูลเหตุทางด้านธุรกิจตั้งแต่ยุคล่าอาณานิคมทางทะเล คือ ต้องการทรัพยากรของประเทศที่นับถือพุทธ ก็เลยต้องมาเรียนรู้วัฒนธรรมของชาวพุทธ.

วิธีการเรียนของฝรั่งนั้น ถ้าเรียนวิชาประวัติศาสตร์ จะทราบว่า ฝรั่งเป็นพวกชอบจดบันทึก มีการใช้กระดาษปาปิรุสจากอียิปมาตั้งแต่ยุคพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ (ช่วงใกล้ๆ กับยุคพระเจ้าอโศก).

ทำไมถึงชอบบันทึก?

เพราะต้องเอาเวลาไปคิดถึงกามคุณ 5 ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ไม่มีสติที่จะระลึกถึงสิ่งที่จำไว้ได้ครบถ้วน จึงต้องจดลงกระดาษไว้เตือนความจำอีกที. (กามคุณ 5=รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส โดยมักเน้นเอาที่น่าชอบใจ ซึ่งรวมถึงสวรรค์ในศาสนาฝรั่งด้วย)

วิธีการเรียนแบบมุ่งหมายกามคุณ 5 เป็นหลักนี้แหละ คือวิธีที่ฝรั่งใช้เรียนใช้สอนสืบๆ กันมา ตั้งแต่สมัคยุคโบราณ ซึ่งเป็นวิธีที่แตกต่างจากวิธีของศาสนาพุทธ รวมไปถึงพราหมณ์ เพราะศาสนาพราหมณ์ ซึ่งเป็นต้นแบบวิธีเรียนของพุทธนั้น จะเรียนและสอนกันโดยมุ่งหมายให้เลิกคิดถึงกามคุณ 5 เพื่อเตรียมตัวตายแบบไม่ต้องเกิดมามีทุกข์ แต่ให้เกิดแบบมีความสุขนิรัดร์แทน. ดังนั้น พวกพราหมณ์ที่บำเพ็ญพรตเป็นนักบวช จึงต้องพยายามไม่คิดถึงกามคุณ 5 ทำให้คนพวกนี้มีสติ มีปัญญา ทรงจำสิ่งต่างๆ ได้ ระลึกถึงได้ โดยไม่ต้องบันทึก จึงเรียนสอนแบบมุขปาฐะสืบๆ กันมาได้.

ส่วนศาสนาพุทธ ซึ่งใช้วิธีการเรียนการสอนแบบมุ่งหมายออกจากกามคุณ 5 แตกต่างจากพราหมณ์แค่ที่ว่า พุทธเราเตรียมตัวตายแบบไม่ต้องเกิดอีกเลย ก็จะสอนแบบมุขปาฐะเช่นกัน.

หลังจากนั้นผ่านไป 2 พันปี เมื่อฝรั่งเข้ามาศึกษาพระพุทธศาสนาจริงจังในสมัยล่าอาณานิคม ก็ไม่ได้ศึกษาด้วยวิธีแบบมุขปาฐะ เพื่อออกจากกามคุณ 5 เพราะจุดประสงค์ที่ศึกษา ก็เพื่อมากอบโกยทรัพยากร(=กามคุณ 5)จากประเทศที่นับถือศาสนาพุทธอยู่แล้ว. จึงศึกษาพระพุทธศาสนาด้วยวิธีของตนเองแบบฉาบฉวย จนเกิดข้อสรุปที่ขัดแย้งกับข้อเท็จจริงและเอกสารหลักฐานมากมาย เช่น ข้อสรุปว่า "อภิธรรมและอรรถกถาแต่งขึ้นสมัยตติยสังคายนา" เป็นต้น ซึ่งล้วนขัดแย้งกับหลักฐานต่างๆ ทางประวัติศาสตร์ (ที่ข้าพเจ้าได้เคยอธิบายไว้แล้ว ในลิงก์นี้).

ข้อสรุปของฝรั่งนั้น ไม่มีผลต่อประเทศที่ศึกษาด้วยระบบมุขปาฐะแบบพม่าเลย เพราะคนที่เรียนมาแบบมุขปาฐะ ล้วนแต่เห็นชัดว่า ฝรั่งอธิบายขัดกับเหตุผลข้อเท็จจริงในหลักฐานทางประวัติศาสตร์แค่ไหน.

