วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

อุทิศส่วนบุญ ไม่ใช่แผ่เมตตา คนละอย่างกัน.

อุทิศส่วนบุญ คือ #ปัตติทานมัยบุญกิริยาวัตถุ, องค์ธรรม คือ #อโลภะเจตสิก, แต่ เมตตา คือ #ภาวนามัยบุญกิริยาวัตถุ องค์ธรรม คือ #อโทสะเจตสิก ครับ. คนละอย่าง คนละวิธีการกันครับ. การอุทิศส่วนบุญเป็นแค่วิธีการละโทสะอย่างหนึ่ง ของ เมตตา, ไม่ใช่เมตตาโดยตรง ครับ.

วันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เราอุทิศส่วนกุศลให้คนที่นอนป่วยอยู่ได้หรือไม่? ต่างจากการอุทิศให้คนตายอย่างไร?

เราอุทิศส่วนกุศลให้คนที่นอนป่วยอยู่ได้ครับ, เพราะการอุทิศส่วนกุศล มันก็คือการบอกบุญ หรือ ปัตติทานมัยนั่นเอง ครับ.

ความต่าง คือ อุทิศให้คนที่ยังมีชีวิตอยู่ ค่อนข้างแน่นอนว่าเขารับรู้และร่วมยินดีในบุญได้, ส่วนการอุทิศให้คนตายนั้น เราไม่รู้ว่า เขาจะได้ยินหรือไม่.

วิธีการอุทิศส่วนกุศลแก่คนนอนป่วยอยู่ ให้นั่งข้างๆ คนที่ป่วย แล้วพูดด้วยน้ำเสียงที่น่าฟัง สบายหู ไม่น่ารำคาญ บอกเขาว่าให้ท่านร่วมดีใจที่เราได้ทำบุญนั้นๆ เล่านานๆ ก็ได้ เหมือนเราเล่าให้เพื่อนฟังว่า ไปทำบุญวัดนั้น ถวายอันนั้น ได้กวาดลานวัด เห็นพระน่าเลื่อมใส เป็นต้น เล่าไปเรื่อยๆ ได้เลย ครับ, อันนี้ คือ การอุทิศส่วนบุญให้คนที่ยังมีชีวิตอยู่ที่ถูกต้อง ครับ ก็เหมือนๆ การบอกบุญนั่นแหละครับ.

วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

แทงตลอดต่างจากเข้าใจแต่ไม่แทงตลอดอย่างไร?

แทงตลอด (ปฏิเวธ) องค์ธรรม คือ ปัญญาเจตสิก.
ปัญญาเจตสิกที่เกิดบ่อยๆ สั่งสมกำลัง มีความชำนาญขึ้นๆ เรียกว่า ญาณ.
ที่สุดของการสั่งสมญาณ คือ ปฏิเวธ.

ลองนึกถึงภาพการเสียบแทงดาบในต้นกล้วย  ดาบจะต้องถูกต้นกล้วยโอบและอัดแน่นอยู่รอบๆ ไปตลอดทางจนทะลุสุดต้นกล้วยออกไป. ความรู้ที่ถูกปฏิเวธก็เช่นกัน, มันมีจำนวนมากมายมหาศาล เกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงตั้งแต่ต้นจนจบ. ปัญญาที่เข้าไปรู้มันตั้งแต่ต้นตลอดสายไปจนจบนั่นแหละเรียกว่าญาณ ปัญญาที่จุดสิ้นสุดแทงทะลุออกไปเรียกว่าปฏิเวธ.

ฉะนั้น แม้ในอรรถกถา จะแสดงปัญญา ญาณ และปฏิเวธ เป็นคำขยายของกันและกัน. แต่เวลาใช้จริงๆ ในพระไตรปิฎกมักจะใช้แยกกัน เช่น ในธัมมสังคณีเวลาขยายปัญญาก็จะไม่มีคำว่าญาณ ไม่มีคำว่าปฏิเวธ, หรือในปฏิสัมภิทามรรค ก็จะแสดงอรรถะของปัญญา และญาณแยกกันในตอนท้ายนิทเทสทุกนิทเทส เป็นต้น.

ที่นี้ ในความเป็นจริงแล้ว ความเข้าใจของสัตว์โลก ก็มีทั้งที่เข้าใจถูก และเข้าใจผิด มีการแทงตลอดทั้งที่ถูกและที่ผิด  และทั้งสองอย่างมันก็มีทั้งที่แทงไปสุด และ แทงยังไม่สุด.

จะขอยกตัวอย่างของการเข้าใจถูก แต่แทงไม่สุด เช่น เข้าใจว่า สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม เหตุต้องมีผล และผลต้องมีเหตุ แต่ไม่ได้รู้วิธีหลุดพ้นจากเหตุผลเหล่านั้น เช่นนี้ เข้าใจถูก แทงแล้ว แต่ไม่สุด คือไม่สำเร็จประโยชน์ 6 ไม่ได้รับประโยชน์สูงสุดสมบูรณ์ ความรู้นั้นให้ผลประโยชน์ชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น.

นั่นคือ ปัญญาแทงแล้ว แต่แทงไม่สุด.

ในพระไตรปิฎกและอรรถกถาก็เช่นกัน...

อุคฺคห ปริปุจฺฉา ธารณ สวน เป็นปัญญาที่จุดเริ่มต้น, สมฺมสน เป็นญาณ และปฏิเวธ ก็คือ ปัญญาที่ปลายสุดนั่นเอง.

จะเรื่องทานก็มีจุดเริ่มต้น ทามกลาง และที่สุดอย่างนี้ จะศีล สมถะ วิปัสสนา ก็อย่างนี้เช่นกัน ต่างกันที่รายละเอียด เช่น ปฏิเวธเรื่องทานเป็นขณิกะ,  ปฏิเวธเรื่องศีลเป็นขณิกะ, ปฏิเวธจาคานุสสติเป็นอุปจาระ, ปฏิเวธอานาปานัสสติเป็นโลกิยอัปปนา, ปฏิเวธวิปัสสนา เป็นโลกุตตรอัปปนา เป็นต้น.

การร้องทำนองเพลงที่ใจนึกถึงธรรมะ สมควรอยู่, แต่การร้องธรรมะที่ใจนึกถึงทำนองเพลง ไม่สมควร

การร้องทำนองเพลงที่ใจนึกถึงธรรมะ สมควรอยู่, แต่การร้องธรรมะที่ใจนึกถึงทำนองเพลง ไม่สมควร https://wiki.sutta.men/ฟุตโน้ต:541:99 -------------...