ตอบปัญหาธรรมะลึกซึ้ง
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2567
ยุคนี้เบาแล้ว
วันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2567
ปฐมนิพพานปฏิสังยุตตสูตร เป็นเรื่องของการบวกเลขครับ มักจะมีคนบวกเลขผิดกับสูตรนี้.
วันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565
การทำบุญบาปเหมือนสะสม exp เลเวลในเกม แต่เกมชีวิตมันมีลดเลเวลได้
การทำบุญบาปเหมือนสะสม exp เลเวลในเกม แต่เกมชีวิตมันมีลดเลเวลได้ ถ้าไม่ทำครบขั้นตอนแบบพระพุทธเจ้าบอกสูตรไว้ คือ ดีแล้วกลับมาชั่วทีหลัง ชั่วแล้วกลับมาดีที่หลังได้ จนกว่าจะบรรลุมรรคผล ครับ.
1. ใจขยันทำบุญ 10 ทำให้บุญเก่าให้ผลได้ จึงได้เจอเพื่อนที่เก่งด้านบุญ 10 มากกว่าเราหลากหลายขึ้นๆ.
2. พอมีเพื่อนที่เก่งด้านบุญ 10 มากกว่าเราหลากหลายขึ้น ก็จะมีตัวอย่างดีๆ ให้เลียนแบบมากขึ้นๆ สูงขึ้นๆ.
3. ความชำนาญเชี่ยวชาญด้านบุญก็จะว่องไว ติดขัดน้อยลง หลากหลายมากขึ้น. จนในที่สุดคิดบุญอย่างมีความสุขนั้นได้ทั้งวันทั้งคืนไม่ต้องพักผ่อนเลย (เข้าฌาน).
4. ถึงขั้นนี้ #จะมีนิสัยบางอย่างที่มองไม่เห็น ยังมีนิสัยไม่ดีหลงเหลือ ตรงนี้แหละต้องพัฒนาต่อด้วยวิธีของพระพุทธเจ้า.
5. วิธีของพระพุทธเจ้า คือ เอาบุญทุกอย่างมาพัฒนาอย่างเป็นระบบให้ถึงที่สุด เป็นลำดับขั้นตอนชัดเจน เช่น จะทำบุญต้องเรียนประสบการณ์ทำบุญด้วยการระลึกชาติย้อนไปพันชาติหมื่นชาติ (เหมือนเปิดวีดีโอสาธิตการทำบุญทำบาปและผลที่ได้รับอย่างรวดเร็วแล้วเราก็เห็นทันหมดจำได้หมด), หรือจะละกิเลสก็ต้องเห็นอนัตตาแตกทำลายเหลือเพียงจิตและเจตสิกที่เกิดดับล้านๆ ครั้ง กายใจเป็นสัมพันธภาพกันอยู่ ในเสี้ยววินาที (trillions times) เหมือนนักวิทยาศาสตร์ถ้าไม่เห็นระดับอนุภาคก็จะทำให้เข้าใจผิดคำนวนพลาด เป็นต้น.
6. พอมาถึงระดับนี้ ก็จะเริ่มสะสมความรู้สึกว่า ไม่มีใครที่ต้องโกรธแล้วครับ มีแต่สิ่งที่ต้องรักษาใจให้เป็นบุญ (แน่หล่ะ เห็นแล้วนี่ว่าตกนรกเพราะบาปมานับไม่ถ้วน) เหลือแต่คนน่าสงสารล้วนๆ โกรธไม่ลงเลย เพราะเกิดดับทุกข์ทนกันมายาวนานไม่สิ้นสุด ทั้งๆ ที่ไม่ได้มีอะไรน่าเพลิดเพลินเลย ก็ยังอยากเวียนตายเวียนเกิดไม่สิ้นสุด😅
วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2565
ความแตกต่างของการรู้ขณะปรมัตถ์ของญาณวิปปยุตตจิตกับญาณสัมปยุตตจิต และการรู้ปรมัตถ์ในศาสนากับนอกศาสนาต่างกันอย่างไร?