นี่คือที่มาที่ว่า ทำไมฝรั่ง ถึงเข้าใจอภิธรรมผิดๆ.

มุขปาฐะในสมัยพุทธกาล บังคับให้มีอรรถกถามาตั้งแต่สมัยพุทธกาล

ถามว่า แล้วเราจะเชื่อมูลอรรถกถาได้อย่างไร ว่ามูลอรรถกถาเอง มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล? 
ตอบว่า ในระบบมุขปาฐะ อรรถกถาจะถูกสอนหลังจากท่องจำพระพุทธพจน์ได้เรื่องหนึ่งแล้ว. ดังนั้น เมื่อการท่องจำพระพุทธพจน์มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล การสอนอรรถกถาก็ต้องมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลเช่นกัน. ในอรรถกถาจึงกล่าวประวัติไว้ว่า "มูลอรรถกถา คือ อรรถกถาที่มีมาตั้งแต่พุทธกาล" 
อีกอย่าง ที่อรรถกถาบันทึกแยกไว้ว่า "ในอรรถกถาทีฆนิกายอธิบายอย่างนี้ แต่ในอรรถกถามัชฌิมนิกายอธิบายต่างกัน" และที่แยกไว้ว่า "ทีฆนิกายทรงจำมาในสายพระอานนท์ มัชฌิมนิกายทรงจำมาในสายพระสารีบุตร" เป็นต้น ทั้ง 2 อย่างนั้น ก็เป็นเครื่องพิสูจน์ได้เป็นอย่างดีว่า อรรถกถามีมาตั้งแต่พุทธกาล เพราะถ้าอรรถกถาทั้งหมดถูกแต่งขึ้นพร้อมๆ กันในสมัยตติยสังคายนา ก็ไม่ควรมีการแยกมติของมูลอรรถกถาออกจากกัน แต่ที่มีการแยกออกจากกัน ก็แสดงว่าอรรถกถามีการทรงจำแยกกันมาในสำนักต่างๆ กัน ก่อนตติยสังคายนาแล้ว.

สำนวนอภิธรรม ไม่เหมือนพระสูตร เพราะเป็นสำนวนจากสำนักของพระสารีบุตร ที่พระพุทธเจ้าสอนตามอัธยาศัยของพระสารีบุตร

  • พระสูตร คือ สิ่งที่พระอานนท์เรียนจากพระพุทธเจ้า, 
  • อภิธรรม คือ สิ่งที่พระสารีบุตรเรียนจากพระพุทธเจ้า, 
  • การย่อขยายพระสูตร คือ สิ่งที่พระมหากัจจายนะเรียนจากพระพุทธเจ้า. 


พระพุทธเจ้าสอนธรรมะตามอัธยาศัยผู้เรียน. 

  • พระอานนท์มีอัธยาศัยพหูสูตร ถูกตั้งไว้ในเอตทัคคะด้านพหูสูตร จึงทรงสอนแบบให้ท่องจำมากๆ จึงเรียบเรียงออกมาได้เยอะมากแบบสุตตันตปิฎก. 
  • พระสารีบุตร มีอัธยาศัยด้านปัญญา ถูกตั้งไว้ในเอตทัคคะด้านปัญญา จึงทรงสอนให้ใช้ปัญญา (ปรัชญา) คิดวิเคราะห์มากๆ จึงเรียบเรียงออกมาได้วิจิตรพิศดารมากแบบพระอภิธรรม ปฏิสัมภิทามรรค นิทเทส. 
  • พระมหากัจจายนะ มีอัธยาศัยด้าน ด้านย่อขยายพระสูตรมาก จึงเรียบเรียงออกมาได้เป็นเนตติปกรณ์. 


ในอภินวอรรถกถาระบุว่า มูลอรรถกถาทรงจำมาคู่กับพระไตรปิฎกตั้งแต่ครั้งพุทธกาล (เพราะต้องเรียนคู่กันเป็นอุทเทส กับ นิทเทส) ซึ่งในมูลอรรถกถา ระบุว่า อภิธรรมนี้ เรียนกันมาในสำนักของพระสารีบุตร. ดังนั้น การที่สำนวนของพระอานนท์ผู้เรียบเรียงพระสูตร จะต่างจากพระสารีบุตร ที่เรียบเรียงพระอภิธรรม จึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลย เพราะพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมตามอัธยาศัยของแต่ละบุคคล ไม่ใช่สักแต่ว่าแสดงมั่วๆ ไป เพราะทรงเป็น "ภควา (ครูที่ดีที่สุด)" ดังกล่าวมานี้.

