วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

เดินเข้าห้องน้ำกับเดินจงกรมต่างกันที่กิจหลักกับกิจรอง, อุปจาร/อัปปนาสมาธิทำให้การเดินเข้าห้องน้ำไม่เป็นอุปสรรคต่อวิปัสสนา


เวลาปฏิบัติธรรม ผู้ปฏิบัติจะต้องหมั่นนึกถึงอารมณ์กรรมฐานที่อาจารย์ให้มาทุกอิริยาบถ มีเดิน เป็นต้น เช่น อาจารย์ให้อานาปานัสสติกัมมัฏฐานมา เขาก็ต้องนึกถึงลมหายใจทุกอิริยาบถ.

ถาม: แล้วการเดินไปเข้าห้องน้ำของผู้ปฏิบัติธรรม จะต่างจาก การเดินจงกรมอย่างไร?
ตอบ:

  1. การเดินอื่นๆ มุ่งหมายทำสิ่งที่ไม่ใช่กรรมฐานเป็นหลัก เพราะ ต้องคิดถึงกิจอื่นไปด้วย เช่น จะไปเข้าห้องน้ำ เป็นต้น ซึ่งจะคอยสลับไปกับการคิดถึงอารมณ์กรรมฐานที่เป็นเรื่องรอง. ในการทำสมถะกรรมฐาน การเดินทำกิจอื่นๆ นี้ อาจเป็นอุปสรรคต่อภาวนาได้.
  2. การเดินจงกรม มุ่งหมายทำกรรมฐานโดยตรง จะคิดถึงแต่อารมณ์กรรมฐานเป็นหลัก, กิจอื่นๆ เป็นรอง เช่น จะคิดถึงแต่ลมหายใจ เป็นต้น. การเดินจงกรมไม่เป็นอุปสรรคต่อสมถกรรมฐาน.
ถาม: ทำไมการเดินอื่นๆ ไม่เป็นอุปสรรคต่อวิปัสสนากรรมฐาน?
ตอบ: เพราะผู้ทำวิปัสสนา ต้องได้จิตตวิสุทธิมีอุปจารสมาธิเป็นต้นมาแล้ว (นัยยะวิสุทธิมรรค) หรือ ไม่เช่นนั้นก็ต้องเป็นสุขาปฏิปทาบุคคล (นัยยะวิสุทธิมรรคฏีกา ซึ่งเอาตามเนตติปกรณ์ เทสนาหารปฏินิทเทส). ฉะนั้น แม้จะเปลี่ยนอิริยาบถก็ไม่ทำให้ผู้ทำวิปัสสนาเกิดนิวรณ์มาทำลายภาวนาได้ ตราบเท่าที่อำนาจสมาธิยังไม่เสื่อมไป. 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รับตอบปัญหาธรรมะ ตามพระไตรปิฏก อรรถกถา ฏีกา
ท่านสอบถาม/แสดงความคิดเห็น/บอกข้อบกพร่องของบทความได้ที่ facebook: ตอบปัญหาธรรมะลึกซึ้ง หรือ ช่องตอบกลับข้างล่างนี้.

ยุคนี้เบาแล้ว

ยุคนี้เบาแล้ว ย้อนไปก่อนจะมีพระพุทธเจ้า  ดูประวัติศาสตร์โลกก็ได้โหดร้ายขนาดไหน, เดี๋ยวพอหมดยุคของพระพุทธเจ้านะ  โคตรหนักแน่นอน 😊  ไม่งั้นจะ...