วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2558

วันอังคารที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2558

วินิจฉัยโดยวาระจิตและวิถีจิต จะยิ่งเห็นได้ชัดว่า กลาปะเป็นบัญญัติ

กลาปะ เป็นคำที่ใช้ในลักษณะเดียวกับฆฏนาในปัฏฐาน คือ กลุ่มก้อนที่เกิดพร้อมกัน. ถ้าอาวัชชนะถึงปฐวีรูปอย่างเดียว นามัคคหณวิถี จะไม่สามารถเรียกว่ากลาปะได้ เพราะอัตถัคคหณวิถีจะต้องรู้กลุ่มก้อนไม่ต่ำกว่า 8 รูปขึ้นไปที่เกิดพร้อมกัน (ที่ในตำราเรียกว่า สมูหฆน-อัตถบัญญัติ) แล้วนามัคคหณวิถีจึงจะเรียกว่า กลาปะ ได้, แต่แม้จะอาวัชชนะถึงปฐวีรูปอย่างเดียว นามัคคหณวิถีก็สามารถเรียกว่า รุปฺปนลกฺขณ ได้เลย เพราะปฐวีมีอยู่จริง มีทั้งปัจจัตตลักษณะของตน (กกฺขฬตฺตลกฺขณ) และปัจจัตตลักษณะของรูป (รุปฺปนลกฺขณ) ปญฺญัตฺติคคหณวิถีไม่จำเป็นต้องไปรู้รูป 8 รูปเป็นต้นใดๆ ก่อนที่จะเรียกปฐวีว่ารุปฺปนลกฺขณเลย, สามารถรู้รุปฺปนลกฺขณของปฐวีที่อตีตคฺคหณวิถีได้เลย. จากข้อความยังสามารถอธิบายได้อีกวิธีว่า ปฐวี (กกฺขฬตฺตลกฺขณ และ รุปฺปนลกฺขณ) เกิดได้จากปัจจัย. แต่กลาปะเกิดไม่ได้ เพราะไม่มีปัจจัย. จิตรู้กลาปะได้ เพราะเข้าไปอาศัยกลุ่มก้อนของรูปที่เกิดพร้อมกัน. ในขณะที่จิตรู้กลาปะ จิตไม่ได้รู้รุปฺปนลกฺขณํ หรือ กกฺขฬตฺตลกฺขณํ แต่รู้สมูหบัญญัติของรูปอย่างน้อย 8 รูปที่เกิดพร้อมกัน ซึ่งอาศัยกลุ่มของรูป (สมูหุปาทาย) ในการแสดงตัวให้ถูกจิตเจตสิกรู้ (ปญฺญาปิยตฺตา).

วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2558

เรื่องจริง กับ เรื่องหลอก พิสูจน์ด้วยการวิเคราะห์องค์ธรรม แล้วหาปัจจัยปัจจยุปบัน โดยรอบ.

เรื่องจริง (สัจจะ) กับ เรื่องหลอก (วัญจนะ) พิสูจน์ด้วยการวิเคราะห์องค์ธรรม (นามรูปปริจเฉทญาณ) แล้วหาปัจจัยปัจจยุปบัน(ปัจจยปริคคหญาณ) โดยรอบ (ปริญญา). และเมื่อหาโดยรอบแล้ว คุณก็จะพบแต่ทุกขสัจจะ ที่มีแต่ลักษณะไม่เที่ยง ลักษณะทนอยู่ไม่ได้ ลักษณะไร้อำนาจ. ซึ่งในตอนท้ายของปัจจยปริคคหญาณนิทเทส ก็ว่าไว้โดยนัยนี้.

ยุคนี้เบาแล้ว

ยุคนี้เบาแล้ว ย้อนไปก่อนจะมีพระพุทธเจ้า  ดูประวัติศาสตร์โลกก็ได้โหดร้ายขนาดไหน, เดี๋ยวพอหมดยุคของพระพุทธเจ้านะ  โคตรหนักแน่นอน 😊  ไม่งั้นจะ...