วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558

ศีล 8 ขาดเสียสัจจวาจานิดหน่อย แต่ไม่รักษาเลยคือไม่มีสัจจะเลย, ทำศีลที่เพิ่มมาจากศีล 5 ขาดก็ไม่ทำให้ตกนรก (มีวิเคราะห์โดยนัยยะอภิธรรม)


จริงๆ แล้ว ศีล 4 ข้อของศีล 8 ต่างหาก 
ที่ปาปถึงขั้นทำให้ตกนรก, 
เพราะศีล 4 ข้อนั้น คือ ศีล 5 นั่นเอง, 
การผิดศีล 5 นี่แหละที่บาปถึงขั้นทำให้ตกนรก.

แต่คนส่วนใหญ่กลับไปเข้าใจว่า 
ผิดศีล 8 จะบาปทำให้ตกนรก, 
ซึ่งมันไปกั้นจิตใจให้ไม่กล้ารักษาศีล 8 
บ่อยๆ ครับ. 

----อธิบายอย่างละเอียดตามหลักอภิธรรม----

เวลาความคิดพวกนี้เกิด
ในคนที่ไม่ฉลาด จะมีมิจฉาทิฏฐิ
ศีลพตปรามาส วิจิกิจฉา เกิดสลับกันไป.
เพราะเวลาจิตคิด มันจะคิดเหมาว่า
"ศีล 8 ไม่ควรรักษาบ่อยๆ" ซึ่งมันจะเหมาเอาศีล 5
ที่อยู่ในศีล 8 ไปด้วย ทำให้ขัดกับ
หลักปฏิจจสมุปบาทฝ่ายข้างดับปัจจัย
เพราะปัจจัยดับไม่ได้
ถ้าไม่มีศีล 5 เป็นฐานตั้งมั่นของสมถะวิปัสสนา.

ส่วนในคนที่ฉลาดขึ้นมาระดับหนึ่
ก็จะแยกแยะศีล 5 กับศีล 8 ออกจากกันได้
จากการอ่านโพสต์นี้ แต่ก็จะมีอุปนิสสยปัจจัย
(อกุสลา ธัมมา กุสลัสสะ ธัมมัสสะ
อุปนิสสยปัจจเยนะ ปัจจโย)
จากมิจฉาทิฏฐิ วิจิกิจฉา ศีลัพพตปราส
มาทำให้เกิดความคิดขึ้นอีกว่า
"เรารักษาได้แต่ศีล 5 ในตอนนี้, ศีล 8 ยังไม่พร้อม
, เดี๋ยวจะเป็นโคปาลกอุโบสถ"
ความคิดนี้ จะพบว่า ครึ่งแรกญาณสัมปยุต,
ครึ่งหลังเป็นอกุศล.

ทำไมความคิดครึ่งหลังจึงเกิดขึ้น?

เพราะไม่ฉลาดในเป้าหมายของศาสนาพุทธ
ที่ว่า "ปฏิบัติเพื่อหลุดพ้น บรรลุนิพพาน"
ถ้าเอาตามหลักนี้ จะ ศีล 5 หรือ ศีล 8
มันก็เป็นโคปาลกศีลได้ทั้งนั้น
ถ้าคุณไม่ได้ปฏิบัติเพื่อบรรลุมรรค ผล นิพพานอยู่.

ด้วยความไม่ฉลาดตรงนั้น ก็จะทำให้สำคัญผิดว่า
"ศีล 8 เท่านั้นเป็นโคปาลกะ, ศีล 5 ไม่เป็นโคปาลกะ"
พอไปผนวกกับอุปนิสสยปัจจัยที่กล่าวข้างต้น
ก็ทำให้คนที่ฉลาดสำคัญไปได้ว่า "เรารักษาได้แต่ศีล 5
ในตอนนี้, ศีล 8 ยังไม่พร้อม, เดี๋ยวจะเป็นโคปาลกอุโบสถ".

ซึ่งครึ่งหลังนี้ ถ้าตัดเรื่องโคปาลกะไป
คิดเพียงแต่ "ศีล 8 ยังไม่พร้อม" ยังเป็นกุศลได้อยู่,
แต่ถ้าคิดเรื่องโคปาลกะโดยวิธีข้างต้น
ด้วยโลภะว่า "เป็นอย่างนี้แหละ คือ ศีล 8
เท่านั้นเป็นโคปาลกะ" อย่างนี้
เป็นมิจฉาทิฏฐิ เพราะโลภะ ถือเอาสิ่งที่ผิดสภาวะ
เป็นอารมณ์ คือ เหตุกับผลไม่สอดคล้องกัน.
ซึ่งต่างจากเรื่องกัลยาณมิตรของพระอานนท์
ที่ท่านเพียงแต่ชั่งน้ำหนักไม่ถูกว่า
กัลยาณมิตรสำคัญต่อพรหมจรรย์เท่าไหร่.
แต่ท่านไม่ได้ปฏิเสธความสำคัญของกัลยาณมิตร.
ซึ่งถ้าเป็นผู้ไม่ฉลาดก็เป็นทิฏฐิคตวิปปยุตได้
เพราะอาจพูดเพื่อยกตน อวดตน หรือ
ชื่นชอบในความคิดนี้และสิ่งที่เนื่องกับมันเป็นพิเศษ เป็นต้น.