พระอุบาลี เอตทัคคด้านวินัยปิฎก ก็เรียนอภิธรรมจากพระสารีบุตร

ชื่อของปัจจัยต่างๆ ในคัมภีร์ปัฏฐานของพระสารีบุตร ก็ปรากฎใน คัมภีร์ปริวารของพระอุบาลี เช่นกัน ที่สำคัญ คือ ลักษณะที่ใช้ศัพท์ก็ไม่เหมือนกัน จึงเป็นที่น่าสังเกตว่า คล้ายกับการที่ 18 นิกายก่อนตติยสังคายนา มีอภิธรรมแต่อธิบายไม่ตรงกัน เพียงแต่ปริวารกับปัฏฐาน อธิบายคนละนัยยะกันจึงไม่ขัดแย้งกัน แต่ของ 18 นิกายนั้น มุ่งอธิบายนัยยะเดียวกัน แต่กลับอธิบายขัดกัน.

ในลิงก์เรื่องกฐินจากพระไตรปิฎกเล่ม 8 นี้ คือ ข้อความในปริวาระ ที่มีชื่อของปัจจัยจากปัฏฐาน ปรากฎอยู่:
http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=08&siri=104#404

ส่วนมหาโคสิงคสาลสูตรนี้ คือ พระสูตรที่แสดงว่า พระอัคคสาวกทั้งหลายนิยมไปฟังธรรมกับพระสารีบุตรกัน:
www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=6877&Z=7105

ถ้าอภิธรรมไม่มีมาก่อนตติยสังคายนา 18 นิกายที่มีมาก่อนตติยสังคายนา จะเถียงกันเรื่อง อภิธรรม จนเกิดกถาวัตถุปกรณ์ได้อย่างไร?

ตามประวัติศาสตร์แล้ว นิกายอื่นๆ ก่อนครั้งตติยสังคายนา ก็มีอภิธรรมเช่นกัน แม้จะแตกต่างกันในรายละเอียดปลีกย่อยก็ตาม. 
ซึ่งที่ต่างกัน ก็เพราะอภิธรรมทรงจำกันมาเฉพาะในสำนักสายพระสารีบุตรที่เรียนมาจากพระพุทธเจ้าโดยตรง แต่ก็มีการสอนในสำนักอื่นด้วย เพราะในมหาโคสิงคสาลสูตรแสดงไว้ชัดเจนว่า พระอัคคสาวกต่างๆ มักจะพากันไปฟังธรรมะที่สำนักของพระสารีบุตรเสมอๆ.  
เพียงแต่อภิธรรมของสำนักอื่นๆ อาจจะไม่ได้เรียนสมบูรณ์เท่ากับลูกศิษย์ที่ติดตามพระสารีบุตร ทำให้สองร้อยปีต่อมา ในสมัยตติยสังคายนา เกิดข้อโต้แย้งในอภิธรรม จนมีการแต่งคัมภีร์กถาวัตถุขึ้น.
ซึ่งมีแค่ปกรณ์นี้ ปกรณ์เดียวเท่านั้น ที่แต่งขึ้นในสมัยตติยสังคายนา และอรรถกถาก็แสดงประวัติแยกไว้ชัดเจน ส่วนปกรณ์ 6 ที่เหลือ ล้วนสอนกันมาในสำนักของพระสารีบุตร ตั้งแต่สมัยพุทธกาลทั้งสิ้น จนมีอภิธรรมปรากฎอยู่ในนิกายต่างๆ ก่อนตติยสังคายนาหลายนิกาย. 
ถ้าไม่มีมาก่อน ก็คงไม่อาจพบอภิธรรมในนิกายอื่นๆ ที่ถูกชำระกันตามที่ปรากฎในกถาวัตถุปกรณ์ ที่เรียบเรียงขึ้นในตติยสังคายนาแน่ๆ.

การร้องทำนองเพลงที่ใจนึกถึงธรรมะ สมควรอยู่, แต่การร้องธรรมะที่ใจนึกถึงทำนองเพลง ไม่สมควร

การร้องทำนองเพลงที่ใจนึกถึงธรรมะ สมควรอยู่, แต่การร้องธรรมะที่ใจนึกถึงทำนองเพลง ไม่สมควร https://wiki.sutta.men/ฟุตโน้ต:541:99 -------------...