ความแตกต่างของการรู้ขณะปรมัตถ์ของญาณวิปปยุตตจิตกับญาณสัมปยุตตจิต และการรู้ปรมัตถ์ในศาสนากับนอกศาสนาต่างกันอย่างไร? คือ ญาณวิปปยุตไม่แทงตลอดสภาคฆฏนา จริงอยู่ แม้ไม่มีพระพุทธเจ้าตรัสสอน หมู่สัตว์ก็ใช้ชีวิตอยู่กับสภาคฆฏนาอยู่แล้ว แต่ญาณวิปปยุตไม่สามารถแทงตลอดธัมมสภาวะของสภาคฆฏนาเพื่อให้เกิดประโยชน์ 6 ได้ เพราะไม่มีความชำนาญในแง่มุมต่างๆของธัมมะ (ธัมมสภาวะ[ปัจจัยปัจจยุปบัน]) เช่น คนเห็นแม่ของตนกับของคนอื่น แม่ของตนก็ปรากฎชัดกว่าของคนอื่น และประโยชน์ 6 ใดๆ ที่จะเกิดขึ้นได้โดยการมีปรมัตถ์ที่เรียกว่าแม่ของตนเป็นอารมณ์ก็สามารถปรากฎชัดได้โดยไม่ต้องนึกคิดมนสิการให้เสียเวลา เป็นต้น จากตัวอย่างนี้ในขณะที่โลกิยญาณนี้แทงตลอดอย่างนั้นก็มีทั้งบัญญัติและปรมัตถ์สภาคฆฏนาเป็นอารมณ์โดยไม่จำเป็นต้องเคยฟังคำสอนของพระพุทธเจ้า แต่ญาณสัมปยุตของผู้ไม่ได้ฟังคำสอนของพระพุทธเจ้าจะไม่สามารถเห็นสภาคฆฏนาได้ชัดเจน (เห็นได้บ้าง แทงตลอดได้บ้าง แต่ไม่จัดว่าเป็นอภิธรรม เพราะรู้จริงบ้าง รู้มั่วบ้าง สับสนไปหมด) จนแทงตลอดอนัตตลักษณะ เพราะการรู้สภาคฆฏนาในปุถุชนผุ้ไม่ได้สดับนั้นไม่สามารถภาวนาพัฒนาได้ถึงระดับฆนวินิพโภคะแบบขณะปรมัตถ์เกิดดับแบบสังขตลักษณะอย่างที่พระพุทธเจ้าและสาวกของพระองค์สามารถทำปริญญาสำเร็จได้ จึงไม่มีทางกำจัดกิเลสได้สิ้นสักที. จริงอยู่ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับทำได้เพียงการรู้นามรูปปรมัตถ์สะเปะสะปะ ตรงจริงบ้าง มั่วบ้าง แทงตลอดบ้าง รู้ไปเรื่อยๆบ้าง มืดบอดคลำช้างเดาทางไปเรื่อยเปื่อย ปุถุชนที่มีอารมณ์เป็นปรมัตถ์อยู่นั้นไม่สามารถจะรู้ว่า ที่ชื่อว่าสัตว์ จริงแล้วแค่นามขันธ์ 4 รูปขันธ์ 1 เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน เป็นของละเอียด แม้เมื่อทำกุศลอยู่ก็ยึดมั่นถือมั่นสลับกันไป อย่างนี้ๆเป็นไปไม่สิ้นสุดเพราะตัณหาติดใจอวิชชาปกปิดอยู่ เหมือนคนเห็นสีอยู่ก็เห็นปรมัตถ์ แทงตลอดอยู่ว่าสีที่ต่างทำให้เห็นต่าง จึงให้ทานที่แตกต่างกันเพื่อหวังบุญ ก็เป็นโลกิยญาณสัมปยุตแทงตลอดบัญญัติและปรมัตถ์สภาคฆฏนาแค่พอจะทำทานอย่างฉลาดได้เท่านั้น (แม้โลกิยปัญญาก็เกิดไม่ได้ ถ้าไม่มีการแทงตลอดธัมมสภาวะ) แต่ไม่แทงตลอดว่าสีกำลังเกิดดับอย่างรวดเร็วเพราะปัจจัยมากมาย และจะเกิดดับต่อไปตราบเท่าที่ยังมีตัณหาอวิชชาเกิดได้อยู่. ส่วนพระพุทธเจ้าและสาวกสามารถจะภาวนาจนแทงตลอดนามรูปปรมัตถ์ทั้งอดีตอนาคตปัจจุบันได้ชัดเจน ไม่เหลือความเป็นกลุ่มก้อน มีเพียงธัมมสภาวะสภาคฆฏนาที่เกิดดับตามปัจจัยเป็นลำดับซับซ้อนเท่านั้นที่เป็นไปละเอียดรวดเร็วนับประมาณไม่ได้ แต่ก็เหล่าพุทธทั้งหลายก็สามารถแทงตลอดได้อย่างชัดเจนไม่สับสน จึงคลายตัณหาทำลายอวิชชาสิ้นได้.
วันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564
ไม่ใช่สักแต่ว่าเรียน ไม่ใช่สักแต่ว่าทำสมาธิ แต่คือเรียนอย่างไรการทำสมาธิจึงจะมีคุณภาพ
วันพุธที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2564
พุทธบารมี
บารมีของพระพุทธเจ้า คือ การสะสมนิสัยที่ดีงามต่างๆ มายาวนานนับชาติไม่ถ้วน คำนวนไม่ได้ ของพระพุทธเจ้า เพื่อที่จะตรัสรู้ ครับ.
บารมีมี 10 คือ
1. #ฝึกนิสัยเสียสละอกุศลสั่งสมกุศล พระพุทธเจ้าผ่านการฝึกนิสัยเสียสละทุกอย่างแม้กระทั่งสละชีวิต เพื่อช่วยคนอื่นให้ได้ฝึกนิสัยเสียสละตามๆกันนับไม่ถ้วนชาติ (ทาน),
2. #ฝึกนิสัยห้ามกายวาจาจากอกุศลธรรมเพื่อเจริญกุศล พระพุทธเจ้าผ่านการฝึกนิสัยห้ามกายวาจาจากอกุศลธรรมทุกอย่างแม้กระทั่งสละชีวิต เพื่อช่วยคนอื่นให้ได้ฝึกนิสัยเสียสละอกุศลสั่งสมกุศลตามๆกันนับไม่ถ้วนชาติ (ศีล),
3. #ฝึกนิสัยห้ามใจจากกามคุณ5 (สีเสียงกลิ่นรสสัมผัส) เพื่อเจริญกุศล พระพุทธเจ้าผ่านการฝึกนิสัยห้ามใจจากกามคุณ 5 ทุกอย่างแม้กระทั่งสละชีวิต เพื่อช่วยคนอื่นให้ได้ฝึกนิสัยเสียสละอกุศลสั่งสมกุศลตามๆกันนับไม่ถ้วนชาติ (เนกขัมมะ),
4. #ฝึกนิสัยเข้าใจเหตุผลความจริงโดยแง่มุมต่างๆ ห้ามอกุศลรักษากุศล พระพุทธเจ้าผ่านการฝึกนิสัยเข้าใจเหตุผลความจริงโดยแง่มุมต่างๆ ทุกอย่างแม้กระทั่งสละชีวิต เพื่อช่วยคนอื่นให้ได้ฝึกนิสัยเสียสละอกุศลสั่งสมกุศลตามๆกันนับไม่ถ้วนชาติ (ปัญญา),
5. #ฝึกนิสัยเพียรอย่างต่อเนื่องไม่ย่อท้อในการห้ามอกุศลทุกอย่างจนเกิดแต่กุศลต่อเนื่องไม่มีระหว่างคั่น พระพุทธเจ้าผ่านการฝึกนิสัยเพียรอย่างต่อเนื่องไม่ย่อท้อในการห้ามอกุศลทุกอย่างจนเกิดแต่กุศลต่อเนื่องไม่มีระหว่างคั่นทุกอย่างแม้กระทั่งสละชีวิต เพื่อช่วยคนอื่นให้ได้ฝึกนิสัยเสียสละอกุศลสั่งสมกุศลตามๆกันนับไม่ถ้วนชาติ (วิริยะ),
6. #ฝึกนิสัยอดทนไม่ขุ่นเคืองที่จะห้ามอกุศลรักษากุศล พระพุทธเจ้าผ่านการฝึกนิสัยอดทนไม่ขุ่นเคืองที่จะห้ามอกุศลรักษากุศลทุกอย่างแม้กระทั่งสละชีวิต เพื่อช่วยคนอื่นให้ได้ฝึกนิสัยเสียสละอกุศลสั่งสมกุศลตามๆกันนับไม่ถ้วนชาติ (ขันติ),