นี่ยังไม่รวมถึง การกลัวผิดสัจจวาจาอธิษฐาน
ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้ว คนที่ไม่พยายามสมาทานศีล 8
เป็นคนไม่มีสัจจะเลยต่างหาก,
การพยายามสมาทานศีล 8 คือ
การพยายามริเริ่มจะมีสัจจะใหม่ๆ
มันไม่ได้ทำให้สัจจะที่มีอยู่เดิมด่างพร้อยเลย
และสัจจะใหม่ คือ ศีล 3 ข้อหลัง
และอพรัหมจริยเวรมณิ ก็ไม่ใช่สัจจะที่มีอยู่แล้ว
ดังนั้น การไม่รักษาเลยนั่นแหละ จึงเป็นการ
ไม่มีสัจจะวาจาอธิษฐานรักษาศีล 8 คือ ขาดศีล 8
ไปโดยสมบูรณ์ ส่วนการพยายามรักษา
แม้จะขาดไปบ้าง ก็ยังไม่ใช่การขาดแบบสมบูรณ์
เป็นการขาดชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น
คือ เสียสัจจะแค่ชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น
การรักษาแล้วขาดไปบ้าง
จึงดีกว่าการไม่รักษาศีล 8 เลยเห็นๆ
เพราะอย่างน้อยๆ ก็ยังมีศีล 8 บ้าง
ไม่ใช่ไม่มีเลย ไม่เคยเลย
และไม่เป็นการผิดสัจจวาจาเลยครับ.

ฉะนั้น พยายามรักษาศีล 8 กันบ่อยๆ เถอะครับ,
ได้มากกว่าเสียแน่นอน.

วันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2558

พระใช้ของลิขสิทธิ์ควรหรือไม่?

แม้การที่พระภิกษุใช้ของผิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา* จะไม่ทำให้พระภิกษุต้องอาบัติ เพราะลิขสิทธิ์ไม่ใช่สิ่งของที่เคลื่อนจากฐานได้ และเจ้าหน้าที่รัฐก็รู้เห็นเป็นใจด้วย จึงไม่ครบองค์ขาด. 

แต่พระภิกษุก็ไม่ควรใช้ครับ เพราะ... 

  1. ถ้าเขาฟ้องขึ้นมา ศาลสามารถสั่งปรับสินไหม แล้วต้องชดใช้ให้เจ้าของลิขสิทธิ์ได้ ที่นี้สมณะธรรมก็ไม่ต้องทำกันแล้ว บิณฑบาตรใช้หนี้ก็คงหมดเวลา ครับ.
  2. พระภิกษุต้องเป็นแบบอย่างที่ดีของประชาชน เพราะก้อนข้าวที่เขาหามาด้วยความยากลำบาก เขาเอามาถวายท่าน ด้วยหวังว่าจะเห็นท่านมีวินัย มีศีล มีคุณธรรม, อย่าทำตัวเป็นคนที่เลี้ยงเสียข้าวสุกครับ.


*ของผิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา  ในที่นี้ หมายถึงวัตถุของพระ แต่แนวคิดที่ใช้ทำวัตถุคนที่ทำให้พระไปลอกคนอื่นมา.

วันจันทร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2558

การตั้งการตอบกระทู้ในเฟซบุคก็ตาม... ในพันทิพก็ตาม... ในธรรมจักรก็ตาม... คนที่กล่าวถูกแล้ว, ไม่ควรต่อความยาว....

การตั้งการตอบกระทู้ในเฟซบุคก็ตาม... ในพันทิพก็ตาม... ในธรรมจักรก็ตาม... คนที่กล่าวถูกแล้ว, ไม่ควรต่อความยาว, ตั้งกระทู้แล้ว, ตอบกระทู้อีกเพียงหนึ่ง ก็ต้องสามารถหยั่งรู้อนาคตได้แล้วว่าควรจะมีการตอบ ที่สอง ที่สาม ต่อหรือไม่? บุคคลบางประเภท ไม่ควรแม้เพียงเพื่อเหลือบตาเห็น. แต่เมื่อจำเป็นต้องเห็น, อย่าเห็นบ่อยๆ อย่าตามเห็น อย่าถกเถียงให้ยืดยาว, เพราะเราจะเสียทั้งเวลา เสียทั้งนิสัยครับ.

การร้องทำนองเพลงที่ใจนึกถึงธรรมะ สมควรอยู่, แต่การร้องธรรมะที่ใจนึกถึงทำนองเพลง ไม่สมควร

การร้องทำนองเพลงที่ใจนึกถึงธรรมะ สมควรอยู่, แต่การร้องธรรมะที่ใจนึกถึงทำนองเพลง ไม่สมควร https://wiki.sutta.men/ฟุตโน้ต:541:99 -------------...