7. #ฝึกนิสัยตัดสินใจเก่งที่จะห้ามอกุศลตัดสินใจเก่งรักษากุศล พระพุทธเจ้าผ่านการฝึกนิสัยตัดสินใจเก่งที่จะห้ามอกุศลตัดสินใจเก่งรักษากุศลทุกอย่างแม้กระทั่งสละชีวิต เพื่อช่วยคนอื่นให้ได้ฝึกนิสัยเสียสละอกุศลสั่งสมกุศลตามๆกันนับไม่ถ้วนชาติ (อธิษฐาน),
8. #ฝึกนิสัยรักษาสัจจะที่เคยตัดสินใจไว้ว่าจะห้ามอกุศลเจริญกุศล พระพุทธเจ้าผ่านการฝึกนิสัยทุกอย่างแม้กระทั่งชีวิต เพื่อช่วยคนอื่นให้ได้ฝึกนิสัยเสียสละอกุศลสั่งสมกุศลตามๆกันนับไม่ถ้วนชาติ (สัจจะ),
9. #ฝึกนิสัยหวังดีหวังประโยชน์ให้ผู้อื่นห้ามอกุศลเจริญกุศล พระพุทธเจ้าผ่านการฝึกนิสัยทุกอย่างแม้กระทั่งชีวิตโดยปราศจากความขุ่นเคือง เพื่อช่วยคนอื่นให้ได้ฝึกนิสัยเสียสละอกุศลสั่งสมกุศลตามๆกันนับไม่ถ้วนชาติ (เมตตา),
10. #ฝึกนิสัยประคับประคองการห้ามอกุศลเจริญกุศลให้สมดุลไม่ขัดแย้งกันเพื่อจะได้เกิดอย่างต่อเนื่องไม่มีระหว่างขั้น พระพุทธเจ้าผ่านการฝึกนิสัยประคับประคองการห้ามอกุศลเจริญกุศลให้สมดุลไม่ขัดแย้งกันเพื่อจะได้เกิดอย่างต่อเนื่องไม่มีระหว่างขั้นทุกอย่างแม้กระทั่งชีวิต เพื่อช่วยคนอื่นให้ได้ฝึกนิสัยเสียสละอกุศลสั่งสมกุศลตามๆกันนับไม่ถ้วนชาติ (อุเบกขา).
วันจันทร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2564
ชวนกันเลิกแซะ
ยุคนี้เบาแล้ว
ยุคนี้เบาแล้ว ย้อนไปก่อนจะมีพระพุทธเจ้า ดูประวัติศาสตร์โลกก็ได้โหดร้ายขนาดไหน, เดี๋ยวพอหมดยุคของพระพุทธเจ้านะ โคตรหนักแน่นอน 😊 ไม่งั้นจะ...
-
โครงการศึกษาพระวินัยปิฏกแบบโบราณเพื่อการประพฤติปฏิบัติ สถานที่ตั้งสำนักเรียนมหาธรรมรักขิตเจดีย์ -146 ม.1 ต.โป่งน้ำร้อน อ.โป่งน้ำร้อน จ.จัน...
-
ในกรณีที่มีอาจารย์กรรมฐานที่มี คุณสมบัติ คือ ทั้งบรรลุธรรม ได้ฌาน ได้อภิญญา ได้วิปัสสนาญาณ ได้มรรคผล และทั้ง ทรงจำพระไตรปิฎก อย่าง คล่องป...
-
ถ: ถ้าติดสังฆาทิเสสแล้วไม่ได้แก้ก่อนสึกจะทำให้ชีวิตไม่ดีทำมาหากินไมขึ้นจริงหรือเปล่าครับ? ต: อาบัติไม่มีผลกับฆราวาส ครับ, สึกมาเป็นฆรา...